พัทลุง / เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 คณะทีมวิจัย “แก้จนสวัสดิการชุมชนเกื้อกูล: คนเมืองลุงไม่ทอดทิ้งกัน” ภายใต้ชุดโครงการการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดพัทลุง ปีที่ 2 โดยความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการปฏิบัติการยกระดับสวัสดิการชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำของคนพัทลุง ณ ห้องประชุมสวนเดอลอง ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยร่วมพลังกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม กองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดพัทลุง ในพื้นที่โซนที่ 3 ประกอบด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด และอำเภอป่าบอน จำนวน 16 กองทุนสวัสดิการ
ในช่วงแรกของกิจกรรมได้รับเกียรติจากคุณเสรี จิตรเวช พัฒนาการจังหวัดพัทลุง กล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเพื่อการยกระดับสวัสดิการชุมชนร่วมกันเป็นกันเป็นภาคีเครือข่ายทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ต่อมาคุณธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง พี่เลี้ยงโครงการวิจัยจากบพท. กล่าวว่าการขับเคลื่อนเกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนเป็นกิจกรรมที่สำคัญของงานวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน และวางแผนการทำงานให้สำเร็จในอนาคตในการดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อยกระดับสวัสดิการชุมชน และช่วยเหลือให้แก่ทุกกลุ่มคนได้เข้าร่วมเข้าถึงการเป็นสมาชิกสวัสดิการชุมอย่างทั่วถึง
ถัดมาเป็นการนำเสนอโครงการโมเดลสวัสดิการชุมชนเกื้อกูล คนเมืองลุงไม่ทอดทิ้งกัน โดย ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร หัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ในส่วนกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขับเคลื่อนสวัสดิการระดับปฏิบัติดำเนินการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ และคณะ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมถอดประสบการณ์เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มวิเคราะห์ถึงส่วนประกอบของกองทุนสวัสดิการชุมชน เช่น คณะกรรมการ สมาชิก ระเบียบกองทุน อุปกรณ์เครื่องใช้ ในแต่ละส่วนว่า มีข้อดี จุดเด่น มีข้อด้วย ข้อที่น่ากังวล และข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางให้ปรับปรุงและยกระดับสวัสดิการชุมชนให้ดีขึ้น
ในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลภาพรวมเบื้องต้นและที่มาของโครงการวิจัยและนวัตกรรมแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืนจังหวัดพัทลุง ปีที่ 1 (2564) และการสานต่อโครงการดังกล่าวสู่ปีที่ 2 เน้นการนำข้อมูลมากวิเคราะห์ปัญหากลุ่มคนเป้าหมายและนำไปสู่การสร้างโมเดลความช่วยเหลือคนเป้าหมาย และได้ทำการพัฒนาโมเดลแก้จน การจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในคนจนกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดพัทลุง และยังกล่าวถึงการขับเคลื่อนโมเดลสวัสดิการชุมชน และการยกระดับไปด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นโมเดลที่น่าสนใจ และจะเป็นตัวอย่างของโมเดลสวัสดิการชุมชนเกื้อกูล คนเมืองลุงไม่ทอดทิ้งกัน ของจังหวัดพัทลุงที่สามารถนำไปเป็นบทเรียนให้กับจังหวัดอื่น ๆ ที่สนใจได้ต่อไป