วันที่ 26 เมษายน 2566 4 หน่วยงานประชุมหารือแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ในประเด็น “แนวคิดและการขับเคลื่อน Local Business เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้” นำโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และ ประธานการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อนําเสนอข้อค้นพบ ข้อเสนอเชิงนโยบาย และเครื่องมือจากการพัฒนาขีดความสามารถของ ผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ ของหน่วย บพท. พร้อมหารือแนวทางการขับเคลื่อนปฏิบัติการร่วมระดับพื้นที่ ในประเด็นพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายนําร่อง ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 (NXPO) อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันพบการพัฒนาที่ไม่ลงไปสู่ข้างล่าง เราพยายามแก้โดยการทุ่มเงินลงไป แต่แย่ลงทุกวัน เราไม่เข้าใจวิธีการ ต้องทำให้ 20 ล้านคนยืนขึ้นมาได้ ต้องกลับไปนั่งดูว่าเกิดอะไรขึ้น การทำงานด้วยความไม่เข้าใจให้ข้าราชการไปช่วยชาวบ้าน ข้าราชการทำธุรกิจไม่เป็น เรื่องการเกษตร ข้าราชการทำไม่เป็น ทำให้งานของหน่วยราชการมีแต่ทำงานให้ได้เป้า เช่น ทำตลาดหมานอน ไม่มีใครไปค้าขายตรงนั้น ปัจจุบันเราอยู่ในระบบทุนนิยมเหมือนโม่ที่หมุนทำให้ทุกคนลำบากขึ้นเรื่อยๆ ในชุมชนมีปัญหา 3 ประการ คือ 1.หนี้นอกระบบ เป็นมะเร็งร้ายในเมืองและนอกเมืองดอกเบี้ย 20 % ต่อเดือน ปลิงดูดเลือดหรือพยาธิในท้อง สุดท้ายเสียที่ดินจำนวนมาก ทำให้เกิดการบุกรุกป่า 2.ชาวบ้านได้ 2-5% ต้องเปลี่ยนตรงนี้ให้ได้มากกว่า 10 % มีพ่อค้าคนกลางมาข่มขู่ การศึกษาของอาจารย์สำคัญเพราะไม่เคยมีใครไปทำว่าชาวบ้านได้เท่าไหร่ 3.ชอบทำแบบเดิมๆ อย่างที่ปู่ย่าตายายสอน นวัตกรรมไปไม่ถึง นวัตกรรมในประเทศอื่นก้าวหน้าไปมากทำให้เกิดปัญหากับการผลิตในระบบเกษตรของไทย เช่น เมืองจีนทำข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 1000 กก. เมืองไทย 1 ไร่ ได้แค่ 300-700 กก. ถ้าเราไม่เปลี่ยนโลกจะกดดันเราเรื่อยๆ สิ่งที่เขาขายอยู่ value ตกลง ยิ่งพัฒนาไปหนี้ก็เพิ่ม ราคาสินค้าเพิ่มน้อยกว่ารายจ่ายอื่นๆ เราจะจัดการหนี้นอกระบบอย่างไร เราเติมเงินให้เขาได้ แต่การที่พบว่ามีเงินอยู่ในพื้นที่อยู่แล้วสำคัญกว่า และในการดำเนินโครงการต่างๆ พบปัญหาตลอดทาง เช่น โครงการปลูกต้นไม้ ปลูกได้ แต่ตัดขายไม่ได้ ทำธนาคารชุมชนแต่ติดกฎหมาย เราต้องแก้กฎหมาย ต้อง “จัดการคนกลาง จัดการนวัตกรรม การบริหารการเงิน
ดร.จิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า เป้าหมายคือขจัดความยากจนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กระจายรายได้ หมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัญหาที่พบในการลงพื้นที่คือ ครัวเรือนยากจนดักดาน จนข้ามรุ่น ครัวเรือนยากจนที่เป็นหนี้สิน สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหา อยู่ที่การหา Key agent คือ ธุรกิจชุมชน local enterprises ในปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 2000 ราย เป็นเศรษฐกิจฐานรากผ่านการประกอบการในพื้นที่ นโยบาย ในฐานะที่มีส่วนในการร่างเศรษฐกิจฐานราก การโตแบบแมคโครไม่กระจาย ในเชิง macro ข้อมูลส่วนการให้บริการกับเกษตรมีการกระจายแต่ไม่ได้ตามเป้า เช่น การทำ smart farmer 1.แต่ละประเทศใช้ geo politic มากขึ้นเพิ่มสนับสนุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ 2.Eco system nature production ช่วยกระจายรายได้ ได้ดีมาก 3.กลไกรัฐแข็งตัวมาก การปฏิรูประบบราชการไม่ก้าวหน้า ต้องทำ area development ทำให้กลุ่มในพื้นที่เติบโต เกิดกลไกดูดซับเศรษฐกิจ เครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม เช่น สมาคมข้าวแต๋นลำปาง สมาคมเซรามิคในลำปาง 4.จากข้อมูลการค้นพบ local business สิ่งที่ทำให้สำเร็จคือ เพื่อนกับโค้ช ด้านกิจการ การประกอบการ ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี ความรู้ ในต่างประเทศทำกับมหาวิทยาลัย เอามาเป็นโค้ช 5.วิสาหกิจชุมชน อาจจะเป็นธุรกิจชุมชน มีคุณค่าแฝงอยู่ วิถีชาวบ้าน อัตลักษณ์ ย้อนกลับไปรักบ้านรักเมือง เราพยายามทำ national branding
นายกฤษฎา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ในส่วนของ พอช. เราเป็นผู้ที่ร่วมพัฒนาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เรามีคนที่ได้รับผลกระทบและพร้อมที่จะลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เครื่องมือหลักของ พอช. คือการสร้างการรวมกลุ่ม หนี้นอกระบบ ทุน เป็นปัจจัยสำคัญ มีหลายพื้นที่เกิดการรวมกลุ่มและจัดการทุนของตนเอง มีเงินของตนเอง เช่น ดงขี้เหล็ก มีเงินทุนเป็น 100 ล้าน วังตามัวกลายมาเป็นเจ้าของเงิน จัดการตนเองได้ ในกลุ่มองค์กรที่ พอช. สนับสนุน มีพื้นที่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ สวัสดิการชุมชน 5600 กองทุน มีเงินกองทุน 20000 ล้านบาท เป็นเม็ดเงินที่มีอยู่จริงประมาณ 10,000 ล้านบาท มีเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ใน 76 จังหวัดและกรุงเทพฯ 7800 องค์กรชุมชน ทำหน้าที่เชื่อมโยงการพัฒนา 120000 องค์กรที่พร้อมจะขยับ บางพื้นที่มีการจัดการตนเองในเชิงเศรษฐกิจ เช่น บัวใหญ่ นาน้อย จ.น่าน ทำเกษตรอินทรีย์ส่งตรงให้โมเดลเทรด การผลิตฟักทองไข่เน่า ไม่พอขายในพื้นที่ เรามีศูนย์กระจายสินค้าท่าเสาร์ กาญจบุรี รับสินค้าจากพี่น้องและกระจายสินค้า มีรายได้ปีละ 20,000,000 บาท กระจายรายได้ให้กับชุมชน ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง มีโครงการกินเปลี่ยนเมือง ซึ่งทำที่จังหวัดชัยภูมิกับจังหวัดภูเก็ต ชาวนาในจังหวัดชัยภูมิผลิตข้าวอินทรีย์ ทางจังหวัดภูเก็ตนำไปขายให้กับสถานประกอบการต่างๆ หักกำไรไว้ กก.ละ 4 บาท เข้ากองทุนสวัสดิการ ขณะนี้ทำได้สองเดือนมียอดข้าวจำนวน 2000 ถุง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มกับกลุ่ม
นางสาวนิธิวดี สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SME (สสว.) กล่าวว่า สสว. มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทำมาแล้ว สสว.ทำปลายทาง เช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ได้ อพท.และ วช. ช่วยคัดเลือกชุมชน ที่เข้มแข็ง กำลังพัฒนา และที่อยากเติบโตขึ้น มีบางพื้นที่ๆ ทับซ้อนกันอยู่ จึงทำเป็นคลัสเตอร์ ชุมชนที่ขายได้ มีโปรแกรมแล้ว นักท่องเที่ยวที่ไปทำกิจกรรมกับชุมชนแต่กลับมานอนโรงแรมมีมากขึ้น ด้านการตลาดมีการทำแอปฟลิเคชั่นน้องมะเฟืองชวนชอป Star Market (ตลาดมะเฟือง) SME One ID ลงทะเบียนใน Star Market กำลังพัฒนาระบบ หน่วยงานได้ข้อมูลว่าผู้ประกอบการทำอะไรอยู่ ทำที่ไหนบ้าง เช่น การร่วมมือกับ อย. ในการอำนวยความสะดวก ผู้ประกอบการสามารถฟาสแท็กได้ ถ้าเขาลงทะเบียนไว้แล้ว สามารถไปคุยกับ เจ้าหน้าที่อย. ได้เลย มีการเก็บข้อมูลไปแชร์กับหน่วยงานอื่นๆ ได้ data base ที่มีอยู่จากกรมพัฒนการค้า DJA พัฒนาระบบเรียบร้อยแล้ว BDS ปังตังค์ได้คืน สสว.ทำปลายทาง ช่วยเหลือเรื่อง สแตนดาร์ด ตัว productivity ตัว SME เองจำเป็นต้องทำ การอบรม inhouse training การทำบัญชี วงเงิน 50000 -200000 บาท เป็นมาตรการ อยากให้เกิดความยั่งยืนของผู้ประกอบการ
ดร.ประคอง สายจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การท่องเที่ยวทำคนเดียวไม่ได้ ทุกท่านเกี่ยวหมด 9 เปอร์เซ็นคือการดินทาง ปี 2562 ทั้งหมด 3 ล้าน ล้านบาท ร่วมมือกับ สสว. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ไปขับเคลื่อนร่วมกัน คนจน 40 ล่างสุด ทำแก้จน LE เมืองต่างๆ การท่องเที่ยวจะทำให้ได้ 20-25 GPD ของประเทศ หลายหน่วยมาช่วยกัน DIY CT ท่องเที่ยว CBT
ดร. สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า บนพื้นฐานของข้อมูล มีองค์ประกอบทั้งระบบ จุดแรกที่เห็นคือ ตรงกลางสำคัญ มีการศึกษาตรงกลาง ที่เราเรียกว่า producer company คนกลางที่ใจดี หาตลาด แบ่งรายได้ที่เป็นธรรม ถ้ามีการขยายผลจะเป็นคาดงัดที่สำคัญ กระทรวง อว. มีอุทยานวิทยาศาสตร์ แม่ข่ายลูกข่าย บางแห่งไปถึง start up บางที่ก็ยังไปไม่ถึง อาจจะมีมหาวิทยาลัยราชภัฎ ราชมงคลที่ช่วย การให้คำปรึกษาด้านมาตรฐานอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ การเชื่อมต่อกับระบบการผลิต คือ นิคมอุตสาหกรรม ถ้าอุทยานวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมกับนิคมอุตสาหกรรม เราจะลองเอาสินค้าขึ้นไปตรง cross border e-comer
นายมนตรี จงวิเศษ กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา กล่าว่า การจัดการเรื่องกระเทียมราคาตกต่ำ ได้ช่วยชาวไร่ด้วยการส่งขายให้กับบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เราซื้อจากชาวไร่ในราคาา 40 บาท ส่ง 150 บาท แต่กระเทียมจะหายไป 40 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยเรื่องค่าตัดจุด ค่าแกะ ค่าขนส่ง ส่งให้บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ เดือนละ 4 ล้านกิโลกรัม ข้อที่ต้องตระหนักคือ ชาวไร่ทำได้เท่าไหร่ให้เท่านั้นอย่าทำเพิ่ม และไม่รับสมาชิกใหม่เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำไม่สม่ำเสมอ ของที่ส่งไปต้องมีคุณภาพ ถ้าส่งของไม่ได้คุณภาพบริษัทจะไม่ซื้อจากเราอีกเลย
ผลที่คาดว่าจะได้รับจาการประชุมฯในครั้งนี้ คือ สามารถเป็นผู้กําหนดนโยบาย และผู้บริหารหน่วยงานความร่วมมือได้รับทราบข้อค้นพบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ นําไปสู่การขับเคลื่อนขยายผลและกําหนดข้อเสนอเชิงนโยบายในระยะถัดไป และได้ข้อสรุป เป้าหมาย แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่เป้าหมายนําร่อง รวมถึงการวางแผนการทํางานร่วมกันในระยะถัดไป