ขบวนองค์กรชุมชน 13 จังหวัด ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออกจัดมหกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความยั่งยืนของชุมชน 2023″(Improving quality of Life for community sustainability 2023 )
ระยอง / วันที่ 19 กันยายน 2566 เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน 13 จังหวัด ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล ร่วมกับสำนักงานภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ “พอช.” จัดมหกรรมการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความยั่งยืนของชุมชน 2023″( Improving quality of Life for community sustainability 2023 ) ณ มหาลัยบ้านนอก ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
มีผู้แทนชุมชนต่างๆ จาก 13 จังหวัด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 150 คน ภายใต้การสนับสนุนเวทีกิจกรรมในครั้งนี้จาก บริษัท ไทยเบฟ เวอเรจ จำกัด (มหาชน)
การจัดงานมีเป้าหมายหลัก เพื่อนำเสนอผลรูปธรรมผลิตภัณฑ์/บริการ ของชุมชน จากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท และศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน ในพื้นที่ภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออก ผ่านการเปิดวงเสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบนความยั่งยืน ร่วมกันและเปิดพื้นที่เรียนรู้ระหว่างขบวนองค์กรชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือในการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
ภายในงานมีการจัดงานที่หลากหลาย เช่น ตลาดนัดคุณภาพชีวิต การออกร้านจำหน่าย และแสดงสินค้าจากพื้นที่ตำบลรูปธรรม “5 ดี ของดีที่บ้านเรา 13 จังหวัด” การแสดงพื้นบ้าน เต้นบาสโลป การจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน Work shop “อีโคปริ้นท์” ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติบนผืนผ้า “รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม”จากจังหวัดระยอง เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนจากพื้นที่รูปธรรม/หน่วยงาน และการประกวด มิสแกรนด์ของดี 13 จังหวัด
การพัฒนาคุณภาพชีวิตภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ปี 2566 มีการสนับสนุนการขับเคลื่อนพื้นที่ดำเนินงาน 13 จังหวัด 92 โครงการ 95 ตำบล งบประมาณ 4,140,000 บาท โดยมีทิศทาง และหลักคิดสำคัญร่วมกัน โดยการให้สภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลาง เปิดพื้นที่ ให้คน กลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่าย และภาคี ภูมินิเวศน์ ภูมิสังคม ในพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ และเป็นเจ้าของโครงการ จากนั้นเชื่อมโยงเป้าหมายเชิงผลลัพธ์โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของขบวนองค์กรชุมชนในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมินิเวศน์ภูมิสังคมในพื้นที่ และระดับภาค โดยมีกลยุทธ์ในการใช้ข้อมูลของชุมชน หน่วยงาน ประกอบกับผังชุมชน ผังตำบล ในการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ เพื่อการกำหนดแผนงานโครงการระดับตำบล รวบรวมฐานข้อมูลผู้เดือดร้อน ให้มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในแนวทางการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย และปัญหาด้านอื่น ๆ ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเตรียมความพร้อม การพัฒนาโครงการและการขยายผลในระดับพื้นที่ เชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งเชื่อมโยง และประสานสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคี ภาคประชาสังคมในการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพปริมณฑล และตะวันออก ทั้ง 13 จังหวัด
จากการดำเนินงานที่เกิดขึ้น มีการใช้ทุนในพื้นที่ เช่น ทุนทางทรัพยากร ทุนทางภูมิปัญญา ทุนทางสังคม มาเป็นส่วนในการขับเคลื่อนงาน เพื่อขยายผลการดำเนินงานสู่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระดับต่าง ๆ ครอบคลุม 5 มิติ ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 ดี ตามเป้าหมายที่วางไว้ เกิดการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ ประกอบกับการใช้ภูมิปัญญา ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค รวมถึงการขับเคลื่อนอย่างเชื่อมโยงบูรณาการมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง เกิดแผน และการเชื่อมโยงแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกมิติ ในระดับตำบล เมือง เกิดรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ชัดเจน เกิดการสร้างทีมทำงานร่วมในระดับพื้นที่ตำบล เมือง จังหวัด และหุ้นส่วนการพัฒนา ภาคีหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาร่วมกัน
ภารกิจและมุมมองของหน่วยงานต่อการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน
นางสาวจริยา ประพรต ผู้แทนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) :Thai Bev กล่าวว่า การสนับสนุนการทำงานของบริษัทมีเป้าหมายภายใต้ “ชุมชนดีมีรอยยิ้ม” สร้างเมืองสร้างสรรค์ ตามกรอบ SDGs UNESCO บูรณาการในพื้นที่กับภาครัฐ ภาคเอกชนในจังหวัด ร่วมกับคนรุ่นใหม่ เป้าหมายการขับเคลื่อนตาม Trend ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ให้มีเครือข่ายทั่วประเทศ ส่งเสริมชุมชนจากวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
นางชุรีรัตน์ สาเสาร์ ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร (กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน) กล่าวว่า “หน่วยงานรับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชน ขับเคลื่อนฐานรากสู่การจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยมีนายทะเบียนทุกอำเภอทั้งประเทศ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด จะเป็นเลขาฯ รวบรวมวิสาหกิจชุมชน และกิจการ ด้านการผลิตสินค้า การบริการ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยงและประสานบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน อีกทั้งสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ ผลักดันใช้งบจังหวัด เรียนรู้ พ.ร.บ. ต่างฯ รวมถึงการขอ อย. เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า”
นายเทิดเกียรติ แก้วพวง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ภาคีภาควิชาการ กล่าวว่า “หน่วยงานมีพันธกิจให้ความความรู้ ฝึกทักษะชุมชน ตัวอย่างที่ผ่านมาโครงการ U2T สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต โดยให้องค์ความรู้เป็นงานแรก มีการร่วมขับเคลื่อนกับหน่วยงาน ภาคประชาชน สร้างนวัตกรรม ในพื้นที่ให้โอกาสชุมชนเข้าถึงแหล่งทุนได้ยากผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงาน เช่น กองทุนส่งเสริมพลังงาน ทำเรื่องรถสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ทำให้ชุมชนเข้าถึงงบประมาณ จากกระทรวงพลังงาน และงบประมาณอื่น เช่น ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เป็นต้น สร้างนวัตกรชุมชนยกระดับชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นฐานการเรียรู้
นางสาวนิสา แก้วแกมทอง ผู้แทนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือ “กสศ” กล่าวว่า กสศ. เป็นองค์กรเกิดใหม่ได้ 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญ ดูแลกลุ่มคนด้อยโอกาส ให้เข้าถึงการเรียนรู้ ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ เน้นเป็นผู้ที่ยากจน หน้าที่เป็นตัวเชื่อมร่วมกับกระทรวงศึกษา เช่น เป็นทุนการศึกษา โดยทำงานกับเครือข่ายในพื้นที่ เช่น สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายต่างๆ หากลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาไม่ได้เรียน หาความต้องการ ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อส่งเสริมอาชีพ สำหรับผู้ที่ต้องการมีอาชีพ ที่ด้อยโอกาส มี Node ครอบคลุม 5 ภูมิภาค
นางสาวสุมล ยางสูง ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯปริมณฑลและตะวันออก กล่าว่า “พอช.” เป็นหน่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนผ่านกิจกรรม มี 3 กลุ่ม หัดเดิน ที่เดินได้ วิ่งได้ มีเป้าหมายสร้างชุมชนเข้มแข็งเต็มพื้นที่ ประเทศไทย ปี 2579 โดยกล่าว ว่างบของ พอช.มีจำกัด ด้วยงบน้อย เราพยายามขยายผลผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงาน เป็นโซ่กลางเชื่อมภาคเอกชน เช่น TTB ในการเชื่อมองค์ความรู้ แปรรูป รีแบรนดิ้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น
นายชาติชาย เหลืองเจริญ ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจและทุนชุมชน กล่าวว่า “เราเห็นจังหวะการพัฒนาตัวเองเป็นระยะๆ หลัง ปี 2550 เรามีวิธีคิด “ชุมชนจัดการตนเอง” ที่จะทำให้ขบวนมุ่งสู่ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง มีแนวคิดขบวน “ต่อยอดงานเดิม เสริมพลังภาคี มั่งมีจากฐานราก” เราเรียนรู้จากขอให้คนอื่นช่วย เกิดความสับสน ต้องลุกขึ้นจัดการจากฐานเศรษฐกิจของตนเอง เรามีเครื่องมือ ที่เป็นแผนที่เรียกว่า แผนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ถ้าเรียกให้ดูดี ก็คือ แผนธุรกิจเพื่อชุมชน CBMC ที่ผ่านมาเรายังจัดการตัวเองกับภาคี ยังไม่ใกล้ชิด โดยเราจะต้องจัดการตัวเองก่อน เราใช้ 10 ปี ค่อยๆเสียบปลัก เพื่อชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เราเสียบออมสิน ซึ่งปรับตัวเองเป็นธนานคารเพื่อสังคม Social Bank ไม่ใช่ทำเรื่องเงินอย่างเดียว แต่มีองค์ความรู้ เขาเก่งเรื่องการเงิน มองธุรกิจพื้นที่มาเติมให้เรา เราทำบัญชีมั่วๆ ไม่รู้ ออมสินก็ประสานอาจารย์นำระบบบัญชี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาสอน เมื่อจัดการบริหารดีพันธมิตรก็อยากจะมาเสียบทำงานด้วย เศรษฐกิจฐานรากเริ่มค่อยๆแข็งแรง รัฐก็ลดภารระการใช้เงินกับเราน้อยลง ตั้งแต่ 2560 เรายังต้องเดินเพื่อพึ่งพาทุนตนเอง อย่างมั่นคง
นายทรรศิน สุขโต “ครูใหญ่” แผนธุรกิจเพื่อชุมชน : CBMC กล่าวว่า “ภาคธุรกิจใหญ่ เขามีเครื่องมือหนึ่งชื่อ CBMC เป็นกระบองใหญ่ พอมีเครื่องมีที่มีประสิทธิภาพ คนตัวเล็กไม่มีอาวุธไปปะทะ เป็นที่มากเกิด “แผนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายกิจการ” เรียกแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ตัวเดียวกับที่ภาคธุรกิจใหญ่ใช้ เกิดมาประมาณ 8 ปี ตลอดทาง 10 ปี ที่ไปได้เครื่องแผนลด เพิ่มรายได้ ขยายกิจการ อยู่เป็นแพ็ค ใช้เวลา 5-6 วันเรียนรู้ ชาวบ้านทะลุแผน เมื่อเปรียบเทียบชาวบ้านเหมือนสาวซื่อๆ หน่วยงานเปรียบเหมือนชายหนุ่ม มีนโยบายมาจีบ แต่ชายหนุ่มมาจากเมืองหลวง กสศ. ให้การศึกษา ทำแบบ พอช. ทำให้ผู้ด้อยโอกาสยืนด้วยตัวเอง เป็นชายทำงานกับสาวสวยเลือกได้”