ตำบลผางามตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเวียงชัย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงชัย 19 กิโลเมตร ตำบลผางามมีเนื้อที่ทั้งหมด 117.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 74,000 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ
ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัยและตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัยและเขตป่าสงวนแห่งชาติห้วยสัก
ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม โดยมีหมู่บ้าน 15 หมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลผางาม
ป่าชุมชนคืออะไร ในการวิเคราะห์ จะเห็นว่ามีคำว่า “ป่า” กับคำว่า “ชุมชน”
จากคำนิยามของคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4(1)ให้ความหมายว่า “ป่า หมายความว่า ที่ดิน ที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้ความหมายในมาตรา 4 ว่า “ป่า” หมายความว่า ที่ดิน
รวมตลอดถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเล ที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย
ส่วนคำว่าชุมชน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 หน้า 368 ให้ความหมาย ดังนี้ “ชุมชน น.
หมู่ชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็กอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน” เมื่อนำมารวมกันเป็น “ป่าชุมชน” และพิจารณาประกอบกับกิจกรรมทางวิชาการ จึงให้ความหมายของ
ป่าชุมชน ที่แท้จริง (Official Community Forest) ดังนี้
“ป่าชุมชน หมายถึง ที่ดิน และ/หรือ ที่ดินป่าไม้ ที่ชุมชนได้ดำเนินการหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ดำเนินการร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จัดการกิจการงานด้านป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กฎหมาย กฏระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติและแผนงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้นด้วย การจัดการ หรือดำเนินการดังกล่าว ก็เพื่อการอนุรักษ์ และให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน”
คำหลัก (Key word) ที่เป็นองค์ประกอบของป่าชุมชนมีดังนี้
- ที่ดิน หมายถึง ที่ดินนอกพื้นทีป่าไม้ เช่น
ก. ที่ดินสาธารณประโยชน์
ข. ที่ดินเอกชน
ค. ที่ดินของวัด,โรงเรียน,สองข้างทาง
ง. ที่ดินของส่วนราชการต่าง ๆ ฯลฯ
ซึ่งทีดินดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้จากผู้มีสิทธิด้วย
- ที่ดินป่าไม้ หมายถึงที่ในเขตป่าไม้ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินในเขตป่าต้องได้รับอนุญาต
ก. ที่ดินป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484
ข. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
- ชุมชน หมายถึงชุมชน ที่มีราษฎรร่วมบริหารจัดการ ดูแล และรับประโยชน์จากป่าชุมชนนั้นๆ
- การอนุญาตตามกฏหมาย หมายถึงมีการขอจัดตั้งป่าชุมชนตามแนวทาง และได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอำนาจ(กรมป่าไม้) ตามกฎ ระเบียบ ที่กำกับ ดูแลพื้นที่นั้น ๆ
- การดำเนินการร่วมกัน หมายถึงราษฎรในชุมชน องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ ร่วมกันบริหารจัดการป่าไม้ในรูปแบบการมีส่วนร่วม
- การจัดการกิจการงานด้านป่าไม้ หมายถึงการควบคุม ดูแล รักษา บำรุงป่า รวมถึงการป้องกัน และ ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย
- ความต่อเนื่อง หมายถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ ระยะยาว ไม่ขาดตอน
- การใช้ประโยชน์โดยชุมชน หมายถึงราษฎรในชุมชนใช้ประโยชน์ตามกติกาที่ชุมชนร่วมกันกำหนด โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
- ความยั่งยืน หมายถึงป่าไม้นั้น ๆ ยังคงเป็นป่าไม้และสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับราษฎรในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เต็มประสิทธิภาพตลอดไป โดยไม่เสียหายหรือถูกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ป่าชุมชนคือ รูปแบบการใช้ที่ดิน ป่าและทรัพยากรต่าง ๆ จากป่าที่ชาวบ้านตามชุมชนในชนบทที่อยู่ในป่าหรือใกล้ป่าได้ใช้กันเป็นเวลานานแล้ว โดยมีระบบการจำแนกการใช้ที่ดิน ป่าและทรัพยากรต่าง ๆ มีอาณาเขตและกฎเกณฑ์การใช้เป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั้งภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง พร้อมทั้งมีองค์กรชาวบ้านรูปแบบหนึ่งรับผิดชอบด้านการจัดการอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านอันเกิดจากการสะสมประสบการณ์แห่งการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและทางสังคม-วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น โดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดและสะสมภูมิปัญญานั้นมาหลายชั่วอายุคน
รูปแบบและความสัมพันธ์ทางสังคมอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่ต้องอาศัยป่าหรือที่ดินรอบ ๆ ป่า เพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค โดยอาศัยป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่มาของอาหาร สมุนไพร วัสดุเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือ การผลิตเชื้อเพลิง และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ ภายในชุมชน
ป่าชุมชนมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ได้อย่างไร
ความเชื่อมั่นที่ว่าป่าชุมชนสามารถอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ได้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงว่า เมื่อชีวิตของชุมชนขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของป่า ไม่ว่าในฐานะที่ป่านั้นเป็นแหล่งน้ำก็ดี ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกก็ดี อาหารและวัสดุปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพของชุมชนก็ดี หลายอย่างหรือทุกอย่างรวมกันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ชุมชนต้องอนุรักษ์ป่าโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจภายนอก ไปบังคับ
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าความอยู่รอดของชุมชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับป่า พวกเขาก็ไม่เห็นความสำคัญที่จะรักษาป่า นอกจากนั้น ชุมชนจะไม่รักษาป่าถ้าหากเขาไม่ได้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เราไม่อาจเรียกร้องให้ชุมชน ‘เสียสละ’ หรือรักษาป่าบนพื้นฐานของความรักป่าแบบ ‘โรแมนติก’ ได้ เขาจะรักษาป่าก็ต่อเมื่อเขาได้ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ในประเทศหรือสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่มีการกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพยากรของส่วนรวมอย่างเป็นธรรม รัฐมักเป็นเครื่องมือของการแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช้เรื่องที่น่าจะต้องแปลกใจหากพบว่า รัฐจำนวนไม่น้อยในประเทศด้วยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา นอกจากจะไม่สามารถรักษาป่าเอาไว้ได้แล้ว ยังปล่อยให้กลุ่มคนผู้มีอำนาจทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ หยิบฉวยเอาประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรอื่น ๆ ของส่วนรวม เพื่อประโยชน์ส่วนตัวมาโดยตลอด
ดังนั้น ป่าชุมชนในที่นี้จึงมีความหมายในทางการพัฒนาทางการเมืองด้วย กล่าวคือ การพัฒนาไปสู่ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ไม่ใช่อยู่ที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกผู้แทนฯ แต่คือ การกระจายความเป็นเจ้าของ เป็นผู้ใช้อำนาจใจการจัดการและได้ประโยชน์จากทรัพยากรให้กับชุมชนต่างหากความเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผีป่า ผีดอย มีความสำคัญอย่างไรในเรื่องป่าชุมชน
ต้องเช้าใจว่าเมื่อพูดถึงชุมชน เราไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแค่ป่าที่เป็นรูปธรรม คือ พื้นที่ที่ต้นไม้ พืช สัตว์และแมลงต่าง ๆ อาศัยอยู่เท่านั้น ป่าชุมชนที่แท้จริงแล้วคือ วิถีชีวิต ของผู้คนในชุมชนนั้นๆ ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำมาหากิน เรื่องระบบครอบครัวเครือญาติ เรื่องของโครงสร้าง อำนาจและกฎระเบียบต่างๆ เหล่านี้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อธิบายและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ เทวดาอารักษ์ผู้รักษาป่า มีความหมายและความสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเรามองออกมาจากทัศนะของชาวบ้าน ไม่ใช่เอาความคิดเห็นความเชื่อของเราไปตัดสิน
“รูปแบบการใช้ทรัพยากรนี้ส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพ ถาวรภาพและก่อให้เกิดความเป็นธรรม ทำให้ชุมชนนั้นๆ สามารถสืบทอดความเป็นชุมชนมาได้จนทุกวันนี้ พร้อมกันนั้นก็มีศักยภาพที่จะดำรงความเป็นชุมชนต่อไปได้”
ในทัศนะของชาวบ้าน มนุษย์ไม่มีอำนาจโดยตรงที่จะควบคุมธรรมชาติ ผีสาง เทวดาอารักษ์ผู้มีอำนาจเหนือมนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้ควบคุม ปกปักรักษาป่าเขาลำเนาไพร เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ตัดไม้ทำลายป่าเกินความจำเป็น เพราะเท่ากับละเมิดหรือท้าทายอำนาจเหนือมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อของชาวบ้านที่เราบางคนเห็นว่า ‘งมงาย’ นี้เอง ที่ช่วยให้ป่าบางส่วนเหลือรอดมาได้
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่ชาวบ้านเคารพนับถือเกรงกลัวอำนาจเหนือมนุษย์เหล่านั้น แท้จริงแล้วก็คือ พวกเขาเคารพธรรมชาติ จึงพยายามอยู่อย่างมีดุลยภาพกับธรรมชาติ ผิดกับคนเมือง คนสมัยใหม่ นายทุนทำไม้ พวกเขามองธรรมชาติว่าคือธรรมชาติ ป่าก็คือป่า ไม้ก็คือไม้ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงทำลายสิ่งเหล่านั้นอย่างไม่มีความเคารพยำเกรง พวกเขาจะเกรงกลัวอยู่บ้างก็เฉพาะกฎหมายเท่านั้น แต่ถ้ากฎหมายไม่ปรากฏตัวให้เห็น หรือหย่อนยาน ก็ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งพวกเขาได้
หากเราศึกษาเรื่องความเชื่อของชาวบ้านอย่างเป็นธรรมสักหน่อย เราก็จะพบว่าแท้จริงแล้วความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ คือ ‘เครื่องมือ’ ในการอนุรักษ์ป่านั่นเอง ตามปกติแล้วชาวบ้านจะสั่งสอนลูกหลานและบอกกล่าวกันเองว่า ถ้าป่าต้นน้ำของพวกเขาถูกทำลายแล้วจะเกิดภาวะแห้งแล้ง ไม่มีน้ำห้วยให้ทำนาและใช้สอย ชาวบ้านก็จะรับรู้และปฏิบัติเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปว่า ไม่ไปตัดไม้หรือทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้น ใครละเมิดก็จะถูกชุมชนลงโทษ ปรับไหม ตามที่ตกลงกันไว้
อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ของมนุษย์ด้วยกันเองอาจไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอไป อาจมีบางคนจากในชุมชนเอง หรือโดยเฉพาะคนภายนอกแอบมาตัดไม้ ดังนั้นจึงมีกฎเกณฑ์และการลงโทษที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งคอยกำกับอยู่ คนๆ หนึ่งอาจจะไปตัดไม้โดยที่คนอื่นไม่เห็น เขาอาจรอดจากการถูกลงโทษจากชุมชนไปได้ แต่เขาไม่มีวันหลบรอดสายตาและการลงโทษของเจ้าป่าเจ้าดอย หรือผีขุนน้ำไปได้อย่างเด็ดขาด อย่างน้อยในจิตใจของเขาก็จะเต็มไปด้วยความกลัว ความวิตกกังวล ชีวิตไม่มีปกติสุข ด้วยใจเขาเองก็เชื่อในอำนาจนั้นเช่นกัน แม้เขาจะเป็นคนนอกชุมชนก็ตาม แต่เขาก็เชื่อผีเหมือนกัน หากวิเคราะห์ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแล้ว ผีก็คือตัวแทนของกฎเกณฑ์ทางสังคม หรือเป็นตัวสังคมนั่นเอง
นี่คือข้อแตกต่างระหว่างชาวบ้านกับคนสมัยใหม่ผู้ไม่มีความเกรงกลัวอะไรเลย แม้กระทั่งความผิดชอบชั่วดีและความอยู่รอดของสังคมคนสมัยใหม่ คิดอะไรแต่ในเชิง ‘ส่วนตัว’ ‘เพื่อตัว’ ทั้งสิ้น จนเรียกได้ว่ามีความเป็นปัจเจกนิยมอย่างไร้ขอบเขต เป็นมหันตภัยที่คุกคามมนุษยชาติและธรรมชาติอย่างแท้จริง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้หมายความว่า ป่าชุมชนจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ เจ้าป่าเจ้าดอยเท่านั้น ป่าชุมชนอยู่ได้บนฐานของ ‘ความเป็นชุมชน’ ความเชื่อเรื่องอำนาจต่างๆ ดังกล่าว แท้จริงแล้วคือ ภาพสะท้อนความเชื่อ ชุมชนอาจเปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนรูปแบบไป แต่ความเป็นชุมชนจะต้องมีอยู่
ความเป็นชุมชนไม่ได้หมายความถึง สถานที่ที่มีคนจำนวนหนึ่งมาอยู่รวมกันเท่านั้น แต่หมายความถึงคนเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน ทำมาหากินร่วมกัน ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือ การมีชีวิตรอดและสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับการมีชีวิตรอดและการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันเท่านั้น เมื่อไรที่คนในชุมชนนั้นไม่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว ต่างคนต่างเอาตัวรอดได้ ต่างคนก็เลยต่างอยู่ สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ หรือไม่มีความเป็นชุมชนเหลือต่อไปอีกแล้ว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ สังคมของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ รอบๆ กรุงเทพฯ และเมืองใหญ่อื่น ๆ มีหมู่บ้าน มีผู้คน แต่ไม่มีความเป็นชุมชน
กล่าวโดยสรุป ป่าชุมชนจะอยู่ได้ต่อไป และจะสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งมากขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ชุมชนที่พึ่งพาอาศัยป่านั้นมีความเป็นชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกันจากป่าหรือไม่
ป่าชุมชนบ้าร่องคือ อยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านร่องคือ มีเนื้อที่ประมาณ 6000 ไร่ ซึ่งคนในชุมชนรักษากันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดูและรักษาป่าชุมชนตั้งแต่พศ 2550 จึงมีคณะกรรมการดูแลป่าชุมชนแห่งนี้ 10 คน และมีการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชาวบ้านจะนำเห็ด หน่อไม้ ผึ้ง ที่มีอยู่ในป่าชุมชนเพื่อสร้างรายได้เช่น หน่อไม้ในป่าสามารสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนคนบ้านร่องคือได้เฉลี่ย ครอบครัวละ 34000 ต่อปี ซึ่งชาวบ้านมีรายได้จากป่าโดยการนำหน่อไม้มาแปรรูป และเก็บเห็ดขาย ซึ่งยังมีการประมูลผู้ในป่าชุมชน
และยังมีการใช้ประโยชน์จากไม้ที่ตายแล้วชาวบ้านสามารถนำมาสร้างบ้านเรือนหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นตามความจำเป็น
การจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน
- ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งรักษากันมาชานานเพื่อป้องกันป่าถูกทำลายโดยคนข้างนอกชุมชนและรักษาสิทธิของคนในชุมชนในการจัดการทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากที่ดิน
- มีรูปแบบการจัดการป่าโดยชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืน
- มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลร่วมกับชุมชนเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตชุมชน
- พื้นที่ป่าผืนใหญ่ซึ่งเหลือที่เดียว
- เป็นแหล่งอนุรักษ์ที่สืบทอดกันมาเป็นมรดกส่วนรวมของชุมชนที่ต้องดูแลรักษาสืบทอดชั่วลูกชั่วหลาน
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมหมู่บ้านเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านมีคณะกรรมการ 30 คน
- จัดทำกฎระเบียบป่าชุมชน โดย คณะกรรมการยกร่างแล้วจัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองกฎระเบียบป่าชุมชน
– กฎระเบียบป่าชุมชน ขอระเบียบ
– การดูแลรักษา
- จัดทำแนวเขตโดยใช้หลักโฉนดและถนนเป็นหลัก
- จัดทำแผนในการดูแลรักษาป่า เช่น การปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนในการรักษาป่า เช่น การบวชป่า ปลูกป่า ทำแนวกันไฟ (ผูกผ้าเหลืองให้ต้นไม้)
เทคนิค/ทักษะ
- ระเบียบในปารจัดการป่า
- ไม้ที่แก่หรือตายแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยผ่านกระบวนการของชุมชน
- คนในชุมชนรักและหวงแหนพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชและพื้นที่ใกล้เคียง
- รักษาใบไม้ที่ร่วงหล่นเพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- คณะกรรมการป่าชุมชน 10 คนซึ่งมาจาก 1 หมู่บ้าน (ใช้ประโยชน์ 6 หมู่บ้านที่มาจาก)
บทบาทดูแลรักษา
- สภาองค์กรชุมชน มีบทบาท……
- กลุ่มองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน มีบทบาท……ช่วยดูแลรักษา /ใช้ประโยชน์จากป่า
- ป่าไม้ อำเภอ มีบทบาท..สนับสนุนงบประมาณ
- ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า(รสทป.) มีบทบาท.ดูแลรักษาป่า.
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปา มีบทบาท.สนับสนุนงบประมาณในการทำถนนรอบป่า/ดูแลรักษา
- ทหาร มีบทบาท สนับสนุนการขุดลอกบ่อน้ำตามโครงการของสำนักนายกรัฐมนตรี
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- ในชุมชนมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- คนต่าง พื้นที่สามรถเข้ามาหาของป่าได้
- มีอาหารป่าในพื้นที่
- ลดรายจ่าย
- มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนป่า
- มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันในการรักษาป่า
- คนต่าง พื้นที่สามรถเข้ามาหาของป่าได้
- มีการขึ้นทะเบียนป่าชุมชน.
- มีพรบ.ป่าชุมชนคุ้มครอง
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- ผู้นำมีการเอาใจใส่ดูแลอย่างจริงจัง ในการดูแลรักษา เช่น ทำแนวกันไป เฝ้าระวัง คอยชี้แนะ
- คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า
- มีการสร้างจิตสำนึกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
- คนในชุมชนมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีอาหารป่าในพื้นที่
- มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรในชุมชน
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
- งบประมาณในการดูแลมีจำกัด
- ใบไม่ในป่าทับถมซึ่งทำให้ดูแลยากในช่วงหน้าแล้ง เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
- ในช่วงฤดูแล้งส่งผลให้ต้นไม้แห้ง อาหารจากป่าลดลง
- ในช่วงฤดูแล้งจะมีการเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
แนวทาง/แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า
1.พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้
-เส้นทางการเดินป่า
-ปรับปรุงจุดชมวิว ในบริเวณสระน้ำมรกต
2.สร้างศาลเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ
-จัดเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์หนองมรกต
-เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในชุมชน