มหาสารคาม / ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 (กขป.7) สมัชชาสุขภาพจังหวัด เครือข่ายสมาคมหมออนามัย สภาองค์กรชุมชนตำบล 64 ตำบล กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมจัดการประชุม “การขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการเพื่อรองรับผลกระทบจากภัยโควิด-19” โดยมีตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบล ที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในชนบท 64 ตำบล ประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ผู้แทนสมาคมหมออนามัย ชมรมหมออนามัย ที่ปรึกษา คณะทำงานจาก 4 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 ผู้แทน สช. สปสช. กขป.7 พอช. และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมการประชุมกว่า 300 คน
อาจารย์ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์ ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการมาประชุมร่วมกันในครั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการ กิจกรรม ของหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานกลาง ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ที่สอดคล้องกันในเรื่องความมั่นคงทางอาหารรองรับสถานการณ์โควิด-19 และจะมีการหารือกลุ่มย่อย เพื่อให้เกิดแผนปฏิบัติการ เกิดทีมจังหวัดที่จะหนุนเสริมการทำงานร่วมกันในพื้นที่ 64 ตำบล ให้เป็นรูปธรรม ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนร่วมกัน
นายสุเมธ ปานจำลอง อนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บรรยายหัวข้อ “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เส้นทางสู่ความเข้มแข็งของชุมชน” โดยระบุให้เห็นว่า ระบบอาหารในปัจจุบัน เป็นระบบอาหารอุตสาหกรรม ที่อาหารมาจาก ช็อปอาหารต่างๆ ในรูปแบบอาหารสดแช่แข็ง เป็นระบบใหญ่มีกฎหมายรับรอง ซึ่งปัจจุบันระบบอุตสาหกรรมอาหารกำลังคืบเข้าไปในครัวของผู้คน ควบคุมโดยระบบบริษัท ที่กระจายครอบคลุมทั่วโลกจนถึงระดับหมู่บ้านครัวเรือน
อาจารย์ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์ ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการมาประชุมร่วมกันในครั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการ กิจกรรม ของหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานกลาง ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ที่สอดคล้องกันในเรื่องความมั่นคงทางอาหารรองรับสถานการณ์โควิด-19 และจะมีการหารือกลุ่มย่อย เพื่อให้เกิดแผนปฏิบัติการ เกิดทีมจังหวัดที่จะหนุนเสริมการทำงานร่วมกันในพื้นที่ 64 ตำบล ให้เป็นรูปธรรม ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนร่วมกัน
นายสุเมธ ปานจำลอง อนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บรรยายหัวข้อ “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เส้นทางสู่ความเข้มแข็งของชุมชน” โดยระบุให้เห็นว่า ระบบอาหารในปัจจุบัน เป็นระบบอาหารอุตสาหกรรม ที่อาหารมาจาก ช็อปอาหารต่างๆ ในรูปแบบอาหารสดแช่แข็ง เป็นระบบใหญ่มีกฎหมายรับรอง ซึ่งปัจจุบันระบบอุตสาหกรรมอาหารกำลังคืบเข้าไปในครัวของผู้คน ควบคุมโดยระบบบริษัท ที่กระจายครอบคลุมทั่วโลกจนถึงระดับหมู่บ้านครัวเรือน
เป็นระบบการบริโภคที่ถูกจัดการโดยผู้ประกอบการ ระบบอาหารที่ครอบครัวผลิตเองลดน้อยลง ความรีบเร่งทำให้ทุกคนกินอาหารที่ร้านสะดวกซื้อ อาหารรถเข็น เข้ามาทดแทนระบบอาหารครัวเรือน ซึ่งคนเลี้ยงไก่ไม่ได้เป็นเจ้าของไก่ คนเลี้ยงหมูไม่ได้เป็นเจ้าของหมู ในขณะที่ระบบอาหารข้างล่าง คือระบบอาหารที่อมตะ เป็นระบบอาหารแบบชุมชนจัดการเอง มีสวนปันสุข เล้าข้าวปันสุข คือสิ่งที่พวกเรากำลังจะดินไปทางทิศทางนี้ ยังไม่นับอาหารในป่าในทามในแหล่งธรรมชาติที่เราจำเป็นต้องฟื้นฟู หรือแหล่งกระจายอาหารในท้องถิ่น ตลาดเขียว ตลาดนัด ตลาดในแปลง ซึ่งระบบนี้ยังไม่ถูกฟื้นฟู
เป็นระบบการบริโภคที่ถูกจัดการโดยผู้ประกอบการ ระบบอาหารที่ครอบครัวผลิตเองลดน้อยลง ความรีบเร่งทำให้ทุกคนกินอาหารที่ร้านสะดวกซื้อ อาหารรถเข็น เข้ามาทดแทนระบบอาหารครัวเรือน ซึ่งคนเลี้ยงไก่ไม่ได้เป็นเจ้าของไก่ คนเลี้ยงหมูไม่ได้เป็นเจ้าของหมู ในขณะที่ระบบอาหารข้างล่าง คือระบบอาหารที่อมตะ เป็นระบบอาหารแบบชุมชนจัดการเอง มีสวนปันสุข เล้าข้าวปันสุข คือสิ่งที่พวกเรากำลังจะดินไปทางทิศทางนี้ ยังไม่นับอาหารในป่าในทามในแหล่งธรรมชาติที่เราจำเป็นต้องฟื้นฟู หรือแหล่งกระจายอาหารในท้องถิ่น ตลาดเขียว ตลาดนัด ตลาดในแปลง ซึ่งระบบนี้ยังไม่ถูกฟื้นฟู
นอกจากในระบบครัวเรือนแล้วระบบการบริโภค ยังมีสถานที่ประกอบการ เช่น โรงพยาบาล ซึ่งมีมาตรฐาน การเข้าถึงผู้ผลิตปลอดภัย แต่ในระบบโรงเรียนยังเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง หรือโรงแรมที่เราไม่รู้แหล่งที่มาของวัตถุดิบ อีกกลุ่มคือกลุ่มผู้รักสุขภาพ ที่เน้นอาหารปลอดภัยปลอดสารเคมีตกค้าง เหล่านี้เป็นระบบอาหารที่เป็นอยู่ ในขณะที่ระบบอาหารอุตสาหกรรมก็กำลังคืบคลานเข้าไปที่ครัวของทุกท่าน ที่ลูกไม่กินผักที่เราปลูก แต่สั่งซื้ออาหารกินจากแอปพิเคชั่น
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า เราอยู่ส่วนไหนของระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน อย่างที่กาฬสินธุ์ ทำเรื่องวังปลาของชุมชน ถึงเวลาที่สังคมไทยเราต้องเลือกข้างของการเดิน ถ้าจะให้ชุมชนเข้มแข็ง เราต้องเข้าใจมิติการผลิตอาหารของสังคม ในระบบอาหารที่เป็นอยู่ เพราะมีข้อมูลทางวิชาการที่สุ่มตรวจถั่วฝักยาวในตลาดปกติ พบว่ามีสารเคมีปนเปื้อนกว่า 90 % ในใบบัวบก ตรวจพบเท่ากันกับถั่วฝักยาว องุ่นก็ตรวจพบสารตกค้าง 70% เป็นข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันถึงความเสี่ยงของเราในการบริโภคอาหาร
ความมั่นคงทางอาหาร ระบบอาหาร เป็นวิกฤตต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร เรากำลังถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช จากนโยบายข้อตกลงระหว่างประเทศ CPTPP และในท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ระบบอาหารที่ค้ำจุนเราอยู่ เราต้องให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งของชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนต้องมีความมั่นคงในฐานการผลิต ทำกินได้ มีความรู้ในการผลิต ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อครอบครัว ต้องมีข้าวที่เพียงพอ ต้องมีน้ำดื่ม มี หอม กระเทียม พริก น้ำปลา ตะไคร้ ใบมะกรูด มีเมล็ดพันธุ์ที่เพียงพอ นอกเหนือจากฐานอาหารจากฐานธรรมชาติ ป่า แหล่งน้ำ หากกล่าวโดยสรุป ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ชุมชนต้อง “ทำได้ หาได้ แลกได้ ซื้อได้ มีสิทธิ์ เข้าถึง พอเพียง ปลอดภัย เป็นธรรม และยั่งยืน” นายสุเมธ กล่าวในตอนท้าย
อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้จัดเสวนาเรื่องการบูรณาการงานในระดับตำบล ประสบการณ์และความสำเร็จ โดยมีข้อสรุปสำคัญ คือ แนวทางที่สำคัญคือความร่วมมือที่เกิดจากการประสานงานในแนวราบ ที่มาจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาชน หน่วยงาน และภาคประชาสังคมการใช้ศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเป็นศูนย์ประสานงานที่เชื่อมโยงกิจกรรมจากทุกหน่วยงานภาคี โดยใช้ใช้กลไกสภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นกลไกในการประสานเชื่อมโยงความร่วมมือ
#เรื่องดีดีที่ชุมชน #20ปีพอชพลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน #สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน #รวมพลังพลเมืองตื่นรู้สู้ภัยโควิด #พลเมืองตื่นรู้ #สู้โควิด19