ประวัติ และความเป็นมาของวัดป่าแดง การสร้างบ้านแป๋งเมือง ได้มีครอบครัวของพ่ออินศรี พร้อมด้วยญาติพี่น้องประมาณ 20 ครอบครัวได้อพยพมาจากเมืองเชียงแสนประมาณ พ.ศ.1188 ได้มาลงหลักปักฐาน ณ. ทิศตะวันออกของแม่น้ำยมทิศตะวันตกของน้ำแม่ก่อนแม่สาย ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญของตำบลป่าแดง และเมืองแป้ ฝังตะวันออก (ปัจจุบันเป็นที่ของพ่อพิชัย แม่เขียว มุ่งทอง เรียกว่า(วัดลอมศรีก้ำ) ได้สร้างขึ้นวัดขึ้นวัดหนึ่งชื่อว่า สะหลีปุณณะ ต่อมาหลายร้อยปีเรียกว่าวัดล้อมศรีก้ำ หลักฐานถ้าขุดลงไปประมาณ 1-2 เมตรก็จะพบก้อนอิฐดินขอ ลักษณะของวัตถุโปราณอยู่ให้เห็นอยู่ต่อมาชาวบ้านได้ยกย่องให้พ่ออินทร์เป็น พญาสะหลีปุณณะ ปกครองชุมชนนั้นให้เจริญรุ่งเรือง (ศรีปุณณะ) ลูกาหลานได้พลัดกันปกครองชุมชนด้วยดีตลอดหลายร้อยปีมีประชาชนมากขึ้นๆ จึงได้ย้ายชุมชนขึ้นมาทางทิศตะวันออก 2 กิโลเมตร เอาพื้นที่เดิมทำการเกษตรกรรม (ปัจจุบันเรียกว่าวัดแตตาล)อยู่ในตี่ของพ่อตันแม่ตุ้ย แขมน้อยหรือว่าร้องเจ้าบ้านเพราะเป็นที่ตั้งศาลของผีเจ้าบ้านปกครองบ้านเป็นความเชื่อถือของชาวบ้านมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมือปี พ.ศ. 2138 ได้ย้ายเฉพาะวัดขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงไต้ คือวัดป่าแดง ปัจจุบัน สาเหตุที่ย้ายเพราะประชาชนหนาแน่น และเป็นที่ราบลุ่มชุมชนยังอยู่ที่และชุมชนได้ย้ายตามขึ้นมาเรื่อยๆ และชาวบ้านเดิมชื่อสะหลีปุณณะ ตั้งตามชื่อประฐมหัวหน้าผู้สร้างบ้านแป๋งเมืองตรงกับที่สร้างนั้นเป็นป่าแดง ไม้แดงขึ้นหนาแน่น พร้อมได้มีชาวบ้านจากเมืองเจียงตุง เจียงแสนได้อพยพมาอยู่กับชุมชนเดิม ซึ่งเป็นเครือญาติกัน ต่อมาจึงได้ตั้งซื่อวัดสะหลีปุณณะป่าแดง สาเหตุ 1 เพราะตี่ตั้งเป็นดงไม้แดงขึ้นอยู่หนาแน่น 2 ผู้อพยพมาใหม่ได้เอาซื่อวัดเดิมจากเจียงตุงที่พวกเขาเคารพซื่อวัดป่าแดง (ปัจจุบันวัดป่าแดงยังมีอยู่เจียงตุงเป็นวัดหลวงเชื่อว่าถ้าแต่งตั้งสมเด็จสังฆราชองค์ใหม่ต้องไปทำพิธีที่ ณ วัดป่าแดง ต่อมาได้ร้อยปีชาวบ้านได้เรียกซื่อสันๆว่า วัดป่าแดงมาจนถึงปัจจุบัน
ตำบลป่าแดงได้ตั้งซื่อตามวัดป่าแดง ได้มีพื้นที่กว้างมากในปี พ.ศ. 2535 ตำบลป่าแดงได้แบ่งเขตการปกครองขึ้นอีกคือตำบลช่อแฮ ปัจจุบัน ตำบลป่าแดงมีเขตปกครองอยู่ 10 หมู่บ้านได้แก่
- บ้านหนองแขม หมู่ที่1
- บ้านป่าแดง หมู่ที่2
- บ้านป่าแดง.หมู่ที่ 3
- แม่ลัว หมู่ที่.4
- น้ำกลาย หมู่ที่5
- บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 6
- บ้านปากกลาย หมู่ที่.7
- บ้านห้วยหยวก หมู่ที่8
- บ้านสันกลาง หมู่ที่9
- หนองแขม หมู่ที่.10
และได้ขึ้นอยู่ในเขตพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดงเพียง 9 หมู่บ้าน และได้มีมีหมู่ 2 บ้างส่วนหมู่ 2 หมู่ 3 เป็นเขตพัฒนาตำบล ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
มีเนื้อที่ในเขตตำบลทั้งสิ้น
มีพื้นที่ทั้งหมด 183.282 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 114,551 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มประมาณ 5,000 ไร่ ที่ราบเชิงเขาหรือภูเขา ประมาณ 109,309 ไร่ อื่นๆ ประมาณ 242 ไร่
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
การจัดการการแก้ไขปัญหาของชุมชนสิ่งสำคัญคือจะต้องมีองค์ความรู้ประวัติความ ความเชื่อของคนในชุมชน เป็นมาของชุมชนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหา ภูมิปัญญาต่างๆในชุมชน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพื้นฐานประชาชนในตำบลป่าแดงมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชนในหลายชุมชนส่วนมากอยู่ในพื้นที่ป่า และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ที่ทำให้คนอยู่กับป่ายากขึ้น
ปัจจัยที่ภายนอกที่ทำให้มีผลกระทบคือ นโยบายของรัฐ การท้วงคืนผืนป่า การประการพื้นที่อุทยาน และการประการเขตอนุรักษ์ เขตห้ามล่า จึงทำให้มิติ ความรวมมือจากคนที่อาศัยในป่าลดลง ทำให้มุมมองและทัศนคติที่ระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐ ที่มีความแตกต่างกันเป็นไปในทางลบ และรัฐยังเชื่อว่า ชาวบ้านไม่สามารถดูแลป่าได้ เป็นการรวมศูนย์อำนาจการจัดการ
ปัจจัยภายในที่เกิดจากความเชื่อที่มีการสืบทอดการกันมา เช่น การเผ่าป่าเพื่อล่าสัตว์ การเผ่าป่าเพื่อเก็บของป่า การเผ่าป่าเพื่อทำการเกษตร ซึ่งเป็นวิถีความเชื่อของคนที่อยู่ในเขตป่า
ในปี 2549 ภายในพื้นที่ตำบลเกิดภัยธรรมชาติ ดินโคลนถล่ม ประกอบกับในช่วงระยะเวลาปัญหาไฟป่าหมอกควัน เริ่มมีผลกระทบมากขึ้นทุกปี ทำให้เกิดความตระหนักในการที่จะต้องมีการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ ให้เกิดความสมดุล
ในปี 2551 องค์กรชุมชนในพื้นที่ตำบลได้มีการรวมตัวจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ภายในตำบล จึงเป็นที่มาของการทำกิจกรรมในการดูแลทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยการผลักดันของสภาองค์กรชุมชน ในการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า การแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย การจัดทำป่าชุมชนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
หลักการแนวคิดสำคัญของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการจักดารไฟป่าหมอกควัน คือ คนในชุมชนมองเห็นว่าป่าคือชีวิต ป่าคือแห่งความมั่นคงทางอาหาร ป่าคือจิตวิญญาณ คนจะต้องอยู่กับป่าได้ ดังนั้นสภาองค์กรชุมชนมี พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่จะสามารถทำให้ คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน และสามารถเอื้ออำนวยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการป่าอย่างมีส่วนรวมได้อย่างแท้จริง และจะนำไปสู่การให้เกิดการรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการตนเองอย่างแท้จริง
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.สร้างความเข้าใจผู้นำชุมชนทุกฝ่ายให้เข้าใจในการทำงานรวมกันมีเป้าหมายและทิศทางรวมกัน
2.สร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนมีส่วนรวมในการแก้ไขปัญหารวมกัน
3.สร้างความเชื่อมั่นสิทธิผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดูแลทรัพยากร
เทคนิค/ทักษะ
1.สร้างกลไกล การขับเคลื่อนงานในพื้นที่
2.ใช้ความเชื่อของท้องถิ่นภูมิปัญญา ในการสร้างความรวมมือ
3.พัฒนายกระดับการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายการในการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
4.สร้างความเชื่อมั่นคนอยู่กับป่าได้ และสามารถรักษาพื้นที่ป่าให้เกิดคุณค่ามูลค่าได้ในทางด้าน
สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคมที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้
กลไก การจัดการ (กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- สภาองค์กรชุมชนตำบลป่าแดง มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่สนับสนุนให้ความรู้ความเข้าใจ กับชุมชนให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการทำหน้าเชื่อมประสานงานหน่วยงาน องค์กรภาคีต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน
- คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนระดับหมู่บ้านทำหน้าที่รักษากฎกติกา ของชุมชนเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- คนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และยอมรับกฎกติกา ของชุมชน และได้เห็นผลกระทบอย่างต่อเนื่องของหมอกควันไฟป่า ทำให้ตระหนัก ให้ความร่วมมือร่วมใจในการเฝ้าระวัง มีความร่วมมือกันมากขึ้น
- ชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อการช่วยเหลื่อกันและกัน ได้มีการสร้างคณะทำงาน เครือข่ายในการเชื่อมโยง กันและกันโดยใช้เครือมือสภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือ ในการสร้างพลังความสามัคคีในพื้นที่
- คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ สุขภาพดี ไม่ประสบปัญหาหมอกควัน ในปีที่ผ่านมา และเป็นการรักษาแหล่ความมั่นคงทางอาหาร ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จากการหาของป่า
- ปัญหาของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางนโยบาย และกฎหมาย มีผลกระทบทางชุมชนพอสมควรทำให้การช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาของชุมชน หลังจากมีการประการพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ เขตห้ามล่า จึงทำให้พื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่าได้รับผลกระทบ การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน จากท้องถิ่นเป็นไปได้ยากขึ้น โดยระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่ตามมา
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- มีกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็ง
- มีกฎกติกา ของหมู่บ้านในการดูแลทรัพยากร
- มีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์อยู่
- มี พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน
- มีการสนับสนุนจากหน่วยงาน และองค์กรภาค
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- พัฒนาคน ยกระดับสู่สังคมเอื้ออาทร ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง และพึ่งพาตนเอง
- แก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินในเขตป่าและนอกเขตป่า ให้รัฐรับรองสิทธิ์
- ผลักดันให้เกิดการแก้ไข กฎหมายให้สามารถทำป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ได้ และสนับสนุนการรักษาป่าและดูแลทรัพยากร เพื่อเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัย
- พัฒนาที่อยู่อาศัย ผู้ดอยโอกาส/ผู้พิการ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในตำบล
- ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม จารีตประเพณีวิถีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน