การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน

สถาบันเริมทำงานสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนมาตั้งแต่ปี 2547 กรณีสึนามิในจังหวัดชายฝั่งอันดามัน ปีต่อๆมาก็ทำงานในพื้นที่ภัยพิบัติทุกกรณีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งน้ำท่วมในภาคต่างๆ รวมทั้งน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพและะภาคกลางในปี 2554 ดินโคลนถล่มในภาคเหนือในปี 2550 การจัดการไฟป่า หมอกควัน แผ่นดินไหวเชียงรายปี 2557 ตลอดจนพายุ ไฟไหม้ในพื้นที่ต่างๆ

งานด้านภัยพิบัติชุมชนใช้หลักการสำคัญคือให้ชุมชนผู้ประสบภัยลุกขึ้นมาบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่ระยะการช่วยเหลือเฉพาะหน้าไปจนถึงการฟื้นฟูชุมชน รวมทั้งการวางแผนรับมือภัยพิบัติของชุมชน บทบาทหลักของพอช.ในระยะเฉพาะหน้าคือการสนับสนุนเกี่ยวกับที่พักชั่วคราว การเชื่อมโยงหน่วยงานหรือผู้สนับสนุนการช่วยเหลือกับชุมชน ระยะต่อไปคือการเตรียมแผนรับมือภัยพิบัติและวางแผนฟื้นฟูชุมชนและการจัดหาที่อยู่อาศัยถาวร กรณีที่ต้องสร้างที่อยู่อาศัยใหม่หรือย้ายชุมชนไปอยู่ในที่ปลอดภัย พอช.สนับสนุนให้พื้นที่ประสบภัยทุกแห่งจัดตั้งกองทุนการจัดการภัยพิบัติทั้งแบบที่รวมอยู่ในกองทุนสวัสดิการชุมชนหรือเป็นกองทุนแยกเฉพาะ เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนมาช่วยเหลือกันเองได้ทันที

นอกจากการจัดการภัยพิบัติแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาคือการรื้อย้ายชุมชนจากทั้งหน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดทำโครงการขนาดใหญ่หรือเอกชนที่ต้องการที่คืน พอช.สนับสนุนผู้เดือดร้อนด้วยการจัดหาที่พักชั่วคราว ทั้งในรูปแบบการก่อสร้างและการเช่าบ้าน รอการจัดหาที่พักถาวรต่อไป ผู้เดือนร้อนบางส่วนจะเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง

การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 2548-2563(15ปี)พอช.

ปีงบประมาณและประเภทภัยพิบัติ จำนวนพื้นที่/ตำบล จำนวนครัวเรือนซ่อมสร้าง(หลัง)
2548-สึนามิ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน 9  พื้นที่ 770
2549 น้ำท่วมภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำปากพนัง 30 ตำบล
          น้ำท่วมและดินโคลนถล่ม ภาคเหนือ 124 ตำบล 2,345
          น้ำท่วมภาคกลาง 803 ตำบล
2550 -ดินโคลนถล่มจ.น่านและเชียงใหม่/น้ำท่วมภาคกลาง/น้ำท่วมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และจ.สงขลา 2,858
2552 การจัดการไฟป่าและหมอกควัน 5 จังหวัดภาคเหนือ 50 ชุมชน
2553 น้ำท่วมภาคกลาง ภาคใต้และภาคอิสาน 57 ตำบล 160
2554-2555 น้ำท่วมทั่วประเทศ 290 ตำบล 2,075
2557 แผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย 16 ตำบล/เมือง 1,960
2559 ไฟไหม้บ้านดอยจะนะ ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 1 ชุมชน 30
2560 น้ำท่วมภาคใต้ฝั่งตะวันออก 15 พื้นที่
2561 ดินโคลนถล่ม อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 1 ชุมชน 60
2562 น้ำท่วมภาคอิสาน 10 ตำบล 784
          พายุปลาบึก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 26 ตำบล 346
รวม 1,417 พื้นที่/ตำบล 11,388

หมายเหตุ            1.งบประมาณบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยอื่นๆ

2.บางพื้นที่ บางเหตุการณ์ ไม่ได้สนับสนุนเรื่องบ้าน แต่สนับสนุนเรื่องอื่นๆเช่น อาหาร  น้ำดื่ม ยารักษาโรค เสื้อผ้า การฟื้นฟูอาชีพ เครื่องมือประมง ปรับปรุงเหมืองฝาย การจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ ฯลฯ

3.การสนับสนุนที่อยู่อาศัยรวมทั้งที่พักชั่วคราวและบ้านถาวร ทั้งการซ่อมแซมบ้านและการสร้างบ้านใหม่