ตำบลไผ่โทน ทิศเหนือ ติดต่อตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากม่อนอังกฤษที่บริเวณพิกัด P A 475369 ไปทางทิศเหนือจนถึงที่บริเวณพิกัด P A 499407 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามสันดอยจนถึงห้วยน้ำแรมที่บริเวณพิกัด P A 503412 ไปทางทิศใต้ตามลำห้วยประตูผา ที่บริเวณพิกัด P A 519395 ไปทางทิศตะวันออกสิ้นสุดที่กึ่งกลางน้ำแม่คำมีบริเวณพิกัด P A 532378 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 10.5 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขาดอยกู่สถาน บริเวณพิกัด P A 572239 ไปทางทิศตะวันตกตามลำน้ำแม่คำปอง จนถึงที่บริเวณพิกัด P A 507209 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดผ่านน้ำแม่คำปอง จนถึงน้ำห้วยถอนสิ้นสุดที่กึ่งกลางน้ำห้วยถอน ที่บริเวณพิกัด P A 456246 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 18.5 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางน้ำแม่คำมี ที่บริเวณพิกัด P A 532378 ไปทางทิศใต้ตามสันดอนห้วยลึก ตัดผ่านถนนยันตรกิจโกศล ลงไปทางทิศใต้ผ่านเขาห้วยเมี่ยง ห้วยกี้จนถึงห้วยผาปู้ด ที่บริเวณพิกัด P A 539300 ไปทางทิศตะวันออกตามลำห้วยจนถึงดอยปู่ช้าง ที่บริเวณพิกัด P A 569293 ไปทางทิศใต้ ตามสันเขาดอยแดนเมือง สิ้นสุดที่สันเขาดอยกู่สถานบริเวณพิกัด P A 572239 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 19.5 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลทุ่งศรี ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางน้ำห้วยถอน ที่บริเวณพิกัด P A 456246 ไปทางทิศเหนือตามสันดอยยางผ่านดอยหมาแหงน ตัดข้ามผ่านถนนยันตรกิจโกศล ที่บริเวณพิกัด P A 456314 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านดอยข้าวหลามสิ้นสุดที่ม่อนอังกฤษที่บริเวณพิกัด P A 475369 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร
มีพื้นที่โดยประมาณ 104,625 ไร่ 144.74 ตารางกิโลเมตร
ลักษณภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบและที่ดอนตามเชิงเขา ประชาชนอาศัยตามไหล่เขา และหุบเขามีอาชีพในการทำการเกษตรตามไหล่เขาและเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
เริ่มปี 2560 ประชาชนส่วนมากมีอาชีพทำการเกษตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง เช่นถั่ว ข้าวโพด พอถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะทำการกำจัดวัชพืช โดยส่วนใหญ่จะทำการเผาเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุของการทำลายป่าและไฟป่าเกิดขึ้นทุกปี และมีหมอกควัน มลพิษเพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ เป็นการทำลายสภาพแวดล้อม ด้านสุขภาพของประชากร
ต่อมาปี 2561 เมื่อได้รับผลกระทบดังกล่าวแล้วทางคณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการป่าชุมชน รวมทั้งผู้ปกครองท้องที่ ท้องถิ่นทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้มีการประชุมหาแนวทางร่วมกันเพื่อแก้ไขปละป้องกัน เรื่องปัญหาไฟป่าและหมอกควันและเป็นนโยบายของจังหวัดแพร่ โดยวิธีออกมาตรการแก้ปัญหา เช่น ให้ประชาชนทำแนวกันไฟป่า ห้ามเผาในช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. ของทุกปี และมีการออกกฎหมายรองรับ และมีการอบรมแก่ประชาชน
ปี 2562 ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนมีความร่วมมือและมีจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น มีการวางมาตรการลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดในระดับชุมชน โดยร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ทดลอง ปลูกพืชผสมผสาน เช่น ร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อร่วมกันหาพืชทางเลือก พืชทดแทน และหาแนวทางว่าทำอย่างไรให้ปริมาณของข้าวโพดลดลง เนื่องจากการเผาข้าวโพดเป็นสาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันจากภาคเกษตร มีการทดลองปลูกงาดำ งาขี้ม่อน ถั่วนิ้วนางแดง พบว่าถ้าปลูกถั่วนิ้วนางแดงสลับระหว่างแปลงข้าวโพด พร้อมกับปรับวิธีการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม จะได้ราคากิโลกรัมละ 27 บาท ถือเป็นพืชทางเลือกได้ การปลูกพืชทางเลือก เช่น ข้าวพันธุ์พื้นเมือง กาแฟร่วมกับไม้ยืนต้น ผักปลอดสารพิษ มะม่วง ต้นไผ่ซึ่งไผ่เป็นไม้โตเร็ว มีหลายแบบทั้งไผ่กิน ไผ่สำหรับนำไปแปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ มีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ทดแทนอุปกรณ์นำเข้าที่มีราคาค่อนข้างสูง เป็นต้น การสร้างอาชีพเสริม เช่น อาชีพทางเลือกทางการเกษตร การเลี้ยงโคขุน การท่องเที่ยวการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร รวมทั้ง การเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านต้นแบบบูรณาการเพื่อความอยู่ดีกินดี การพัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจน การจัดการเศษวัสดุ อาทิ ซังข้าวโพด เป็นต้น
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม และรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากมลพิษหมอกควันว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ และทำให้ป่าที่มีสภาพเสื่อมโทรม กลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์รู้ถึงคุณ และโทษที่กระทบต่อตัวเองและชุมชน
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการบริหารจัดการ และวิธีการบริหารงานที่ถูกต้องตามระบบของโครงการ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- วางแผนการจัดการทรัพยากรและการจัดการไฟในระดับชุมชน
- ค้นคว้า ทดลองปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าวโพดโดยทำในแปลงทดลองเพื่อเตรียมการขยายผลในปีต่อไป
- เฝ้าระวังการเกิดไฟป่า ทำแนวกันไฟรอบๆ พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ป่าชุมชน
เทคนิค/ทักษะ
ประชุมชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน วิธีการศึกษาดูงานสถานที่ที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติใช้เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการจัดการไฟป่าหมอกควันตำบลไผ่โทน
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่โทน
- ทสจ.จังหวัดแพร่
- หน่วยควบคุมไฟป่า จ.แพร่
- ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงด้านตัวบุคคลคือมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยดีขึ้น จำนวนประมาณ 1,500 คน
- กลุ่มการปกครองท้องที่ มีกฎระเบียบอย่างเคร่งคัด มีความร่วมมือ มีควาเข้มแข็ง มีองค์ความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ มีการประชาสัมพันธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน มีความร่วมมือของทุกฝ่ายในพื้นที่ ช่วยกันร่วมแก้ปัญหาและป้องกันภัยที่เกิดขึ้น
- ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปริมาณผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ โรคปอดได้มากขึ้น
- ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ รู้ถึงประโยชน์และโทษที่เกิดไฟป่าและหมอกควันมากขึ้น รู้คุณค่าของผืนป่าเพราะเป็นแหล่งอาหารให้ประชาชน สร้างรายได้ในหารหาของป่ามาขาย
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- ประชาชนในตำบลให้ความร่วมมือ มีความสามัคคี มีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึกในการไฟป่าและหมอกควันมีสุขชีวิตดีขึ้น
- ผู้นำมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีความเข้มแข็งสร้างเครือข่ายในตำบล
- มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาประสานงานให้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ
- มีการสนับสนุนด้านงบประมาณมาช่วยเหลือในการบริหารจัดการ
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- จัดอบรมทบทวนผู้นำ กม. ประชาชนด้านจิตสำนึก
- งบประมาณในการบริหารจัดการ เช่น งบประมาณการทำแนวกันไฟ ลาดตะเวนป่า
- วัสดุอุปกรณ์ในการดับไฟป่า