“บ้านที่มากกว่า คำว่าบ้าน” เป็นคำบอกเล่าที่ชุมชนตำบลแม่ฮี้อยากบอกถึง ประสบการณ์การมีส่วนร่วมในโครงการบ้านพอเพียงชนบท และคุณค่าที่เกิดขึ้นในการ ยกระดับคุณภาพชีวิตในตำบล ฟื้นฟูระบบความสัมพันธ์ความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลในชุมชน คนจนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย
สถานการณ์ในพื้นที่
การขับเคลื่อน บ้านพอเพียงชนบท ใน ปี 2562 เริ่มจากแกนนำจังหวัด คณะทำงานที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย จังหวัดแม่ฮ่องสอนเข้าร่วมประชุมและเป็นคณะ ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ภาคเหนือ จึงได้รับรู้ข้อมูลกระบวนการ ดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียง จากนั้นก็นำสู่การประชุมคณะทำงานที่ดินทำกินที่อยู่ อาศัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วางแผนการทำงาน โดยให้แต่ละตำบลสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อน ด้านที่อยู่อาศัยร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่น และประชุมประชาคมจัดลำดับผู้เดือดร้อนในตำบลแม่ฮี้ และได้ประชุมคณะทำงานที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลั่นกรอง โครงการคัดเลือกผู้เดือดร้อน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาจะต้องมีการขับเคลื่อนงาน สภาองค์กรชุมชน สวัสดิการ ที่ดินทำกิน อย่างน้อยต้องขับเคลื่อน 2 ประเด็น และ เสนอโครงการต่อหน่วยงานพอช. โครงการบ้านพอเพียงอนุมัติ จำนวน 6 ครัวเรือน งบประมาณ 108,000 บาท ในช่วงเวลา เดียวกันนี้ก็มีนโยบายหน่วยงานรัฐ ส่งเสริมโครงการบ้านประชารัฐ บ้านกาชาด การดำเนิน โครงการบ้านพอเพียงมีความเฉพาะที่ซ่อมสร้าง ด้วยการบูรณาการหน่วยงานเพื่อการ ดำเนินงานร่วมกัน โดยมีทุนภายนอกบางส่วน เน้นใช้ทุนภายในชุมชนที่มาจากความเกื้อกูล กันของคนในชุมชน เจ้าของบ้านสมทบ เพื่อให้บ้านที่ซ่อมสร้างเสร็จและเข้าอยู่อาศัยได้
กระบวนการดำเนินงาน/วิธีการดำเนินงาน
การดำเนินงานบ้านพอเพียงชนบทตำบลแม่ฮี๊ มีความมุ่งหมายให้เกิดการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ฟื้นฟูระบบความสัมพันธ์ความเอื้อเฟื้อในชุมชน ให้คน จนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมลดความเหลื่อมล้ำในที่อยู่อาศัย โดยมีกระบวนการในการ ทำงาน คือ
- ประชุมสร้างความเข้าใจบ้านพอเพียงระดับตำบลโดยตัวแทนสภาองค์กร ชุมชนเข้าร่วมประชุมกับขบวนจังหวัด นำข้อมูลที่ได้รับกลับมาปรึกษาหารือในตำบล จึงได้เกิดการวางแผนการทำงาน และจัดตั้งคณะกรรมการบ้านพอเพียงตำบลแม่ฮี๊ จำนวน 6 ครัวเรือน
- ประชุมสร้างความเข้าใจบ้านพอเพียงทุกหมู่บ้าน การตรวจสอบข้อมูลผู้ เดือดร้อนด้านที่ดินที่อยู่อาศัยเดิมที่มีการสำรวจแล้วตามกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ไข ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย และการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม
- ท้องที่และท้องถิ่น รวบรวมข้อมูลคัดกรองเบื้องต้นผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย โดยพิจารณาจากตามเกณฑ์ 8 ข้อ โดย 4 ข้อ เป็นหลักเกณฑ์ที่ตำบลกำหนดกับอีกส่วนเป็น หลักเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกันในระดับจังหวัด หลักเกณฑ์ที่ตำบลกำหนด คือ การมีส่วนร่วมในชุมชน 2.ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดการพนัน 3.มีเงินออมกับกองทุน ในชุมชน 4.เน้นผู้ด้อยโอกาส และหลักเกณฑ์ร่วม ระดับจังหวัด อีก 4 ข้อ คือ
- กำหนดการช่วยเหลือ ช่างชุมชนสำรวจประมาณการซ่อมแซมบ้าน
- ประชุมคณะทำงานที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน คัดกรองผู้ เดือดร้อน ผ่านการอนุมัติ 6 ครัวเรือน
- ดำเนินการกระบวนการซ่อมแซมบ้านรายครัวเรือน 6 ครัวเรือน สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เครือข่ายญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยการบูรณาการทุนจากเจ้าของบ้าน สมทบอาหาร/แรงงานจากชุมชน ญาติ การรับบริจาคจากเพื่อนบ้าน ใช้วัสดุอุปกรณ์ เดิมก่อสร้าง
- การสรุปผลงานภายในตำบลและการนำเสนอในระดับจังหวัดเพื่อการ ประเมินผลงานร่วมกัน
กลไกการทำงาน
จากฐานงานการขับเคลื่อนปัญหาที่ดิน ที่อยู่อาศัยโดยชุมชน ได้พัฒนาให้เกิดการ บูรณาการองค์กรหลักของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็น เจ้าภาพในการขับเคลื่อนงานบ้าน พอเพียงร่วมกัน ดังพบว่ามีองค์ประกอบจากผู้แทนของกลุ่มงาน/ประเด็นที่ขับเคลื่อนอยู่ คือ สภาองค์กรชุมชน งานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า งานสวัสดิการชุมชน และองค์การบริหาร ส่วนตำบลเข้าร่วม นอกจากนี้ยังเป็นการประสานความมือกับส่วนท้องที่ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานอีกด้วย
ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- การดำเนินการบ้านพอเพียงชนบทตำบลวังทอง ในระยะเวลาราว 6 เดือน ระหว่าง เดือนมีนาคม – กรกฎาคม2562 สำหรับผู้รับประโยชน์ จำนวน 6 ครัวเรือน สามารถดำเนินการ ได้แล้วเสร็จ 5 หลัง อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 หลัง สรุปงบประมาณดำเนินการต่อเติม ซ่อมแซม และสร้างใหม่ทั้ง 6 หลัง ได้รับการ สนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวม 108,000 บาท กับมีงบประมาณสมทบจาก ภายในชุมชนที่เป็นแรงงาน อาหาร วัสดุอุปกรณ์
- เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ ให้ได้รับบ้านที่มี ความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย พบว่าเจ้าของบ้านมีความภาคถูมิใจจากที่ชุมชนเห็น ความสำคัญ และมีความสุขที่ได้อยู่บ้านที่มีความมั่นคงและเพื่อนบ้านเอาใจใส่มาช่วยเหลือ การกลับมามาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีกิจกรรมบ้านพอเพียงเพื่อผู้ยากไร้และ ไม่มีที่ดินและที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงเป็นจุดหมายร่วมกันเป็นการสร้างบรรยากาศภายในชุมชน ร่วมกันให้เกิดความรู้สึกผูกพันซึ่งกันและกัน ผู้รับประโยชน์ที่เป็นผู้ยากไร้และประสบปัญหาจากเดิมมักไม่เข้าร่วมกิจกรรมกับ ชุมชน ด้วยต้องใช้เวลากับการหารายได้มากกว่า แต่ในกิจกรรมบ้านพอเพียงกลับ เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานสร้างบ้านหรือปรับปรับปรุงที่อยู่อาศัย และให้ ความสนใจกับกิจกรรมพัฒนาอื่นๆของชุมชนมากขึ้น
- จากกระบวนการทำงานที่จำต้องมีการใช้ข้อมูลในการดำเนินการ ทำให้มีการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้ รวมทั้งการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจร่วมกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส เกิดการรับรู้ เรียนรู้ร่วมกันภายในชุมชน รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบกันเองภายในชุมชน บทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการเป็นองค์กรหลักในการประสานงาน มีความ เด่นชัดและโดดเด่นมากขึ้น และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระยะเวลาอันสั้น ความร่วมมือและการยอมรับซึ่งกันและของกลุ่ม/ประเด็นและหน่วยงานระดับ ชุมชน โดยมีสภาองค์กรชุมชนและองค์กรหลักประสานงานนั้นนับว่าเป็นการให้การยอมรับ ในศักยภาพขององค์กรภาคประชาชนที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการ และการสร้างการมี ส่วนร่วมภายในชุมชน และระหว่างตำบลกับระดับระดับจังหวัด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การทำงานร่วมกันของกลุ่ม/ประเด็นและองค์กรหลักภายในชุมชนทั้งท้องถิ่น ท้องที่ สภาองค์กรชุมชน ประเด็นงานสวัสดิการชุมชน และประเด็นงานทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญ และการสร้างความรับรู้และความ โปร่งใส กระทั่งเกิดการยอมรับและไว้วางใจ ความสัมพันธ์ภายในชุมชนและความเป็นเครือญาติได้ช่วยสนับสนุนการซ่อมสร้าง ดังสะท้อนคุณค่าและมูลค่าขอองการสบทบจากชุมชน จาการมีส่วนร่วมของภาคีความร่วมมือหลากหลายกลุ่ม เกิดการสื่อสารภายในกลุ่ม ของภาคี ทำให้มีการสื่อสารออกไปอย่างกว้างขวาง เกิดการรับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วม ความพร้อมของผู้นำ และความเอาใจใส่ต่อการทำงาน ด้วยเป็นพื้นที่ที่เผชิญปัญหา ที่ดิน และกำลังดำเนินการเรื่องข้อมูลที่ดินทำกิน การมีโครงการบ้านพอเพียงจึงนับว่าได้ ตอบโจทย์การขับเคลื่อนปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยที่แกนนำกำลังขับเคลื่อนอยู่ด้วย