ตำบลบ้านกาด เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่วาง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านใหม่ปางเติม หมู่ 2 บ้านหัวฝาย หมู่ 3 บ้านกิ่วแลป่าเป้า หมู่ 4 บ้านมะกายยอน หมู่ 5 ชุมชนวัดจำลอง หมู่ 6 บ้านน้ำต้น หมู่ 7 บ้านริมวาง หมู่ 8 บ้านอัมพาราม หมู่ 9 บ้านปง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน
ปี พ.ศ.2552 ได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกาดขึ้นโดยการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการจัดสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนสวัสดิการชุมชน (ออมวันละบาท) ร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละหมู่บ้านในตำบล โดยออกเวทีประชาคมจัดทำแผนสวัสดิการชุมชน และได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 มีสมาชิกแรกเข้าในการจัดตั้งครั้ง จำนวน 100 คน เงินกองทุนแรกตั้ง จำนวน 5,000.00 บาท แนวคิดสำคัญของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มุ่งให้เป็นฐานรากของการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชน บนพื้นฐาน “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” การจัดสวัสดิการชุมชน คือ การสร้างหลักประกันเพื่อความ มั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายถึงการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น การจัดสวัสดิการชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพและการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน และคน กับธรรมชาติ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
ปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก 4 ประเภท ได้แก่ สวัสดิการกรณีเสียชีวิต 29 คนงบประมาณ 130,000.00 บาท สวัสดิการเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล241คนงบประมาณ 106,000.00 บาท สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด/คลอดบุตร 4 คน งบประมาณ2,000.00 บาท สวัสดิการอื่นๆ งบประมาณ 25,035.00 บาท มีการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ได้แก่ กิจกรรมด้านประเพณีวัฒนธรรม/ศาสนา ,กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
มีการเชื่อมโยงกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล กับประเด็นงานพัฒนา 12 ด้าน ได้แก่ งานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด , งานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ,งานด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย, งานด้านแผนชุมชน ,งานด้านเยาวชน/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส ,งานด้านวิสาหกิจชุมชน, งานด้านศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น ,งานด้านสภาองค์กรชุมชน ,งานด้านสุขภาพ/สาธารณสุข ,งานด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม/ประเพณี/ศาสนา , องค์กรการเงิน/กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน รวมถึงการเชื่อมโยงกับภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่อง การสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชน , สนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือการจัดกิจกรรมต่างๆ , ให้คำปรึกษา/ประสานงาน , ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร, ให้การสนับสนุนสถานที่ดำเนินงาน 2)การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด , สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), ในเรื่อง การให้คำปรึกษา การให้ความรู้ การสรุปบทเรียนและการสมทบงบประมาณ
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
หลักคิด/แนวคิด
- เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักประหยัด
- พัฒนา ส่งเสริมการออมทรัพย์ ทุน สวัสดิการ สินเชื่อ
- เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน
- เพื่อจัดระบบสวัสดิการให้กับสมาชิก
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- การดำเนินงานมีการเลือกตัวแทนสมาชิกในชุมชนเข้ามาทำหน้าที่กรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกาด โดยมีคณะกรรมกองทุน จำนวน 31 คน
- ประชาสัมพันธ์ รับสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกาด
- สมาชิกที่ผ่านเกณฑ์การเป็นสมาชิกมีการออมเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล โดยมีหลักฐานที่คณะกรรมการ ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการออมเงิน และได้บันทึกในสมุดคู่ฝากไว้เป็นหลักฐานการออมเงินให้ตรงกัน
- กฎระเบียบข้อบังคับให้เครือข่ายองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง มีข้อบังคับขององค์กรและระเบียบต่าง ๆ ของกองทุน ไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
- มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกาด 1 เดือน/ครั้ง เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา
- มีระบบการประชุมสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน 1 ปี/ครั้ง รายงานผลการดำเนินงานในรอบ ปีและจัดทำงบดุล ให้สมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
เทคนิค/ทักษะ
- เทคนิคการขยายฐานสมาชิกกองทุนผ่านระบบเครือญาติ โดยคณะกรรมการกองทุน และ ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านโดยใช้วิธีการชี้แจงสร้างความเข้าใจระเบียบข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ ผ่านทางเครือญาติให้เข้าใจและชักชวนให้ญาติสมัครเป็นสมาชิกกับกองทุน เพื่อแสดงให้เห็นว่าทางกองทุนได้ระดมทางเครือญาติขึ้นมาเป็นสมาชิกเป็นลำดับแรกและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคนในชุมชน
- เทคนิคการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้านทำการประกาศเสียงตามสายเพื่อทำการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุน และชี้แจงรายละเอียดต่างๆของกองทุนให้ชาวบ้านรับทราบและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของกองทุนอย่างต่อเนื่อง
- เทคนิคการสร้างแรงจูงใจโดยการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่น กรณีเสียชีวิตกองทุนจัดสวัสดิการครบวงจรชีวิตให้ตามเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกของกองทุน ทางกองทุนจะนำเงินค่าทำศพไปมอบให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตหรือทายาทในวันที่ทำการฌาปนกิจศพ ตลอดจนเงินจ่ายสวัสดิการอื่นๆสมาชิกสามารถนำใบรับรองแพทย์มาทำการเบิกเงินสวัสดิการได้ในวันทำการของกองทุนทุกวันประชุมคณะกรรมการกองทุน ณ ที่ทำการกองทุน
- เทคนิคการแบ่งปันผลกำไรคืนสู่สังคม กองทุนออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลเวียงมอกดำเนินได้แบ่งปันผลกำไรคืนสู่สังคมโดยการนำเงินไปช่วยเหลือและซ่อมแซมบ้านเรือนให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนในที่อยู่อาศัย และเป็นผู้ด้อยโอกาสยากไร้ในชุมชน โดยมีเงื่อนไขอยู่ว่าผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนจะต้องเป็นสมาชิกของกองทุน และการช่วยเหลือแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่ที่งบประมาณคงเหลือในแต่ละปี
คณะกรรมการกองทุนฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 31 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิก และผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนที่มาจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีรายชื่อคณะกรรมการฯ ณ ปัจจุบัน คือ
- นายณพลเดช ปันเรือน. ประธาน
- นายอรุณ บุญเรือง รองประธาน
- นายสอาด ศรีมูลเจริญ รองประธาน
- นายพงศ์เดช ตาเป็ง ฝ่ายเลขานุการ
- อบต.บ้านกาด สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และบุคคลากรในการทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน
- เครือข่ายกองทุนสวัสดิการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและข้อชี้แนะในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการ
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง
- คนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น (ความรู้/ทัศนคติ/ทักษะ)
- คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดระบบสวัสดิการชุมชนมากขึ้น
- คนในชุมชนเข้าใจระบบสวัสดิการชุมชนกว่าเดิมมากขึ้น เมื่อก่อนการดำเนินชีวิตด้านสังคมของประชาชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ยังไม่มีการช่วยเหลือกันในเรื่องของวงจรชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน และมีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก ทำให้สมาชิกมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- ผู้นำเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และเป็นที่ไว้วางใจว่าสมารถเป็นที่พึ่งของคนในชุมชนได้
- องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการ
- มีการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ มีทะเบียนสมาชิก มีสถานที่ตั้งสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน
- ผู้นำ คณะกรรมการมีความสามารถในการประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำงานสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน
- คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น
- คนในชุมชนแต่ละชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เมื่อก่อนในแต่ละชุมชนจะมีสวัสดิการเฉพาะเรื่องการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว คือเงินฌาปนกิจศพในแต่ละหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันคนที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับสวัสดิการที่ครบวงจรชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีเงินใช้จ่ายหลังจากได้รับสวัสดิการจากกองทุน
- ผู้นำและสมาชิกมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุให้มีรายได้โดยจัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่และนำมาขายในราคาสู่ท้องถิ่นหรือตลาดและนำมาเป็นสินค้าของกองทุน
- ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้าง/นโยบาย
- สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติขององค์กรหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการที่ดีขึ้น มีการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลในการจัดสวัสดิการชุมชน เช่น มีการส่งเสริมกิจกรรมในชุมชน มีการมอบทุนในรูปแบบของสวัสดิการ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้กับสมาชิก และสร้างความมั่นใจและความเชื่อถือความศรัทธาในองค์กร
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- คณะกรรมการและผู้นำมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและสามารถทำงานได้อย่างมี
- การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนระเบียบให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ในเขต อบต.บ้านกาด
ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด
- ที่ผ่านมากองทุนฯประสบกับปัญหาในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบการออมเพื่อสวัสดิการชุมชน ทำให้เสียโอกาสในการจัดสวัสดิการต่างๆเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการเสนอทางออกโดยการมีแผนในเรื่องให้ความรู้เรื่องการออมเพื่อสวัสดิการชุมชนและขอรับคำแนะนำ/คำปรึกษา จากกองทุนอื่นที่เข้มแข็งแล้ว
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
- เพิ่มประเภทการจัดสวัสดิการ ดำเนินการโดยจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย