กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดสัมมนา
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน : ได้กล่าวต้อนรับผู้นำขบวนองค์กรชุมชน จากประเด็นงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ สถาบันได้มีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ชุมชนเข้มแข็ง เป็นทางรอดของประเทศในการเติบโตข้างหน้า หนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ หน่วยงานก็มีการกำหนด ทิศทางในการขับเคลื่อนงานตามตัวชี้วัดประเด็น
ต่าง ๆ ที่จะต้องมีการออกแบบการทำงานให้เกิดความคุ้มค่า ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ ประมวลผลจากพื้นที่ และวิเคราะห์ประเมินผลตัวชี้วัด (ซึ่งมีผลงานอยู่ในระดับดี และดีมาก) เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ ที่ประมวลผลจากตัวชี้วัด ทั้งนี้ งานจะขับเคลื่อนด้วยไปได้ด้วยดีนั้น ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน และประชาสังคมในพื้นที่ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ทั้งนี้ มีแนวโน้มขอการทำงานในระดับดี จะทำให้สถาบันมีความเข้มแข็ง หน่วยงานก็จะเกิดการตรวจสอบการทำงานน้อยลง
ลดภาระการทำงานลงไปได้พอสมควร สามารถนำไปพัฒนางานอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่
สถาบัน ได้มีวิเคราะห์การทำงานมาอย่างต่อเนื่อง จุดใดที่เกิดปัญหา เกิดความบกพร่อง ก็ควรมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งอาศัยปัจจัยและแนวทางในการพัฒนาการทำงาน ดังนี้
1) การศึกษารูปแบบและมีการปรับโครงสร้างการทำงาน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการทำงานให้ดีขึ้นตามลำดับ และเห็นว่าการเปลี่ยนแปลในครั้งนี้ สู่การเปลี่ยนแปลงกลไกการพัฒนาจากระดับฐานราก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยมีผู้นำขบวนองค์กรชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญในงานพัฒนาชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความเห็นและออกแบบการทำงานของสถาบัน
2) สร้างระบบสนับสนุนของการทำงานขบวนองค์กรชุมชน การปรับแก้ไขระเบียบการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ระบบงบประมาณของขบวนองค์กรชุมชนให้เอื้ออำนวยแก่ขบวนองค์กรชุมชน และระบบการสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เพิ่มทรัพยากรที่เป็นเครื่องมือการทำงานให้เพียงพอต่อการทำงาน
3) ส่งเสริมและประสานงานกับแกนนำในระดับจังหวัด ให้มากขึ้น โดยสร้างกลไกการพัฒนาคน
4) ออกแบบการทำงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
5) สร้างระบบสวัสดิการของผู้นำ ในการดูแลสวัสดิการอย่างทั่วถึงและครอบคลุม
โดยการสัมมนา ฯ ครั้งนี้ ต้องการให้ผู้นำจากประเด็นต่าง ๆ เกิดการแลกเปลี่ยน และออกแบบ กระบวนการขบวนองค์กรชุมชน และกลไกการขับเคลื่อนงาน ซึ่งจะเป็นการออกแบบการทำงานร่วมกันของผู้นำขบวนองค์กรชุมชน เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปขบวนองค์กรชุมชน โดยขบวนองค์กรชุมชน และจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ต่อไป
นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ได้ให้แนวทางการทำงานแก่ขบวนองค์กรชุมชน : โดยการทำงานร่วมกับสถาบันโดยขบวนองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกัน และมีขบวนองค์กรชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานที่สำคัญ และมีการขับเคลื่อนงานมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมาหลายปี จึงเห็นควรว่าต้องมีการจัดบทบาทของสถาบัน เพื่อพัฒนา และปรับปรุงระบบการทำงานขององค์กรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
ปรับโครงสร้างการทำงานต่าง ๆ ให้เท่าทันตามสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน ซึ่งขบวนองค์กรชุมชน จะเป็นตัวแทนของกระบวนการพัฒนางาน และเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงงานกับสถาบัน และจะเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูปขบวนองค์กร ซึ่งได้วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนของขบวนองค์กรชุมชน โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) การเติบโตของพื้นที่ และขบวนองค์กรชุมขน ที่ชุมชนได้มีการเติบโตและขยายตัวของพื้นที่มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
2) มีปัญหาที่เกิดขึ้นที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น ระบบการบริหารที่ยังไม่สอดคล้องกับการทำงาน และตัวชี้วัดการทำงานของสถาบัน ที่จะต้องปรับเปลี่ยน ให้เกิดความจำเป็น
3) การให้ความสำคัญกับขบวนองค์กรชุมชน ที่จะเป็นแกนหลักและทิศทางต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ,
มีผู้นำที่ขับเคลื่อนงาน และสร้างขบวนจังหวัดที่มีฐานงานที่หลากหลาย โดยใช้พื้นที่จังหวัดเป็นตัวตั้งในการเชื่อมโยงงาน เกิดการประสานเครือข่ายการทำงานในพื้นที่อย่างเข้มข้น
4) ส่งเสริมการสร้างการมีส่วนร่วมของขบวนองค์กรชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี พัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัย สามารถเข้าถึงการทำงานและมีระบบบริหารงานได้อย่างสะดวก ง่ายขึ้น และลดภาระการทำงานที่ซ้ำซ้อน
นำเสนอแนวคิด ทิศทาง แนวทางและแผนการดำเนินงานการปฏิรูปขบวนองค์กรชุมชนและ พอช.
โดย นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (คณะทำงานศึกษาโครงสร้างฯ)
โดยมุ่งเน้นการสร้างขบวนองค์กรชุมชนที่เกิดความเข้มแข็ง เชื่อมโยง และเปิดพื้นที่สร้างการทำงานร่วม สร้างฐานขบวนองค์กรชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ ทบทวนการทำงาน จัดระบบการทำงาน ที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดพลังจากฐานรากอย่างแท้จริง อันมีแนวทางต่อการปฏิบัติการในพื้นที่ ดังนี้ 1) สามารถเชื่อมโยงการทำงานในพื้นที่อย่างเข้มข้น พร้อมสนับสนุนการทำงานอย่างเข้มข้นในระดับจังหวัด สร้างพื้นที่กลางของจังหวัด ออกแบบทิศทางการทำงานร่วมกันทุกประเด็นงาน 2) สร้างบทบาทในการทำงานและขับเคลื่อนงานในการเปลี่ยนพื้นที่ สร้างแผนการทำงานร่วม สร้างรูปธรรมการของการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูธรรม และผลักดันให้เกิดเป็นวาระร่วมของจังหวัด 3) ทบทวน และวิเคราะห์พื้นที่ตำบล ภายใต้การทำงานของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และเกิดพื้นที่กลางของตำบล เป็นพื้นที่ที่จะผลักดันการทำงานร่วมของทุกภาคส่วน 4) รองรับระบบการกระจายอำนาจ และขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งของภาคพลมืองและประชาชน 5) สร้างการหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ได้พร้อมๆกัน ช่วยผลักดันเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันได้ 6) มีภาคส่วนงานต่าง ๆ เข้ามาทำงาน โดยมีเจ้าหน้าที่หนุนเสริมการประสานงาน เชื่อมโยง และหนุนเสริมการทำงานแบบภาพรวมให้มากขึ้น และสามารถมองภาพรวมยุทธศาสตร์จังหวัดได้ เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่เกิดระบบการทำงานที่มีความเข้มแข็ง และเกิดการพัฒนางานต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง
ซึ่งในการสัมมนา ฯ นี้ จะนำไปสู่การออกแบบการทำงานในพื้นที่ของผู้นำขบวนองค์กรชุมชน โดยมีการแลกเปลี่ยน และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วม ฯ ดังนี้
1) การจัดรูปแบบขบวนองค์กรชุมชน ที่มีการเชื่อมโยงงานระหว่างตำบล จังหวัด โดยเสนอให้มีกลไกการขับเคลื่อนงานจากในระดับอำเภอร่วมด้วย
2) ออกแบบการทำงาน โดยอาศัยการวิเคราะห์การทำงาน และบริบทจากจังหวัด
3) มีการคัดกรองคุณสมบัติของบุคลากรที่เข้ามาทำงาน ทั้งขบวนองค์กรชุมชน และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา และปฏิบัติการ ออกแบบกระบวนการทำงานจากในระดับพื้นที่ได้
4) ส่งเสริมการทำงานของคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานกับขบวนองค์กรชุมชน และทำงานสนับสนุนพื้นที่อย่างจริงจัง สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ มีส่วนร่วมในการทำงานพัฒนาชุมชน
5) ต้องการเห็นการบูรณาการประเด็นงานให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมการทำงานในพื้นที่ที่มีการบูรณาการงานร่วมทุกประเด็นงาน รองรับการขับเคลื่อนและพัฒนางานได้อย่างมีจุดหมายในสังคมปัจจุบัน
6) ให้มีการลดภาระการทำงานด้านเอกสารการเงินให้น้อยลง และออกแบบระบบการหนุนเสริมงบประมาณให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานในพื้นที่มากขึ้น
7) วางแผนปฏิบัติการหนุนเสริมการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน กับสถาบัน ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงการทำงานที่หนุนเสริมงานระหว่างกัน โดยออกแบบเครื่องมือการทำงานร่วมกัน พร้อมการวิเคราะห์ต้นทุนร่วมในพื้นที่จังหวัด เช่น การออกแบบการพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์ จังหวัดบูรณาการสร้างความเข้มแข็ง รายงานผลพื้นที่เชิงสาธารณะ เป็นต้น
8) ให้คนในพื้นที่ เป็นเจ้าของการพัฒนาที่แท้จริง และเกิดการบูรณาการทำงาน สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และสถาบันที่หนุนเสริมการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน
9) สร้างทิศทางตำบลเข้มแข็งในการจัดการตนเอง เน้นการเชื่อมโยงพื้นที่ คลี่คลายปัญหา และออกแบบแผนการพัฒนาชุมชน ตามบริบทสภาวะ และความต้องการต่าง ๆ ของชุมชน
10) ให้ผู้นำขบวนองค์กรชุมชนรุ่นเก่า ถ่ายทอดการทำงานให้แก่คนรุ่นใหม่ และข้อคิดการทำงานต่าง ๆ ในการทำงานพัฒนา พร้อมทั้งโอกาสสนับสนุนการทำงานคนรุ่นใหม่ สร้างทิศทางการพัฒนาร่วมกัน
11) ปรับการทำงานของขบวนองค์กรชุชน อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีผู้นำที่ชี้ทิศทางร่วมในการปรับเปลี่ยน