นครราชสีมา / เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 นางสาวรังสิมา รอดรัศมี ประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟเมืองย่าโม เพื่อศึกษาปัญหาจัดสวัสดิการการด้านที่อยู่อาศัยและรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชน ซึ่งมีแผนในการลงทุกพื้นที่ทั่วประเทศรับฟังปัญหาเพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
สถานการณ์ปัจจุบัน”เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม” 1.โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ของพอช.”เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม” จ.นครราชสีมา สนับสนุนงบพัฒนาสาธารนูปโภคและการพัฒนาที่อยู่อาศัยรวม 12,823,500 บาท ปี 2564 มีการออกแบบดำเนินงานเรื่องผังชุมชนระบบสาธารณูปโภค เรื่องที่ดินรองรับ ผู้รับเหมาเข้ามาในพื้นที่เพื่อจะเข้าดำเนินการในพื้นที่ก่อสร้าง และการดำเนินการด้านที่ดิน แต่ชุมชนยังไม่สามารถเข้าดำเนินโครงการบ้านมั่นคงได้เนื่องจากที่ดินยังไม่ได้อนุญาตในเช่า เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม ประสานสหกรณ์จังหวัดอบรมจัดตั้งสหกรณ์อยู่ระหว่างการดำเนินงานกับสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา 2.ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อน อยู่ในพื้นที่รถไฟ 8 ชุมชน 166 ครัวเรือน ถูกเวียนคืนที่ดิน ต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่ที่ชุมชนพะไล(แต่รอสัญญาเช่าที่จากรถไฟ) 3.ชุมชนต้องการย้ายครั้งเดียว และเข้าพื้นที่ใหม่ก่อน เพื่อจะวางแผนการจัดการชีวิตได้ จัดการสิ่งของ ถมดิน(ที่นาอยู่อาศัยไม่ได้) เตรียมระบบสาธา ก่อนรื้อต้องได้เข้าหรือมีที่อยู่ใหม่ก่อน(ออกสิ้นเดือนมิ.ย. เตรียมตัวไม่ทัน 28 ครัวเรือน) ชาวบ้านไม่ได้ขัดขวางแนวทางการพัฒนา พร้อมทำตามมติของรมว. แต่ต้องให้ชุมชนมีที่อยู่ก่อน 4.กำลังในการขนย้ายสิ่งของ ค่าใช้จ่ายในการขนย้าย เงินการเวียนคืน ตาราวาละ 10,000 บาท งบน้อยมาก ไม่สามารถจัดการหาที่อยู่ใหม่ได้
นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ทางพอช.มีงบ 12 ล้านในการสร้างที่อยู่อาศัยให้ ครัวเรือนที่เดือดร้อน 166 ครัวเรือน 8 ชุมชน ในบริเวณพื้นที่ของการรถไฟ ตรงข้ามโรงเรียนพะไลเนื้อที่ 7 ไร่ เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูปโภค ซึ่งคนในชุมชนที่เดือนดร้อน ทั้ง 28 ครัวเรือน ต้องการ เร่งรัดบอร์ดการรถไฟ ให้อนุมัติการใช้พื้นที่, ให้ชุมชนเข้าใช้พื้นที่ก่อนได้, เงินเยียวยา การเวียนคืน หากมีอัตราที่สามารถเพิ่มได้ก็อยากให้มีการพิจารณา, แผนการพัฒนารถไฟ ขอให้มีการสื่อสารเผยแพร่ ให้ชุมชนทุกชุมชนรับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมชีวิต และในการช่วยเหลือเบื้องต้น ทางจังหวัด มีพาหนะ และกำลังพล ในการช่วยการขนย้ายช่วยอีกแรง
นายไชยา พลขาง ผช.ผอ. พอช.ภาคอีสานกล่าวว่า การสนับสนุนงบพัฒนาสาธารนูปโภคและการพัฒนาที่อยู่อาศัยรวม 12,823,500 บาท และพอช.ยังทำเรื่องอื่นๆหลายมติในการพัฒนามากกว่าบ้าน เช่นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การออมเงินสมทบครัวเรือนต้องมีการร่วมตัว กลไกคณะกรรมการ ภาคีในการทำงาน และสิ่งที่ชุมชนบ้านมั่นคงเมืองได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาคือการช่วยเหลือชุมชนอื่นๆ ในช่วงสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่ผ่านมา เช่นการทำครัวกลาง และพอช.รอการอนุญาตการเช่าที่(บอร์ดรถไฟ ประชุม 23 มิ.ย.65)เพื่อดำเนินการก่อสร้างให้กับ 28 ครัวเรือนที่กระทบก่อน การดำเนินงานต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคก่อน (น้ำไฟฟ้า) การหาที่อยู่ชั่วคราวเป็นเรื่องสำคัญ พอช.มีงบในการสร้างบ้านชั่วคราว แต่ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด เพราะไม่มีงบสาธารณูปโภค จำนวนผู้เดือดร้อน 342 ครัวเรือน เข้าร่วมโครงการบ้านมัานคง 166 ครัวเรือน ส่วนที่เหลือ 176 ครัวเรือน ไม่อยู่ในกรอบเกณฑ์เงื่อนทั้ง พอช.และการรถไฟ คือ ไม่มีความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย (บางหลังขายของ)/ไม่มีการออม/ประสงค์ไปอยู่ที่อื่น ที่จัดหาเองได้แล้ว)
ปัจุบันการรถไฟ จะช่วยสนับสนุนเร่งรัดในการขอใช้พื้นที่ กระบวนการทางราชการ มีระเบียบขั้นตอน (อนุมัติ 23 มิ.ย.65) แต่ยังไม่สามารถเข้าในพื้นที่ได้ ทางการรถไฟ จะหากระบวนการภายใน ให้ครัวเรือนเข้าอยู่อาศัยก่อน แผนการรถไฟ หลายแผน มีการดำเนินงานยาวนาน แต่การอนุมัติดำเนินการจริง ไม่สามารถระบุเป็นแผนงานรายปีได้ จึงไม่สามารถจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าได้
ทั้งนี้ ทางประธานกรรมาธิการ ยังย้ำเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้พอช.วางฝังชุมชนให้ชัดเจน จัดโซนชุมชน ระบบไฟฟ้า ปะปา สาธารณะสุขให้ดี และเรื่องกลุ่มอาชีพ ที่ทำเรื่องการเก็บขยะ ต้องจัดเตรียมพื้นที่แผนผังโซน ทำงานด้าน เพื่อจัดระบบสาธารณะสุขไปพร้อมกัน
Cr.นุชพร สมสวย