การประชุมหารือบูรณาการแนวทางการทำงานระหว่าง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช. และ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสุชน 3 โดยมี นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานในการประชุม โดยมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ของ พอช. เข้าร่วมด้วย
ในการประชุมครั้งนี้มีการหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน 5 ปีของทั้งพอช.และสช. ในการสร้างพื้นที่ “SHARING” ข้อมูลและการปฏิบัติงานตามภารกิจของทั้งสององค์กร เพื่อสร้างการทำงานที่ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ชุมชนเข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรม โดย อ.เจษฎา มิ่งสมร ผู้ทรงคุณวุฒิสช. ได้มีการยกตัวอย่างถึงการสร้างพื้นที่หนุนร่วมชุมชนเข้มแข็ง (productivity) การสร้างการต่อยอดดูแลช่วงวัย การให้สวัสดิการ และการช่วยเหลือของชุมชุนและท้องถิ่น ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนการผสานความร่วมมือในองค์กรสุขภาพของกระทรวงสาธารณะสุข เช่น โครงการพลเมืองสู้ภัยโควิด ที่ส่งผลให้เกิดพื้นที่ตัวอย่างในโครงการบ้านมั่นคง กองทุนสวัสดิการ ที่มีการต่อยอดในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง การสร้างกติกาชุมชน เพื่อหนุนเสริมชุมชน ให้มีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมในการขับเคลื่อนงาน ในการสร้างชุมชนเข้มแข็งร่วมกัน
ซึ่งพอช.มีการแลกเปลี่ยนประเด็นเป้าหมายแผนงาน โดยนายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีการกล่าวถึงเป้าหมายขององค์กรในปี 2570 ที่มุ่งสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเต็มพื้นที่ประเทศไทย การขับเคลื่อนงานพัฒนาโดยการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อสะท้อนความต้องการของฐานรากของสังคม แบบ Bottom-up Management ที่สร้างชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)ได้มีการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นภารกิจตามแผนงานของ พอช. ในการสร้างชุมชนเข้มแข็งผ่าน Conceptual Framework “จังหวัดบูรณาการ” เพื่อสร้างตำบลและจังหวัด ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ การสร้างระบบชุมชนที่มีการกำหนดเป้าหมายในพื้นที่การสะท้อนความต้องการ (demanding) ของพื้นที่ท้องถิ่น โดยใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนำในการสร้างการพัฒนาและกลไกสภาองค์กรชุมชนสร้างเครือข่ายต่างๆในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องระบบจังหวัดจัดการตนเองจึงเป็นการสร้างการทำงานร่วมของระบบราชการในจังหวัดกับการทำงานกับชุมชนในพื้นที่ตำบล เพื่อสร้างการต่อรูปในการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม เพื่อเป้าหมายในการผลักดันข้อเสนอของชุมชนสู่โครงสร้างแผนพัฒนาจังหวัด ที่ตอบสองความต้องการของประชาชน โดยให้สภาองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมใน กบจ.
ทั้งนี้นายกฤษฎา ยังมีการกล่าวถึง การต้องการสร้างพื้นที่การพัฒนาชุมชนแบบ Multigeneration ที่พอช.มีความต้องการในการส่งเสริมการสร้าง “CODI Academy” การเป็นสถาบันสร้างคนรุ่นสู่รุ่น ที่ผู้นำชุมชนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (specialist) และมีการประยุกต์องค์ความรู้ที่มีความทันสมัยในการยกระดับศักยภาพชุมชน แนวทางโครงการนี้ พอช.มีความมุ่งหวังเพื่อเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่สามารถ ทำงานสนับสนุนส่งเสริมชุมชน และมีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนและมีแนวทางที่เหมาะสมในการพลักดันชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถพี่งพาตนเองได้
ในช่วงท้ายมีการสรุปแนวทางการดำเนินงานร่วมกันและการสรุปกรอบความคิดมีความต้องการในการผลักดันการเปลี่ยน mind set ในการปฏิบัติงานที่มีการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อลดภาระหน้าที่และเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายการสร้างกระบวนการเป้าหมายร่วม เช่น การตั้งเป้าหมาย การตั้งกระบวนการ เช่น การสร้างกระบวนการในการวัดระดับความสำเร็จของสช.และ พอช. ที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง social Safety Net การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการบูรณาการการปฏิบัติการจริงในพื้นที่