ร้อยเอ็ด/วันที่ 12-14 สิงหาคม 2565 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. สังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่เพื่อประเมินศักยภาพตามกรอบทุนการดำรงชีพ (SLF) และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ตามโมเดลแก้จน กรณีจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ดร.พิกิฏ ศรีชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม น.ส.จันทนาเบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. ผศ.ดร. วิชิต กำมันตะคุณ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผศ.ดร.ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด นายอธิชาติ ชุมนานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหาร บริษัท พาว มิราเคิล จำกัด นายสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย ดร.ชนิสรา ดาอ่อน ประธานเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายสว่าง สุขแสง ประธานสมาพันธ์ SME จังหวัดร้อยเอ็ด นายธนาทร พานทอง ผู้แทนภาคประชาสังคมจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะ ลงพื้นที่ดูงานพื้นที่แปลงรวม อำเภอโพนทราย และ โรงงานแปรรูปชาใบข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเหม้า อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่
การลงพื้นที่เพื่อประเมินศักยภาพตามกรอบทุนการดำรงชีพ (SLF) และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ตามโมเดลแก้จน กรณีจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการขยายผลการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 2 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ข้อ 3 ในการสนับสนุนการยกระดับกลไกภาคีความร่วมมือ เพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนโมเดลแก้จน (OM) นำไปสู่การพัฒนา Platform กลไก เครื่องมือ กระบวนการเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model: OM) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่เพื่อทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน รวมถึงการเสริมพลัง (Empowerment) และสร้างความเข้มแข็ง (Strengthen) ให้กับระบบรัฐ เอกชน และประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อขจัดความยากจนและมุ่งเป้า
หลังจากลงพื้นที่ได้สรุปผลจากการลงไปศึกษาดูงานและวางแผนการขับเคลื่อนต่อไป
อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับชุมชนเรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชนทำอย่างไรจะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ในระดับสากล “พืชสมุนไพรซึ่งชาวบ้านที่นี่สามารถปลูกได้ และเป็นผลิตผลที่เหมาะกับดินของที่นี่ มีเรื่องราวความเป็นมา ปลอดภัย พัฒนาสมุนไพรด้วยงานวิจัย และต่อยอดนำมาขาย สร้างรายได้ให้กับชุมชน” ตามคลิปด้านล่าง