
บุรีรัมย์ / เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครือข่ายคณะทำงานสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ จัดเวทีเติมเต็มความรู้การเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนให้กับคณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากคณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ ระดับอำเภอ รวมประมาณ 20 คน จังหวัดบุรีรัมย์มีการเคลื่อนงานสวัสดิการทั้งหมด 197 กองทุน ดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานปี 2564 จำนวน 103 กองทุน ติดตามการสอบทานกองทุนสวัสดิการ 197 กองทุน นายวุฒิพงษ์ เหลืองอุดมชัย ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า เป้าหมายการทำงานของคณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ ระดับอำเภอ ต้องเป็นผู้ที่มีจิตอาสาในการทำงาน เพราะไม่มีเงินเดือน หรือค่าตอบแทนใด ๆ ซึ่งตัวแทน ซึ่งคณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ ระดับอำเภอ เข้ามาทำงานด้วยความเต็มใจและเป็นจิตอาสา การสื่อสารงานกับคณะทำงานผ่านไลน์กลุ่มระดับอำเภอ นายประวัติ กองเมืองปัก เครือข่ายคณะทำงานสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เติมเต็มความรู้งานกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานสวัสดิการระดับจังหวัด สรุปสาระสำคัญคือการทบบทวนกระบวนการงานสวัสดิการชุมชน ตั้งแต่การจัดทำระเบียบของกองทุนสวัสดิการให้เป็นไปตามเจตนารมย์การจัดสวัสดิการคือให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี การดำเนินการกองทุนสวัสดิการตามหลักธรรมาภิบาล ปัญหาที่พบ
1) กติกาบางกองทุนที่ยังมีการคืนเงินกรณีลาออก มีการออมเงิน เมื่อลาออกทำให้มีการคืนเงิน และเมื่อมีการเปลี่ยนระเบียบกองทุน ทำให้สมาชิกลาออกจำนวนมาก/การหาสมาชิกสวัสดิการเพิ่มขึ้นได้น้อย กรณีกองทุนที่ตั้งใหม่ ๆ
2) สมาชิกสวัสดิการที่เพิ่มไม่ถึง 100 คน ทำให้ไม่สามารถขอรับงบประมาณได้
3) คณะทำงานสวัสดิการระดับจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้การเคลื่อนงานไม่ต่อเนื่อง
4) ปัญหาของการเมืองท้องถิ่น (การเมืองคนละฝ่าย) บางกองทุนไม่เคยได้รับความร่วมมือจากอปท.เลย หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงนายก อบต.หรือเทศบาล การสมทบงบประมาณ จะให้ทำให้กองทุนไม่ได้รับงบจากอปท.
5) การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายของกองทุน ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และปัจจุบันมีเงินกองทุนจำนวนมาก การบริหารจัดการต้องใช้องค์ความรู้ในการทำงาน
ข้อเสนอแนวทางการทำงาน
1) ข้อเสนอเชิงนโยบายการสมทบงบประมาณสามฝ่าย จากอปท. ให้เป็นกฎหมายบังคับในการสมทบงบทุกปี และอปท.ต้องสนับสนุนการเคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการ เพื่อให้กองทุนเคลื่อนงานได้
2) การสมทบจากพอช. ให้สมทบตามสมาชิกที่มีอยู่จริง ณ ปีนั้น ๆ (ยกเลิกสมาชิกเพิ่มขึ้นจากการสมทบครั้งล่าสุด 100 คน)
3) ผู้นำต้องเป็นจิตอาสา มีใจรักการพัฒนา ให้บทบาทของกลไกในพื้นที่ ในการสนับสนุนการเคลื่อนงานสวัสดิการ คือ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มออม องค์กรเครือข่ายภายในตำบล
4) การเพิ่มองค์ความรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานร่วมกับพมจ. อปท. หรือหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ในบทบาทหน้าที่กองเลขาร่วม เช่น การสมทบงบประมาณ การสอบทานกองทุนสวัสดิการ หรือทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องรวมถึง โครงการบ้านพอเพียง
5) พอช.ควรมีคู่มือการทำงาน รายละเอียด รวมถึงบทบาทหน้าที่ของทีม/คณะทำงาน/วิธีการทำงานในแต่ละเรื่อง ให้ชัดเจน
6) การกระจายรหัสให้ คณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ ระดับอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการจัดการข้อมูล บริหารข้อมูลในระบบโปรแกรมพอช.


ทั้งนี้ทางคณะทำงานเครือข่ายสวัสดิการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพกองทุนสวัสดิการในปี 2564 ต่อเนื่องปี 2565 เพื่อให้เกิดกองทุนคุณภาพตามเกณฑ์ และการจัดทำฐานข้อมูลของกองทุนที่เป็นปัจจุบัน