ตำบลทากาศ มีประชาชนเข้ามาอาศัยในปี พ.ศ.2350 อพยพมาจากกลุ่ม ทางเหนือ และทางใต้ ของลุ่มน้ำทา ได้วัฒนธรรมที่เป็นภาษา ประเพณี แต่งต่างเป็นบางส่วน
บ้านหมื่นข้าว หมู่ที่ 4 ประชาชนบ้านหมื่นข้าว หมู่ที่ 4 มาจากสิบสองปันนา หรือเรียกเป็นขมุ (คนละโว้) แล้วพัฒนากลายเป็นคนยอง หรือใช้ภาษา”ยอง” โดยมีผู้บุเบิกพื้นที่ป่าเขา เพื่อทำนา จนทุ่งกว้างเป็นที่นาปลูกข้าว คนแรกชื่อนายหมื่นเฒ่า เรียกชื่อตามผู้หัวหน้าที่อพยพมา ต่อมาเรียกว่า บ้านหมื่นเฒ่า หรือบ้านหมื่นข้าว
บ้านเกาะทราย หมู่ที่ 5 เริ่มจากการแยกหมู่บ้านจาก ม.4 บ้านทากาศและ ม.2 บ้านทากาศ และได้รวมเป็น ม.5 บ้านเกาะทรายมีน้ำแม่ทาอยู่สองข้างแล้วมีเกาะอยู่กลาง ต่อมาน้ำท่วมเกาะทรายแล้วย้ายขึ้นไปบ้านดอนใหม่แล้วไฟไหม้ทั้งหมู่บ้านแล้วจึงย้ายลงมาตรงเกาะกลางน้ำจึงเป็นที่มาของบ้านเกาะทรายในปัจจุบัน
บ้านทากาศ หมู่ที่ 6 เจ้าแม่จามเทวีแล้วท่านต้องการจะสร้างวัดแล้วมาวัวสุพราชมาฉี่ไว้แล้วเจ้าแม่ก็ก่อตั้งวัดทากาศ เริ่มจากมีประชาชนจากเชียงตุง ประเทศพม่าได้มาที่บ้านหวาย ประชาชนอพยพมาตั้งถิ่นที่ทำมากิน ต้นตระกูล “วรรณตุง”
วัดทากาศ เป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในท้องที่อำเภอแม่ทา ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีผู้ปกครองนครหริภุญชัย ประมาณเวลาจนถึงบัดนี้ เป็นเวลา 1,356 ปี ตามคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ทวด บอกเล่ากันว่าเมื่อเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกพม่าเข้าโจมตี จนไม่อาจจะต่อต้านป้องกันไว้ได้ ในที่สุดก็ต้องเสียเมืองให้แก่กองทัพพม่า ในครั้งนั้นผู้คนต่างอพยพไปคนละทิศละทาง และมุ่งไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ผ่านเมืองหริภุญชัยขึ้นไปตามลำน้ำแม่ทา จนถึงสถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่ราบล้อมด้วยภูเขา มีแม่น้ำสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำทา ไหลผ่าน เหมาะที่จะตั้งหลักแหล่ง เจ้ากาบแก้วจึงพาหมู่คณะหยุดเพื่อตั้งหลักทำมาหากินอยู่ที่นั้น ต่อมาผู้คนทั้งหลายก็เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะสร้างวัดขึ้นเพื่อศาสนกิจอย่างที่เคยทำมา เมื่ออยู่ในเมืองเชียงใหม่ จึงร่วมกันทำพิธีอธิฐานจิตขอให้เทพยดาทั้งหลายช่วยชี้แนะสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัดขึ้น ในคืนนั้นได้ปรากฏโคอุศุภราช รูปร่างล่ำสัน ใหญ่โต มาจากไหนไม่มีใครทราบ เมื่อปรากฏกายขึ้นก็เปล่งเสียงร้องก้องกังวาลไปทั่วหมู่บ้าน ร้องพลางเดินพลางและใช้เท้ากาด ( คราด ) เป็นรอยพร้อมทั้งถ่ายปัสสาวะและถ่ายมูลเป็นแนวทางไปด้วย รุ่งเช้าขึ้นมา เจ้ากาบแก้วและคณะก็ได้ออกสำรวจดูพบร่องรอยต่าง ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น โดยก่อกำแพงด้วยอิฐถือดินเหนียวไปตามรอยที่โคอุศุภราชสร้างไว้จนจดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พร้อมสร้างกุฏิสงฆ์ และวิหาร ก่อเป็นโรงกะตึกแบบโบราณไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องลมไว้ให้อากาศถ่ายเท ทางด้านข้างทั้งสองด้าน ปั้นเป็นรูปเทวดาล้อมรอบ (แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ ได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจบูรณะขึ้นได้จนถูกรื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ. 2454 และได้ก่อสร้างขึ้นใหม่แทนที่เดิม) เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้ากาบแก้วและคณะได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา” ที่ใช้ชื่อเช่นนี้เพราะถือเอานิมิตที่โคอุศุภราช มากาด ( คราด ) รอยไว้ การก่อสร้างก็มีเจ้ากาบแก้วเป็นประธาน และสถานที่แห่งนี้มีน้ำทาไหลผ่าน จึงเอาชื่อเหล่านี้มาผสมผสานกันเป็น ” วัดทากาดแก้วกว้างเมืองทา ” (ในปัจจุบันลำน้ำแม่ทาได้เปลี่ยนทิศทางเป็นตัดตรงไปแล้วอีกแนวทางหนึ่ง ) ภายหลังต่อมาคำว่า ” กาด ” ได้ถูกเปลี่ยนเป็น ” กาศ ” เพราะเกรงว่าคนที่ไม่เข้าใจภาษาโบราณจะเข้าใจว่าเป็น ” กาด ” ที่หมายถึงตลาดที่ขายของจึงเปลี่ยนเป็น ” วัดทากาศแก้วกว้างเมืองทา ” ต่อมาคำว่าแก้วเมืองกว้างเมืองทา ก็ถูกตัดตอนลงคงเหลือแต่คำว่า ” วัดทากาศ ” จนถึงปัจจุบัน หลังจากพม่ายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน ก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาตีเอาเมืองหริภุญชัยได้ ” วัดทากาศแก้วกว้างเมืองทา ” ถูกพม่าเผากุฏิ วิหาร แต่ไฟก็ไม่ไหม้ยังความคร้ามเกรงแก่เหล่าทหารของพม่าเป็นอันมาก เมื่อเห็นว่าการทำลายด้วยไฟไม่เป็นผลทหารพม่าจึงได้หยิบฉวยเอาของมีค่าที่อยู่ในวัดเช่น พระพุทธรูป ฯลฯ ติดมือไปด้วย ล่วงมาถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ดำริจะกวาดล้างพม่าให้หมดไปจากพื้นแผ่นดินไทยจึงได้ยกทัพขึ้นเหนือมา โดยมีพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพ ได้ทำการกวาดสร้างกองทัพพม่าที่เข้ามายึดครองเมืองหริภุญชัย จึงพ้นจากการปกครองของพม่า ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความสงบสุขและมีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมา จนถึงเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย
ในสมัยเจ้าผู้ครองนครนั้น หมู่บ้านทากาศและวัดทากาศ ไม่ได้ขึ้นต่อเจ้าเมืองผู้ครองนครลำพูน กลับย้อนไปขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลง การปกครองของประเทศ หมู่บ้านทากาศและวัดทากาศ จึงมาขึ้นต่อข้าหลวงประจำจังหวัดลำพูน
พ.ศ.1798 สร้างวัดทากาศ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2481 ในอดีตถือกันว่าวัดทากาศเป็นวัดเก๊า (แรก) แม้การทำบุญถวายทานสลากภัตวัดทากาศต้องทำก่อนวัดอื่นในท้องที่อำเภอแม่ทา คือในวันเพ็ญเดือน 11 ใต้ 12 เหนือ ( เดือน 12 เป็ง ) และวัดอื่นจึงจะทยอยจัดงานทานสลากภัตได้ เป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในท้องที่อำเภอแม่ทา
การประกอบอาชีพ ดั้งเดิม ประชาชนประกอบอาชีพทำนา เริ่มขุดป่าทำนา การปลูกถั่วดิน
ปี พ.ศ.2520 มีการปลูกยาสูบ มีโรงบ่มใบยาตั้งในที่ใกล้ชุมชน ต่อมาเปลี่ยนการปลูกยาสูบ มีการนำยาสูบนอกพื้นที่ มาขายทำให้ราคาตกต่ำ
ปี พ.ศ.2528 มีการเปิดโรงงานแกะสลัก กระทบต่อชุมชน จึงยกย้ายทำแหล่งอื่น
ปี พ.ศ.2535 แหล่งค่ายมวย ก.ศักดิ์ลำพูน นักมวยที่ค่ายสร้างชื่อเสียงให้จังหวัดหลายคน
ปี พ.ศ.2554 อาชีพของหมู่ 5 มีการเลี้ยงปลา 7 ปี แล้วและได้รับโล่จากจังหวัด นาเป็นนาล่มมีน้ำขังเลยขุดบ่อปลา มีอยู่ 4 บ่อ และผลิตเมล็ดพันธ์ข้าว อาชีพหมู่ 4 อดีตทำสวนถั่ว
ปี พ.ศ.2535 ทำสวนลำไย และมีรายได้หลักคือสวนลำไย ต่อมาคือแกะสลัก
ปี พ.ศ.2552 จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การเลี้ยงกบตั้งเป็นกลุ่ม และกลุ่มน้ำพริกตาแดง ไม้ดอกไม้ประดับบริบทของตำบลทากาศคิดว่าการปลูกข้าวเป็นหลักแต่เนื่องจากการปลูกข้าวแล้วไม่คุ้มทุนจึงปลูกไว้แค่ทานเนื่องจากทุนมีค่อนข้างสูงแล้วค่าแรงงานแพงจึงทำให้ขาดทุนทุกปี จึงทำให้หันมาทำอาชีพอื่น
ปัญหาของประชาชนในเขตตำบลทากาศ คือหนี้สินในการเอาทุนออกมาใส่สารลำไย ทำให้ประชากรมีหนี้เพิ่มขึ้นมากเศรษฐกิจไม่ค่อยดีเนื่องจากราคาข้าวที่ต่ำ ต้นทุนที่สูง
ประชากร 5,044 คน ตำบลทากาศ ตั้งอยู่ที่ราบ ระหว่างเทือกเขา และแม่น้ำแม่ทา มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ทาและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1033 ประมาณ 18 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองลำพูนไปทางทิศใต้ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1033 ประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 60 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 670 กิโลเมตร มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อาศัย และพื้นที่การเกษตร แม้ว่าพื้นที่ของเทศบาลจะมีขนาดเล็ก เพียง 4.62 ตารางกิโลเมตร แต่มีสถานที่ราชการสำคัญในพื้นที่ ด้วยมีลักษณะเป็นชุมชนเมือง มีระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการคอยบริการประชาชน ทั้งที่เทศบาลเป็นผู้จัดหาและหมู่บ้านเป็นเจ้าของเอง การเดินทางมีความสะดวกมีถนนสายหลัก คือ รพช.หนองหมู –ท้องฝาย
ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรมในท้องถิ่น เป็นการทำการเกษตรตาม ฤดูกาล เพื่อลดต้นทุนการผลิตและอาศัยประโยชน์จากฤดูกาลดูแลพืชผล เกษตรกรไม่นิยมปลูกพืชนอกฤดูเพราะยังขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรบางส่วนที่ปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปี บางส่วนปล่อยพื้นที่ว่างเปล่าหลังการทำนา เนื่องจากขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
- ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าว
- ผลไม้ที่สำคัญ คือ ลำไย รองลงมาคือ มะม่วง
- พื้นที่เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ คือ พื้นที่นา และพื้นที่สวนลำไย
มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาด ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
ปี พ.ศ.2554 ได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้นครั้งแรก สมาชิกแรกตั้ง จำนวน 321 คน เงินกองทุนแรกตั้ง จำนวน 1,605 บาท มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำหลักธรรมทางศาสนาซึ่งเป็นหลักคุณธรรมสำคัญต่อการส่งเสริมการจัดสวัสดิการในชุมชนเป็นฐานการจัดสวัสดิการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนเทศบาลตำบลทากาศ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนให้เข้มแข็ง เฝ้าระวังและรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นพิทักษ์วิถีชีวิตชุมชน เรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในชุมชน เพื่อลดช่องว่างความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนให้เกิดความเสมอภาคเป็นธรรม เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันอย่างยั่งยืน อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเหมือนญาติพี่น้อง เพื่อประหยัดอดออมอย่างพอเพียง กองทุนนี้ไม่ใช่กองทุนที่ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สิน แต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกและชุมชนให้เกิดความเอื้ออาทรกันในเขตเทศบาลตำบลทากาศ เพื่อจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องและเป็นแนวทางการแก้ปัญหาทางสุขภาพ การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถยกระดับคุณภาพความสุขพื้นฐานด้านสุขภาพร่างกาย ความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องมีการแสวงหาความสุขกาย ชีวิตการประกอบอาชีพต้องดีขึ้น เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ผู้นำหมู่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน หาแนวทางแนวการดำเนินการจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี โดยไม่ต้องสร้างความเดือดร้อนแก่ลูกหลาน จึงสร้างกลุ่มสนใจในเรื่องสวัสดิการของประชาชน มีการออมเงิน และนำผลมาจัดสรรกำไรเป็นสัดส่วน ปรับปรุงวิธีการทุกครั้ง จนได้มาเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล
ปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 741 คน มีเงินในกองทุน จำนวน 309,534.39 มีรูปธรรมความสำเร็จจากการจัดสวัสดิการและการจัดสรรประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากการจัดสวัสดิการชุมชน เช่น การจัดสวัสดิการช่วยเหลือภัยพิบัติ การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ การสนับสุนกิจกรรมด้านประเพณีวัฒนธรรม/ศาสนา ในเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ในเรื่องการเกษตรกรรมยั่งยืนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์อื่นๆ การเชื่อมโยงกับองค์กรการเงิน/กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน สัจจะออมทรัพย์ งานด้านแผนชุมชน ประชาคมจัดทำแผนทุกปี ทุกหมู่บ้าน
องค์ความรู้ชุมชน
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลทากาศ มีแนวคิดเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมเป็นแนวคิดของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานโดยมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไปและมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสวัสดิการช่วยเหลือแค่ด้านใดด้านหนึ่งหรือเฉพาะด้านอาจครอบคลุมในทุกประเด็นดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เน้นครอบคลุมในทุกมิติคือ เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยแนวคิดของกองทุนฯนั้นต้องเกิดมาจากคนในชุมชนบนหลักของการพึ่งพาและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมถึงการเห็นคุณค่าของกันและกันภายในชุมชนที่นำเอาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาชุมชนที่ยังยืน
กองทุนนี้ไม่ใช่กองทุนที่ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดทางทรัพย์สินแต่ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกและชุมชน เป็นกองทุนที่จัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับการช่วยเหลือเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆของสมาชิกในชุมชน และลดช่องว่างความเป็นอยู่ของสมาชิกให้เกิดความเสมอภาค
กระบวนการขั้นตอนการทำงาน
– คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทากาศ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน จนสรุปชัดเจน และเสนอแนะ ชี้แจงแก่ประชาชนให้ทราบ
– ประชาชนร่วมใจเข้าเป็นสมาชิก ในชุมชนตำบลทากาศ
– สมาชิกมีการออม ขยายอาชีพนำเงินจาการประกอบอาชีพมาออมเงิน ออมบุญ
กลไกการจัดการ
– หน่วยงายที่ให้การสนับสนุน พอช. ท้องที่ ท้องถิ่น สนับสนุนเรื่องงบประประมาณ
– เทศบาลตำบลทากาศ ร่วมการจัดสภาพแวดล้อมชุมชนให้น่าอยู่
– กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลทากาศ สนับสนุนบุคลากร
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุน อสม. ช่วยดูแลในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย