บ้านพอเพียงตำบลแม่ยวม ดำเนินการประสบความสำเร็จได้ ก็ด้วยความพอเพียง ของจิตอาสา ร่วมด้วยช่วยกัน สามัคคี ปรองดอง ทำงานด้วยใจ และไม่หวังสิ่งตอบแทน กระบวนการทำงาน มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชุมชน และเป็นการช่วยให้โอกาส สำหรับผู้ด้อยโอกาสในสังคม ให้มีชีวิตที่พอไปได้
ข้อมูลบริบทพื้นที่
ตำบลแม่ยวม ตั้งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านน้ำดิบ บ้านห้วยวอก บ้านทุ่งแพม บ้านห้วยสิงห์ บ้านห้วยทราย บ้ายห้วยโผ บ้านท่าตาฝั่ง บ้านคะปวง บ้านแม่กองแป บ้านแม่กองคา บ้านห้วยบง บ้านแพะคะปวง พื้นที่ส่วนใหญ่ติดป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตอุทยาน มีพื้นที่ 284.5 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ราบประมาณ 25.45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ภูเขาประมาณ 226.505 ตารางกิโลเมตร พื้นที่น้ำ ประมาณ 2.545 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ของตำบล ส่วนพื้นที่เหลืออีกร้อยละ 20 เป็นพื้นที่ราบฝั่งลำน้ำน้ำยวม อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของตำบล แม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำยวม ไหลผ่านระหว่างเขตติดต่อของตำบลแม่ยวมและตำบลแม่สะเรียง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาคือ รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ ประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวนประชากร 9,469 คน ชาย 4,733 คน หญิง 4,736 คน จำนวนครัวเรือน 3,853 ครัวเรือน ประชากรมีความหนาแน่นเฉเลี่ย 30/ตารางกิโลเมตร
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลสบเมย- ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง และ ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำสาละวิน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็ทำอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป รับราชการ และทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน
– ข้าวไร่ พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นที่สูงบริเวณเชิงเขาหรือไหล่เขา เกษตรกรจะเตรียมเพาะปลูกข้าวไร่ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ใช้เวลาสำหรับการเจริญเติบโตจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 4 – 5 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ทั้งนี้ระยะเวลาทั้งหมด ขึ้นอยู่กับลักษณะของพันธุ์ข้าว รวมถึงลักษณะของพื้นที่ด้วย
– พืชสวน มีการปลูกตามหัวไร่ ปลายนา หรือพื้นที่ว่างระหว่างนาและบ้านเรือน ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อบริโภคเองในครัวเรือน มีการจำหน่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น พืชที่ปลูก เช่น มะนาว , มะขาม , มะยม , มะละกอ , กล้วย , น้อยหน่า , ส้มโอ เป็นต้น
– พืชสวนครัว มีการปลูกเพื่อใช้ในครัวเรือนเท่านั้น เช่น ขิง, ข่า, ตะไคร้, ใบสาระแหน่, โหระพา เป็นต้น
– พืชนาระบบการปลูกข้าวนาปีเพียงพืชเดียว เกษตรกรปลูกข้าวนาปีเพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ร่วมระบบ เพราะว่าพื้นที่ขาดน้ำชลประทานในช่วงฤดูแล้ง เริ่มจากเกษตรกรเพาะกล้าและย้ายกล้าปลูกปักดำ ประมาณเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ใช้เวลาสำหรับการเจริญเติบโตไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 4 – 5 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ข้าวที่ปลูก และจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
พืชเศรษฐกิจ
1ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์
2ฟักทอง เดือนมิถุนายน-กันยายน
3กระเทียม ธันวาคม-กุมภาพันธุ์
4ถั่วเหลืองฤดูฝน เริ่มเพาะปลูกในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ใช้เวลาสำหรับการเจริญเติบโตไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 3.5 – 4 เดือน และจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม
5ถั่วลิสง เริ่มเพาะปลูกในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ใช้เวลาสำหรับการเจริญเติบโตไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 4.5 – 5 เดือน และจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม
5งา เริ่มเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ใช้เวลาสำหรับการเจริญเติบโตไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 4.5 – 5 เดือน และจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม
สถานการณ์ตำบลแม่ยวมโดยภาพรวม
เนื่องจาก มีความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์ บางพื้นที่ติดชายแดน, ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและบางพื้นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ ทั้งพื้นสูงและพื้นที่ราบ ต่างมีวิกฤติ โอกาส มีประวัติศาสตร์ชุมชนที่ยาวนาน ด้วยสภาพภูมิศาสตร์, ส่งผลต่อการพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภค-บริโภค อาจพูดได้ว่ามีความเหลื่อมล้ำด้านพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม,เศรษฐกิจ,สิ่งแวดล้อม,และ สุขภาพ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงองค์กรท้องถิ่นจาก องค์การบริหารส่วนตำบลมาเป็นเทศบาลตำบลแม่ยวม ทำให้มีปัญหาด้านสัดส่วนการได้เข้าไปเป็นตัวแทน คือ หมู่บ้านที่มีประชากรน้อย ไม่มีตัวแทน และหมู่บ้านที่มีประชากรน้อย จะอยู่ติดชายแดนและเป็นพื้นที่สูง การกระจายการพัฒนาจึงไม่ทั่วถึง หลายครั้งที่การทำแผนพัฒนาตำบล ยังไม่สามารถสอดคล้องกับความจำเป็นของชุมชน อีกทั้งขั้นตอนการทำแผนพัฒนาชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ในส่วนการบริหารตำบลเอง ระหว่างฝ่ายบริหารกับสภาไม่เอื้อให้กัน คือสภาไม่ไว้วางใจใฝ่บริหารมากเกินไป ทำให้มีอุปสรรคต่อการตัดสินใจในเรื่องนโยบายบางเรื่อง ประชาชนเอง ส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย ในประเด็นสิทธิของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งยังไม่มีความรู้สึกความเป็นเจ้าของ เลยทำให้ปัญหาเหล่านี้เหมือนเป็นเรื่องที่ไกลตัว และปัญหาเหล่านี้ก็วนเวียนไปในชุมชนไปเรื่อยๆ ถ้ามองแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องใหม่และเป็นปัญหาเรื่องเก่า และบางเรื่องสะสมทับถมจนยากที่จะแก้ไข
ที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานหนุนเสริม จากหน่วยงาน พอช. ได้ตอบโจทย์ส่วนหนึ่ง แต่ยังติดขาดเรื่องปัญหาอีกมาก ทั้งตัวนโยบาย และความเข้าใจของชาวบ้านมีน้อย เป็นเรื่องความมั่นคง และเป็นเรื่องปากเรื่องท้องของชาวบ้าน จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาทันทีทันใดได้ แต่ก็เป็นการจุดประกายและมีหน่วยงานอื่นได้เข้ามาทำร่วมด้วย ล่าสุดทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มองเห็นปัญหาเหล่านี้และพยายามแก้ปัญหา เสนอเรื่องไปยังกระทรวง และได้รับงบประมาณ ได้มีการประชุมร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน ภาควิชาการ ความเคลื่อนไหวช่วงนี้อยู่ในกระบวนการสร้างความเข้าใจ โดยมีท้องที่ท้องถิ่น ประชาชน องค์กรหนุนเสริม ได้ทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ข้อสรุป แต่ไม่รู้ว่าผลจะออกมาอย่างไร ในส่วนตำบลแม่ยวม ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุน งบประมาณ และสร้างบุคลากรจิตอาสาจากชุมชนเพื่อมีเวทีในการเข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งการทำงานรูปแบบบูรณาการในพื้นที่เชื่อมโยงระดับ ชุมชน,ท้องถิ่น สู่จังหวัด โดยการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับภาคประชาชนที่มาจากรากหญ้าอย่างแท้จริง ได้เข้ามาทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นได้มากขึ้น จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ รวบรวมกลุ่มในชุมชน ปัญหาต่างๆ ให้มีความเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยใช้สภาองค์ชุมชนเป็นหัวขบวน และทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่น ถือว่าเป็นจัดการเรื่องของท้องถิ่นในด้านปัญหาให้มีความง่ายขึ้น
การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนนั้นมีการรับรองสถานะภาพอย่างถูกกฎหมาย มีกฎหมายพระราชบัญญัติรองรับ มีหน่วยงาน พอช. คอยหนุนเสริมเป็นพี่เลี้ยง ในส่วนตำบลแม่ยวมเอง ได้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในปี พ.ศ. 2555 และจิตอาสาได้ทำงานเชื่อมร้อยระดับท้องถิ่นสู่จังหวัด จึงมีการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนขึ้นมา ต่อด้วย การแก้ไขปัญหาที่ดิน โดยการกันพื้นที่ ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และป่าชุมชน ออกจากเขตป่าสงวน,เขตป่าอุทยาน เพื่อให้ชาวบ้านมีความมั่นคง อุ่นใจในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน หลังจากกันพื้นเสร็จแล้ว ได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจาก พอช. คือบ้านพอเพียง ซึ่งตำบลแม่ยวมได้รับ 11 หลัง กระจายทุกหมู่บ้าน ยกเว้น หมู่ที่ 13 บ้านจอมกิตติ เนื่องจากไม่ได้ส่งเอกสาร ตามด้วยทุนและทุนเศรษฐกิจชุมชน โดยมีชื่อว่า “โครงการแปรรูปและบรรจุผลิตภัณฑ์พริกกะเหรี่ยงบ้านแม่กองคา ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน” จะเห็นได้ว่า คนทำงานจิตอาสาในพื้นที่จะพยายามทำโครงการให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และรู้จากสภาองค์กรชุมชนมากขึ้น เพื่อในอนาคต กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจะยกระดับคุณภาพ รู้จักช่วยเหลือตัวเอง จัดการตัวเอง มีการพึงตัวเองและมีพื้นที่ในการเข้าไปมีส่วนร่วมงานพัฒนา เกิดตัวแทนที่มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นการส่งสัญญาณของการกระจายอำนาจ เพื่อเกิดการจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ลงสู่ภาคประชาชนให้มากที่สุด
การดำเนินโครงการบ้านพอเพียง ตำบลแม่ยวม
การดำเนินโครงการบ้านพอเพียงชนบทในตำบลแม่ยวมเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนตำบลแม่ยวม ได้จัดทำโครงการบ้านพอเพียงชนบทขึ้นโดยร่วมกันเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีแนวคิดการจัดการ แนวความคิดการจัดทำบ้านพอเพียงชนบทของตำบลแม่ยวม ที่สำคัญคือการ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมบนฐานภูมิปัญญา/วิถีวัฒนธรรมโดยใช้โครงการบ้าน พอเพียงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในระยะยาวผ่านช่อง ทางการทำงานร่วมกันโดยมีสภาองค์กรชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เป็น กลไกหลักในการขับเคลื่อน กลุ่มผู้รับประโยชน์หลักคือกลุ่มคนระดับฐานรากของชุมชน ทั้งนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่ตำบล เพื่อให้เข้าถึงการ ปรับปรุงบ้าน และการพัฒนาเรื่องอาชีพรายได้ ซึ่งรากเหง้าของปัญหาคือเรื่องที่ดินทำกิน ที่ อยู่อาศัย และการไม่มีงานทำ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์นั้นพิจารณาจากหลายปัจจัยคือ ความ เดือดร้อนเร่งด่วน เช่น หลังคารั่ว ปลวกกิน น้ำท่วมขัง เป็นผู้สูงอายุพิการหรือร่างกายไม่ แข็งแรง ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่ทำงาน ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนการดูแลให้กำลังใจสำหรับคน ทำดีมีจิตสาธารณะที่มีความเดือดร้อน สะท้อนให้เห็นแง่มุมการพัฒนาที่ไม่ใช่แค่การ สงเคราะห์ผู้ยากไร้ แต่เป็นการรับอย่างมีศักดิ์ศรีและพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาวเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชนและสังคม
แนวคิดที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแนวคิดเรื่อง “การจัดการตนเอง” กล่าวคือแม้ จะเป็นโครงการที่ให้เปล่าจากภายนอก แต่ผู้ได้รับประโยชน์และชุมชนเองจะต้องมีทุนตั้งต้น ของตนเองสมทบด้วย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วทุนที่ให้มานั้นมีจำนวนไม่มากนัก เป็น เหมือนการตั้งต้นจุดประกายให้ผู้ได้รับความเดือดร้อน “ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง” ร่วมกับ คนในชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาวร่วมกัน ผู้ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมดไม่ได้เป็นผู้เสนอตัวเอง แต่คัดเลือกผ่านกระบวนการ ประชาคมหมู่บ้าน
กระบวนการดำเนินงาน
- การจัดตันงคณะทำงานระดับหมู่บ้านและระดับตำบล เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน โดยผสมผสานระหว่างผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นและขบวนองค์กรชุมชนระดับตำบลซึ่ง เป็นคนที่ร่วมขับเคลื่อนอยู่ในระดับจังหวัด โดยใช้งานโครงการบ้านพอเพียงเป็นเครื่องมือเพื่อไปสู่ เป้าหมายเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินและที่อยู่ อาศัย
- การใช้ฐานข้อมูลมาสนับสนุนการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะฐานข้อมูลเรื่องที่ดินที่มีอยู่ เมื่อได้รับการสื่อสารเรื่องโครงการบ้านพอเพียงจากขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ก็ได้มีการหารือในวงเล็กๆ และกระจายข่าวสารดังกล่าวแก่ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่ที่ โดยแนวทางหลักในการค้นหา กลุ่มเป้าหมายคือการใช้ฐานข้อมูลที่มีการจัดทำในปี2556-2557 ซึ่งได้มีการแยกผู้เดือดร้อน ออกเป็น 2 ประเภท คือ ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ และผู้เดือดร้อนที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง
- การใช้กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการรับรองอย่างมีส่วนร่วม กระบวนการ ดังกล่าวทำให้ชาวบ้านเกิดการรับรู้ ยอมรับ และรู้สึกว่าเป็นเรื่องของพี่น้อง เป็นเรื่องของคน ในชุมชนซึ่งจะต้องช่วยเหลือกัน เนื่องจากงบประมาณที่มีนั้นไม่ได้สูงหรือเพียงพอ กระบวนการดังกล่าวช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเสนอความคิด การหาหนทางที่จะ ช่วยเหลือกันให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งในแง่การระดมแรงงาน การระดมทรัพยากรจากกลุ่ม ต่างๆในชุมชน อปท.และหน่วยงานภายนอกได้เป็นอย่างดี
- การบูรณาการงบประมาณ ทรัพยากร และการระดมความร่วมมือจากชุมชน เป็นอีกกระบวนการสำคัญที่ทำให้สามารถซ่อมสร้างบ้านในปี 2562 จำนวน 10 หลัง ภายใต้ งบประมาณที่จำกัดนอกจากนี้ยังมีการใช้ทุนที่เป็นแหล่งสาธารณะของชุมชน คือ ที่ดินสาธารณะของ หมู่บ้าน และไม้จากพื้นที่ป่าชุมชน ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลจัดการอย่างเป็นระบบร่วมกันมาใช้ประโยชน์
กลไกการจัดการ
- ทีมขบวนองค์กรชุมชนตำบล : ประสานงานเชื่อมโยงขบวนจังหวัด กับกลุ่มองค์กรต่างๆใน พื้นที่ เช่น เครือข่ายสวัสดิการ ,อสม.,กลุ่มแม่บ้าน,กลุ่มผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการจัดตั้ง คณะทำงานร่วมกันในระดับตำบล รวมทั้งเป็นกลไกหลักในการประสานงานกับสถาบันองค์กรชุมชน
- องค์การบริหารส่วนตำบล : เอื้ออำนวยสนับสนุนทรัพยากรบุคคล ฐานข้อมูล งบประมาณ สมทบ สถานที่ในการประชุมคณะทำงาน การนำแผนเรื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตเข้าไปสู่แผนของตำบล
- ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) :เป็นหลักในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ถึงผู้เดือดร้อน เครือข่าย ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้เคียง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- คุณภาพชีวิตของผู้ได้รับประโยชน์ดีขึ้น ภายหลังที่ซ่อม/สร้างบ้านให้เกิดความ มั่นคงแข็งแรง ทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความสบายกาย-สบายใจ มีความสุขมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน ซึ่งมัก ประสบกับเรื่องภัยธรรมชาติ เช่น หลังคารั่ว น้ำท่วมขัง มีพายุ/ลมแรง เป็นต้น
- ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างครอบครัวผู้ได้รับ ประโยชน์กับครอบครัวอื่นในชุมชน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเห็นอก เห็นใจซึ่งกันและกัน
- เกิดการวางแผนร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ แก้ไขปัญหาให้กับผู้เดือดร้อนรอบที่ 2 โดยใช้ประสบการณ์ในการทำงานรอบที่ 1 มาเป็นบทเรียน
ปัจจัยความสำเร็จ
- มีคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ สามารถเชื่อมโยงต้นทุนชุมชน(ทุนบุคคล กลุ่มองค์กร ทรัพยากรในชุมชน ภาคีเครือข่าย ฯลฯ)รวมทั้งงานเดิม เช่น ระบบฐานข้อมูลตำบลมา สนับสนุน โดยที่ใช้โครงการบ้านพอเพียงหรือโครงการอื่นๆที่เข้ามาในชุมชนเป็นเครื่องมือ เพื่อบรรลุเป้าหมาย
- การมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน : ปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกประการคือการได้รับความ ร่วมมือจาก ท้องที่ ท้องถิ่น กลุ่มองค์กรต่างๆภายในชุมชน
การมีระบบฐานข้อมูลผู้เดือดร้อนอยู่แล้ว: ทำให้เสนอของบประมาณได้รวดเร็ว ไม่ต้องทำงานหลายรอบ กระบวนการประชาคมในระดับหมู่บ้านบนฐานข้อมูลจริง: ทำให้เกิดความโปร่งใส เป็นที่ ยอมรับร่วมกัน นำมาสู่ความร่วมมือที่จะช่วยตามศักยภาพของแต่ละฝ่ายที่อาศัยอยู่ใน ชุมชน