สภาพทั่วไปตำบล
ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี มีจำนวน 12 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 1 หมื่นไร่ เป็นพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ซึ่งครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และชลบุรี มีเนื้อที่กว่า 1.2 ล้านไร่ เป็นป่าดิบลุ่มต่ำผืนสุดท้ายของประเทศ
ทุกปีจะมีช้างป่ากว่า 100 ตัว ลงมาจากเขาอ่างฤาไน เข้ามาหากินและอาศัยใกล้ที่อยู่อาศัย สวนผลไม้ของชาวบ้านตำบลพวา ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา และวนเวียนหากินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านหวาดผวาไม่กล้าออกไปกรีดยางและประกอบอาชีพทำสวนตามปกติ บางครั้งเลวร้ายถึงขั้นมีชาวบ้านเสียชีวิตเกือบทุกปี ไม่รวมความเสียหายทางทรัพย์สินต่างๆ โดยทางมูลนิธิองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดูแลด้านการแก้ไขปัญหาช้างระบุว่า ปัญหาช้างป่าที่อาศัยอยู่กินละแวกหมู่บ้านตำบลพวา ถือว่ารุนแรงอันดับหนึ่งของประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยให้แก่ชาวบ้านเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งการช่วยเหลือจากองค์กรภาคเอกชน แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
จุดเริ่มต้นจากเวทีจัดการความรู้พาช้างกลับบ้าน
สำนักงานภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก ได้สนับสนุนงานขบวนองค์กรชุมชนตำบลพวาผ่านประเด็นงานสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน บ้านพอเพียง และเศรษฐกิจและทุนชุมชน เพื่อเสริมหนุนการแก้ไขปัญหา การรวมกลุ่มองค์กร การสร้างรูปธรรม การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งล่าสุดทางสำนักงานภาคฯ ได้ร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลพวา จัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานตำบล เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 โดยได้วิเคราะห์ภาพตำบล ทุนทางสังคม ปัจจัยแวดล้อม ปัญหาสำคัญตำบล พบว่า ปัญหาช้างป่าที่อยู่กินอาศัยตำบลพวา เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ตำบลและปัญหาระดับประเทศ ที่ชาวบ้านตำบลพวากำลังประสบเพียงลำพัง ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านยังขาดการแลกเปลี่ยน การรวบรวมข้อมูล ปัญหา แผนงานระดับตำบลอย่างเป็นระบบที่คน ช้าง อาศัยอยู่ในผืนป่าเดียวกันได้ ต่อมาทางสำนักงานได้พัฒนาโครงการพาช้างกลับบ้าน โดยเป็นโครงการที่ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้มีส่วนในการหนุนเสริมทำงานเชิงลึกต่อพื้นที่ในลักษณะการทำงานบูรณาการทีมเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการช่วงระยะเวลา ปี 2560 (เมษายน – กันยายน 2560) ประกอบด้วยภาคีทุกภาคส่วนอันได้แก่ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดจันทบุรี สภาองค์กรชุมชนตำบลพวา องค์กรพัฒนาภาคเอกชน เทศบาลตำบลพวา และขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก
จัดการความรู้คน เพื่อรับมือ อยู่อาศัย ร่วมกับช้างได้
ที่เทศบาลตำพวา จ.จันทบุรี มีการรวมตัวของกลุ่มคนจากหลายภาคส่วน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การหาทางออกปัญหาช้างป่าบนฐานการพึ่งตนเองของชุมชน ผ่านกิจกรรมเวทีจัดการความรู้พาช้างกลับบ้าน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบลพวา คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูล การจัดการความรู้ และการสื่อสาร ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดจันทบุรี ขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก เทศบาลตำบลพวา และสำนักงานภาค โดยการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
ทีมงาน (ชาวบ้านพวา เจ้าหน้าที่ ขบวนภาค) มีการคุยหารือกันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561 ตอนไปจัดเวทีจัดการความรู้ตำบล วันนี้เราคุยวิเคราะห์ทุนตำบล ภาพฝันตำบล และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ชาวบ้านสะท้อนและร้องขอคือ น่าจะมีการจัดการความรู้เรื่องราวปัญหาช้างป่าในตำบล เพื่อหาทางออก ว่า “คน ช้าง ป่า” จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ที่ผ่านมาการจัดเวทีชาวบ้านไม่เคยได้ข้อมูลคืนกลับ องค์ความรู้ต่างๆ สะสมอยู่ในตัวบุคคล แผนงานตำบลจะดูแลร่วมกันได้อย่างไร หลังรับฟังจึงได้มาหารือเจ้าหน้าที่สำนักงานภาคและขบวนชาวบ้าน เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกัน จึงเป็นที่มาในการเวทีจัดการความรู้พาช้างกลับบ้าน ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการเมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 และสำนักงานภาคได้หนุนเสริมติดตามต่อเนื่องมาจนถึงปี 2562
การจัดเวทีเรามองไว้ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกเน้นกลุ่มเป้าหมายชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำบล เส้นทางช้างป่า องค์ความรู้ในการดูแลแก้ไขปัญหา และแผนการบริหารจัดการที่ชุมชนจัดทำ (โดยเน้นชุมชนทำได้เอง) ส่วนเวที 2 เวทีหน่วยงานภาคีพัฒนา เป็นการนำเสนอข้อมูลสังเคราะห์จากเวทีแรกต่อภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และเวที 3 เวทีนำเสนอแผนและแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาช้างป่า
เวทีแรกที่ผ่านมา นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ พี่ประสิทธิ์ แซ่ลี้ ประธานเทศบาลตำบลพวา หัวเรือสำคัญบอกด้วยซ้ำไปว่า “เวทีแบบนี้ น่าจะเกิดขึ้นมาตั้งนานแล้ว ที่ผ่านมามีแต่หน่วยงานเอาเรื่องตัวเองมาพูด แต่ไม่เคยให้ชาวบ้านพูดเลย” ได้รับเสียงตบมือดังจากก้อง ผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน หลังจากนั้นท่านนายกเทศมนตรี (นายทนง เมธาวรากุล) สำทับอีกว่า “ชาวบ้านที่นี้มีความน้อยอกน้อยใจเป็นอย่างมาก เวลาช้างป่า เวลาช้างตาย คนเป็นห่วง รู้กันทั้งประเทศ แต่เวลาพืชผลเสียหาย คนพวาเสียชีวิต คนไม่เคยเป็นห่วงเป็นใยเลย” ท่านนายกเปรยให้คนฟังต่ออีกว่า ที่ผ่านมาหากใครสามารถแก้ไขปัญหาช้างป่าได้ สามารถมาเป็นนายกได้เลย ปีนี้ตำบลได้รับงบจากจังหวัดมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกำลังมีแผนขอรัฐบาลแก้ปัญหาช้างป่าทั้งระบบของจังหวัดอีกหลายร้อยล้านบาท
เมื่อได้รับฟังสถานการณ์ปัจจัยแวดล้อมตำบลแล้ว ถึงจุดสำคัญของเวที เรามีการแบ่งกลุ่มตามภูมินิเวศน์ 3 กลุ่ม เพื่อไปแชร์ความรู้ แชร์ประสบการณ์คนรอบป่า คนรักช้าง คนเดือดร้อน โดยวิทยากรกระบวนการเจ้าหน้าที่ พอช.ภาคและขบวนชาวบ้านภาค/จังหวัด ผ่านโจทย์สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.วิเคราะห์สภาพตำบล ศึกษาเส้นทางช้างป่า 2.องค์ความรู้การแก้ไขปัญหาช้างป่าและ 3.แผนงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า
ภาพรวมเวทีที่ผ่านมาชาวบ้านได้แลกเปลี่ยน แชร์ความคิด ประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้รับรู้สถานการณ์ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องตำบล ข้อมูลภาพรวมตำบล องค์ความรู้ตำบล และแผนการทำงานของชุมชนที่จะดำเนินงาน โดยเฉพาะแผนเร่งด่วนที่ดำเนินการได้เลย การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน แหล่งท่องเที่ยวชุมชน นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญที่ชุมชนได้คิด ได้สะท้อน ได้แลกเปลี่ยนร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เหนืออื่นใดเจ้าหน้าที่ภาคเองได้ปรับกระบวนคิด วิธีการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ขบวนจังหวัด ขบวนภาคมีการทำงานเชิงลึกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
บทสรุปการจัดการความรู้พาช้างกลับบ้าน
1.วิเคราะห์สภาพตำบลศึกษาเส้นทางช้างป่า
ทุกปีตำบลพวาและตำบลใกล้เคียงจะมีช้างป่ากว่า 100 ตัว ลงมาจากเจาอ่างฤาไน เข้ามาหากินและอาศัยใกล้ที่อยู่อาศัย สวนผลไม้ของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านหวาดผวาไม่กล้าออกไปกรีดยางและประกอบอาชีพทำสวนตามปกติ บางครั้งเลวร้ายถุงขั้นมีชาวบ้านเสียชีวิตเกือบทุกปีไม่รวมความเสียหายทางทรัพย์สินต่าง ๆ
โดยเวทีในวันนี้เป็นเวทีครั้งแรก ที่มุ่งเน้นการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาช้างป่าจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อรวบรวมประมวลผลการจากคนในตำบลสู่การจัดเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกับภาคี และจัดทำข้อมูล องค์ความรู้การดูแลแก้ไขปัญหาช้างป่าในตำบลต่อไป
โครงการตรงนี้เป็นโครงการที่ดี มาถึงจุดที่คณะทำงานให้ความสนใจ ในเรื่องของช้าง ส่วนของจังหวัด ตำบลพวาเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งการพัฒนาในการประสาน ที่มากมาย เราจะต้องมาช่วยกันคิด ว่ามีสิ่งใดสามารถมาต่อยอดได้ และนำไปใช้ประโยชน์ ปัญหาเรื่องช้าง ถ้าเรามีขบวนการในการเรียนรู้ การบริหารขัดการที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดคนที่ช้างอยู่ได้ คนอยู่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนอยากให้อยู่ได้ และจะต้องทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน ราจะต้องให้ความสำคัญทุกขบวนการ เราจะต้องเรียนรู้พฤติกรรมของช้าง เราจะต้องมีการพัฒนาให้อยู่ร่วมกันอย่างไร ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อยากจะทำ ดังนั่น โครงการพาช้างกลับบ้านเป็นโครงการที่ดี เป็นจุดแนวคิดที่ถูกต้อง เราจะต้องมาแก้ปัญหาช้างทั้งระบบของอำเภอแก่งหางแมว จากที่ได้ไปศึกษาดูงานที่ต่าง ๆ ก็ได้แนวคิด เราจะมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างไร ปัญหาของช้างในพื้นที่ เราจะต้องเอาวิกฤตเป็นโอกาส ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ และตรงนี้ก็ได้รับความร่มมือหลายภาคส่วน มีการขับเคลื่อนจากอำเภอแก่งหางแมวเป็นส่วนใหญ่ ตำบลพวา เป็นจุดกำเนินความคิดเป็นส่วนใหญ่ เราจะมีการบริหารจัดอย่างไรที่จะให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ในส่วนของตำบลพวา ที่มีช้างอยู่ 100 กว่าตัว ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ แต่ปัจจุบันเรายังไม่สามารถกำหนดจุดให้ช้างอยู่ได้อย่างถาวร พื้นที่ในการหากินเราคาดเดาไม่ได้ จุดที่จะดูได้สวยคือ “เกาะกลาง” มีอยู่ประมาณ 100 กว่าตัว เรามีโครงการที่ขอจากทางรัฐบาล เป็นโครงการกั้นระหว่างอ่างเขาฤาไน เป็นการสร้างความปลอดภัยกับทางนักท่องเที่ยว ทางพื้นที่มีความเชื่อว่าช้างโขรงนี้เป็นช้างบ้าน ที่มีการสืบสายพันธ์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เราจะทำอย่างไรเมื่อช้างอยากที่จะอยู่ในพื้นที่ เราจะต้องมีการบูรณาการทำขอบเขตให้อยู่ ไม่มีการรบกวนชาวบ้าน เราจะทำ “พวาโมเดล” มีการกั้นพื้นที่ป่า และเปิดจุดให้ช้างมาอยู่เป็นจุด เราทำเป็นทางเดินช้าง และเราจะมีการหาอาหารมีเลี้ยงช้างโขลงนี้อยู่ตลอด ก็จะเกิดแหล่งท่องเที่ยวที่ถาวรมาได้ ก็ได้มีการคุยกับทางผู้ว่าราชการจังหวัด ทำเป็น “ซาฟารีย์ช้าง” ซึ่งก็จะสนับสนุนงบประมรให้ และมีงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท ทำเป็นแนวทางกั้นรอยป่า ระยะทาง 308 กิโลเมตร เราจะต้องมีการบูรณาการแบบนี้ก็จะมีนักท่องเที่ยวที่ชอบแนวเชิงอนุรักษ์ เข้ามาเยอะ เพราะเป็นสิ่งที่หาดูยาก เราจะทำวิกฤตให้เป็นโอกาส
ในการแก้ปัญหาเรื่องช้าง ซึ่งช้างที่ออกมามีผลกระทบกับทางชาวบ้าน การบริหารจัดการคือจะมีเรื่องของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และระยะยาว ได้มีการประชุมกับทางชาวบ้าน ว่าช้างที่ออกมาหากิน เราจะทำอย่างไร ถ้าเรากักบริเวณช้าง ที่ไม่ส่งผลกระทบกับทางชาวบ้านก็จะให้ชาวบ้านนำอาหารมาให้กับทาช้าง ดีกว่าที่ช้างมาหากินเองเพราะอาจจะไม่สร้างผลกระทบกับทางชาบ้าน ส่วนระยะยาวในการแก้ปัญหาได้มีการของงบประมารจากทางภาครัฐบาลในปี 61 จำนวน 300 กว่าล้าน ทำการกั้นทั้งจังหวัดจันทบุรี 308 กิโลเมตร เพื่อไม่ให้ช้างออกมาจากป่า ซึ่งเป็นแนวคิดในการบริหารจัดการในข้างหน้า ก็ฝากในคณะทำงานช่วยกันคิด ให้การบริหารจัดการถึงฝั่ง แก้ปัญหาของคนกับช้างให้ได้ ก็มีความหวังอย่างยิ่ง ผลของการมาวันนี้ทำให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น
เส้นทางช้างป่า
เริ่มจากเขาอ่างฤาไน หมู่ 9 ไปหมู่ 1 ไปหมู่ 6 กระจายที่หมู่ 5 และหมู่ 8 แต่ละที่พัก 7-8 วัน พื้นที่เกาะกลางประมาณ 42 ไร่ ผ่านหมู่ 8,12,9,10 ทางผ่านของช้าง เทศบาลหมู่ 2 ปัญหาช้างป่ามีตั้งแต่ปี 2553 เกิดจากอ่างเก็บน้ำประแกต ปัญหาช้างเหยียบคนตาย ในเรื่องความมั่นคงของทหาร / มีเสียชีวิต 25 คน ความเสียหายทรัพย์สินที่อยู่อาศัย บาดเจ็บไม่ทราบจำนวน 80 % จากการกรีดยาง เสียชีวิตส่วนมากที่ขุนซ่อง แก่งหางแมว หมู่บ้านที่มีปัญหามากที่สุดคือหมู่ 1 ตำบลพวา
2.องค์ความรู้การแก้ไขปัญหาช้างป่า
ชาวบ้านได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนอยู่อาศัยร่วมกับช้างป่าได้อย่างหลากหลายดังนี้
- มีคูชะลอกั้นช้าง มีหน่วยงานมาช่วยเสริม มีการใช้ลวดแปลงไฟฟ้ากั้นช้างและรั้วรังผึ้ง
- มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตามพื้นที่ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ช.ร.บ.
- มีรถเฝ้าระวัง ชาวบ้านสามารถปรับตัวเข้ากับช้างได้ มีการใช้สื่อ “ไลน์” ส่งข่าวสารให้กันในพื้นที่
- การแก้ปัญหาช้างในพื้นที่เกษตรกรรม
- ปลูกพืชที่อยู่ร่วมกับช้างได้
- ช้างไม่กิน
- เสียหาย ฟื้นตัวเร็ว
- พืชที่ช้างกิน แยกปลูกต่างหาก
- พืชที่เราปลูกใกล้บ้าน ไล่ได้
- แผนงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาช้าง
- มีการรณรงค์พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มีการท่องเที่ยวชุมชน
- จัดโซนระหว่างช้างกับคน เสนอแนวทางการปลูกพืช โมเดลช้าง ให้ช้างอยู่ในเขตอนุรักษ์ ทำแหล่งอาหาร แหล่งน้ำให้กับช้าง พื้นที่ทหารติดเขตอ่างฤาไน ช้างมาอยู่จริง ๆ ประมาณ 3 ปี
- ให้หน่วยงานที่มารับข้อมูลช่วยหาทางแก้ปัญหา เรื่องช้างให้เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นเศรษฐกิจที่ดีของตำบลแก่งหางแมว
- มีการทำรั้วเขตกั้นช้างให้ชัดเจน ทำโมเดลกั้นช้างมีการใช้เส้นทางประมาณ ๗.๘ กิโลเมตร
- จุดที่ช้างเข้าพักจุดใหญ่ ๆ มีอะไรเป็นจุดสนใจของช้าง มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ บริเวณเขตเขาป้อมและบ้านหนองเตียนเป็นทางที่เดินประจำของช้าง
- การแก้ไขปัญหา ต้องให้ช้างอยู่ในเขตอนุรักษ์ สร้างแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ ให้มีในเขตอนุรักษ์ ให้สมบูรณ์ กั้นรั้วให้แข็งแรง ควบคุมประชากรช้าง
- โมเดลท่องเที่ยว ต้องให้ช้างอยู่ในเขตอนุรักษ์ ทำรั้วให้ถาวร เปิดทางมาทางทหาร
- จัดตั้งคณะทำงานดูแลแก้ไขปัญหาช้างป่าระดับตำบล
องค์ประกอบจะต้องมีหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ ท้องที่ ตัวแทนองค์กรชุมชน ประชาสังคม นักวิชาการ ซึ่งเราจะมีคนครบองค์ประกอบเพื่อมาขับเคลื่อนงานร่วมกัน องค์ประกอบคณะทำงาน
- ท้องถิ่น
- นายกเทศมนตรี
- สมาชิกเทศบาล โดยตำแหน่ง
- ท้องที่
- ผู้ใหญ่บ้าน โดยตำแหน่ง
- สภาองค์กรชุมชน /องค์กรชุมชน
- วิชาการ / ปราชญ์ชาวบ้าน
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ที่ปรึกษา
บทบาทหน้าที่คณะทำงาน
- สนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน ภาคีพัฒนา จัดทำข้อมูล ศักยภาพตำบล
- สนับสนุนกกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลที่สอดคล้องกับฐานเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมินิเวศน์
- จัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า
- สนับสนุนการขับเคลื่อนงานพัฒนาขบวนองค์กรชุมชน