ตามทางสันนิษฐานพื้นที่ตำบลนายาง ตั้งอยู่เขตการปกครองของอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกาด บ้านดง บ้านนาปราบ บ้านหนองวัวแดง บ้านนายาง บ้านนาไม้แดง บ้านแก่น บ้านไร่ บ้านแม่ยองและบ้านนายางเหนือ ประชากรรวมทั้งสิ้น 4,700 คน แยกเป็น ชาย 2,314 คน หญิง 2,386 คน โดย มีผู้สูงอายุ 758 ราย ผู้พิการ 142 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบลนายาง ตำบลนายางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอสบปราบ และอยู่ห่างจากอำเภอสบปราบ ระยะทางประมาณ 5.5 กิโลเมตร ตำบลนายาง เป็นที่ราบระหว่างภูเขาสูงและป่าสงวน ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำวังมีคลองชลประทานตัดผ่านในเขตพื้นที่ 1 สาย สภาพของดินฟ้าอากาศโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ทิศใต้ ติดกับ ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ทิศตะวันออก ติดกับตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร อาชีพเสริมรับจ้างทั่วไปและค้าขาย
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
รากฐานเดิมของสังคมไทยมีวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูล มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นที่พึ่งพาในการแก้ปัญหา เป็นระบบสวัสดิการชุมชนแบบธรรมชาติ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของ ชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำ ชุมชนส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันใน ลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่างๆ ที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์ องค์กร การเงิน วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น การพัฒนารูปแบบสวัสดิการชุมชนเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลที่มุ่งให้เป็นฐานรากของการสร้าง หลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชน บนพื้นฐาน “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” ได้เริ่มต้นอย่างเป็นระบบ ในปี 2547 เกิดจากการรวมตัวกันของเครือข่ายสวัสดิการชุมชน เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการ ชุมชน รวมถึงจัดทำยุทธศาสตร์การสนับสนุนระบบสวัสดิการชุมชน เพื่อการขยายผลและพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ให้เป็นไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี ภายใต้นโยบายของศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ผ่านสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำไปสู่การส่งเสริมจัดตั้งกองทุน สวัสดิการชุมชนตำบลขึ้น โดยในช่วงเริ่มต้นของการขับเคลื่อนงานได้สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ครูกองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวน 14 พื้นที่ ต่อมาในปี 2548 จึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาและสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน จากรัฐบาลในช่วงที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ พัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ เกิดการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 191 ตำบล เพื่อเป็น พื้นที่ขยายผล กระทั่งสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีนโยบายสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนในรูปแบบการสมทบ เท่ากันโดยชุมชนได้รับการสมทบไม่เกิน 365 บาท/คน/ปี เริ่มต้นในปี 2553 โดยได้จัดสรรงบประมาณรวม 727.3 ล้าน บาท เพื่อสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพในสัดส่วนตามการออมของสมาชิก ไม่เกิน 365 บาท/ราย/ ปี ทั้งที่เป็นการสมทบงบประมาณจากสามฝ่าย (1 : 1 : 1) คือ 1) สมทบจากเงินออมของสมาชิกในชุมชน ทั้งใน รูปแบบการออมทรัพย์เดิม หรือสัจจะออมวันละบาท 2) การสมทบจากรัฐบาลกลางผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ 3) การสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการสมทบที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2556 จากนั้น รัฐบาลได้หยุดการสมทบเข้ากองทุน อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งแล้วยังคงเป็นไป อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยขบวนองค์กรสวัสดิการชุมชนในแต่ละภาค มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนสร้างความ เข้าใจให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ใหม่และพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีการจัดตั้งมาแล้ว ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นับเป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ หรือ “ประชารัฐ” อย่างเป็น 4 รูปธรรม เพื่อใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นเครื่องมือของการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชนท้องถิ่นบน พื้นฐานการให้อย่างมีคุณค่าและการรับอย่างมีศักดิ์ศรี ต่อมา ภายใต้การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยปี 2015-2020 เพื่อมุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ได้มีการประกาศคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดย พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ข้อ 3 เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึง บริการของรัฐ ข้อ 3.3 การพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มี ประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนคำแถลงนโยบายของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อ 4.3.1 ด้านการพัฒนาองค์กรชุมชนและ เครือข่าย ข้อ 4.3.8.1 สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชน โดยจัดสวัสดิการชุมชนที่ครอบคลุมวิถีชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้กับคนทุกกลุ่มในชุมชน ในการดูแลและช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ผ่านกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลที่จัดตั้งขึ้นมาแล้ว โดยเน้นขยายฐานสมาชิกให้กว้างขวางขึ้นและ พัฒนาการบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งในท้องถิ่นที่ยังไม่มีกองทุนสวัสดิการชุมชน วิสัยทัศน์การพัฒนา ประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล รวมถึงนโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดังกล่าว ได้มี ส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้มั่นคง ยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้
ในปี พ.ศ. 2557 เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปาง ลงพื้นที่ตำบลนายางประชุมชี้แจงกับแกนนำในชุมชนผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นภายในตำบล โดยมีแกนนำการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในนามประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตำบลนายาง นายศักดินนท์ วันต๊ะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตำบลนายาง เป็นบุคคลที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ และประสบการณ์ เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ และสามารถที่จะช่วยเหลือครอบครัวและสังคมได้ เริ่มก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 สมาชิกเริ่มต้นเพียง 300 ราย จาก7 หมู่บ้าน เงินทุนเริ่มต้น 97,941 บาท โดยที่ผ่านมา คนในชุมชนจะใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ขาดการรวมกลุ่มและขาดการดูแลคุณภาพชีวิตให้เหมาะสม บ้างขาดการเหลียวแลจากสังคม ประกอบกับจำนวนคนในชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นภาระของสังคมในระยะยาว มีแนวคิดที่ว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคนในชุมชน จึงได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชน ได้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของตำบล มีการดูแลสวัสดิการทางสังคมแก่สมาชิก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของสมาชิกให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีงานอดิเรก ส่งเสริมด้านอาชีพและมีกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมตามความสนใจ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยสมาชิกของกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง มี 1,527 ราย ประมาณ 33% ของจำนวนประชากรของตำบลนายางทั้งหมด จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง และมีการให้สมาชิกในแต่ละหมู่บ้านรวมกลุ่ม ปรึกษาหารือว่าในกลุ่มชุมชนนั้นต้องการทำอะไร และทำการประชาคมหมู่บ้านส่งแผนมายังกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง เพื่อเขียนโครงการขอรับงบสนับสนุนการฝึกอาชีพจากหน่วยงานของรัฐ ต่อไป
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สวัสดิการชุมชนได้นำขบวนองค์กรชุมชนไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้ อย่างเป็นรูปธรรม การทำงานที่ยึดถือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำความเจริญสันติสุขสู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดสวัสดิการพื้นฐานของกองทุนสวัสดิการชุมชนสามารถจัดสวัสดิการพื้นฐานให้สมาชิกได้อย่าง ครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตายและการจัดสวัสดิการที่ยกระดับจากสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สวัสดิการผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ทุนประกอบอาชีพ ภัยพิบัติ ฯลฯ แม้จำนวนเงินจะไม่มากนักตามสถานะการเงินของแต่ละกองทุน แต่ สามารถทำให้เกิดความภาคภูมิใจ มีคุณค่าทางจิตใจ รู้สึกและรับรู้ถึงการดูแลซึ่งกันและกัน
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
ในปี พ.ศ. 2557 เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปาง ลงพื้นที่ตำบลนายางประชุมชี้แจงกับแกนนำในชุมชนผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นภายในตำบล โดยมีแกนนำการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในนามประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตำบลนายาง นายศักดินนท์ วันต๊ะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตำบลนายาง เป็นบุคคลที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ และประสบการณ์ เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ และสามารถที่จะช่วยเหลือครอบครัวและสังคมได้ เริ่มก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 สมาชิกเริ่มต้นเพียง 300 ราย จาก7 หมู่บ้าน เงินทุนเริ่มต้น 97,941 บาท โดยที่ผ่านมา คนในชุมชนจะใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ขาดการรวมกลุ่มและขาดการดูแลคุณภาพชีวิตให้เหมาะสม บ้างขาดการเหลียวแลจากสังคม ประกอบกับจำนวนคนในชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นภาระของสังคมในระยะยาว มีแนวคิดที่ว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
หลักคิด/แนวคิด
- ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงิน เพื่อแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- เพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดชีวิต และส่งเสริมให้สมาชิกมีหลักประกันในการดำรงชีวิต
- เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่สมาชิก
- เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือจำเป็น
- กองทุนนี้มิได้ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สิน แต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางทั้ง 10 หมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางระดับหมู่บ้านจำนวน 15 คน โดยแบ่งการขับเคลื่อนกองทุนครบวงจรชีวิต กองทุนช่วยเหลือสังคม กองทุนคนทำงานและกองทุนการบริหารจัดการ แบ่งเป็นกรรมการพัฒนาด้านกิจกรรม การจัดสวัสดิการ การติดตามและประเมินผล ร่วมกับแกนนำในชุมชน และ องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงการร่วมกันให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคและการปรับปรุงการดำเนินงานที่ผ่านมาในตำบลนายาง
- จัดเวทีประชุมสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง เพื่อออกแบบกิจกรรมร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง ในระดับหมู่บ้านทั้ง 10 หมู่บ้าน ในการจัดโครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
- องค์การบริหารส่วนตำบลนายางให้ความอนุเคราะห์ห้องประชุมแก่กองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางในการจัดประชุม โครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
- มีการสรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหา และส่งเสริมการจัดสวัสดิการพื้นฐานของกองทุนสวัสดิการชุมชนให้สมาชิกได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตายและการจัดสวัสดิการที่ยกระดับจากสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สวัสดิการผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ทุนประกอบอาชีพ ภัยพิบัติ โครงการบ้านพอเพียงชนบทฯลฯ
เทคนิค/ทักษะ
-มีวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน-ปัญหา/อุปสรรค/โอกาสการพัฒนา (SWOT Analysis) ของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลและนำใช้ข้อมูลไปพัฒนาชุมชน เช่น ตำบลนายาง มีประชากรทั้งหมด 4,700 ราย หรือ 33 % ของจำนวนประชากร ทางชุมชนทำแผนเสนอ เรื่อง ส่งเสริมการจัดสวัสดิการพื้นฐานของกองทุนสวัสดิการชุมชนให้สมาชิกได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตายและการจัดสวัสดิการที่ยกระดับจากสวัสดิการพื้นฐาน โครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
-มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีประชุมทั้งภายในและภายนอกตำบล พร้อมกับหาแนวทางแก้ไข หรือเสนอแนะให้ประชาชนทั่วไปได้รับสวัสดิการพื้นฐานของกองทุนสวัสดิการชุมชนให้สมาชิกได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตายและการจัดสวัสดิการที่ยกระดับจากสวัสดิการพื้นฐาน โครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท” อย่างทั่วถึง
– มีผลงานที่สามารถเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานได้
- สวัสดิการด้านการเกิด จำนวน 10 ราย เป็นเงิน 6,400 บาท
- สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและสาธารณสุข จำนวน 712 ราย เป็นเงิน419,800 บาท
- สวัสดิการด้านการเสียชีวิต จำนวน 107 ราย เป็นเงิน 369,500 บาท
3.1. ค่าพวงหรีด จำนวน 115 ราย เป็นเงิน 57,244 บาท
3.2. คืนเงินส่วนเกินกรณีเสียชีวิต จำนวน 19 ราย เป็นเงิน 4,155 บาท
- สวัสดิการด้านการศึกษา จำนวน 304 รายๆละ 100 บาท เป็นเงิน 36,180 บาท
- สวัสดิการให้ความช่วยเหลือสมาชิก
5.1 กรณีประสบภัยพิบัติ จำนวน 227 ราย เป็นเงิน 45,700 บาท
5.2 กรณีช่วยเหลือผู้สูงอายุ จำนวน 10 หมู่บ้าน เป็นเงิน 4,000 บาท
5.3 กรณีสร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
5.4 กรณีสนับสนุนบ้านพอเพียง ฯ จำนวน 5 ราย เป็นเงิน 20,000 บาท
- สวัสดิการงานบุญขึ้นบ้านใหม่ จำนวน 1 ราย เป็นเงิน 500 บาท
- สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ได้ดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านในโครงการบ้านพอเพียงชนบทจำนวน 5 หลังคาเรือน เป็นเงิน 20,000 บาท
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
“ประชาชนเป็นผู้บริหาร ท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติ” โดยเชื่อมโยงแต่ละภาคส่วน อาทิ ภาคประชาชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ตำบลนายางให้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการกองทุนฯ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรม ต่อยอดระบบกองทุนสวัสดิการเดิมให้เป็นสวัสดิการการบริหารจัดการเพื่อสวัสดิการต่างๆ ภายใต้การลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การลงทุนความเสี่ยงต่ำ เช่น บัญชีเงินฝากประจำ การซื้อสลากออมสิน รวมทั้งการบริหารจัดการสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ เช่น ทุนการศึกษา ทุนผู้พิการยากไร้ สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาระบบสวัสดิการของชุมชนได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง (เครื่องมือที่ 3 ผลการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน)
- คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
เมื่อก่อนต่างคน ต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ เมื่อเกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายางขึ้น ก็มีการพูดคุยนำความรู้ในด้านต่างๆ ของแต่ละคนนำมาประยุกต์ นำมาใช้ในการทำกิจกรรม เกิดการรวมกลุ่มนำเสนอโครงการส่งเสริมอาชีพในชุมชน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มรายได้ให้ชุมชนต่อไป
- องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
“จุดเด่นของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนายาง คือ การเป็นมากกว่ากองทุน เพราะเป็นการจัด
สวัสดิการต่อสวัสดิการ” ด้วยการส่งเสริมอาชีพในชุมชน เช่น การทำหมูฝอย การทำไข่เค็มใบเตย การทำน้ำยาล้างจานและการสบู่เหลว โดยที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ จัดการตัวเองได้ตามศักยภาพที่มีในพื้นที่ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้แค่ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตดีขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายและภาระของครอบครัวได้มากกว่าเดิม ทำให้ชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง นี่จึงเป็นก้าวที่สำคัญของการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
จากโครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท” มีการจัดสวัสดิการที่เป็นรูปธรรม
มีผลงานที่สามารถเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานที่ชัดเจน ส่งผลให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากการเริ่มต้นเงินคนละ 1 บาท ได้นำความเจริญสันติสุขสู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดสวัสดิการพื้นฐานของกองทุนสวัสดิการชุมชนสามารถจัดสวัสดิการพื้นฐานให้สมาชิกได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตายและการจัดสวัสดิการที่ยกระดับจากสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สวัสดิการผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ทุนประกอบอาชีพ ภัยพิบัติ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ แม้จำนวนเงินจะไม่มากนักก็ตาม
ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนเกิดขึ้น สมัยก่อน ไม่มีการพูดคุย ต่างคนต่างทำ เมื่อมีกิจกรรม มีการรวมตัว พูดคุย มีความต้องการรวมกันเสนอแผนหมู่บ้าน รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มเสนอโครงการไปยังท้องถิ่น ไปยัง พมจ หน่วยงานต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายภาครัฐ การเปลี่ยนแปลง มีการไปร่วมด้วยช่วยกัน งานบุญงานวัด มีการนำผลิตภัณฑ์จากองค์ความรู้ จากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไป มีการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ยามว่างงานและลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ จากโครงการ “คุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมด้วยเงิน 1 บาท”
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลนายาง ที่มีความมุ่งมั่น มีความรู้ มีความเสียสละ มี
- ความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อสมาชิกด้วยกัน และมีใจศรัทธาใน ตนเอง ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของกองทุนฯ และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกองทุนอย่างต่อเนื่อง
- การได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก พมจ. ที่ใช้ในการส่งเสริมอาชีพ สามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ยามว่างงานและลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- ขยายกิจกรรมให้หลากหลาย และเพิ่มสมาชิกในเด็ก เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
- พัฒนาวิธีการเรียนรู้กิจกกรมที่หลากหลายมากขึ้น
- หาแหล่งสนับสนุนทุนเพิ่มขึ้นอีก นอกจากงบของ พมจ. เช่น จาก อบต.นายาง หน่วยงานราชการอื่นๆ ฯลฯ