ขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมจังหวัดขอนแก่นเต็มพื้นที่ที่มีเป้าหมายจะดำเนินการให้ได้เต็มพื้นที่ภายในปี 2565 จำนวน 224 ศูนย์ โดยในปัจจุบันมีการดำเนินการขับเคลื่อนไปแล้วจำนวน 10 ศูนย์ประกอบไปด้วยตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่นตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลโจดหนองแก อำเภอพล ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง ตำบลกระนวน อำเภอกระนวน และตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี
นายสุพัฒน์ จันทนา
วันนี้ 14 มกราคม 2565 นายสุพัฒน์ จันทนา ผอ.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอช. พร้อมด้วย นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผช.ผอ.พอช. และคณะ ร่วมการประชุมหารือ แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ “ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล” ร่วมกับทีม one Home 13 หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีนายศุภวัฒน์ หนูพริก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่นเป็นประธานการประชุม ตามนโยบาย ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เพื่อให้ศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมตำบลเป็นหน่วยบริการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในระดับพื้นที่ทุกเรื่องครบจบที่ตำบล ตามภารกิจของกระทรวง
นายสยาม นนท์คำจันทร์
นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผช.ผอ.พอช. กล่าวว่า กระบวนการการเรียนรู้ในการช่วยเหลือสังคม จะนำร่อง 5 ศูนย์ ซึ่งจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับศูนย์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ในระดับอำเภออีก 26 ศูนย์ ซึ่งทาง One Home ขอนแก่นมีต้นทุนเดิมอยู่แล้ว จำนวน 10 ศูนย์ จะนำมาต่อยอดและร่วมขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ในพื้นที่ตำบล เป็นการรวมพลังงานการทำงานของ พม.ในจังหวัดขอนแก่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน(ท้องถิ่น+อพม.+สภาองค์กรชุมชน+สวัสดิการชุมชน) ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ชุมชนต้องแก้ไขปัญหา คือการระเบิดจากภายในของชุมชนเอง เกิดจากการมีส่วนร่วมและการออกแบบสิ่งที่เขาอยากจะทำของคนในพื้นที่ ให้ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับตำบล
นายศุภวัฒน์ หนูพริก
สำหรับการขับเคลื่อนในแนวทาวจัดกระบวนการเรียนรู้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 5 ตำบลประกอบด้วย ตำบลกระนวน อำเภอกระนวน ตำบลนาหนองทุม อำเภอชุมแพ ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคิรี และตำบลโจดหนองแก อำเภอพล เพื่อดำเนินการจัดการขับเคลื่อนแลพสร้างการเรียนรู้อย่างเข้มข้นในพื้นที่กำหนด และเชื่อมโยงการเรียนรู้ กับศูนย์การเรียนรู้ที่กำหนด และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายในศูนย์ จำนวน 224 ศูนย์ ต่อไป โดยมอบหมายให้ ผอ.และสสว.6 ร่วมกันยกร่างงานวิจัยท้องถิ่นมาประกอบในการสนับสนุนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ มอบให้ พอช.ไปยกร่างกระบวนการในรายละเอียดเพื่อมาหารือกับทีม One Home ในการขับเคลื่อนร่วมกันให้ครบตามแผนงานต่อไป