ตำบลหนองล่อง ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ประกอบไปด้วย 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองล่อง บ้านต้นผึ้ง บ้านวังสะแกง บ้านท่าหลุก บ้านสันเหมือง บ้านท่าข้าม บ้านแพะใต้ บ้านต้นผึ้งเหล่ายลี้ บ้านวังสะแกงใต้ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
“บ้านหนองล่อง”ตั้งอยู่บนที่ดอนน้ำไม่ท่วมขังลักษณะของชุมชนมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น ที่ตั้งของชุมชนเก่า แต่ปัจจุบันสิ่งก่อสร้าง ที่คาดว่าเป็นโบราณสถานเช่นเจดีย์กำแพงเมืองคูน้ำล้อมรอบเมืองได้ชำรุดปรักหักพัง แต่ก็ยังพอมีร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลหนองล่อง ก่อตั้งเมื่อ 2 สิงหาคม 2554 แรกตั้ง 453 คน จำนวนสมาชิกปัจจุบัน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,137 คน เงินกองทุนแรกตั้ง จำนวน 22,650 บาท ปัจจุบัน จำนวน 1,435,742.76 บาท ประกอบด้วย
– เงินออมจากสมาชิก จำนวน 689,104.81 บาท
– เงินที่ได้รับการสมทบจากหน่วยงาน จำนวน 636,464.39 บาท
– เงินที่ได้รับการสมทบจาก อบต. /เทศบาล จำนวน 110,173.56 บาท
มีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการฯ จากภาคประชาชน ซึ่งมาจากผู้นำที่มีความหลากหลาย อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนผู้สูงอายุ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ละยังมีเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคมเทศบาลตำบลหนองล่อง คอยเป็นฝ่ายให้คำปรึกษาช่วยเหลือทางด้านวิชาการในการดำเนินงานของกองทุนฯ
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลหนองล่อง มีแนวคิดเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมเป็นแนวคิดของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานโดยมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไปและมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสวัสดิการช่วยเหลือแค่ด้านใดด้านหนึ่งหรือเฉพาะด้านอาจครอบคลุมในทุกประเด็นดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เน้นครอบคลุมในทุกมิติคือ เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยแนวคิดของกองทุนฯนั้นต้องเกิดมาจากคนในชุมชนบนหลักของการพึ่งพาและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมถึงการเห็นคุณค่าของกันและกันภายในชุมชนที่นำเอาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาชุมชนที่ยังยืน
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประสานภาคี เครือข่าย ความร่วมมือและสนับสนุน ได้ประสานขอคำแนะนำแนวคิดขั้นตอนการจัดตั้งกองทุน
- ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนผ่านเวทีประชุมประจำเดือน และเปิดรับสมัครสมาชิก
- จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองล่องขึ้น
- จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขึ้นมาบริหารจัดการกองทุนโดยการคัดเลือกจากสมาชิก และผู้ทรงคุณวุฒิในตำบล
- จัดทำระเบียบกองทุน
- ประชุมคณะกรรมการทุกๆเดือนเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและรับ-จ่ายเงิน
เทคนิค/ทักษะ
- การประชาสัมพันธ์กองทุนให้ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเห็นความสำคัญของกองทุนผ่านไปทางผู้นำท้องถิ่นมีการประชุมสัญจรและประชุมสามัญประจำปีให้สมาชิก
- มอบสวัสดิการทั้งเก้าด้านให้กับสมาชิก
- การประสานกับ กศน. ให้การศึกษาสำหรับสมาชิกที่มีความประสงค์จะศึกษาเพื่อเพิ่มคุณวุฒิให้กับตนเอง
- การขอความอนุเคราะห์ไปยังหน่วยงานเช่น รพ.สต ดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกหมู่บ้านร่วมกันบริหารจัดการการดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคบกองทุน, ประสานงานร่วมกับท้องถิ่นเพื่อผลักดันให้แผนการจัดระบบสวัสดิการชุมชนเข้าไปบรรจุในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี ของเทศบาลตำบล และผลักดันให้เทศบาลมีการอุดหนุนหรืองบประมาณ
- เทศบาลตำบลหนองลอง สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และบุคคลากรในการทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน
- เครือข่ายกองทุนสวัสดิการจังหวัดลำพูน เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและข้อชี้แนะในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการ
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง (เครื่องมือที่ 3 ผลการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน)
- คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
- คนในตำบลมีความเข้าใจ มีความศรัทธรา เชื่อมั่น โดยเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของสมาชิก
- คนในตำบลเห็นคุณค่าของเงิน 1 บาท เพราะเงิน 1 บาทสามารถช่วยเหลือคนในตำบลได้ทั้งตำบล จากที่ต้องรอคอยความหวังภาครัฐให้ความช่วยเหลือ
- ผู้นำ คณะกรรมการมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น เข้าใจระบบการจัดสวัสดิการชุมชน
- คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
- มีการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ มีทะเบียนสมาชิก มีสถานที่ตั้งสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน
- ผู้นำ คณะกรรมการมีความสามารถในการประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำงานสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน
- ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
- คนในชุมชนแต่ละชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เมื่อก่อนในแต่ละชุมชนจะมีสวัสดิการเฉพาะเรื่องการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว คือเงินฌาปนกิจศพในแต่ละหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันคนที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับสวัสดิการที่ครบวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีเงินใช้จ่ายหลังจากได้รับสวัสดิการจากกองทุน
- ผู้นำและสมาชิกมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุให้มีรายได้โดยจัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่และนำมาขายในราคาสู่ท้องถิ่นหรือตลาดและนำมาเป็นสินค้าของกองทุน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ (เครื่องมือที่ 4 ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จและกำหนดอนาคต)
- คณะกรรมการและผู้นำมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและสามารถทำงานได้อย่างมี
- การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนระเบียบให้เข้ากับบริบทของพื้นที่
- การสนับสนุนจากเทศบาลตำบลหนองล่อง ทั้งด้านบุคลากร . สถานที่ การประชาสัมพันธ์
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ วงจรชีวิต
- ประสานงานร่วมกับเทศบาลตำบลหนองล่องในการสมทบงบประมาณให้กับกองทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี