ตำบลอุโมงค์ มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ติดเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ (ถนนหมายเลข 106) บนพื้นที่ราบลุ่มตามแนวชายฝั่งตะวันตกแม่น้ำกวงและมีลำเหมืองปิงห่างไกลผ่านส่วนกลางของพื้นที่เพื่อหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรม สภาพดินเป็น ดินร่วนซุยเหมาะแก่การทำไร่ ทำนา และทำสวน โดยเฉพาะสวนลำไย ซึ่งแต่ละปีทำรายได้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ที่ตั้งชุมขนจะรวมกันอยู่เป็นแนวยาวริมสองฝั่งถนนเชียงใหม่-ลำพูนสายเก่าเป็นที่ตั้งของสถานประกอบธุรกิจการค้ารวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณตลาดกลางป่าเห็วและริมสองฟากถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนสายเก่าและห่างจากถนนเข้าไปในซอยโดยมีกลุ่มใหญ่ตั้งอยู่ด้านเหนือและส่วนกลางของพื้นที่และมีจำนวนน้อยลงทางตอนใต้ของพื้นที่ สภาพที่พักอาศัยในบริเวณริมถนนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยวสูง 1-2 ชั้น และมีบริเวณโดยรอบ เมื่อห่างจากถนนใหญ่ออกไปจะเป็นบ้านเดี่ยวที่ตั้งอยู่ในสวนลำไยล้อมรอบที่พักอาศัยจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสวนลำไยยกเว้นบริเวณใกล้ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์จะเป็นที่นา พื้นที่ริมสองฟากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะเป็นที่นามีพื้นที่ว่างยังไม่ได้ถูกใช้งานรวมทั้งมีโรงงานและสถานที่ประกอบธุรกิจการค้าตั้งกระจายอยู่ห่างกันบนริมสองฟากถนนและพื้นที่ระหว่างถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ไปจนถึงลำน้ำแม่กวงส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมโดยมีพื้นที่พักอาศัยปนอยู่
ตำบลอุโมงค์มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำกวงกับแม่น้ำสาร เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบเชียงใหม่ – ลำพูน หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ในฤดูน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ทุกปี ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการทำการเกษตร ปศุสัตว์ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
จุดกำเนิด
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน เริ่มจากผู้นำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางสวัสดิการสังคม ผนวกกับความตระหนักและใส่ใจและตั้งใจมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานประโยชน์และความเสมอภาคของชุมชน สร้างความเท่าเทียมของสมาชิก ชุมชน โดยสร้างโอกาสการได้รับสิทธิประโยชน์บนพื้นฐานสิทธิอันพึงได้และบนพื้นฐานชุมชนพึ่งตนเอง “นายกขยัน วิพรหมชัย เขามีวิสัยทัศน์ คิดไกล ท่านบอกว่า คนตำบลอุโมงค์ 60% ไม่มีสวัสดิการอะไรที่จะเป็นหลักประกันชีวิตให้มั่นคง ท่านบอกว่า หากทุกๆคน ทุกๆชุมชนก่อตั้งออมสัจจะวันละหนึ่งบาทได้ ท่านก็จะตั้งเป็นสวัสดิการภาคประชาชนให้แก่ชุมชน 60% ที่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย คุ้มครองตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต” นอกจากนี้การก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนได้สร้าง กุศโลบายการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งระดับแกนนำและสมาชิกชุมชนนับแต่การริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการฯ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะ “ร่วมคิดร่วมทำ” ร่วมประสานประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมของชุมชน การพัฒนากองทุนจึงเป็นการกระทำโดยชุมชนเพื่อผลประโยชน์ชุมชนอย่างแท้จริงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สะท้อนศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนสู่การพึ่งตนเองของชุมชน
ก่อวุ้น…ชักชวนผู้ก่อการดี
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2549 ด้วนความคิดผู้นำชุมชนที่จะสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมให้ชุมชน จากสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สมาชิกชุมชนกว่าครึ่งอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้างทั่วไปไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกลุ่มอื่น ดังเช่น กลุ่มข้าราชการที่จะมีกองทุนบำเหน็จหรือบำนาญรองรับเมื่อเกษียณอายุจากราชการหรือกลุ่มแรงงานในระบบประกันสังคม ทำให้สมาชิกชุมชนดังกล่าวขาดหลักประกันความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ ดังคำระบุของผู้นำชุมชน “นายกขยัน วิพรหมชัย ขายความคิด คิดว่าเราจะทำอย่างไรดีน้อ ว่าคนอุโมงค์อีก 60% ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐ จากร้านค้า จากรัฐวิสาหกิจ … เป็นเกษตรกร เป็นแม่บ้าน เป็นกรรมกร ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่เราต้องดูแล ถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพก็จะแย่ลง เขาก็จะไปก่อนเรา ก่อนเวลาอันไม่สมควร” ประกอบกับในช่วงเวลานั้นผู้นำชุมชนต้องการสร้างชุมชนให้ “ทำความดีเพื่อพ่อ”ในวาระโอกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครองราชย์ครบ 60 ปี โดยเริ่มจากการออมวันละ 1 บาท ในนามของ “การออมสัจจะ”
ในระยะแรกผ่านการชักชวนผู้ก่อการดี (คือ ผู้สนใจในการออม) เป็นแนวร่วมอุดมการณ์เดียวกันในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านเพื่อขยายความคิดความสำคัญของการออมเงิน และให้เกิดความเห็นพร้องต้องกันในการริเริ่ม การออมเงินดั่งคำระบุ “ต้องพาผู้ก่อการดี เช่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน มัคนายก ข้าราชการบำนาญ ผู้สูงอายุ เยาวชนที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ในตำบลเรา เอาเขามาฟัง” พร้อมทั้งโน้มน้าวให้ผู้ก่อการดีพิจารณาถึงธรรมชาติของชุมชนที่จะมีการเกื้อกูลช่วยเหลือกันเสมือนเครือญาติโดยปราศจากเงื่อนไข ซึ่งเป็นการสร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งของชุมชน เช่น ในสมัยอดีตและกลุ่มคนผู้ก่อการดีจะเป็นบุคคลที่ไปขยายความคิด “การออม” ให้กับสมาชิกเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ก่อการดีหรือผู้ที่สนใจในการออมเงินแต่ละหมู่บ้าน “ก็หวังให้ขยายทั้งแนวคิด ขยายถึงความสามัคคีเหมือนคนสมัยก่อนพริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้ แต่ก่อนไม่จำเป็นจะต้องมีเงินมีทอง บ้านฉันปลูกฟักออกลูกมาสี่ห้าลูก ฉันก็ขนไปช่วยงานศพ บ้านฉันมีฟืนฉันฟันกิ่งลำไยไว้ฉันก็เอาฟืนไปช่วยงาน เราก็เลยคิดว่าถ้าเราได้ตรงนี้ ความเข้มแข็งก็จะเกิดใช่ไหม อะไรดีๆ ทุกอย่างทำคนเดียวไม่มีหรอก ความสำเร็จจะไม่เกิดแน่นอนก็เลยคิดหาผู้ก่อการดีผู้มาร่วมอุดมการณ์”
“นายกขยัน วิพรหมชัย ขายความคิดอย่างนี้ว่าวันนี้บ้านเรา ข้าราชการบำนาญท่านไม่ได้ทำงานแล้วแต่หลวงยังให้เงินท่าน ท่านมีกินมีใช้ แต่อีกกลุ่มหนึ่งไม่มีวันหนึ่งเจ็บไช้ได้ป่วยก็ไม่ได้ไปทำงานวันนี้วันนี้มีจ่าย พรุ่งนี้ไม่มีจ่าย เราอยากช่วยเหลือคนเหล่านี้ ก็ขายความคิดว่า “อยากทำออมวันละบาท” แต่ยังไม่พูดถึงสวัสดิการ”
ในขั้นแรกของการออมเงินจึงเริ่มจากหมู่บ้านผู้นำชุมชนก่อนยินดีและเห็นชอบต่อการออมเงินโดยเริ่มจากบ้านผู้นำชุมชนก่อน คือ “นายกขยัน วิพรหมชัย” หลังจากนั้นการออมก็ขยายสู้หมู่บ้านอื่นๆ จนครบ 11 หมู่บ้าน ได้ 13 กลุ่มออม ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนที่คิดริเริ่มการออมกับผู้ก่อการดี ซึ่งเสมือนแกนนำของแต่ละหมู่บ้าน “ตอนแรกผมเริ่มที่บ้านผมก่อน วันที่ 26 มิถุนายน 2549 จากนั้นเราก็ไปชวนหมู่บ้านอื่นทำบ้านต่อบ้านไปโดยนัดกันมาพูดคุยชวนกันออมชวนกันลดรายจ่ายวัยละบาทแล้วเอามาออมร่วมกัน เพราะการออมเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว การออมได้ขยายไปในแต่ละหมู่บ้านโดยมีแกนนำ แต่ละหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการออมเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุนฯ”
ออมความดีสู่ก่อตั้งกองทุนฯ
การให้สมาชิกออมวันละบาทนับเป็นกุศลโลบาย “ลดรายจ่ายวันละบาท” ทั้งให้การออมเงินเป็นการออมความดี ออมสัจจะเพราะทุกคนต้องซื่อสัตย์ที่จะเก็บเงินออมวันละบาทด้วยความมุ่งมั่นทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นเสมือนพระบิดาของปวงชนชาวไทยจึงเป็นที่มาของ “ออมเพื่อพ่อ ทำความดีเพื่อพ่อ” การออมสัจจะรู้จักกันในนาม “ออมหมู” เพราะปี 2550 เป็นปีมหามงคลเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา และตรงกับปีกุน ทางกองทุนได้แจกกระปุกออมสินหมูให้กับสมาชิกเพื่อสะสมเงินวันละ 1 บาท เพื่อสะสมให้กรรมการในแต่ละเดือน เวลาผ่านไป 1 ปี ได้ปรับเงินออมเป็นเงินสวัสดิการโดยเชิญผู้รู้มาให้ข้อคิดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสมาชิก เชิญครูชม ยอดแก้ว (สมาชิก) มาแลกเปลี่ยนแนะนำโดยเอาพื้นที่จังหวัดสงขลามาเล่าให้ฟัง หลังจากนั้นก็กลับมาดูศักยภาพของเราว่าจะทำได้ขนาดไหนที่สำคัญเราต้องการสร้างความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงต่อสมาชิกเงินออมสร้างความภาคภูมิใจให้กับสมาชิกในการมี ส่วนร่วม สร้างประโยชน์โดยตรงจากการออมเงินให้กับสมาชิกเป็นการจัดสวัสดิการที่เสมือน “การให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี”
เติบโต สร้างความมั่นคงด้านการเงิน
กองทุนฯ ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2550 เกิดจากการออมเงินของ 13 กองทุน มารวมกันโดยเป็นฉันทามติของแต่ละกองทุนถือเป็น “กองทุนออมทรัพย์สวัสดิการของประชาชนตำบลอุโมงค์” ทางเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้สนับสนุนงบประมาณสมทบกองทุนให้เป็นไปตามข้อเสนอของผู้รู้เพื่อให้กองทุนฯ สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงได้สมทบงบประมาณปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งได้สมทบปี 2551 เป็นต้นมา (กองทุน 13 กองทุน มีจำนวนเงินอยู่ 1.2 ล้านบาท) แต่ทั้งนี้การสมทบเงินดังกล่าวจะกระทำได้ต้องมีการกำหนดกฎระเบียบอย่างถูกต้อง และกองทุนจะต้องได้รับการสมทบจากรัฐบาลเพื่อให้เกิดพลัง 3 ขา คือ สมาชิก (ภาคประชาชน) เทศบาลตำบลอุโมงค์ (ภาคท้องถิ่น) และรัฐบาล (ภาครัฐ) ในปี 2553 รัฐบาลสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ชวนนับนโยบายกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยให้ภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณ กลไลการสนับสนุน การวิจัยและกฎหมายรัฐบาลสนับสนุนกองทุนทั่วประเทศหากกองทุนเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด กองทุนฯได้รับการสมทบจากรัฐมา 5 รอบ เป็นจำนวนเงิน…………………..บาท ทำให้ภาพลักษณะของกองทุนมีความเข้มแข็งมั่นคงจากการสมทบงบประมาณจากภาครัฐภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน (1 : 1 : 1)
ฐานคิดการพัฒนากองทุนฯ
จากสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำหรือด้อยโอกาสทางสังคมในส่วนสิทธิประโยชน์ของสมาชิกชุมชนตำบลอุโมงค์ ร่วมกับความตระหนักใส่ใจของผู้นำชุมชนต่อการพัฒนาชุมชนอันเป็นเป้าหมายการสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น จึงก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ “การออมสู้สิทธิประโยชน์” โดยฐานคิดการพัฒนาของผู้นำชุมชนประกอบด้วย ฐานคุณธรรมและฐานเศรษฐกิจ มีสาระสำคัญดังนี้
- ฐานคุณธรรมเป็นการริเริ่มการออมคุณงามความดีเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้วยการออมเป็นการสร้าง “กำลังเงินทุน” ในการช่วยเหลือสมาชิกชุมชนพึ่งกันและกันทั้งในช่วงการเจ็บป่วยหรือการตาย โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสที่ไม่ได้รับสวัสดิการสังคมเช่นเดียวกับกลุ่มข้าราชการหรือกลุ่มประกันสังคม การออมดังกล่าวตามแนวคิดของผู้นำจึงเสมือนการออมบุญตามพื้นฐานธรรมชาติของชุมชนแบบดั้งเดิมด้วยคติการช่วยเหลือแบ่งปันเกื้อกูลอย่างไม่เป็นทางการของเครือญาติและชุมชนอันเป็นทุนทางสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลาชั่วนานทำให้เกิดการแบ่งปันเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในชุมชน
- ฐานเศรษฐกิจ สร้างสิทธิประโยชน์จากการออมเป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของชุมชนเสริมคุณค่าของการออมปลูกฝังให้สมาชิกประหยัดรายจ่าย เป็นการใช้ฐานเศรษฐกิจหนุนเสริมฐานคิดคุณธรรมในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลให้ได้รับสวัสดิการหรือการดูแลใส่ใจตามช่วงวงจรของชีวิต การเกิด การเจ็บป่วย การสูงวัย การตาย อย่างเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างหลักการประกันความมั่นคง สร้างสิทธิพึงได้จากการออมอย่างแท้จริงเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง จึงเสมือนเป็นการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดที่ครอบคลุมทั้งฐานคุณธรรมและเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงและสมดุลของชีวิตสมาชิกทุกคนสอดคล้องกับธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่อยู่บนพื้นฐานการเกื้อกูลในยุคการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี
กระบวนการขับเคลื่อน
บุคคลที่มีส่วนสำคัญในกลไกการขับเคลื่อน คือ ผู้นำระดับตำบลและแกนนำชุมชน ซึ่งต่อมาได้รับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนระดับชุมชนและระดับตำบล การดำเนินการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการสำคัญ 4 ประการ คือ
- สร้างฉันทามติสู่การพัฒนากองทุน : แนวร่วมสู้การจัดตั้ง
เริ่มแรกของการพัฒนากองทุนผู้นำชุมชนใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความเห็นพร้องต้องกันและแสวงหาความต้องการของประชาชนในชุมชนดำเนินการผ่านการประชุมพบปะพูดคุยซึ่งเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มตัวแทนประชาชนโดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลางทำให้ได้ฉันทามติร่วมกันถึงความจำเป็นของการจัดตั้งกองทุนผลจากการประชุมดังกล่าวจึงได้เกิดการออมเงินในแต่ละชุมชน
- แสวงความรู้จากผู้ : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ลดความเสี่ยง จัดทำบัญชี
เมื่อกองทุนได้จัดตั้งขึ้นมาแล้วผู้นำและแกนนำชุมชนก็ได้ร่วมกันเป็นคณะทำงานในการขับเคลื่อนพัฒนากองทุน จึงได้สร้างความรู้โดยการเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ เชิญผู้รู้มาเป็นวิทยากร (ครูชม ยอดแก้ว) ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดการออมวันละบาทมาให้ความรู้และสามารถดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนด้านการทำธุรการการเงิน การบัญชี ซึ่งเดิมในระยะแรกของการเก็บเงินออมยังไม่เป็นระบบทางผู้นำจึงได้ปรึกษาเจ้าพนักงานตรวจสอบบัญชีชำนาญการงานจากสำนักงานจรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูนเกี่ยวกับระบบการเงินการบัญชี จึงได้ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในการให้ความรู้และแนะนำต่อคณะกรรมการในการจัดทำบัญชีเพื่อสร้างระบบการเงินนำไปสู้การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอให้มาวางระบบให้ทุกกองทุนทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส สร้างความศรัทธาต่อประชาชน
- ร่างกฎระเบียบสิทธิประโยชน์ : พื้นฐานความจำเป็นตามวงจรชีวิต
คณะกรรมการได้ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อร่างกฎระเบียบกองทุนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการพื้นฐานสำหรับสมาชิก โดยใช้แนวคิดสวัสดิการพื้นฐานตามวงจรชีวิตของมนุษย์เริ่มตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นแนวทางในการร่างกฎระเบียบ เริ่มแรกมีสวัสดิการจำนวน 26 ข้อ ประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2550โดยผ่านการทำประชาพิจารณ์ในการเห็นชอบของสมาชิกทั้ง 13 กองทุน ต่อมากฎระเบียบดังกล่าวได้มีการพิจารณาความเหมาะสม และลดความเสี่ยงจากการจัดสรรสิทธิประโยชน์ที่มากเกินควร ในการประชุมประจำปีได้มีการอภิปรายความเหมาะสมของกฎระเบียบดังกล่าว ในปี 2556 ได้มีการปรับลดจาก 26 ข้อ ลงเหลือ 24 ข้อ ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2556 โดยค่าเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจาก 12 ครั้งเป็น 10 ครั้ง และตัดข้อ 25, 26 ในประเด็นการเสียชีวิตในระยะเวลาการออม 8 ปี และ 10 ปี ได้รับเงินฌาปนกิจ 6,000 บาท และ 7,000 บาท ซึ่งการปรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการและสมาชิกทั้ง 13 กองทุน
- จัดตั้งคณะกรรมการกองทุน : การบริหารมีประสิทธิภาพโปร่งใส
การจัดตั้งคณะกรรมการเริ่มจากระดับชุมชนก่อนจากนั้นจึงจัดตั้งคณะกรรมการระดับตำบล ซึ่งมาจากคณะกรรมการกองทุนระดับชุมชนกองทุนละ 2 คนแล้วแต่งตั้งบทบาทหน้าที่ตามความสามารถและความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการจะต้องมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตอาสา มีเวลา เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความสามารถในด้านสื่อสาร และที่สำคัญจะต้องเป็นที่ศรัทธาและได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกในชุมชน การกำหนดวาระการทำงานของคณะกรรมการจะอยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี แต่เมื่อหมดวาระแล้วก็จะมีการเลือกตั้งใหม่แต่ก็ได้ชุดเดิมเพราะสมาชิกยอมรับและเชื่อถือในความสามารถของคณะกรรมการชุดเดิม
ภารกิจของกรรมการระดับชุมชน ได้แก่ การจัดทำทะเบียนสมาชิก จัดเก็บเงินออมสัจจะทุกสัปดาห์ต้นเดือนแล้วส่งให้ระดับตำบล ในแต่ละเดือนบัญชีระดับชุมชนมี 2 บัญชี คือ บัญชีออมสัจจะ (ฝากอย่างเดียวไม่มีสิทธิเบิก) และบัญชีเงินสวัสดิการ เป็นบัญชีเงินสำรองจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกรวมทั้งจะทำระบบบัญชีรายรับ – รายจ่าย ตรวจสอบเอกสารของสมาชิกที่มาขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆจากกองทุน และหากลยุทธ์เพื่อแสวงหาสมาชิกเพิ่ม
ภารกิจของคณะกรรมการระดับตำบลจะมีภารกิจสำคัญ คือ การจัดเก็บเงินออมจากสมาชิกผ่านคณะกรรมการระดับชุมชน การจัดทำระบบบัญชีในการบริหารจัดการกองทุน (บัญชีระดับตำบลมี 4 บัญชี ได้แก่ บัญชีสวัสดิการ, บัญชีสำรอง, บัญชีดำเนินการ และบัญชีเพื่อการพัฒนา)
การสร้างระบบบัญชีการบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ กองทุนได้เชิญวิทยากรจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูนมาให้ความรู้และอบรมการจัดทำบัญชีให้กับคณะกรรมการกองทุน ซึ่งทำให้การบริหารจัดการกองทุนฯ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยกรรมการต้องคำนึงถึง 3 ป. คือ โปร่งใส ประสิทธิภาพ และประชาชนตรวจสอบได้
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน(เครื่องมือมุมมององค์ความรู้ 4 มิติ)
ด้วยสถานการณ์ความด้อยโอกาสทางสังคมในส่วนสิทธิประโยชน์ของสมาชิกชุมชนตำบลอุโมงค์ ผนึกกับความมุ่งมั่นใจของผู้นำชุมชนต่อการพัฒนาชุมชนอันเป็นเป้าหมายการสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองของท้องถิ่น ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ “การออมสู่สิทธิประโยชน์” โดยฐานคิดการพัฒนาของผู้นำชุมชนประกอบด้วย ฐานคุณธรรมและฐานเศรษฐกิจ
๑. ฐานคุณธรรม เป็นฐานเสริมการออมคุณงามความดี ด้วยการออมเงินดังกล่าวเป็นการสร้าง “กำลังเงินทุน” ในการช่วยเหลือสมาชิกชุมชนซึ่งกันและกันตามช่วงวงจรชีวิต คือ การเกิด การสูงวัย การเจ็บป่วยและการตาย การออมเงินตามแนวคิดของผู้นำชุมชนจึงเสมือนการ “ออมบุญ” หรือ “ออมความดี” ตามพื้นฐานบริบทธรรมชาติของชุมชนแบบดั้งเดิม ด้วยคติความรัก ความสามัคคีการมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างไม่เป็นทางการของเครือญาติและชุมชนอันเป็นทุนทางสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน เป็นความ เอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในชุมชนทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลคนที่ด้อยโอกาส ดังคำระบุของผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นหนึ่งในประธานกองทุนฯ “… มันน่าจะดีในเรื่องช่วยผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสด้วย เขาสนใจในเรื่องการมีส่วนร่วม เขาก็สมัครใจ คือเขาเล็งเห็นความสำคัญว่า ชุมชนนี้ต้องเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน…”การออมเงินของกองทุนสวัสดิการจึงเสมือนเป็น “กองบุญ” มากกว่ากองทุนส่วนหนึ่งช่วยสร้างความเข้มแข็ง สร้างความสามัคคีในชุมชน ดังคำระบุ “… มันเหมือนเราช่วยเหลือกัน สังคมต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นความสามัคคีในหมู่บ้านด้วยทำให้ตรงนี้ ๑๑ หมู่บ้าน เหมือนกันหมด…”
๒. ฐานเศรษฐกิจ : สร้างสิทธิประโยชน์จากการออม ฐานคิดหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ คือ การออมสู่สิทธิประโยชน์เป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของชุมชน เสริมคุณค่าของการออมเงิน ปลูกฝังให้สมาชิกประหยัดรายจ่าย สร้างวินัยด้านการเงิน ดังคำระบุ “… จะได้ช่วยกันประหยัดอดออม ได้ปลูกฝังให้คนเรามีการเก็บการใช้…ได้ประโยชน์นอกเหนือจากการออม เงินบาทเดียวออมกันไปเถอะ เก็บไว้ก่อนๆ เผื่อจะได้ช่วยเหลือกัน ก็ออมกันไป…” จึงเป็นการใช้ฐานเศรษฐกิจหนุนเสริมฐานคุณธรรมด้านแบ่งปันเกื้อกูล ให้ได้รับการดูแลใส่ใจ “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” อย่างเท่าเทียมทุกคน หนุนฐานคุณธรรมที่เป็นการออมความดี สู่การสร้างหลักประกันความมั่นคง สร้างสิทธิประโยชน์จากการออมอย่างเป็นรูปธรรม วิธีคิดการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ด้วยเป้าหมายให้ตำบลอุโมงค์เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง เสมือนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดที่ครอบคลุมทั้งฐานคุณธรรมและเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงและสมดุลของชีวิตสมาชิกชุมชน สอดรักกับธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่อยู่บนพื้นฐานการเกื้อกูลในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
การพัฒนาขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ บุคคลที่มีส่วนสำคัญเป็นกลไกการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ คือ ผู้นำชุมชนระดับตำบลและแกนนำชุมชน บุคคลเหล่านี้ต่อมาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลและหมู่บ้าน การดำเนินการขับเคลื่อนระยะแรก เน้นการปรับกระบวนทัศน์วิธีคิดของชุมชน ให้เกิดความร่วมมือ ยอมรับ เข้าใจความจำเป็นของการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนที่พึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนมีการแสวงหาข้อมูลเพื่อเป็นเงื่อนไขความรู้สำคัญสู่การตัดสินใจจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตามหลักการเหมาะกับบริบทชุมชนอุโมงค์
๑. ฉันทามติ แนวร่วมการจัดตั้ง : กินหอมตอมม่วน
ระยะเริ่มแรกของการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ผู้นำชุมชนใช้กุศโลบายสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ชุมชนมีความเห็นพ้องต้องกันต่อการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เพื่อบ่งบอกความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน ในเวลาเดียวกันแสวงหาความต้องการของชุมชน อีกนัยหนึ่ง “ประเมินความต้องการของชุมชน” ต่อสวัสดิการชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ ดำเนินการผ่านการประชุมพบปะพูดคุยประดุจ “ประชาเสวนา” เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มตัวแทนประชาชน (สมาชิกชุมชน)โดยบูรณาการสอดแทรกในวิถีธรรมชาติของชุมชน คือ “กินหอมตอมม่วน” จามบริบทธรรมชาติของชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ที่ยังคงปฏิบัติอยู่ (วิธีการเช่นนี้ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ใช้ในการประชุมสัญจรเป็นประจำทุกปี) สมาชิกชุมชนจะนำอาหารมารับประทานร่วมกัน ผู้นำชุมชนใช้โอกาสนี้พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงความต้องการด้านสวัสดิการชุมชน
ยึดหลัก “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ริเริ่มการพัฒนา (กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ) ด้วยตนเอง ด้วยเป้าหมายสร้างการเป็น “เจ้าของ” กองทุนสวัสดิการร่วมกันได้ฉันทามติร่วมกันทั้งแกนนำ ผู้นำหมู่บ้านและสมาชิกชุมชน ถึงความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ช่วงเริ่มแรกของการจัดตั้งกองทุนฯ เน้นเพียงการส่งเสริมให้สมาชิกชุมชนมีการออมเงิน ริเริ่มการพึ่งตนเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมกับการมีน้ำใจไว้ใจซึ่งกันและกัน ในขณะนั้นยังไม่ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับจากการเป็นสมาชิกของกองทุนฯ ผลจากการ “กินหอมตอมม่วน” นอกจากจุดประกายความคิดของสมาชิกชุมชนต่อการออมเงิน ยังกระตุ้นให้เกิดการกระทำต่อมา คือ การออมเงินในแต่ละหมู่บ้าน ดังคำระบุของผู้ให้ข้อมูลทั้งในระดับผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ
“… นายกมีคนเชื่อถือ ชาวบ้านเชื่อถือ ชาวบ้านรัก นายกก็ห่อข้าวมาหิ้วปิ่นโตมา หมู่ชาวบ้านก็ต่างคนต่างห่อ แล้วมารวมกินด้วยกัน กินเสร็จก็สักหกโมง ไม่มีไฟฟ้า จุดตะเกียง กินกันแล้วก็คุยกันว่าคนเรานี้ คนเฒ่าคนแก่ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีอะไร… อยู่ๆ กันไปแบบนี้ รายได้ก็ไม่มี นายกมีความคิดเอ๊ะเรามาตั้งกันนะตั้งแล้วยังไม่รู้ว่าจะมีสวัสดิการใช้อะไร ตั้งไว้ก่อน ชาวบ้านก็ตกลง ครั้งแรกร้อยยี่สิบคนที่เริ่มแรก…”
“… ครั้งแรกนี้ตั้งเองในชุมชน พูดกันว่าอยากจะออมเงินกัน ทีนี้เขาจะมีงานกินหอมตอมม่วนในหมู่บ้านก็เชิญนายกขยันมา เขาก็จะพูดทำนองว่าเออก็ออมไว้ก็ดี…ที่เรากินหอมตอมม่วนนี้มันมีมานานแล้ว ที่เราทำนั้นก็…ประมาณปีกว่าจะสองปีที่นายกเขาเอาเข้าสู่กระบวนการเทศบาล…”
“… คิดแต่ว่ามารวมตัวกันเผื่อมันดี มันมีเงินสักก้อนหนึ่ง พูดว่าเงินบาทเดียวออมกันไปเถอะเผื่อไปข้างหน้าจะมี อย่างนี้เก็บไว้ก่อน เผื่อจะได้ช่วยเหลือกันอะไรกันอย่างนี้ แล้วก็ออมกันไป…”
๒. แสวงหาความรู้ : ลดความเสี่ยง จัดทำบัญชี
ภายหลังได้ฉันทามติในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ คณะทำงาน (ซึ่งต่อมา คือ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน) ที่ขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนเงินออมสู่กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการ ร่วมกับความเสี่ยงด้านการเงิน โดยเฉพาะการจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกที่ไม่เหมาะสมดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ มีประสิทธิภาพ คงไว้ซึ่งความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการฯ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความรู้ เรียนรู้จากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหา เสมือนการเรียนรู้ประสบการณ์จากตัวแบบที่ดีเพื่ออาศัยหลักความรู้/หลักวิชาการ ในการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ มาใช้อย่างรอบคอบ
คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการฯ ได้เชิญผู้รู้ด้านการเบิกสวัสดิการชุมไทย “ครูชบ ยอดแก้ว” ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดการออม “สัจจะลดรายจ่ายวันละบาท” สู่การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายมาเป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ การกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกของกองทุนฯ อย่างเหมาะสม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้ ทำให้เกิดการขยับขับเคลื่อนพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนฯ อย่างเป็นรูปธรรม ใช้หลักการพัฒนาชุมชนในการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในลักษณะสวัสดิการสังคม
“… นายกขยัน เกิดแนวคิดว่า เราจะทำดีเพื่อพ่อ ก็เลยคิดโครงการออมเงินวันละบาทเพื่อพ่อ เริ่มทำหมู่ ๙ บ้านป่าเส้าก่อน แบบออมเงินอย่างเดียว คราวนี้นายกขยันก็มีแนวคิดว่า เก็บอย่างเดียวนี้ ชาวบ้านไม่เห็นผลประโยชน์ เลยมีแนวคิดเชิงครูชบ ยอดแก้ว มาบรรยายที่เทศบาลอุโมงค์…”
“… หลังจากที่ชาวบ้านออมได้ครบประมาณปีหนึ่ง ก็ไปเชิญพ่อครูชบ ยอดแก้ว ตอนนั้นเขาเป็นสมาชิก สนช. เอามาขายไอเดียให้กับกรรมการ ให้กับผู้นำแต่ละกลุ่มที่เราไปตั้งไว้ มาคุยกันว่าที่สงขลาเขาออม เอามาจัดสวัสดิการ ทำอย่างไร…”
นอกจากเชิญผู้รู้ที่มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการแล้ว ปัญหาหนึ่งที่คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ประสบ คือ การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ด้วยธรรมชาติของคณะกรรมการฯ ที่ไม่สันทดกับการทำบัญชี ทำให้ระยะเริ่มแรกของการเก็บเงินออมยังไม่เป็นระบบ นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ที่ทำหน้าที่เป็นประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับตำบลได้ปรึกษา ขอความช่วยเหลือเจ้าพนักงานตรวจสอบบัญชีชำนาญงานของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูน ให้ความรู้และข้อแนะนำในการจัดทำบัญชี “รายรับรายจ่าย” ต่อคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เพื่อสร้างระบบการเงินนำไปสู่การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ระบบบัญชีเราให้ความสำคัญเพราะว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มันต้องโปร่งใส เราก็ไปปรึกษาหารือกับสำนักงานผู้ตรวจสอบบัญชีจังหวัดว่า ขอมาช่วยดูวางระบบให้ เพราะเงินชาวบ้านจะต้องแม่นยำต้องถูกต้อง สำนักงานตรวจสอบมาวางระบบให้ทุกๆปี เขาจะให้ตรวจสอบ ๓๐ กันยา ตรวจสอบงบดุลให้เรา กองทุนจะเข้มแข็ง มีความเชื่อถือ โดยเฉพาะที่มาของเงินต้องตรวจสอบได้…”
จึงเห็นได้ว่าความตระหนักในความรู้ของการทำระบบบัญชี มีความสำคัญเพราะเอื้อการตรวจสอบหลักฐานการเงินได้โดยประชาชน บ่งบอกการทำงานการเงินที่โปร่งใส สร้างศรัทธาต่อประชาชน ที่สำคัญ รู้สถานะการเงิน ทำนายความคงอยู่ของกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ฯ “เออ เขาก็กลัวมันล้มไง เพราะเงินมันเยอะ เขากลัวมันยุ่ง เพราะวาไม่รู้จักระบบเก็บหลักฐาน ไม่รู้จักวางระบบบัญชียังไง ได้แค่รับส่งไปโดยที่ไม่มีระบบตรวจสอบ เลยไปวางระบบเอาระบบของสหกรณ์นี้ไปจัดว่ารับ-จ่าย จ่ายมีรายละเอียดอะไรบ้าง เอาระเบียบไปให้เขาเป็นไกด์ให้เขา”
ระเบียบสิทธิประโยชน์
เพื่อสร้างสิทธิประโยชน์พึงมีพึงได้บนพื้นฐานความจำเป็นตามช่วงวงจรชีวิต นับแต่เกิดจนสิ้นอายุ คณะทำงานการขับเคลื่อนกองทุนฯระดับตำบล ได้ประชุมร่วมกันเพื่อร่างกฎระเบียบกองทุนฯ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการพื้นฐานสำหรับสมาชิกกองทุนฯ โดยใช้แนวคิดสวัสดิการพื้นฐานตามวงจรชีวิต ของมนุษย์ “เกิด แ เจ็บ ตาย” เป็นแนวทางในการร่างกฎระเบียบดังกล่าว เริ่มแรกได้ร่างกฎระเบียบจำนวน 26 ข้อ ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์ให้ความเห็นชอบจากสมาชิกกองทุน 13 กองทุน ร่วมกับข้อเสนอแนะจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการจัดสวัสดิการไทย
“ชีวิตวงจรของตนเรา ก็มีเกิด ไปโรงเรียน จบมหาลัยแล้วก็ต้องมีครอบครัว แต่งงาน ผู้ชายต้องเป็นทหาร บวช ใช่ไหม ก็ดูสวัสดิการทั้งหมด ตั้งแต่เรียนหนังสือ แต่งงาน มีบ้าน มีครอบครัว พอเข้าสู่วัยทำงานก็มีเจ็บละ เดี๋ยวก็ไปโรงพยาบาลจนกระทั่งวัยผู้สูงอายุ มีนอนโรงพยาบาล แล้วก็เสียชีวิต ก็มองดูนะว่า วงจรชีวิตว่าตั้งแต่เกิดจนตายมีอะไร จะมีสวัสดิการทั้งหมด 25-26 ข้อ”
อย่างไรก็ดีเพื่อลดความเสี่ยงจากการจัดสรรสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก กฎระเบียบดังกล่าวได้มีการพิจารณาความเหมาะสม ในการประชุมสัญจรประจำปีของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ระดับตำบลทุกปี ซึ่งในปี พ.ศ.2556 ได้มีการปรับลดกฎระเบียบฯ จาก 26 ข้อ เหลือ 24 ข้อ มีการประกาศใช้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 โดยปรับค่าเดินทางการไปรับการรักษาทีโรงพยาบาลจาก 12 ครั้ง เป็น 10 ครั้ง และตัดกฎระเบียบฯข้อ 25 และ 26 ในประเด็นระยะเวลาการออม 8 ปี และ 10 ปีขึ้นไป ในส่วนของผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต การปรับลดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวผ่านการเห็นชอบทั้งจากคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ทั้ง 13 กองทุน ด้วยเหตุผลของความสาดุลรายรับ-รายจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ร่วมกับการใช้กุศโลบายสร้างจิตสำนึก เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชุมชน
“ถ้าตัดสวัสดิการเหลือ 24 ก็มาคิด ทำกับคนหมู่มาก ต้องมีกฎ มีระเบียบ มีข้อบังคับ เชิญนิติกรของเทศบาลเข้าร่วม ปลัดเข้าร่วม มีข้อบังคับเรื่องการรับสมาชิกตั้งแต่แรกเริ่ม คุณสมบัติของสมาชิก ระบบการเงิน การบัญชีที่มาแห่งรายได้ สมาชิกก็รับเฉพาะคนตำบลอุโมงค์เท่านั้น นอกเขตไม่รับ…”
“เรามามองดูว่ามันจ่ายเยอะเกิน เงินในกองทุนไหลออกมา ก็คุยกับกรรมการให้ลดการตายข้อนึง แล้วก็โรงพยาบาล คนไปเยอะ ก่อนที่จะลด เราก็เอาข้อมูลเหล่านั้นมาคุยกับกรรมการ กรรมการก็ไปคุยกันในประชุมใหญ่ ไปชี้แจงสมาชิก ถ้าจ่ายไปเยอะเงินในกองทุนจะลดลง เราก็ไปประชุม ไปชี้แจง”
สำหรับบุคคลที่จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์
2) เป็นผู้ที่จะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับและมติของที่ประชุม กองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์
3) เป็นผู้มีความเสียสละ มองประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
4) เป็นผู้มีสัจจะต่อตนเองในการลดรายจ่ายวันละหนึ่งบาทเพื่อออมและนำมาจัดสวัสดิการภาคประชาชนตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนด
ส่วนสมาชิกกองทุนจะขาดหรือพ้นสภาพความเป็นสมาชิก ในกรณีดังต่อไปนี้
1) เสียชีวิต
2) ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ประจำหมู่บ้าน
3) จงใจฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของกองทุนฯ หรือแสดงตนเป็นปรปักษ์หรือไม่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกองทุนฯ ด้วยประการใดๆ
4) จงใจปิดบังหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในใบสมัคร
5) ขาดการส่งเงินออมติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน
ตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ : บริหารมีประสิทธิภาพ โปร่งใส
การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เริ่มจากระดับหมู่บ้าน 13 กองทุนจากจำนวน 11 หมู่บ้านในเทศบาลตำบลอุโมงค์ เนื่องจากมี 2 หมู่บ้านที่มี 2 กองทุน/หมู่บ้าน ด้วยเหตุสมาชิกในหมู่บ้านดังกล่าวมีพื้นที่อาศัยห่างไกลกัน จึงแยกเป็น 2 กองทุนฯเพื่อความสะดวกในการเก็บเงินออม หมู่บ้านที่มีความพร้อมจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ก่อน จากนั้นจึงจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ (นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์) รองประธานคณะกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายปฏิคม ฝ่ายตรวจสอบและกรรมการ คณะกรรมการเหล่านี้คัดเลือกจากคณะกรรมการกองทุนในระดับหมู่บ้านมาร่วมเป็นคณะกรรมการในระดับตำบล กองทุนละ 2 คน “… หลังจากเอาเงินมารวมกันเราต้องมีการตั้งกรรมการระดับตำบลขึ้น ก็มีที่มาว่าจะต้องมาจากกลุ่มหมู่บ้าน อย่างน้อย สองคน…”
คณะกรรมการกองทุนฯ ระดับหมู่บ้านมีองค์ประกอบของคณะกรรมการเช่นเดียวกับระดับตำบล ที่น่าสนใจ คือ คุณลักษณะที่สำคัญของคณะกรรมการกองทุนฯระดับหมู่บ้าน ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริตโปร่งใส มีจิตอาสา เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความสามารถในการสื่อสาร ที่สำคัญต้องได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกชุมชน “…ไปดูว่าใครที่มีหน่วยก้านดี มีประสบการณ์ ก็ไปตั้งเป็นประธาน พูดกับชาวบ้านเอาคนนี้เป็นประธานเนาะ เราคิดว่าคนนี้จะสามารถนำได้ ก็ไปตั้งกรรมการไปเป็นหมู่ๆ สำคัญอยู่ที่กรรมการที่ดูแลกองทุน เรื่องเงิน มันต้องซื่อสัตย์…”
“การเอาเงินจากกระเป๋าชาวบ้านมา เป็นเรื่องยาก ชาวบ้านเขาจะไว้ใจเชื่อใจไหม อย่างป้าพร เคยอยู่สหกรณ์ เป็นคนที่จะไปขับเคลื่อนสิ่งที่เราอยากทำได้เอาป้าพรดีไหม ให้เป็นประธาน เป็นกรรมการ แล้วป้าพรก็จะไปดูหมู่บ้านตัวเอง”
วาระการทำงานของกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ จะอยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้ว ถ้าไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิมส่วนใหญ่จะมีวาระทำงานมากกว่า 4 ปี “…มันมีวาระแต่ออกไม่ได้ของผมเข้ามาสิบปีแล้วยังไม่ได้ออกเลย อันนี้บัญชีดูได้เลย รายรับ รายจ่ายได้มาเท่าไร จ่ายไปยังไง ทำยังไง เราต้องมีหมด…” เนื่องด้วยสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ยอมรับและเชื่อถือในความสามารถของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ชุดเดิมซึ่งปัญหาที่อาจตามมา คือ การทดแทนคณะกรรมการฯ ชุดเดิม (ซึ่งส่วนใหญ่ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ จะเป็นผู้สูงวัย)
“…เราก็มีกรรมการที่มีความ เข้มแข็ง มีความเสียสละ โปร่งใส ทั้งระดับกลุ่ม ทั้งระดับตำบล นี่แหละ กรรมการมีความเสียสละ มีความมั่นคง มีความเข้มแข็ง บริหารด้วยความโปร่งใส เอื้ออาทร ดูแลซึ่งกันและกัน อันนี้ก็ทำให้มันอยู่ได้…”
“…สิ่งที่ผมเป็นห่วง คือ เป็นห่วงกรรมการ ถ้าเกิดกรรมการชุดนี้เขาออกไปไม่อยู่แล้ว จะยังไง…”
ภารกิจสำคัญของคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล คือ การจัดเก็บเงินจากสมาชิกกองทุนฯ ผ่านคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับหมู่บ้าน มีการจัดทำระบบบัญชีในการบริหารจัดการกองทุนฯ (มี 4 บัญชี ได้แก่ บัญชีสวัสดิการ บัญชีสำรอง บัญชีดำเนินการและบัญชีเพื่อการพัฒนา) ส่วนภารกิจของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับหมู่บ้าน รับผิดชอบจัดทำทะเบียนสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมฯ จัดเก็บเงินสมาชิกกองทุนฯ ทุกสัปดาห์ต้นเดือนในวันหยุดราชการ สร้างระบบบัญชีอย่างน้อย 2 บัญชี คือ บัญชีออมสัจจะ เป็นบัญชีฝากอย่างเดียวไม่สามารถเบิกได้ และบัญชีเงินสวัสดิการเป็นบัญชีสำหรับการเบิกสำรองจ่ายเงินสวัสดิการ รวมทั้งสร้างระบบบัญชีรายรับ รายจ่าย ตรวจสอบเอกสารกรณีที่สมาชิกขอรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนฯ โดยประธานกองทุนฯ ระดับหมู่บ้านรับผิดชอบเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและบัญชี ร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ประจำเดือน สร้าง กลยุทธ์แสวงหาสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนฯเพิ่ม ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ หรือใช้หลักจิตวิทยา ดังเช่น ลดค่าธรรมเนียมแรกเข้า แจกสินค้าบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนการเตือนสมาชิกในการเก็บเงิน แต่ละเดือน บางกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ จะใช้เพลงที่ประธานกองทุนฯ แต่งผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้าน
“พรุ่งนี้จะเก็บเงิน ตอนค่ำก็เปิดเพลงกองทุนที่ผมแต่งเองร้องเองผมก็ว่าได้เวลาที่เราจะมาออมกัน แปดโมงครึ่งก็มาออมกัน ใครมีสวัสดิการอะไรก็ดูวันที่ ดูเดือน ดู พ.ศ. ให้เรียบร้อย มีลายเซ็นหมอ มีตราประทับโรงพยาบาลเรียบร้อย ก็มาเบิกสวัสดิการ ท่านใดที่ยังไม่ได้เป็นสามชิกกองทุนฯ ก็มาสมัครได้ ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมด้วยเงินสามสิบบาท ช่วงนี้ไม่เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า เพราะว่าเราโปรโมชั่นต้องการสมาชิกเพิ่ม”
การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ คำนึงถึง 3 ป. คือ โปร่งใส ประสิทธิภาพ และประชาชนตรวจสอบได้ ส่วนแนวคิดในการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ร่วมกับสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ ทั้งความรู้ของการจัดสวัสดิการชุมชน และ การจัดระบบการเงิน จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และเงื่อนไขคุณธรรม ที่ให้สมาชิกมีสัจจะ ซื่อสัตย์ในการ ออมเงินช่วยเหลือแบ่งปันตามบริบท “ชุมชนที่ช่วยเหลือกันแบบเครือญาติ” ได้กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ที่สร้างคุณภาพ ความสมดุลชีวิตของสมาชิกกองทุนฯ
เทคนิค/ทักษะ
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2550 จากฉันทามติของคณะกรรมการแต่ละกองทุนและสมาชิกในกลุ่ม 13 กองทุน ระดับหมู่บ้าน ถือเป็นกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการของประชาชนตำบลอุโมงค์ ทางเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้สนับสนุนงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ให้ปีละหนึ่งล้านบาท (ในสัดส่วน 1 : 1) เริ่มสมทบในปี 2551 เป็นต้นมา เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ.2550 กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์มีเงินรวมทั้ง 13 กองทุน 1.2 ล้านบาทโดยประมาณ นอกจากนี้ท่านผู้นำชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของความมั่นคงของกองทุนสวัสดิการชุมชนฯที่ต้องมีการสมทบช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อให้เกิดพลัง 3 ขา คือ สมาชิก (ภาคประชาชน) เทศบาลตำบลอุโมงค์ (ภาคท้องถิ่น) และรัฐบาล (ภาครัฐ)
ในปี พ.ศ.2553 รัฐบาลสมัยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขานรับนโยบายกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ โดยภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งในงางบประมาณ กลไกการสนับสนุน การวิจัยและกฎหมาย ในช่วงนั้นรัฐบาลเริ่มสนับสนุนให้มีกองทุนออมทั่วประเทศหากกองทุนออมใดเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดรัฐบาลจะสมทบงบประมาณเพิ่มอีกหนึ่งส่วน (เงินที่รัฐบาลสมทบนี้ให้กับสมาชิกเงินออม 3 มีต่อคน) กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้รับการสนับสนุนเงินจากรัฐบาลนับแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา
การบริหารการเงิน การบัญชี
ภารกิจสำคัญด้านการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล คือ การจัดเก็บเงินจากสมาชิกกองทุนฯ ผ่านคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับหมู่บ้าน มีการจัดทำระบบบัญชีในการบริหารจัดการกองทุนฯ มี 4 บัญชี ได้แก่ บัญชีสวัสดิการ บัญชีสำรอง บัญชีดำเนินการ และบัญชีเพื่อการพัฒนา ส่วนภารกิจของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ระดับหมู่บ้าน รับผิดชอบจัดทำทะเบียนบ้านสมาชิก จัดเก็บเงินสมาชิกทุกสัปดาห์ต้นเดือนตามแต่ละหมู่บ้านกำหนดวันและเวลา สร้างระบบบัญชีเงินฝากอย่างน้อย 2 บัญชี คือ บัญชีเงินออมสัจจะและบัญชีเงินสวัสดิการ
1) บัญชีเงินออมสัจจะ เป็นบัญชีฝากอย่างเดียวไม่สามารถเบิกได้ทุกหมู่บ้านรับเงินออมสัจจะแล้ว นำฝากธนาคารไม่เกินวันที่ 10 ของเดือน เมื่อนำฝากแล้วต้องถ่ายเอกสารเงินฝากแต่ละครั้งให้กับกรรมการตรวจสอบ เงินออมสัจจะของแต่ละหมู่บ้านเมื่อนำฝากธนาคารครบทั้ง 13 กองทุน ทางธนาคารจะดำเนินการโอนเงินเข้า 4 บัญชีระดับตำบล แบ่งเป็นบัญชีสวัสดิการ 70% บัญชีสำรอง 10% บัญชีดำเนินการ 10% และบัญชีเพื่อพัฒนา 10%
2) บัญชีเงินสวัสดิการ เป็นบัญชีสำหรับเบิกสำรองจ่ายเงินสวัสดิการ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะได้รับเงินสำรองจ่ายไม่เท่ากันได้รับมากน้อยตามสัดส่วนจอนวนของสมาชิก เงินสำรองจ่ายนี้ได้ตามลำดับ S M L คือ 50,000.- บาท 30,000.- บาท และ 20,000.- บาท
สวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ได้จำแนกออกเป็น 26 ข้อ ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิตโดยประธานกองทุนฯระดับหมู่บ้านรับผิดชอบเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารตามกฎระเบียบของกองทุนฯนำส่งกรรมการผู้ตรวจสอบเอกสารระดับตำบลในวันที่ 10 ของทุกเดือน
บัญชีเงินสำรองจ่ายนี้เมื่อกรรมการฝ่ายตรวจสอบทำการตรวจสอบเอกสารถูกต้องเสร็จสิ้นแล้ว ทุกวันที่ 15 ของเดือน คือ กำหนดการประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ประจำเดือน เมื่อในที่ประชุมรับรองแล้ว เหรัญญิกระดับตำบลผู้รับผิดชอบนำยอกรวมจ่ายทั้งหมดของแต่ละหมู่บ้านนำส่งธนาคารที่ทางกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ได้ใช้บริการเพื่อให้ทางธนาคารโอนเงินเข้าบัญชีเงินสำรองจ่ายของ แต่ละหมู่บ้านตามที่จ่ายจริงเพื่อจะได้นำไปจ่ายให้กับสมาชิกในเดือนต่อไป
การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์คำนึงถึง 3 ป. คือ โปร่งใส ประสิทธิภาพ และประชาชนตรวจสอบได้
ทักษะ
– การเพิ่มสมาชิกกระทำโดยการสร้างแรงจูงใจให้เห็นถึงสิทธิประโยชน์ในลักษณะการเกื้อกูล ช่วยเหลือกัน
– การค้นหาชื่อผู้ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก คณะกรรมการกองทุนฯ แต่ละคนลงพื้นที่ไปตามบ้านเชิญชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฯ
– การให้รางวัลทั้งสมาชิก และคณะกรรมการกองทุนฯ
– การลดค่าธรรมเนียมแรกเข้า
– แจกสิ้นค้าบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
– ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย หอกระจายข่าว และตามกิจกรรมต่างๆ ของกองทุนฯ
– เอกสาร แผ่นพับ โปสเตอร์
– Website
– การประชุมสัญจรของกองทุนฯ เพื่อขยายความรู้ข้อมูลข่าวสารของกองทุนฯ ให้เป็นที่รับรู้อย่างชัดเจนของกองทุนฯ
กลไกการจัดการ (กลุ่มองค์กร เครือข่าย บทบาท )
1) นายขยัน วิพรหมชัย สมัยเป็นนายกเทศบาลตำบลอุโมงค์ เชิญแต่ละชุมชนมารับประทานอาหารร่วมกัน คือ ใครมีอะไรก็นำมาทานร่วมกัน และได้เชิญชวนให้ผู้ที่มาร่วมงานออมวันละบาทในแต่ละชุมชนให้สมาชิกสภาเทศบาลของแต่ละหมู่บ้านตั้งคณะกรรมการจัดเก็บเงิน 7 – 15 คน ตามหมู่บ้านใหญ่ กลาง และเล็ก
2) แต่ละกลุ่มจะนั่งเก็บเงินออมในวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือน สถานที่บางกลุ่มนัดกันที่ศาลาเอนกประสงค์(SML) หรือบางกลุ่มจัดเก็บในวัด
3) เมื่อจัดเก็บเงินออมได้ประมาณ 5 ล้านกว่าบาท เมื่อมีเงินจำนวนมากก็ต้องมีกฎระเบียบการจัดเก็บเงิน มีการตั้งข้อบังคับและระเบียบการจัดการจ่ายสวัสดิการให้ทุกกลุ่ม
4) ก่อนจะนั่งเก็บเงินออมประธานและเหรัญญิกของแต่ละกลุ่มต้องเบิกเงินมาเพื่อจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิก
5) เมื่อจัดเก็บเงินออมสมาชิกแล้วก่อนวันที่ 10 ของทุกเดือนให้นำเงินฝากธนาคาร ธกส. และหลังจากวันที่ 15 ของทุกเดือนต้องนำเงินที่เหลือจ่ายจากสวัสดิการให้สมาชิกเข้าธนาคารให้หมด หรือบางกลุ่มจะเอาไว้ในมือ 5,000.- บาท ในกรณีที่มีสมาชิกเสียชีวิตในระหว่างเดือน
6) ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนให้แต่ละกลุ่มนำเอกสารรับเงินออมและจ่ายสวัสดิการมาให้ฝ่ายตรวจสอบเอกสารเพื่อความถูกต้อง
7) ทุกวันที่ 15 ของเดือน จะมีการประชุมประจำเดือนโดยให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาประชุมกลุ่มละ 2 คน คือ ประธานและเหรัญญิกหรือผู้ที่ทำบัญชี เพื่อมาทราบข้อมูลต่างๆ ที่ประธานหรือเลขานุการของกองทุนฯ และสรุปรายรับ – รายจ่ายของแต่ละกลุ่มและรวมเป็นของตำบลเพื่อส่งให้นางสาวไพลิน บังคมเนตร ฝ่ายจัดทำข้อมูล (โปรแกรม)
8) เมื่อสรุปแต่ละเดือน สิ้นปีจะมีการทำงบดุลโดยนางจีราภรณ์ เรืองฤาชี ข้าราชการบำนาญ จากสหกรณ์จังหวัดลำพูน
9) นางอรวรรณ ขว้างจิตต์ เลขานุการของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ จำทำรายงานผลการดำเนินงานให้จังหวัดเป็นประจำทุกเดือน
10) นางอรวรรณ ขว้างจิตต์ ได้เป็นประธานเครือข่ายของกองทุน จะมีอำเภอเมือง, อำเภอป่าซาง, อำเภอบ้านธิ, อำเภอแม่ทา, อำเภอบ้านโฮ่ง, อำเภอลี้ และอำเภอทุ่งหัวช้าง เพื่อจะได้นำความรู้ความก้าวหน้าและปัญหาของแต่ละกลุ่มมาให้คณะกรรมการของตำบลอุโมงค์ได้ทราบกัน และนางอรวรรณขว้างจิตต์ยังเป็นตัวแทนไปประชุมกับกระทรวงพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งระดับจังหวัดและระดับชาติ
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- ความรู้
ภายหลังจากการได้รับฉันทามติในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ คณะทำงานซึ่งต่อมาคือคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ขับเคลื่อนการพัฒนากองทุน เงินออมสู่กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ตระหนักถึง สิทธิประโยชน์ ด้านสวัสดิการ ร่วมกับความเสี่ยงด้านการเงิน โดยเฉพาะการจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิก ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์มีประสิทธิภาพ คงไว้ซึ่งความยั่งยืน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความรู้ การเรียนรู้จากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ตรง ในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาเสมือนการเรียนรู้ประสบการณ์จากแบบอย่างที่ดี เพื่ออาศัยหลักความรู้ หลักวิชาการในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์มาใช้อย่างรอบคอบ
คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้เชิญผู้รู้ด้านการบุกเบิกสวัสดิการชุมชนไทย ครูซบ ยอดแก้ว ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดการออม สัจจะลดรายจ่ายวันละบาท สู่การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายมาเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้ทำให้เกิดการขับเคลื่อนพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์อย่างเป็นรูปธรรม ใช้หลักการพัฒนาชุมชนในการสสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในลักษณะสวัสดิการสังคม
นอกจากเชิญผู้รู้ที่มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการแล้ว ปัญหาหนึ่งที่คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ประสบคือ การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ด้วยคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการไม่สันทัดการทำบัญชี ทำให้ระยะเริ่มแรกของการเก็บเงินออมยังไม่เป็นระบบ ดังนั้น ประธานกองทุนสวัสดิการเทศบาลตำบลอุโมงค์จึงได้ปรึกษา ขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตรวจสอบบัญชีชำนาญการของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูน มาให้ความรู้และข้อแนะนำรวมถึงการสอนในการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย แก่คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เพื่อสร้างระบบการเงิน นำไปสู่การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบบัญชีเราให้ความสำคัญ เพราะว่าเงินทุกบาททุกสตางค์จะต้องโปร่งใส จึงได้ไปปรึกษาหารือกับสำนักงานผู้ตรวจสอบบัญชีจังหวัดว่าขอมาช่วยวางระบบให้ เพราะเงินชาวบ้านต้องแม่นยำถูกต้อง สำนักงานตรวจสอบมาวางระบบให้ทุกปี ตรวจสอบงบดุลให้เรา กองทุนจะเข้มแข็งมีความเชื่อถือโดยเฉพาะที่มาที่ไปของเงินต้องตรวจสอบได้
- ทัศนคติ
แนวคิดด้านกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เกี่ยวกับเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ระบบสวัสดิการถือว่าเป็นระบบพื้นฐานของสังคม โดยขยายขอบเขตจากการดูแลเฉพาะกลุ่ม มีการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมไปสู่การให้หลักประกันในเรื่องของสิทธิ การคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การมีส่วนร่วมและการช่วยให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองและสังคม มีการส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนได้มีส่วนร่มด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดสวัสดิการสังคมไม่เพียงแต่หน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่ทำหน้าที่ดูแลด้านสวัสดิการ หน่วยงานต่าง ๆ ในสังคมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการได้ทั้งสิ้น
ปัจจุบันชุมชนท้องถิ่นไทยมีความตื่นตัวในการจัดสวัสดิการอย่างกว้างขวางและหลากหลายรูปแบบ ภาครัฐให้ความสนใจในการจัดสวัสดิการในระดับชุมชนท้องถิ่นในฐานะช่วยเสริมจัดสวัสดิการโดยรัฐ ซึ่งจะทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้อยู่นอกทางการ ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงสวัสดิการได้ระดับหนึ่ง อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคง การจัดสวัสดิการจึงเป็นเครื่องมือของการสร้างพลังชุมชน การพึ่งพาตนเองรวมถึงเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนาคน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสวัสดิการชุมชนจึงเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างสังคม สวัสดิการ ซึ่งหมายถึง สังคมที่มีสวัสดิการหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ รู้จักใช้ รู้จักเก็บ รู้จักออม ชีวิตมั่นคง นี่คือเหตุผลและทัศนคติที่ดี เกิดความมั่นใจ ในความมั่นคงของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์
- ทักษะ
– มีความสำเร็จที่จะช่วยนำกองทุนก้าวไปสู่ความมั่นคง ความสำเร็จ มีการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เป็นนักสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการนำพากองทุนไปสู่จุดสูงสุดได้ ผู้นำมีแนวคิดวิเคราะห์ การแบ่งแยกประเด็นปัญหาในความเห็นต่าง มีความอยากรู้ อยากเห็น และชอบเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เสมอ ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบในการจะซึมซับความรู้นั้นได้ โดยการสสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ตามความสามารถ ความชำนาญของตนเอง เพื่อให้สามารถจดจำความรู้นั้นได้ดีขึ้น
– การใช้สื่อออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เพื่อเข้าถึงสมาชิกมีการกระจายข่าวเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชนผ่านทางสื่อออนไลน์ ทำให้สมาชิกได้รับทราบข่าวคราว เรื่องราวของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้เป็นอย่างดี
– คณะกรรมการมีทักษะของการเป็นผู้นำ เป็นผู้จัดการบริหารกองทุนฯ ที่ดี สามารถสร้างความไว้วางใจและความสามัคคีภายในทีมงาน ทำให้กองทุนฯ คงอยู่ได้โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกของกองทุนฯ แสดงให้สมาชิกเห็นถึงวิสัยทัศน์อันชัดเจนและการบริหารกาองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ
– คณะกรรมการมีทักษะด้านการทำบัญชีเบื้องต้น มีการจัดทำบัญชีและเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของกองทุนฯ เพื่อผลสำเร็จในด้านการทำงานและการเงินของกองทุนฯ สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจแก่สมาชิกของกองทุนฯ และกองทุนฯ สามารถบริหารจัดการที่ดีและมั่นคงสืบต่อไป
- กรรมการได้รับความรู้/ความคิดที่ดีจากการที่ได้รับการอบรม/ร่วมประชุม/แสดงความคิดเห็นร่วมกัน/ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเครือข่าย/เพิ่มศักยภาพให้กับคณะกรรมการสามารถนำมาปรับใช้กับกองทุนฯ
- มีการรณรงค์การออม ของสมาชิกให้เพิ่มขึ้น มีการตรวจสอบบัญชี เอกสารรับ – จ่าย ทุกวันที่ 10 ของเดือน ของแต่ละกองทุน/หมู่บ้าน การทำงานร่วมกันกับเครือข่าย เช่น วัด/โรงเรียน มีการแก้ไขกับประชุม ประชุม ประชาคม แก้ไขปัญหาทุกปี สัญจรพบปะกับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังปัญหาของสมาชิกในทุกกลุ่ม/หมู่บ้านและนำมาแก้ไขปรับปรุงเป็นรูปธรรม
- มีการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนทุกองค์กรท้องถิ่นเป็นอย่างดี และมีการประชุมของคณะกรรมการทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยคัดเลือกตัวแทนจากกองทุนหมู่บ้าน 2 คน มาร่วมรับฟังปัญหา แนวคิดร่วมกับทางกองทุนระดับตำบล เพื่อนำไปบอกกล่าวประชาสัมพันธ์ให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบในหมู่บ้านที่นำไปบอกให้กับสมาชิก
- คณะกรรมการในหมู่บ้านก็ช่วยกันรณรงค์ร่วมกับหาสมาชิกเพิ่ม มีการเดินเข้าหาทุกครัวเรือน/หลังคาแต่ละที่ได้รับผิดชอบ ชักชวน เชิญชวน แนะนำ บอกกล่าวให้ความรู้ในการที่ได้รับสวัสดิการรวม 26 ข้อที่สมาชิกที่เข้าร่วมในการออมจะได้รับกลับไปและเป็นการออมบุญด้วย
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
สวัสดิการชุมชนเป็นการปรับแนวคิด ““สงเคราะห์” ของการจัดการสังคมโดยภาครัฐ มาเป็นการร่วมพัฒนาโดยชุมชน” การพัฒนาสวัสดิการทางชุมชนจึงมีความสำคัญ เพราะสะท้อนการร่วมรับผิดชอบโดยภาคประชาชนในการสร้างหลักประกันตามชนบทในการดำรงชีวิตสู่การสร้างคุณภาพชีวิตของสมาชิกของชุมชน จึงตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานการพึ่งพาตัวเองของประชาชนทั้งสร้างความเป็นธรรมบนพื้นฐานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ
หัวใจสำคัญของการสร้างสวัสดิการชุมชนคือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนทุกระดับนอกจากการประยุกต์ฐานคิดของการใช้พื้นที่และองค์กรระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการระดับรากหญ้าตามบริบทธรรมชาติของชุมชน กระบวนการสร้างดังกล่าวต้องอาศัยการขับเคลื่อนพลังทางสังคมและเวลาที่จะพลิกมันให้เกิดการร่วมมือในชุมชนต่อการพึ่งตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการโดยประชาชนเพื่อประชาชน มุ่งมั่นที่จะดูแลซึ่งกันและกันนับตั้งแต่เด็กจนตาย จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาเพื่อบรรลุ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชนให้เป็นไปอย่างมีศักยภาพก่อเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ คือ กองทุนสวัสดิการชุมชนที่มั่นคงและยั่งยืน
จุดกำเนิดของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอุโมงค์ เริ่มจากผู้นำชุมชนมีความตระหนัก ใส่ใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสวัสดิการสังคมของชุมชน ด้วยสมาชิกชุมชนของตำบลอุโมงค์กว่าครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้างทั่วไป ไม่มีสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มข้าราชการ กลุ่มแรงงาน ทำให้สมาชิกในชุมชนขาดหลักประกันความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ ผู้นำชุมชนตั้งใจมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างเป็นรูปประธรรมบนพื้นฐานประโยชน์ชุมชน สร้างความเสมอภาค เท่าเทียมสมาชิกชุมนโดยสร้างโอกาสการได้รับสิทธิประโยชน์บนพื้นฐานสิทธิอันพึงจะได้และบนพื้นฐานชุมชนพึ่งตนเอง
ความสามารถในการบริหารจัดการ
จากความริเริ่มของผู้นำชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอุโมงค์ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2549 ด้วยสถานการณ์การขาดหลักประกันความมั่นคงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ร่วมกับผู้นำชุมชนต้องการสร้างชุมชนอุโมงค์ให้ “ทำความดีเพื่อพ่อ” ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ครองราชย์ครบ 60 ปี การเริ่มต้นของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เริ่มจากการออมเงินวันละ 1 บาท ที่รู้จักกันในนาม “การออมสัจจะ” ระยะแรกของการออมจะผ่านการชักชวนผู้ก่อการดี (ผู้สนใจในการออม) ให้มีความเห็นพ้องต้องกันในการริเริ่มการออม กลุ่มผู้ก่อการดีจึงเป็นเสมือนแนวร่วมอุดมการณ์ในแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้าน ช่วยขยายความคิด ความสำคัญในการออมเงินต่อสมาชิกชุมชนอื่น ๆ ต้องหาผู้ก่อเกิดความดี เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มัคทายก ข้าราชการบำนาญ ผู้สูงอายุ เยาวชน และที่จัดตั้งเป็นกลุ่มในชุมชนตำบลเรา ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน ชักชวนให้แนวคิด แสดงความคิดเห็น หารือเพื่อโน้มน้าวให้เป็นผู้ก่อการดี เพื่อพิจารณาถึงบริบทของชุมชนที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเสมือนเครือญาติโดยปราศจากเงื่อนไข เป็นการสร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งของชุมชนเหมือนเช่นอดีต กลุ่มผู้ก่อการดีจึงเป็นบุคคลที่ไปขยายความคิด “การออม” ให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ทำให้เพิ่มจำนวนของผู้ก่อการดีหรือผู้สนใจในการออมเงินแต่ละหมู่บ้าน
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2550 จากฉันทามติจากคณะกรรมการแต่ละกองทุนและสมาชิกในกลุ่มที่ต้องการรวมตัวของ 13 กองทุนฯ ระดับหมู่บ้าน ถือเป็นกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการของประชาชนตำบลอุโมงค์และทางเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้สนับสนุนงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กองทุนสวัสดิการชุมชนฯ สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง โดยเทศบาลตำบลอุโมงค์สมทบให้ปีละ 1 ล้านบาท (ในสัดส่วนประมาณ 1:1) เริ่มสมทบในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2550 กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ มีเงินรวมทั้ง 13 กองทุน 1.2 ล้านบาทโดยประมาณ ทั้งนี้ทางผู้นำชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของความมั่นคงของกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ที่ต้องมีการสสมทบช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อให้เกิดพลัง 3 ขา คือ สมาชิก (ภาคประชาชน) เทศบาลตำบลอุโมงค์ (ภาคท้องถิ่น) และรัฐบาล (ภาครัฐ)
คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
คุณภาพชีวิต หมายถึง การรับรู้ถึงความพอใจในการดำรงชีวิต การมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีในด้านต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในทิศทางที่ดีได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคม
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ได้จัดสวัสดิการสนองความต้องการพื้นฐานของคนในชุมชนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อาทิเช่น
การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพ เมื่อมีการเจ็บป่วยไปพบแพทย์ สามารถนำใบเสร็จรับเงินจากทางโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในตำบลมารับค่าพาหนะได้ครั้งละ 100 บาท หากต้องนอนโรงพยาบาลจะได้รับคืนละ 100 บาท ปีละ 1,200 บาท เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้สมาชิก
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ กิจกรรมกีฬานันทนาการ กีฬาชุมชนสัมพันธ์ กีฬาผู้สูงอายุ กีฬาต้านยาเสพติด โครงการสุขภาพดีชีวีมีสุข โครงการยา 9 เม็ดหมอเขียว ส่งผลให้คนในชุมชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ด้านการศึกษา เด็กที่เรียนจบแต่ละช่วงชั้น ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี จะได้รับทุนการศึกษามอบให้เพื่อเป็นค่าศึกษาเล่าเรียน เป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองได้
ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกิจกรรมลดโลกร้อน โดยคนในชุมชนซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุนฯ มีส่วนร่วม โครงการ NO FORM โครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น จาปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีซึ่งกันและกันของคนในชุมชน
ด้านจิตใจ กองทุนสวัสดิการชุมชนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี เช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ฯลฯ ให้ขวัญและกำลังใจผู้ประสพภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยการมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วม อัคคีภัย ส่งผลให้คนในชุมชนมีความพึงพอใจจากสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้บนพื้นฐานความจำเป็นดังกล่าว
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ทำให้เกิดผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ดีขึ้น คนในชุมชนรู้จักใช้ รู้จักเก็บ รู้จักออมและทุกช่วงวัยของชีวิตมีหลักประกันที่มั่นคง
ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีความพร้อมคุณลักษณะที่สำคัญของคณะกรรมการต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีจิตอาสา เสียสละ ตั้งใจทำงาน ชุมชนละไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 15 คน ทั้งหมด 11 ชุมชน แต่มี 13 กองทุน เนื่องจากมี 2 ชุมชนที่มี 2 กองทุน เนื่องจากสมาชิกในหมู่บ้านอาศัยห่างไกลกันจึงแยกเป็น 2 กองทุน เพื่อสะดวกในการฝากเงินออม ต่อจากนั้นจึงจัดตั้งคณะกรรมการบริหารระดับตำบลโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการกองทุนในระดับหมู่บ้านมาร่วมเป็นกรรมการระดับตำบลอย่างน้อยกองทุนละ 2 คน โดยแยกตำแหน่งความสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานคระกรรมการ(นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์) รองประธาน, เลขานุการ, ผู้ช่วยเลขานุการ , เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก , นายทะเบียน , ประชาสัมพันธ์ , ฝ่ายปฏิคม , ฝ่ายตรวจสอบ และกรรมการ วาระการทำงานของคณะกรรมการ 4 ปี เมื่อครบกำหนดมีการเลือกตั้งชุดใหม่แทน เนื่องด้วยสมาชิกกองทุนสวัสดิการยอมรับและเชื่อถือในความสามารถของคณะกรรมการชุดเดิม จึงเลือกตั้งให้ทำงานต่ออีกจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นวาระที่ 4 เข้าเป็นปีที่ 12 ( วันที่ 14 สิงหาคม 2562 ครบ 12 ปีเต็มนับวันที่ก่อตั้ง)
หน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนทั้งระดับหมู่บ้านและระดับตำบลคือ จัดเก็บเงินจากสมาชิกกองทุน มีการจัดทำระบบบัญชีการเงินโดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูนให้ความรู้ ข้อแนะนำในการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อสร้างระบบการเงินนำไปสู่การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำระบบบัญชีในการบริหารจัดการกองทุนฯ ออกเป็น 4 บัญชี ได้แก่ บัญชีเงินสวัสดิการ บัญชีเงินสำรอง บัญชีทุนดำเนินงาน บัญชีทุนเพื่อพัฒนา ทุกบัญชีของกองทุนเราจะกำหนดระเบียบในการจ่ายทุกบัญชีอย่างชัดเจน เช่น บัญชีเงินสวัสดิการ จ่ายได้เฉพาะสวัสดิการให้สมาชิก 26 ข้อเท่านั้น ระบบบัญชีเป็นปัจจุบันโปร่งใสตรวจสอบได้
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์เป็นกองทุนซึ่งจัดและถือว่าเป็นการรวมตัวจัดตั้งโดย
ประชาชนตำบลอุโมงค์ และบริหารงานโดยคนในชุมชน 13 กองทุน ดังนั้น ทางเทศบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณสมทบกองทุนปีละ 1 ล้านบาท เริ่มสมทบในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาจนถึงปีปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มอบนโยบายโดยภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนให้มีกองทุนเงินออมทั่วประเทศ หากกองทุนสวัสดิการใดเข้าหลักเกณฑ์ตามกำหนดรัฐบาลจะสมทบงบประมาณอีกหนึ่งส่วน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ได้รับตรวจสนับสนุนเงินจากรัฐบาลนับแต่ปี 2553 ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 ปี จึงเป็นที่มาของพลัง 3 ขา คือ มีสมาชิก(ภาคประชาชน) , ท้องถิ่น เทศบาลและรัฐบาล(ภาครัฐ) จึงถือได้ว่าการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์เป็นการริเริ่มดำเนินการโดยชุมชน(เริ่มจากผู้นำ) เพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ (เครื่องมือที่ 4 ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จและกำหนดอนาคต)
ปัจจัยภายใน
การพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ประสบผลสำเร็จในการขับเคลื่อน จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ มีดังนี้
- มีสมาชิกที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ มีสัจจะ เสียสละ ลดรายจ่าย สร้างวินัยการเงิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- กรรมการมีความเข้มแข็ง มีความเสียสละ มีจิตอาสา โปร่งใส ทั้งระดับกลุ่มและระดับตำบล มีความเสียสละ มีความมั่นคง มีความเข้มแข็ง บริหารด้วยความโปร่งใส เอื้ออาทรดูแลซึ่งกันและกัน ทำให้กองทุนฯ มั่นคง
การพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จ ดังนี้
- ผู้นำชุมชน : วิสัยทัศน์กว้างไกล
ผู้นำชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ จากวิสัยทัศน์ความคิดกว้างไกลที่มุ่งพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ด้านสังคม เศรษฐกิจ สร้างความเสมอภาคในชุมชนและตระหนักในสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกพึงมีพึงได้ รวมทั้งมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องานและสังคมมีเป้าหมายในการทำงานและทำงานเชิงรุก ใช้แนวคิด “พัฒนาชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”
- การมีส่วนร่วมของชุมชนทุกระดับ นับแต่การริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ เริ่มต้นที่ประชาชน การเรียนรู้ร่วมกันในความต้องการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ สู่การดำเนินงานตามขั้นตอน สะท้อนศักยภาพการจัดสวัสดิการสังคมโดยภาคประชาชน ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เติมเต็มช่องว่างของระบบสวัสดิการที่รัฐไม่สามารถจัดให้
- ความเข้มแข็งของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ทั้งระดับหมู่บ้านและตำบล เป็นทีมที่เข้มแข็ง แกร่ง มีจิตอาสาช่วยเหลือชุมชน ทั้งมีพันธะสัญญาที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อชุมชน ตั้งเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุชนท้องถิ่นโดยชุมชนทำงานร่วมกับประชาชนตลอดเส้นทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนฯ
- สนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นมีการทำงานร่วมกันในลักษณะไตรภาคีคือ ท้องถิ่น ประชาชนและรัฐบาล
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ มีระเบียบว่าด้วยการจ่ายสวัสดิการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ มีการพัฒนาปรับปรุงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนจนถึงปัจจุบัน จำนวน 5 ครั้ง สมาชิกและคณะกรรมการปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
ปัจจัยภายนอก
– ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางองค์กรของภาครัฐ เอกชน และจะมีส่วนร่วมของชุมชนทุกระดับชั้น
– องค์กรของรัฐ เช่น รพ.สต.อุโมงค์ , โรงพยาบาลลำพูน , โรงพยาบาลสารภี ที่ให้ความร่วมมือในการไปรักษาและใช้ใบรับรองมาเบิก
– องค์กรของเอกชน ก็จะมี โรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ
– ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและบุคคล เช่น สำนักงานกองทุนของ ม. 6 จะอยู่ใกล้บริเวณวัด บางครั้งก็จะได้ความช่วยเหลือจากท่านเจ้าอาวาสวัดมาช่วยเก็บเงินออมด้วย
– และกองทุนฯ จะได้รับความร่วมมือร่วมกันในลักษณะคนในชุมชนช่วยคนในชุมชนก่อน ทั้งภาครัฐและองค์กรท้องถิ่น มีการทำงานร่วมกันในลักษณะไตรภาคี คือ ท้องถิ่น ประชาชน และรัฐบาล
– การทำงานร่วมกับชุมชนในลักษณะภาคีเครือข่าย ทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ในลักษณะหุ้นส่วน ที่ต้องมีการประสานงาน ต่อรองบนพื้นฐานประโยชน์ร่วมกัน
ปัญหาและอุปสรรค
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอุโมงค์เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2550 แต่ละหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นมาตามความพร้อมของแต่ละหมู่บ้านจะเริ่มจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิกในปี พ.ศ. 2550
- ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ในคณะกรรมการพอเริ่มก่อตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้นมาจะคัดกรองกรรมการของแต่ละหมู่บ้านเข้ามาทำหน้าที่จัดเก็บเงินเบิกสวัสดิการช่วงแรก ใช้วิธีเดินเก็บแต่ละรายหลังจากนั้นมาใช้วิธีตั้งโต๊ะเก็บเงิน นัดวันเวลาของแต่ละเดือนโดยคณะกรรมการเป็นผู้เก็บเงินและจ่ายสวัสดิการ ช่วงแรกจะทำงานไปด้วยดีแต่พอมีระบบบัญชีเข้ามาจะต้องเพิ่มการขีดเขียนในระบบบัญชีทำให้คณะกรรมการต้องลาออกไป
1.1 ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ระบบสายตา พออายุที่มากขึ้นทำให้ระบบสายตาไม่ชัดเจน ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคการทำงาน การทำงานต้องรวดเร็ว ถูกต้อง บริการที่ดีให้แก่สมาชิก ทำให้คณะกรรมการบางคนต้องลาออกไปไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
1.2 ปัญหาและอุปสรรคด้านเวลา เมื่อคณะกรรมการทำงานไประยะหนึ่งเกิดปัญหาและอุปสรรคด้านเวลาอาจจะเป็นเพราะว่าเปลี่ยนอาชีพทำให้ไม่มีเวลาที่จะมาเป็นคณะกรรมการจึงต้องลาออกไป
วิธีแก้ไขปัญหา
- สร้างคนรุ่นใหม่มาทดแทน
- ปรับเปลี่ยนตำแหน่งคณะกรรมการตามความเหมาะสมในหน้าที่รับผิดชอบ
ปัญหาและอุปสรรคของสมาชิก
2.1 การขาดส่งเงินออม ไม่ตรงเวลาที่กำหนด
2.2 การเบิกสวัสดิการไม่ตรงเวลาที่กำหนด
2.3 สมาชิกปลอมแปลงเอกสารในการเบิก
2.4 สมาชิกเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงว่าผิดต่อระเบียบของกองทุนฯ หรือไม่ เช่น นำเอกสารไม่ถูกต้องมาเบิกสวัสดิการ บางรายไม่มีการเจ็บป่วยแต่ไปหาหมอเพื่อนำเอกสารมาเบิกสวัสดิการทำให้ขาดจิตสำนึกของสมาชิก
2.5 สมาชิกลาออก ทำให้เกิดปัญหาสมาชิดลดลง
วิธีแก้ไข
- ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายวันเวลาที่เปิดทำการก่อนทุกครั้ง
- ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร และสร้างจิตสำนึกหวงแหนในการเป็นเจ้าของกองทุนฯ โดยสร้างสำนึกให้กองทุนฯ อยู่อย่างยั่งยืน
- สมาชิกที่ลาออก จะพยายามช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และทราบเหตุผลที่แท้จริงในการลาออก ชี้แจงผลดีที่จะได้รับการเป็นสมาชิก
การขยายผล
- ขยายแกนนำ ทั้งปริมาณและคุณภาพเพื่อดูแลสมาชิกได้ทั่วถึง
- ขยายสมาชิก ให้ครอบคลุมทุกคนในเขตตำบลอุโมงค์
- ขยายแหล่งทุน เพื่อหนุนงบประมาณให้กองทุนมีงบประมาณมากขึ้น
- ขยายประเภท/ผลประโยชน์ของสมาชิก หนุนเสริมให้สมาชิกถึ่งตนเองได้ (อาชีพ/ภัยพิบัติ)
- ขยายการให้สวัสดิการ แก่ผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกได้
การพัฒนาสู่สวัสดิการที่ยั่งยืน
โดยการบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ากับกลุ่ม/กองทุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาร่วมกัน เช่น การฟื้นฟูภูมิปัญญา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นสวัสดิการที่ครบวงจร ไม่จำเพาะแต่เพียงตัวเงินจะทำให้สมาชิกรู้สึกมีความมั่นคงในชีวิตอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ชาติ : กรอบการพัฒนาระยะยาว
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้วและสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
- ความมั่นคง
- การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
- การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
- การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
- การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ