โดย กรรณิกา ถิ่นบ้านใหม่
ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ471ตารางกิโลเมตร 294,375ไร่มีทั้งหมด 27หมู่บ้าน ทรัพยากรธรรมชาติมีป่าไม้ที่ อุดมสมบูรณ์บางส่วนเป็นภูเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ราบมีอาชีพทำนา ทำสวนยางพารา ปาล์ม สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ สภาพเศรษฐกิจสังคมโดยส่วนรวม ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนที่ราบลุ่ม ประกอบอาชีพค้าขายและทำนาการใช้พื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน สำนักผังเมืองรวมยังมี พื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์จัดทำแนวเขตพื้นที่ชัดเจน
จากการที่ชาวบ้านเปลี่ยนอาชีพจากการทำนาและทำสวนผลไม้ มาปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกยางพารา สภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งยังมีค่าใช่จ่ายในครัวเรือนสูงขึ้นความเป็นอยู่ยากลำบาก เกิดภาวะหนี้สิน รายรับไม่พอกับรายจ่าย
จากการที่ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ รายได้ไม่พอรายจ่าย ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นกับครัวเรือน คนในชุมชนขาดการเรียนรู้ ขาดการประสานงานที่ดี จากการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลประสงค์ ได้มีมติร่วมกัน ในการรวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ให้กับสมาชิกในชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ โดยรณรงค์ให้สมาชิกปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อแลกเปลี่ยนและเป็นการจำหน่ายให้กับคนในชุมชน เพื่อส่งเสริมรายได้และทำให้เกิดชุมชนพึ่งตนเอง เกิดตลาดนัดร้านค้าในชุมชน เป็นการนำผลผลิตมาจำหน่ายในชุมชนเป็นการสนับสนุนคนในชุมชนให้มีรายได้ เชิญผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรีอาสา กลุ่มอสม.เจ้าหน้าที่การเกษตร ตัวแทนจากอบต. กลุ่มสัมมาชีพ ของแต่ละหมู่บ้าน เมื่อทำการประชุมแล้ว มีการแบ่งบทบาทหน้าที่
การปลูกผักปลอดสารพิษ มี 2 แบบคือ การพูนดิน หรือ ทำการปลูกผัก แบบผักกางมุ้ง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและ ใช้วิธีการที่เหมาะสมและประหยัดต้นทุนการผลิต ให้เหมาะสม ตามบริบทพื้นที่ แต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามฤดูการ ในการดำเนินงานได้มีการคัดเลือกตัวแทนสมาชิก จากการส่งเสริมครัวเรือนจำนวน 20 ครัวเรือน รายละ 1,000บาท โดยให้สมาชิกได้มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่า ปลูกผักสวนครัวเพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน และส่วนที่เหลือแบ่งปัน หรือจัดจำหน่ายในชุมชนให้กับเพื่อนบ้าน
การดำเนินงานย่อมมีอุปสรรคกล่าวคือ ฤดูการทำดินในการปลูกผักต้องมีการปรับเปลี่ยนหน้าดินเพื่อให้รับกับการผลิตพืชผัก และมีแมลงต่างๆมาเกาะ จึงทำให้สมาชิกบางคนยังใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงต่างๆ และขาดการดูแลเอาใจใส่ผักที่ปลูกไว้ ทางคณะกรรมการจึงเข้าไปทำความเข้าใจมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลผลิตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปลูกผักปลอดสารในครั้งนี้ แม้ยังต้องมีการพัฒนาได้ดีขึ้น แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวบ้านหันมาพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ และหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง