ตำบลทุ่งต้อม เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึงการรวมให้เป็นจุดเดียวกัน และใช้ชื่อเรียกว่า ตำบลในปัจจุบันประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 10
มีหมู่บ้านอยู่ในเขตรับผิดชอบจำนวน 10 หมู่บ้านดังนี้
บ้านป่าลาน หมู่ที่ 2
บ้านสบหาร หมู่ที่ 3
บ้านก่อเก๊า หมู่ที่ 4
บ้านไร่ หมู่ที่ 5
บ้านแม่กุ้งหลวง หมู่ที่ 6
บ้านสันจิกุ่ง หมู่ที่ 7
บ้านแม่กุ้งน้อย หมู่ที่ 8
บ้านแม่กุ้งน้อย หมู่ที่ 9
บ้านเหล่า หมู่ที่ 10
บ้านศรีโพธิ์งาม หมู่ที่ 11
พื้นที่ เป็นที่ราบลุ่มมีคลองชลประทานและลำเหมืองแม่กุ้งไหลผ่าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสันป่าตอง มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยมีถนนสายเชียงใหม่-ฮอด คั่นกลาง มีพื้นที่ 12.44 ตารางกิโลเมตร
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดกับ ต.มะขามหลวง ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.มะขามหลวง และ ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ค้าขาย รับราชการ
อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชและสัตว์
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 2,015 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 1,400 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 69.48 ของจำนวนหลังคาเรือน
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ แล้วแยกใฃ้เส้นทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่ อ.สันป่าตอง จากนั้นให้ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด เมื่อถึงตลาดมะจำโรงให้แยกซ้าย
ผลิตภัณฑ์
หัตถกรรมจากกระดาษสา
พัฒนาการความเป็นมาขององค์ความรู้
ปี 2555 กองบุญสวัสดิการชุมชนเทศบาลทุ่งต้อม ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงิน เพื่อแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน,เพื่อจัดสวัสดิการให้สมาชิกตลอดชีพในเรื่องการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย,เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือนร้อน หรือ แก่สมาชิกจำเป็นโดย สมาชิกแรกตั้ง จำนวน 1,593 คน มีวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อ1. ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงินเพื่อแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2.เพื่อจัดสวัสดิการให้สมาชิกตลอดชีพในเรื่องการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย 3.เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างความสัมพันธ์ที่ดี 4.เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งมีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือนร้อน หรือ แก่สมาชิกจำเป็น
ปี 2558 กองบุญสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งต้อมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลทุ่งต้อมจำนวน 100,000 บาท
ปี 2559 กองบุญสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งต้อมได้จัดสวัสดิการให้กับสมาชิก 8 ประเภท ในปี 2562 ได้แก่ สวัสดิการกรณีเสียชีวิต 80คน 414,600.00 บาท สวัสดิการเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล 449คน 238,600.00 บาท สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด/คลอดบุตร 16 คน 14,800.00 บาท สวัสดิการคนด้อยโอกาส/คนพิการ 17 คน 24,000.00 บาท สวัสดิการผู้สูงอายุ 657 คน 911,440.00 บาท สวัสดิการเพื่อการศึกษา 102คน 59,100.00 บาท สวัสดิการเพื่อพัฒนาอาชีพ 145 คน 199,298.00 บาท สวัสดิการอื่นๆ 908 คน 162,840.00 บาท
ปี 2559 –ปัจจุบัน มีการเชื่อมโยงกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล กับประเด็นงานพัฒนา ได้แก่ งานด้านแผนชุมชน,งานด้านเยาวชน/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส,งานด้านสภาองค์กรชุมชน,งานด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม/ประเพณี/ศาสนา,องค์กรการเงิน/กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน
มีการเชื่อมโยงกับภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่อง การสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชน , สนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือการจัดกิจกรรมต่างๆ , ให้คำปรึกษา/ประสานงาน , ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร, ให้การสนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน 2)การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ,สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ในเรื่อง การให้คำปรึกษา การให้ความรู้ การสรุปบทเรียนและการสมทบงบประมาณ
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
ทำอย่างไรที่จะให้มีการรวมทุนชุมชนอย่างเป็นองค์กรรวม และเป็นระบบสามารถจัดตั้ง กองทุนสวัสดิการขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน
1.ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักออมเงินเพื่อแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2.เพื่อจัดสวัสดิการให้สมาชิกตลอดชีพในเรื่องการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
3.เพื่อให้เกิดคุณธรรม ความสามัคคี มีน้ำใจ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
4.เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งมีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือนร้อน หรือ แก่สมาชิกจำเป็น
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมผู้นำในแต่ละหมู่บ้าน ทั้ง 10 หมู่บ้านและข้าราชการบำนาญในพื้นที่เข้าร่วมประชุมและหารือแนวทางการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน
- ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับกองทุนที่ประสบความสำเร็จ
- ประชุมผู้นำชุมชน 10 หมู่บ้านเพื่อเลือกคณะกรรมการกองทุนในเดือน 1 กรกฎาคม 2555 โดยในที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีคณะกรรม การจำนวน 19 คน และทำการเลือกประธานกองทุน คือ นายพูลสวัสดิ์ สิงคราชเป็นประธานกองทุน คณะกรรมการทั้ง 19 คน ได้ร่วมกันดำเนินการพิจารณาออกกฎระเบียบการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลให้สวัสดิการกับสมาชิกด้าน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดจนใช้เป็นทุนในการพัฒนาชุมชนทุก รูปแบบ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างทันท่วงที
- กำหนดคุณสมบัติของผู้จะสมัครเป็นสมาชิก “กองบุญสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลทุ่งต้อม” ดังนี้
1.สมาชิกสามัญ –เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
สมาชิกสมทบ –เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตำบลอื่น แต่มีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อ ดังนี้
1.1มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
1.2เป็นบิดามารดา คู่สมรส หรือทายาท ของผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตำบลทุ่งต้อม
1.3เป็นข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ตำบลทุ่งต้อม
1.4เป็นบิดาหรือมารดา คู่สมรส หรือทายาท ของบุคคลในข้อ 1.3
2.ไม่จำกัดอายุ เพศ วัย อาชีพ และสถานภาพ(กรณีผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ให้ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้ให้อุปการะดูแลตามกฎหมาย)
3.เป็นผู้ที่พร้อมจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน
4.เป็นผู้ที่คณะกรรมการประจำศูนย์ประสานงานเห็นชอบให้เข้าเป็นสมาชิก
5.มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ รักษาสัจจะ มีความเมตตาเอื้ออาทรแก่เพื่อนมนุษย์
เทคนิค/ทักษะ
- เทคนิคการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านทำการประกาศเสียงตามสายเพื่อทำการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุน และชี้แจงรายละเอียดต่างๆของกองทุนให้ชาวบ้านรับทราบและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของกองทุน
- เทคนิคการสร้างแรงจูงใจโดยการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่น กรณีเสียชีวิตกองทุนจัดสวัสดิการครบวงจรชีวิตให้ตามเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกของกองทุน ทางกองทุนจะนำเงินค่าทำศพไปมอบให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตหรือทายาทในวันที่ทำการฌาปนกิจศพ ตลอดจนเงินจ่ายสวัสดิการอื่นๆสมาชิกสามารถนำใบรับรองแพทย์มาทำการเบิกเงินสวัสดิการได้ในวันทำการของกองทุน
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 19 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกหมู่บ้านร่วมกันบริหารจัดการการดำเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคบกองทุน, ประสานงานร่วมกับท้องถิ่นเพื่อผลักดันให้แผนการจัดระบบสวัสดิการชุมชนเข้าไปบรรจุในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี ของเทศบาลตำบลเวียงมอก และผลักดันให้เทศบาลมีการอุดหนุนหรืองบประมาณ ,ประสานงานกับผู้นำในชุมชนทั้งตำบล 10 หมู่บ้านให้มีการสนับสนุนกิจกรรมของกองทุน, ประสานงานเครือข่ายกองทุนระดับอำเภอ จังหวัด ภาค ในการขับเคลื่อนขบวนสวัสดิการชุมชน
- เทศบาลทุ่งต้อม สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และบุคคลากรในการทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน
- รูปแบบการจัดสวัสดิการ สมาชิกที่มีการออมเงินกับกองทุนครบ 180 วัน จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนดังนี้
-สวัสดิการกรณีเสียชีวิต
-สวัสดิการเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล
-สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด/คลอดบุตร
-สวัสดิการคนด้อยโอกาส/คนพิการ
-สวัสดิการผู้สูงอายุ
-สวัสดิการเพื่อการศึกษา
-สวัสดิการเพื่อพัฒนาอาชีพ
-สวัสดิการอื่นๆ
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
- คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดระบบสวัสดิการชุมชนมากขึ้น
- คนในชุมชนเข้าใจระบบสวัสดิการชุมชนกว่าเดิมมากขึ้น เมื่อก่อนการดำเนินชีวิตด้านสังคมของประชาชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ยังไม่มีการช่วยเหลือกันในเรื่องของวงจรชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมีการจัดตั้งกองทุนออมบุญวันละบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน และมีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ทำให้สมาชิกมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- ผู้นำเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และเป็นที่ไว้วางใจว่าสมารถเป็นที่พึ่งของคนในชุมชนได้
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
- มีการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ มีทะเบียนสมาชิก มีสถานที่ตั้งสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน
- ผู้นำ คณะกรรมการมีความสามารถในการประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำงานสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน
คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
- คนในชุมชนแต่ละชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เมื่อก่อนในแต่ละชุมชนจะมีสวัสดิการเฉพาะเรื่องการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว คือเงินฌาปนกิจศพในแต่ละหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันคนที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับสวัสดิการที่ครบวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีเงินใช้จ่ายหลังจากได้รับสวัสดิการจากกองทุน
- ผู้นำและสมาชิกมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุให้มีรายได้โดยจัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่และนำมาขายในราคาสู่ท้องถิ่นหรือตลาดและนำมาเป็นสินค้าของกองทุน
ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติขององค์กรหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการที่ดีขึ้น มีการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลในการจัดสวัสดิการชุมชน เช่น มีการส่งเสริมกิจกรรมในชุมชน มีการมอบทุนในรูปแบบของสวัสดิการ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้กับสมาชิก และสร้างความมั่นใจและความเชื่อถือความศรัทธาในองค์กร
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ (เครื่องมือที่ 4 ปัจจัย/เงื่อนไขความสำเร็จและกำหนดอนาคต)
คณะกรรมการและผู้นำมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและสามารถทำงานได้อย่างมี
การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนระเบียบให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ในเขตเทศบาล
ตำบลทุ่งต้อม
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการดึงกลุ่มจัดทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกต้นไม้รูปธรรมความสำเร็จงานด้านงานด้านเยาวชน/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาสเชื่อมโยงงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมฯ,ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสด้วยการสมทบเงินออม
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านแผนชุมชน โดยการเสนอแผนโครงการจากกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่ อปท.เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุน
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านเยาวชน/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส โดยการดึงเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสมาเป็นสมาชิกและจัดสวัสดิการให้ เช่น ทุนการศึกษา เงินบำนาญชราภาพ
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านวิสาหกิจชุมชน โดยคณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกและคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น โดยดึงศูนย์เรียนรู้ชุมชนมาเป็นสมาชิกและกรรมการกองทุน
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านสภาองค์กรชุมชน โดยสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชน
รูปธรรมความสำเร็จงานด้านสุขภาพ/สาธารณสุข โดยดึงกลุ่ม อสม.ทุกหมู่บ้านเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกและคณะกรรมการ
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- ขยายกิจกรรมให้หลากหลาย เพิ่มสถานที่ อุปกรณ์ในการจัดการบริหารองค์กรให้เพียงพอและเพิ่ม
- สมาชิกของกองทุนเพิ่มการจัดการด้านสวัสดิการ โดยคำนึงถึงสถานการณ์คลังขององค์กร
- เพิ่มกลุ่มอาชีพ เพื่อให้มีอาชีพหรือมีทุนการศึกษาให้แก่สมาชิก
- ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ วงจรชีวิต
- หาแหล่งทุนสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น กองผ้าป่าออมบุญวันละบาท
- ขอให้ทางเทศบาลตำบลทุ่งต้อมสมทบงบประมาณทุกปี เพราะการบริการต่างๆที่กองทุนจัดสวัสดิการสามารถเข้าถึงมือของสมาชิกตามความเป็นจริง