ตำบลบ้านปวง ประกอบไปด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่บอนเหนือ บ้านห้วยโป่ง บ้านห้วยปิง บ้านหนองบัว บ้านหนองกอก บ้านใหม่ บ้านปวง บ้านดอนมูล บ้านสันดอนฮอม บ้านแม่บอนใต้ บ้านล้องสันติสุข เป็นหนึ่งในสามตำบลในอำเภอทุ่งหัวช้าง โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ มีเนื้อที่ประมาณ 215.578 ตร.กม.
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งหัวช้าง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเถิน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเสริมงาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอลี้
สาเหตุที่ชื่อว่า “บ้านปวง” เนื่องจากผู้ตรวจนครลำพูน สมัยก่อนได้เดินทางผ่านเส้นทางสายนี้ โดยอาศัยช้างเป็นพาหนะ และได้หยุดช้างปลงสัมภาระหยุดพัก จึงเรียกชื่อว่า “ บ้านปลง ” ต่อมาเพี้ยนชื่อเป็น “บ้านปวง” สมัยก่อนเป็นตำบลที่มีป่าไม้สักและไม้เบญจพรรณหนาแน่นมาก ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง มีประชากร จำนวน 11 หมู่บ้าน ประกอบด้วยพื้นที่ราบ 7 หมู่บ้านและชาวไทยภูเขา 4 หมู่บ้าน มีจำนวน 1,135 ครัวเรือน มีประชากร 4,120 คน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบ สภาพพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ป่าและที่ราบสูง ร้อยละ 30 เกษตรกรส่วนใหญ่และใช้พื้นที่ราบ ทำนาข้าว,พืชสวน ,พืชผักและใช้พื้นที่ราบเชิงเขาปลูกข้าวไร่ พืชไร่และไม้ผล ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งการเกษตรกรรมส่วนใหญ่ ได้แก่ 1. ข้าว พื้นที่ปลูกข้าว 2,552 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขาปลูกด้วยวิธีการปักดำ พืชไร่ มีพื้นที่ปลูก 14,321 ไร่ จะปลูกในฤดูฝนตามไหล่เขา ที่ราบเชิงเขา ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฤดูแล้งจะปลูกปลูกตามพื้นที่นาริมแม่ฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ยาสูบ ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง ไม้ผลไม้ยืนต้น มีพื้นที่ปลูก 10,736 ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกลำไย มะม่วง มะขาม ขนุน กล้วย ผัก มีพื้นที่ปลูก 392 ไร่ จะปลูกช่วงหลังทำนาแล้ว ใกล้กับแหล่งน้ำ เข่น พริก กระเทียมและพืชผักต่างๆ ผลผลิตส่วนใหญ่ให้พ่อค้ามารับซื้อเอง การใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม้ผล เกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ส่งเสริมโดยเฉพาะลำไยจะปลูกพันธุ์ดอ,มะขามหวานจะพันธ์พื้นเมืองอยู่บ้าง คือ ขนุน ส้มโอ กล้วย
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านปวง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 โดยมีหลักคิดคือ หลักประกันของความมั่นคงในชีวิต มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการออม และการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจแก่คนในชุมชน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้คนในชุมชนดีขึ้น ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เกิดความสัมพันธ์/มิตรไมตรีที่ดีของคนในชุมชน รู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความสุข มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 655 คน เงินกองทุนแรกตั้ง จำนวน 228,125 บาท ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 878 คน เงินกองทุนจำนวน 2,745,983.60 บาท ประกอบด้วย
- เงินออมจากสมาชิก จำนวน 1,881,294 บาท
- เงินที่ได้รับการสมทบจากหน่วยงาน พอช. 332,130 บาท
- เงินที่ได้รับการสมทบจาก อบจ. จำนวน 30,000 บาท
- เงินที่ได้รับการสมทบจาก อบต. จำนวน 455,000 บาท
- เงินที่ได้รับจากแหล่งอื่น ๆ
- ดอกเบี้ยเงินฝาก จำนวน 29,059.60 บาท
- ดอกเบี้ย ซื้อสลาก ธกส. จำนวน 18,500 บาท
มีการจัดสวัสดิการ/ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากการจัดสวัสดิการชุมชน เช่น การจัดสวัสดิการการช่วยเหลือภัยพิบัติ และจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นต้น
- รูปธรรมความสำเร็จด้านกีฬาและนันทนาการ โดยการเชื่อมโยงกับท้องที่ ท้องถิ่น รวมงานกีฬา อบต.
- รูปธรรมความสำเร็จด้านประเพณีวัฒนธรรม โดยการเชื่อมโยงกับท้องที่ ท้องถิ่น ชุมชนได้รับผลประโยชน์ด้านการผู้สูงอายุ งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
- รูปธรรมความสำเร็จด้านงานสาธารณประโยชน์ (จิตอาสา) ร่วมกันทำความสะอาดที่สาธารณะ เช่น วัด ที่สาธารณะประโยชน์ ร่วมเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันไข้เลือดออกร่วมกัน อสม. ประชาชน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
มีหลักคิด คือ หลักประกันของความมั่นคงในชีวิต มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการออม และการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจแก่คนในชุมชน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้คนในชุมชนดีขึ้น ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เกิดความสัมพันธ์/มิตรไมตรีที่ดีของคนในชุมชน รู้สึกมั่นคง ภาคภูมิใจ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความสุข
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านปวง มีแนวคิดเรื่องการจัดสวัสดิการสังคม เป็นแนวคิดของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน เพื่อสร้างสวัสดิภาพและไม่เน้นเรื่องตัวเงินแบบสงเคราะห์ แต่มุ่งสร้างความมั่นใจอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่ชาวชุมชนจะเป็นผู้ร่วมกันสร้างให้เป็นของชุมชนและเพื่อชาวชุมชนเอง ชุมชนจึงควรเป็นผู้จัดการเอง โดยรัฐหรือองค์กรภายนอก หนุนเสริมแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ (ไม่ใช่สัมพันธ์กันแบบผู้ให้กับผู้รับ) ทั้งนี้ การจัดสวัสดิการของชุมชนสามารถสอดแทรกไว้ได้ในทุกกิจกรม ริเริ่มแล้วต่อยอดกันเรื่อยไป ภายใต้ความพร้อมและความเห็นชอบร่วมกันของชาวชุมชนเอง
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- เตรียมการประชุมกับผู้นำชุมชนกรรมการหมู่บ้าน ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการหมู่บ้าน
- เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้าน ชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้าน รายละเอียดการจัดสวัสดิการการช่วยเหลือกันในยากทุกข์ยาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย อธิบายถึงหลักการและสวัสดิการที่จะได้รับ และมีการจัดการคัดเลือกตัวแทน คณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้าน
- ให้แต่ละหมู่บ้านคัดเลือกกรรมการสวัสดิการของแต่ละหมู่บ้าน มีโครงสร้างคณะกรรมการหมู่บ้าน เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ ออมวันละบาท
- จัดเวทีเสวนา จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนออมวันละบาทพร้อมทั้งจัดการประชุมคณะกรรมการบริหาร ร่างระเบียบข้องตกลงของกองทุนฯ
- จัดการประชุมคณะกรรมการเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับการส่งเงินกองทุนฯ ทุกเดือน
- สรุปผลดำเนินการทุกปี
เทคนิค/ทักษะ
- เทคนิคการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านทำการประกาศเสียงตามสายเพื่อทำการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุน และชี้แจงรายละเอียดต่างๆของกองทุนให้ชาวบ้านรับทราบและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของกองทุน
- เทคนิคการสร้างแรงจูงใจโดยการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่น กรณีเสียชีวิตกองทุนจัดสวัสดิการครบวงจรชีวิตให้ตามเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกของกองทุน ทางกองทุนจะนำเงินค่าทำศพไปมอบให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตหรือทายาทในวันที่ทำการฌาปนกิจศพ ตลอดจนเงินจ่ายสวัสดิการอื่นๆสมาชิกสามารถนำใบรับรองแพทย์มาทำการเบิกเงินสวัสดิการได้ในวันทำการของกองทุนทุกวันที่ 12 ของเดือน ณ ที่ทำการกองทุน
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 18 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกหมู่บ้าน ตัวแทนท้องที่ท้องถิ่น
- อบต.บ้านปวง สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และบุคคลากรในการทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดระบบสวัสดิการชุมชนมากขึ้น
- ผู้นำเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และเป็นที่ไว้วางใจว่าสมารถเป็นที่พึ่งของคนในชุมชนได้
- จำนวนสมาชิก สมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนครอบคลุมประชากรทั้งตำบล กระจายทุก ช่วงวัย เพราะยิ่งมีสมาชิกมาก
- การบริหารจัดการเปิดเผยโปร่งใส ระบบบัญชีการเงินถูกต้องทันเวลาและสมาชิกมีส่วนร่วมใน การดําเนินการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลการดําเนินงานสู่สมาชิก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะอย่าง ต่อเนื่อง
- สามารถให้การช่วยเหลือ สมาชิกได้อย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง ครบถ้วน สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการและสามารถดำเนินการได้ อย่างยั่งยืน
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุน เรื่อง การสมทบงบประมาณกองทุนฯ ให้คำปรึกษา ประสานงาน สนับสนุนด้านบุคลากร รวมถึงการสนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน
- ผู้ว่าราชการจังหวัด สนับสนุนเรื่องกิจกรรมส่งเสริมกองทุนฯ
- กระกรวมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สนับสนุน การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกองทุนฯ
- สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน ดำเนินการขอสมทบงบประมาณจากรัฐบาลผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุชน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ (เครื่องมือที่ 4 ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จและกำหนดอนาคต)
- คณะกรรมการและผู้นำมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและสามารถทำงานได้อย่างมี
- การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนระเบียบให้เข้ากับบริบทของพื้นที่
- หน่วยงานภาครัฐ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงาน พมจ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุน เรื่อง การสมทบงบประมาณกองทุนฯ ให้คำปรึกษา ประสานงาน สนับสนุนด้านบุคลากร รวมถึงการสนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- ขยายกิจกรรมให้หลากหลาย เพิ่มสถานที่ อุปกรณ์ในการจัดการบริหารองค์กรให้เพียงพอและเพิ่มสมาชิกของกองทุนเพิ่มการจัดการด้านสวัสดิการ โดยคำนึงถึงสถานการณ์คลังขององค์กร
- เพิ่มกลุ่มอาชีพ เพื่อให้มีอาชีพหรือมีทุนการศึกษาให้แก่สมาชิก
- ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ วงจรชีวิต
- หาแหล่งทุนสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น กองทุนผ้าป่า