กรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก / วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยมีผู้เข้าร่วมจาก

-สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่ 2
-สำนักงานภาคกรุงเทพนปริมณฑลและตะวันออก
-สำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง
-เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดตราด สมุทรปราการ ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

นายยุทธพงษ์ เขื่อนเมือง ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และนำเสนอทบทวนเป้าหมาย แนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริต เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก เน้นหลักการทำงานสำคัญ 6 เรื่อง ประกอบด้วย
1.เครือข่ายภาคประชาชนเป็นแกนหลัก
2.เน้นกระบวนการทำงานแบบล่างขึ้นบน
3.มุ่งสู่ผลลัพธ์ แก้ไขปัญหาในพื้นที่
4.ใช้งบประมาณ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.เรียนรู้คู่การปฏิบัติตลอดเวลา
6.สร้างความร่วมมือกันทุกภาคส่วน
โดยเน้นกิจกรรมสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่
1.สร้างการรับรู้และจิตสำนึกประชาชนในพื้นที่
2.สร้างระบบพื้นที่เปิดเผยโปร่งใส ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลโครงการและงบประมาณ
3.สร้างธรรมาภิบาล ภาคประชาชนองค์กรชุมชน
4.ปฏิบัติการเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแส การทุจริตและประพฤติมิชอบในพื้นที่

นายณรงค์มาตร ประกอบกิจ คณะทำงานโครงการฯ นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการป้องกันและต่อต้านการทุจริต โดยภาคประชาชน ปี 2565 ระดับภาค ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน ในเรื่องการประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการพัฒนาและขยายผลพื้นที่รูปธรรม,การติดตาม การดำเนินงาน,และ เวทีสรุปผลการพัฒนาในพื้นที่ดำเนินการและขยายผลในระดับภาค งบประมาณรวม 100,914 บาท
จากนั้นผู้แทนระดับจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดตราด รายงานผลการขับเคลื่อนงานโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตภาคประชาชน ในปี 2565 มีพื้นที่ดำเนินการ 3 จังหวัด รวม 35 ตำบล โดยเน้นกิจกรรมสำคัญ คือ 1. สร้างจิตสำนึกประชาชน 2. สร้างระบบพื้นที่เปิดเผยโปร่งใส 3. สร้างธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี4. ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตในพื้นที่
ส่งผลให้เกิดเวทีการสร้างความรู้ความเข้าใจในระดับตำบล รวมกลุ่มแกนนําผู้ก่อการดี เป็นคณะทำงานในระดับตำบล ระดับจังหวัด การขยายเครือข่ายป้องกันการต่อต้านการทุจริตไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน เครือข่ายเด็กสภาและเยาวชน สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายสวัสดิการชุมชนเครือข่ายที่อยู่อาศัย ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปปช. ปปท. ศูนย์ดํารงธรรม ม.บูรพา ก.ท.จ.ฯลฯ ลงนามความร่วมมือสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการทุจริต, กิจกรรมการพัฒนาช่องทางการสื่อสารภายในและภายนอก ในการป้องกันต่อต้านการทุจริตภาคประชาชน เช่น ตู้โวยวาย ตู้บอกต่อ ตู้คุณธรรมนำสุข ,กิจกรรมรณรงค์สร้างสำนึกพลเมืองการป้องกันต่อต้านการทุจริต เช่น สมัชชาป้องกันการทุจริต เวทีประกาศเจตนารมย์ต่อต้านการทุจริต

นายยศศรัณย์ ก่อเกิด เจ้าหน้าที่สำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานโครงการป้องกันและต่อต้านการทุจริต โดยภาคประชาชน ปี2566 พอช.สนับสนุนให้เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริต โดยมีกลไกการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ประกอบด้วยกลไกการทำงานหลายระดับ คือ กลไกระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับตำบล ตามแนวทางการขับเคลื่อนงาน 6 หลักการ 4 กิจกรรมสำคัญ 8 ขั้นตอนการเคลื่อนงานระดับพื้นที่

เป้าหมายของการขับเคลื่อนงาน ปี 2566 พื้นที่ดำเนินการภาพรวม 7 จังหวัด 210 ตำบล ภาคกรุงเทพฯปริมณฑลและตะวันออก 4 จังหวัด พื้นที่ใหม่ 38 พื้นที่เก่า 29 พื้นที่ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านการทุจริต ทั้งระดับจังหวัด และระดับตำบล ที่มีบทบาทความสามารถและพัฒนาเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่กล้าและสามารถตัดสินใจดำเนินการต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พื้นที่และสังคม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในโครงการหรือความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ

ช่วงท้าย นายบุญทัน มาพงษ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชนอาวุโส ชวนคิดชวนคุย กำหนดทิศทางเป้าหมายร่วมในการทำงาน ปี 2566 ดังนี้
1. การพัฒนากลไกการทำงานในระดับจังหวัด ระดับตำบล ทั้ง 4 จังหวัด
2. ประชุมทำความเข้าใจระดับจังหวัด
– จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 9 ธันวาคม 2565
– จังหวัดชลบุรี วันที่ ธันวาคม 2565
– จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 9-10 ธันวาคม 2565
– จังหวัดตราด วันที่ ธันวาคม 2565
3. จัดทำโครงการระดับตำบลและจังหวัด เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณใน ปี2566 ภายใน วันที่ 19 ธันวาคม 2565
4. กำหนดเวทีพิจารณาโครงการระดับกลุ่มจังหวัดตะวันออก 2 (21 ธ.ค.65),กลุ่มตะวันออก 1 (22 ธ.ค.65),กลุ่มปริมณฑล (23 ธ.ค.65)
ข้อเสนอในการขับเคลื่อนงาน
1.การขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัด โดยขบวนองค์กรชุมชน ให้มีการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานและใช้ระบบธรรมมภิบาลในการกำกับติดตามในพื้นที่
2.ระดับจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดทำหนังสือสั่งการเรื่องการสนับสนุนด้านการต่อต้านการทุจริตของหน่วยงานระดับท้องถิ่น รวมถึงการตั้งคณะกรรมการการต่อต้านการทุจริตร่วมกับภาคประชาชน สู่การบูรณาการแผนการขับเคลื่อนงานร่วมกัน
3.จัดเวทีระดับอำเภอให้เกิดกลไกการทำงาน หนุนเสริมร่วมกัน
4.กรณีงบประมาณสนับสนุนที่มีอย่างจำกัด ขบวนองค์กรชุมชนควรบูรณาการในการทำงานร่วมในระดับพื้นที่

