” เมืองแห่งการศึกษา และความพอเพียง “
นับจากปี 2558 กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จัก การออม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ,เพื่อจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ได้แก่การเกิด การเจ็บป่วย การตาย ,เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน และเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มีองค์กรช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อน โดยมีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 1,153 คน
ปี 2559 มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก 7 ประเภท ในปี 2562 ได้แก่ สวัสดิการกรณีเสียชีวิต 85 คน งบประมาณ 356,000.00 บาท สวัสดิการเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล 483 คน งบประมาณ 275,500.00บาท สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด/คลอดบุตร 9 คน งบประมาณ 4,500.00 บาท สวัสดิการคนด้อยโอกาส / คนพิการ สวัสดิการผู้สูงอายุ สวัสดิการเพื่อการศึกษา 9 คน งบประมาณ 4,500.00 บาท และสวัสดิการอื่นๆ 15 คน งบประมาณ 7,500.00 บาท
ปี 2561 ได้มีการขอสมทบงบประมาณจากท้องถิ่น ซึ่งท้องถิ่นให้ความสำคัญและให้การสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลางในปี 2562 จำนวน 50,000 บาท
ปี2562 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 2,010 คน เงินออมจำนวน 2,267,613.00 บาท (ข้อมูล ณ 19 ธันวาคม 2561) การรับสมัครสมาชิกใหม่จะรับทุกเดือน โดยประชาชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง สามารถมาสมัครได้กับผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านหรือคณะกรรมการผู้เก็บเงินออมประจำหมู่บ้าน
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
ทำอย่างไรที่จะให้มีการรวมทุนชุมชนอย่างเป็นองค์กรรวม และเป็นระบบสามารถจัดตั้ง กองทุนสวัสดิการขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันนำไปสู่การจัดสวัสดิการภาคประชาชนได้ตามความต้องการของ กลุ่มองค์กรชุมชนที่เป็นองค์กรที่ช่วยเหลือคนในชุมชนทั้งตำบลโดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการกับสมาชิกทุก คน ทุกเพศ ทุกวัย อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม หมายความว่า สมาชิกในชุมชนทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการระดมทุนเพื่อ จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมตำบลเวียงมอก และมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกองทุนตลอดจนการมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการ ตรวจสอบดูแล และร่วมกันพัฒนา โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ คือ
- ความซื่อสัตย์
- ความเสียสละ
- ความตั้งใจ
- ความโปร่งใส
- ความรับผิดชอบ
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมผู้นำในแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 15 หมู่บ้านและข้าราชการบำนาญในพื้นที่เข้าร่วมประชุมและหารือแนวทางการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน
- ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับกองทุนที่ประสบความสำเร็จ
- ประชุมผู้นำชุมชน 15 หมู่บ้านเพื่อเลือกคณะกรรมการกองทุนในเดือน มีนาคม 2558 โดยในที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีคณะกรรม การจำนวน 22 คน และทำการเลือกประธานกองทุน คือ นายสมบูรณ์ กันทะเสนา เป็นประธานคนแรกของกองทุน คณะกรรมการทั้ง 22 คน ได้ร่วมกันดำเนินการพิจารณาออกกฎระเบียบการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลให้สวัสดิการกับสมาชิกด้าน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดจนใช้เป็นทุนในการพัฒนาชุมชนทุก รูปแบบ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างทันท่วงที
- กำหนดคุณสมบัติของผู้จะสมัครเป็นสมาชิก “กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง” ดังนี้
- เป็นสมาชิกที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้างในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- อายุไม่เกิน เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ไม่จำกัดเพศ วัย อาชีพ และสถานภาพ
- เป็นผู้ที่พร้อมจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน
5.เป็นผู้ที่คณะกรรมการประจำศูนย์ประสานงานเห็นชอบให้เข้าเป็นสมาชิก
6.มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ รักษาสัจจะ มีความเมตตาเอื้ออาทรแก่เพื่อนมนุษย์
เทคนิค/ทักษะ
- เทคนิคการขยายฐานสมาชิกกองทุนผ่านระบบเครือญาติ โดยคณะกรรมการกองทุน และ ผู้นำชุมชนทั้ง 15 หมู่บ้าน ใช้วิธีการชี้แจงสร้างความเข้าใจระเบียบข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ ผ่านทางเครือญาติให้เข้าใจและชักชวนให้ญาติสมัครเป็นสมาชิกกับกองทุน เพื่อแสดงให้เห็นว่าทางกองทุนได้ระดมทางเครือญาติขึ้นมาเป็นสมาชิกเป็นลำดับแรกและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทางประชาชนเทศบาลตำบลบ้านกลางด้วย
- เทคนิคการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านทำการประกาศเสียงตามสายเพื่อทำการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุน และชี้แจงรายละเอียดต่างๆของกองทุนให้ชาวบ้านรับทราบและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของกองทุน
- เทคนิคการสร้างแรงจูงใจโดยการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่น กรณีเสียชีวิตกองทุนจัดสวัสดิการครบวงจรชีวิตให้ตามเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกของกองทุน ทางกองทุนจะนำเงินค่าทำศพไปมอบให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตหรือทายาทในวันที่ทำการฌาปนกิจศพ ตลอดจนเงินจ่ายสวัสดิการอื่นๆสมาชิกสามารถนำใบรับรองแพทย์มาทำการเบิกเงินสวัสดิการได้ในวันทำการของกองทุน
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 22 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกหมู่บ้านร่วมกันบริหารจัดการการดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคบกองทุน, ประสานงานร่วมกับท้องถิ่นเพื่อผลักดันให้แผนการจัดระบบสวัสดิการชุมชนเข้าไปบรรจุในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี ของเทศบาลตำบลบ้านกลาง และผลักดันให้เทศบาลมีการอุดหนุนหรืองบประมาณ ,ประสานงานกับผู้นำในชุมชนทั้งตำบล 15 หมู่บ้านให้มีการสนับสนุนกิจกรรมของกองทุน, ประสานงานเครือข่ายกองทุนระดับอำเภอ จังหวัด ภาค ในการขับเคลื่อนขบวนสวัสดิการชุมชน
- เทศบาลบ้านกลาง สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และบุคคลากรในการทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน
- รูปแบบการจัดสวัสดิการ สมาชิกที่มีการออมเงินกับกองทุนครบ 180 วัน จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนดังนี้
เกี่ยวกับการเกิด
– สมาชิกคลอดบุตร (ครอบคลุมถึงสมาชิกไม่ว่าจะเป็นบิดาหรือมารดาเด็ก) แล้วบุตรนั้นมีชีวิต ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสวัสดิการเงินรับขวัญสำหรับเด็ก จำนวนเงิน 500 บาทต่อคน ปีละไม่เกิน 1 ครั้ง
– มารดาของเด็กหากเป็นสมาชิก จะได้รับค่านอนโรงพยาบาลจากการคลอดบุตร จำนวนเงิน 200 บาทต่อคืน ตามที่อยู่จริงแต่ไม่เกิน 5 คืน ปีละไม่เกิน 1 ครั้ง
เกี่ยวกับการเจ็บป่วย
– เมื่อสมาชิกเจ็บป่วย เป็นเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาล (มีใบรับรองแพทย์) จะได้รับสวัสดิการ เป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อคืน ตามที่อยู่จริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 5 คืน ต่อปี ส่วนผู้ที่ออมครบ 1 ปี ได้รับเป็นจำนวนเงิน 200 บาทต่อคืน ตามอยู่จริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 7 คืน ต่อปี (เริ่ม 1 เม.ย. 59)
เกี่ยวกับการเสียชีวิต เมื่อเสียชีวิตจะได้รับเงินสวัสดิการเสียชีวิต แบบขั้นบันได ตามอายุการเป็น
สมาชิก ดังนี้
– ออมครบ ๖ เดือนขึ้นไป แล้วเสียชีวิต รับเงินสวัสดิการ 2,000 บาท
– ออมเงินครบ 1 ปีแต่ไม่เกิน 4 ปี แล้วเสียชีวิตจะได้รับเงินสวัสดิการ 6,000 บาท
– ออมเงินครบ 4 ปี แล้วเสียชีวิตจะได้รับเงินสวัสดิการ 8,000 บาท
กรณีตายหรือหายสาบสูญไม่ปรากฏหลักฐานที่เชื่อถือได้ กองทุนจะไม่จ่ายสวัสดิการให้นอกเหนือจากมีคำสั่งศาลให้เป็นผู้สาบสูญ
สวัสดิการเกี่ยวกับด้านการศึกษา คือการแสดงความยินดีกรณีจบการศึกษาตามระดับขั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 6 วุฒิ ปวช. วุฒิ ปวส. และระดับปริญญาตรี ได้รับสวัสดิการแสดงความยินดีการจบระดับชั้น คนละ 500 บาท หากในปีที่จบการศึกษา มีผลการเรียนในระดับเกรดเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป ให้ได้รับทุนการศึกษาเพิ่มรายละ 500 บาท
สวัสดิการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อัคคีภัยทั้งหลัง จะได้รับเงินช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 บาทต่อครั้ง ต่อครัวเรือนของสมาชิกหรือกรณีเสียหายบางส่วน ให้คณะกรรมการพิจารณาร้อยละของความเสียหายในวงเงินไม่เกิน10,000 บาท
ผู้ประสบวาตภัย จะได้รับเงินช่วยเหลือ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาตามร้อยละของความเสียหายในวงเงินไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้งต่อปี
การช่วยเหลือสมาชิกที่เป็นผู้ยากไร้ รายได้ต่ำ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่เป็นสมาชิกแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี ที่มีฐานะยากจน รายได้ต่ำ ผู้พิการ หรือเป็นผู้ป่วยติดเตียง เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว ให้ได้รับสวัสดิการความช่วยเหลือ ปีละครั้ง ครั้งละ 500 บาท
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
- คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดระบบสวัสดิการชุมชนมากขึ้น
- คนในชุมชนเข้าใจระบบสวัสดิการชุมชนกว่าเดิมมากขึ้น เมื่อก่อนการดำเนินชีวิตด้านสังคมของประชาชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ยังไม่มีการช่วยเหลือกันในเรื่องของวงจรชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมีการจัดตั้งกองทุนออมบุญวันละบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน และมีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ทำให้สมาชิกมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- ผู้นำเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และเป็นที่ไว้วางใจว่าสมารถเป็นที่พึ่งของคนในชุมชนได้
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
- มีการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ มีทะเบียนสมาชิก มีสถานที่ตั้งสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน
- ผู้นำ คณะกรรมการมีความสามารถในการประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำงานสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน
คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
- คนในชุมชนแต่ละชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เมื่อก่อนในแต่ละชุมชนจะมีสวัสดิการเฉพาะเรื่องการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว คือเงินฌาปนกิจศพในแต่ละหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันคนที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับสวัสดิการที่ครบวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีเงินใช้จ่ายหลังจากได้รับสวัสดิการจากกองทุน
- ผู้นำและสมาชิกมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุให้มีรายได้โดยจัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่และนำมาขายในราคาสู่ท้องถิ่นหรือตลาดและนำมาเป็นสินค้าของกองทุน
ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติขององค์กรหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการที่ดีขึ้น มีการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลในการจัดสวัสดิการชุมชน เช่น มีการส่งเสริมกิจกรรมในชุมชน มีการมอบทุนในรูปแบบของสวัสดิการ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้กับสมาชิก และสร้างความมั่นใจและความเชื่อถือความศรัทธาในองค์กร
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ (เครื่องมือที่ 4 ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จและกำหนดอนาคต)
- คณะกรรมการและผู้นำมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและสามารถทำงานได้อย่างมี
- การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนระเบียบให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง
- ได้รับเงินสมทบงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านกลาง
- มีกระบวนการสร้างความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา กำนัน ครูอาจารย์และข้าราชการบำเหน็จบำนาญ
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- ขยายกิจกรรมให้หลากหลาย เพิ่มสถานที่ อุปกรณ์ในการจัดการบริหารองค์กรให้เพียงพอและเพิ่มสมาชิกของกองทุนเพิ่มการจัดการด้านสวัสดิการ โดยคำนึงถึงสถานการณ์คลังขององค์กร
- เพิ่มกลุ่มอาชีพ เพื่อให้มีอาชีพหรือมีทุนการศึกษาให้แก่สมาชิก
- ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ วงจรชีวิต
- หาแหล่งทุนสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น กองผ้าป่าออมบุญวันละบาท
- ขอให้ทางเทศบาลตำบลบ้านกลางสมทบงบประมาณทุกปี เพราะการบริการต่างๆที่กองทุนจัดสวัสดิการสามารถเข้าถึงมือของสมาชิกตามความเป็นจริง