สถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด19 ที่แพร่ระบาดอย่างเป็นวงกว้างส่งผลกระทบทั้งในระดับโลกและประเทศ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันกับชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของชาวบ้านในชุมชนมีความยากลำบากมากขึ้น จากการที่ต้องเชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูง จึงทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ขณะเดียวกันการพัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมา มีปัญหาที่ต้องดำเนินการพัฒนาที่ยังไม่ความครอบคลุม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนยังได้รับการพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการหรือตรงกับสภาพปัญหาอย่างแท้จริง การจัดทำแผนพัฒนาตำบลของสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหญ้าไซ จึงเป็นโอกาสให้คนในชุมชน มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เกิดแนวทางในการพัฒนาวิถีชีวิตให้ตรงกับความต้องการของชุมชน
สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหญ้าไซ ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจึงประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการสร้างความมั่นคงทางอาหาร/สร้างอาชีพรายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ อันเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 โดยจัดเวทีสร้างความเข้าใจคณะทำงานสภาองค์กรชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับและหน่วยภาครัฐในพื้นที่ หารือแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เกิดแนวทางการดำเนินงาน โดยการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท ปี 2565 โดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกครัวเรือนอาสา จำนวน 35 ครัวเรือน ในการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และปลูกพืชล้มลุก เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ส่วนที่เหลือนำมาขายให้กับคนในชุมชนนำเงินสมทบรวมกัน จัดตั้งเป็นกองทุนในการขยายผลในการซื้อไก่พันธุ์ไข่และเมล็ดพันธุ์ให้ครัวเรือนขยายต่อไป โดยมีการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบยั่งยืน อันเกิดจากการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานกับสภาองค์กรชุมชนตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง ซึ่งมีการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ มีตลาดรองรับอย่างมั่นคง ทำให้สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหญ้าไซนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการปลูกไผ่ซางหม่น ซึ่งเป็นไผ่ที่มีขนาดใหญ่ลำต้นตรงและแข็งแรงเหมาะกับการทำเฟอนิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โดยมีครัวเรือนนำร่อง 40 ครัวเรือน อาสาเป็นจุดเริ่มต้นนำร่องในการดำเนินงานโดยมีตลาดรองรับผลผลิตจากไม้ไผ่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกระบวนทั้งหมดในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เริ่มขึ้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ประชุม/อบรมให้ความรู้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การปลูกพืชผักสวนครัว และการปลูกไผ่ซางหม่น ลำดับแรก เป็นการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การปลูกพืชผักสวนครัว และวิธีการปลูกต้นไผ่ซางหม่น โดยสำนักงานปศุสัตว์ ให้ความรู้การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ เกษตรอำเภอหนองหญ้าไซให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวและ วิทยากรจากกลุ่มผู้ปลูกไผ่ตำบลองค์พระให้ความรู้การปลูกไผ่ซางหม่น ให้กับครัวกลางอาสาทั้ง 35 ครัวเรือน ซึ่งเป็นครัวเรือนที่มีความพร้อมทั้งด้านที่ดินและโรงเรือน โดยโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทตำบลหนองหญ้าไซ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พอช. สนับสนุนไก่พันธุ์ไข่และเมล็ดพันธุ์ พืชล้มลุกอายุปานกลาง ผักกาดเขียว ฟัก มะเขือเปราะ ฟักทอง ให้กับครัวเรือนต้นแบบนำร่องสู่การขยายผลให้กับครัวเรือนอื่นในระยะต่อไป และมอบต้นพันธุ์ไผ่ซางหม่นให้ครัวเรือนนำร่อง 40 ครัวเรือน
อบรมและแจกไก่พันธุ์ไข่ พร้อมอาหารและอุปกรณ์การเลี้ยง
หลังจากที่มีการอบร้างความเข้าใจและมอบพันธุ์ไก่และพันธุ์พืชไปแล้ว คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ โดยเริ่มตั้งแต่ 7 วัน แรกเป็นต้นไป ซึ่งจากการติดตามผลหลังจากการอบรมและการรับไก่พันธุ์ไข่ 45 วัน พบว่าผู้เข้ารับการอบรมและการรับไก่พันธุ์ไข่ ได้นำไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงไปแบ่งปันให้เพื่อบ้าน ญาติพี่น้อง และผู้ด้อยโอกาสรายอื่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการและรับพันธุ์ไก่ไข่ไปเลี้ยง เพื่อให้เด็กๆ ได้มีไข่บริโภค และต้นทุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
การติดตามการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
ติดตามการปลูกผักและการปลูกไผ่ซางหม่น
ผลลัพธ์ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม จากการดำเนินการอบรมและส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ การปลูกผักสวนครัว และการปลูกไผ่ซางหม่น ทำให้เกิดการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยเกิดการลดรายจ่ายในครัวเรือนในการซื้อไข่ไก่และพืชผักบริโภคในครัวเรือน ประมาณวันละ 20 – 30 บาท ใน 1 เดือนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 600 – 900 บาทต่อครัวเรือน เกิดการเพิ่มรายได้ในครัวเรือนจากการขายไข่ไก่และพืชผักประมาณวันละ 50 – 70 บาท เมื่อรวม 1 เดือนมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,500 – 2,100 บาทต่อครัวเรือน และยังเกิดการดูแลช่วยเหลือ แบ่งปัน เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสในสถานการณ์โรคโควิดแพร่ระบาด สามารถตอบสนองปัญหาและการพัฒนาตามความต้องการของคนในพื้นที่ เห็นได้จากครัวเรือนต้นแบบมีอาหารบริโภคในครัวเรือน เป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย และสร้างอาชีพเสริมจากขายไข่ไก่ และการปลูกผักขาย และยังเกิดการดูแลช่วยเหลือ แบ่งปันแหล่งอาหารที่เกิดจากโครงการฯให้กับผู้ด้อยโอกาสให้อยู่กับสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
ผลผลิตจากการเลี้ยงไก่พันธุ๋ไข่และพืชผักจากบ้าน “ครัวอาสา”
อย่างไรก็ตาม ในการปลูกไผ่ซางหม่น แม้ว่าไผ่ที่ปลูกจะยังไม่ออกหน่อ ออกลำให้นำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวของผู้เข้ารับการอบรม แต่ก็ยังได้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับอาชีพดังกล่าว มีการขยายผลการปลูกไผ่ซางหม่นให้สมาชิกกลุ่มในชุมชน.มีแผนการสร้างอาชีพระยะยาวและเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการตลาดกับภาคเอกชน โดยมีนายสถาพร มากฤทธิ์ ชาวบ้านหมู่ 11 ตำบลหนองหญ้าไซเป็นผู้นำต้นแบบคนแรกโดยจะปลูกไผ่ซางหม่นเบื้องต้นจำนวน 1 ไร่ก่อน เป็นต้น
ผลงานที่ได้จากกระบวนการทำงานนั้น สร้างความสุข ความอิ่มท้องและอิ่มบุญ ให้กับคนในชุมชนตำบลหนองหญ้าไซ จากการได้แจกจ่าย การมอบอาหารให้กับกลุ่มผู้เปราะบาง ทั้งผู้ที่มีรายได้ น้อยผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส ตามที่ได้มีการสำรวจสืบค้นข้อมูลของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ส่วนหนึ่งที่เหลือจากการมอบให้กลุ่มผู้เปราะบางแล้ว นำออกขายในราคาต่ำ เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนในชุมชนและนำเงินที่เหลือตั้งเป็นกองทุนชุมชน เพื่อซื้อพันธุ์ไก่ไข่และเมล็ดพันธุ์พืชมอบให้ครอบครัวขยาย แบบ 1 ต่อ 5 โดยครัวอาสา 1 คน จะมีครัวเรือนบริวารที่เป็นครัวขยายผลอีก 5 ครัวเรือน
นอกเหนือจากการมอบอาหารที่เป็นไข่และพืชผัก การขับเคลื่อนงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหญ้าไซ ยังมีการขยายผลการสร้างบุญด้วยการร่วมหุ้นบุญจากชาวบ้านโดยการร่วมบริจาคข้าวสารภายใต้ชื่อ “โครงการข้าวคนช้อนป้อนผู้ด้อยโอกาส” โดยเป็นการทำงานร่วมกับกับอำเภอหนองหญ้าไซ โดยอำเภอหนองหญ้าไซได้มีอาหารแห้งมาร่วมมอบให้ผู้เปราะบางดังกล่าวด้วย รวมจำนวนผู้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานทั้งหมดประมาณ 160 คน ซึ่งเป็นเพียงระเวลาสั้นๆ ประมาณ 6 เดือน โดยสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหญ้าไซ นั้นมีแนวทางทิศทางในการขับเคลื่อนงานต่ออย่างยืนที่พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาคีในพื้นที่ต่อไป
ชาวบ้านร่วมหุ้นบุญ “ข้าวคนละช้อนป้อนผู้ด้อยโอกาส”
ร่วมลงพื้นที่มอบไข่ไก่ ข้าวสาร และอาหารแห้ง
เรียบเรียง : กมรวรรณ รุ่งพันธุ์
นักสื่อสารชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี