เมื่อประมาณ 70 – 80 ปีเศษ ได้มีประชาชนส่วนมากมาจากอำเภอลับแล บ้านน้ำริด บ้านด่านนาขาม เข้ามาทำไร่ ทำนา ทำสวน แล้วเห็นว่าพื้นที่แถวนี้เป็นป่า คงความอุดมสมบูรณ์ดี ก็จึงชักชวนกันมาตั้งหลักปักฐานมากขึ้น รวมกันได้ประมาณ 40 – 50 ครัวเรือน จึงเกิดเป็นหมู่บ้านขึ้น ประชาชนได้ยึดเอาลำห้วยนี้ทำไร่ ทำนา ต่อมาได้มีพรานป่าไปเที่ยวป่าถึงต้นน้ำของลำห้วยน้ำนี้ ได้พบต้นหมันใหญ่ – น้อย เกิดเป็นผืนป่า จึงตั้งชื่อห้วยลำน้ำนี้ว่า “น้ำหมัน” หมู่บ้านน้ำหมันนี้ได้เริ่มก่อตั้งวัดขึ้นก่อน เมื่อปี พ.ศ. 2453 ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 ทางราชการได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น ได้อาศัยเอาศาลาวัดเป็นที่เรียนหนังสือ
ลักษณะของพื้นที่ในตำบลน้ำหมันแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นภูเขาสูงและหุบเขาในบริเวณพื้นที่ตอนบนของตำบล และเป็นที่ราบลุ่มในบริเวณตอนล่างของตำบล มีลำห้วย 7 สายไหลผ่าน ประชากรโดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร
โครงการบ้านพอเพียงชนบท (บ้านดี) เป็นหนึ่งในแผนงานยุทธศาสตร์ เรื่องที่อยู่อาศัยของตำบลน้ำหมัน โดยการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำหมันขึ้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2560 ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำหมัน คือนายสมคิด ปานานนท์ หลังจากได้จัดตั้งสภาแล้วทางสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำหมัน ได้เสนอของบประมาณจาก พอช. ในโครงการ “บ้านพอเพียงชนบท” ได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมบ้านจากทาง พอช. ในปี 2561 จำนวน 8 ครัวเรือน เป็นเงินงบประมาณ 120,625 บาท
มีเป้าหมายดำเนินการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนในพื้นที่ตำบลน้ำหมัน โดยมุ่งเน้นผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือในการซ่อมแซมบ้าน คือ
- เป็นผู้สูงอายุ
- เป็นผู้พิการ
- เป็นผู้ยากไร้
โดยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย เช่น บ้านทรุดโทรม แออัด เป็นผู้ด้วยโอกาสในชุมชน
ในปี พ.ศ. 2562 ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำหมัน ได้รับขอเสนอขอรับงบประมาณ ในการ
ซ่อมแซมบ้านจากทาง พอช. ได้รับงบประมาณ 144,000 บาท ทำการซ่อมแซมบ้าน จำนวน 9 ครัวเรือน กำลังอยู่
ในระหว่างดำเนินการซ่อมแซมบ้าน โดยมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือครัวเรือน เป้าหมาย ตามแผนของสภาองค์กร
ชุมชนตำบลน้ำหมัน ที่ทำการสำรวจและจัดเก็บไว้ในแผน
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
1) การประสานงานและการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อมในพื้นที่ มีการใช้กลไกสภาองค์กรชุมชน และขบวนจังหวัด ในการจัดประชุมทาความเข้าใจกับท้องที่ ท้องถิ่น และผู้เดือดร้อน เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ แผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยของสภาองค์กรชุมชน หลังจากนั้นคณะทำงานด้านสังคมลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยใช้พื้นที่ตำบลของผู้นำในพื้นที่ และทำความเข้าใจในระดับพื้นที่โดย ตรวจสอบความพร้อมของคนในชุมชน
2) จัดตั้งคณะทำงานบ้านพอเพียงตำบล โดยมีความคาดหวังว่าจะเกิดคนเกิดทีมที่จะมาช่วยกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากการทำงานที่ผ่านมาพบว่าในหลายพื้นที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานอย่างเป็นทางการโดยสภาองค์กรชุมชน มีองค์ประกอบมาจากตัวแทนจากทุกหมู่บ้านและหน่วยงานภาคีในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. สมาชิกเทศบาล อสม. สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งได้มีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่กันทำงาน เช่น ทีมสำรวจข้อมูล ทีมประเมินความต้องการในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านและการประมาณการวัสดุและจัดซื้อวัสดุ ทีมติดตามประเมินผล ทีมเอกสารและบริหารจัดการโครงการ เป็นต้น
3) กำหนดเกณฑ์ กติกาด้านต่างๆ ร่วมกัน เช่น การเลือกครัวเรือนเป้าหมาย การคืนทุน การบริหารวัสดุก่อสร้าง การส่งเสริมสวัสดิการชุมชน อาชีพ ค่าแรง การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น
4) การสำรวจข้อมูล ความคาดหวังจากการสำรวจข้อมูล คือ ได้เห็นสภาพและได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนยากจนจริงๆ ซึ่งจะนามาสู่จัดลำดับในการช่วยเหลือและเกิดการยอมรับจากคนในชุมชน โดยคณะทำงาน (ควรมีคนในพื้นที่ร่วมอยู่ในทีมด้วย) ลงสำรวจครัวเรือนผู้เดือดร้อน ด้วยการทำแบบสอบถามและถ่ายรูปภาพบ้านและเจ้าของบ้าน จากนั้นให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต./สท. เซ็นต์รับรองว่าผ่านการสำรวจข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าเวทีประชาคมรับรองข้อมูลทั้งตำบล
5) จัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อคัดกรองผู้เดือดร้อนที่จะได้รับการช่วยเหลือ โดยส่งรายชื่อพร้อมคัดเลือกผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดและรองลงมาตามลำดับ เมื่อได้ผู้เข้าร่วมโครงการแล้วบางพื้นที่มีการประเมินจัดกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์อีกครั้ง
6) การประสานงาน/ความร่วมมือ เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกตำบล รวมทั้งภาคเอกชน เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนหมู่บ้าน ประธานชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาล ทหาร นักธุรกิจ ร้านค้า ฯลฯ เพื่อสร้างความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานซ่อมแซมบ้าน
7) การบูรณาการทุนและความร่วมมือ เพื่อร่วมบูรณาการทุนในพื้นที่จากกลุ่มองค์กรในท้องถิ่น ผ่านการระดมทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ช่าง เงิน อาหาร แรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและเป็นการต่อยอดขยายวงการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนให้มากขึ้น พบว่าการดำเนินโครงการบ้านพอเพียง มีการบูรณาการทุนและความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
- หน่วยงานระดับอำเภอ อาทิ ชุดทหารมวลชนสัมพันธ์เป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือและ
การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
- องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การทำงานร่วมกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนกับองค์การบริหารส่วน
ท้องถิ่น ในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนตามแผนของหน่วยงาน
- เครือข่ายบ้านมั่นคง ช่วยกันสำรวจข้อมูลชุมชนร่วมกับสภาองค์กรชุมชนและคณะทางานบ้าน
พอเพียง
- ชาวบ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น ร่วมลงแรงสร้างบ้าน
- คนรวยช่วยคนจน เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมบริจาคเงิน ประชาชนที่ไม่เดือดร้อน
ร้านค้า นักการเมืองท้องถิ่น ช่วยสมทบการซ่อมสร้างเป็นรายหลัง
- ธนาคารชุมชน/กองทุนสวัสดิการชุมชน สนับสนุนงบประมาณสร้างบ้านพอเพียงระดับตำบล
แบ่งเบา
- ภาระค่าจ้างแรงงานที่จำเป็น หรือเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านที่ต้องใช้งบประมาณสูงกว่าที่กำหนด
- ร้านวัสดุก่อสร้าง ลดราคาวัสดุก่อสร้าง และสามารถนำเงินไปต่อยอดการก่อสร้างได้ในการบูรณาการ
ดังกล่าว ใช้วิธีการจัดความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทาง การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการประสานความร่วมมือ รวมทั้งการให้เกียรติหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น และแกนนำที่อยู่เบื้องหลัง และแกนนำไม่เล่นการเมืองทำให้งานได้รับความร่วมมือและไว้วางใจจากท้องที่และท้องถิ่น
8) การประมาณการ การจัดซื้อและจัดการวัสดุ โดยมีกระบวนการในการดำเนินการดังนี้
(1) การประเมินวัสดุและประมาณราคาบ้านแต่ละหลัง โดยช่าง (บางพื้นที่เป็นช่างของหน่วยงานท้องถิ่น) ที่มีความรู้ในด้านวัสดุและการประเมินราคาลงสำรวจการปรับปรุงซ่อมแซมตามความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยดูจากความจำเป็นในการปรับปรุงและวัสดุที่ต้องใช้ จากนั้นคำนวณวัสดุและงบประมาณต่อหลัง ถ้าประมาณราคาแล้วปรากฏว่าเกินกว่างบประมาณที่จะสนับสนุนได้ จะแจ้งให้เจ้าของบ้านทราบและสอบถามว่าสามารถจ่ายส่วนต่างได้หรือไม่ ถ้ารับได้ก็จะดำเนินการ บางพื้นที่มีการสมทบจากหลายฝ่ายในชุมชนเพื่อช่วยสร้างบ้านที่มีค่าใช้จ่ายเกินเพดานและเป็นบุคคลที่ควรได้รับการช่วยเหลือ
(2) วางระบบการบริหารจัดการ เช่น การจัดซื้อวัสดุ (แบบรวม/แยก) การขนส่ง และการรับมอบวัสดุ ตลอดจนระบบเอกสาร
(3) การจัดซื้อวัสดุ โดยคณะทางานฝ่ายจัดซื้อ สำรวจร้านค้าและราคาวัสดุ โดยสืบราคามากกว่า 1 ร้าน และเลือกร้านที่มีราคาต่ำที่สุด ในการเลือกร้านค้าควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ได้ราคาที่เป็นธรรม และเกิดความโปร่งใส
(4) การส่งมอบวัสดุ เมื่อร้านค้าจัดส่งวัสดุคณะกรรมการและเจ้าของบ้านตรวจรับวัสดุร่วมกัน บางพื้นที่มีการเชิญภาคีพัฒนาหรือหน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วม เพื่อสร้างการรับรู้และก่อให้เกิดความร่วมมือในภายหลัง
9) ปฏิบัติการการซ่อม สร้าง ปรับปรุงบ้าน ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการในส่วนของห้องน้ำ ประตู หน้าต่าง หลังคาให้มีความมั่นคงแข็งแรง กันแดด กันฝน และเกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการต่อเติมบ้านเพื่อลดความแออัด แต่ก็พบว่ามีบางบ้านที่ไม่สามารถปรับปรังและซ่อมแซมได้ ต้องรื้อและสร้างใหม่ทั้งหลัง ซึ่งพบทั้งช่วงที่ทาการประเมินและบางหลังพบในช่วงที่ลงมือก่อสร้าง
สำหรับการดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมเจ้าของบ้านมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าจะทำเองหรือใช้ช่างชุมชน ซึ่งพบว่าบางพื้นที่ใช้วิธีการช่วยกันสร้างบ้าน โดยช่างและแรงงานอาสาจากในพื้นที่ ซึ่งมีทั้งที่เป็นญาติพี่น้องและคนอื่นๆ โดยเฉพาะบ้านผู้ที่ยากลำบากหรือผู้พิการ ทำให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจของคนในพื้นที่ แต่ก็พบว่าบางพื้นที่ไม่มีช่างทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทางาน เจ้าของบ้านต้องออกเงินในการจ้างช่างและแรงงานเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นคนยากจนอยู่แล้ว นอกจากนี้ในบางตำบลมีช่างเพียงไม่กี่คน แต่พื้นที่ทางานเป็นวงกว้าง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และสูญเสียเวลาทามาหากิน ดังนั้น จึงได้มีการเสนอว่า พอช. ควรจัดงบประมาณในส่วนของการจ้างช่างด้วย
10) การตรวจรับ หลังจากที่ปรับปรุงหรือซ่อม สร้างบ้านเสร็จแล้ว มีคณะหรือทีมทำงานอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่ในการตรวจรับลงตรวจบ้านในพื้นที่
ผลการดำเนินงาน
ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียงชนบท (บ้านดี) ในปีงบประมาณ 2561 มีบ้านที่ซ่อมแซมเสร็จแล้ว 8 ครัวเรือน แยกกลุ่มผู้ได้รับการซ่อมแซมดังนี้
- ผู้พิการ 2 ราย
- ผู้ยากไร้ 3 ราย
- ผู้สูงอายุ 3 ราย
ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานทั้งหมด 120,625 บาท
ผลและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โดยภาพรวมภายใต้การดำเนินดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกลไกการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานภาคี และผู้เดือดร้อน ส่งผลให้มีการสนับสนุนทุนทรัพยากรจากหน่วยงาน ท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชน เอกชน บุคคล มีการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือดังนี้
- ด้านคุณภาพชีวิต ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นคนยากจน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส มีความสุข มีสุขภาพกาย – ใจที่ดีขึ้น จากการคลายความกังวล ลดความเครียด เนื่องจากมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย มีสุขภาวะในครัวเรือนที่ดี เช่น มีห้องน้ำ มีห้องครัวที่เป็นสัดเป็นส่วน มีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝนได้ บ้านกว้างขึ้นลดความแออัดเบียดเสียดในบ้าน ทำให้เด็กๆ ในครอบครัวมีความภาคภูมิใจในบ้านใหม่ กล้าชวนเพื่อนมาบ้านนอกจากนี้แล้วคนยากลำบากยังมีโอกาส มีสิทธิ์ มีเสียงในชุมชน และเข้าถึงประโยชน์จากภาครัฐ
- กลุ่มองค์กรชุมชน ถือได้ว่าบ้านพอเพียงชนบทเป็นผลงานเชิงรูปธรรมให้กับสภาองค์กรชุมชน ดังจะเห็นได้จากคนในพื้นที่รู้จักงานพัฒนาและเห็นผลงานที่ชัดเจน จากการสนับสนุนของสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และ พอช. ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงประสานงาน จนเป็นที่ยอมรับจากเครือข่ายองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงาน ทำให้สภาองค์กรชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น (มีการดำเนินงาน/มีแผนงานพัฒนาในพื้นที่) นำมาสู่ความร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชน เช่น ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด ขบวนองค์กรชุมชนระดับอำเภอ ระดับโซน สภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน คณะทำงานบ้านมั่นคงเมือง (บางเมือง) เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านพอเพียง
นอกจากนี้ในด้านพื้นที่ตำบล/จังหวัดเอง ยังเกิดการส่งเสริมการออมทรัพย์ และสวัสดิการชุมชน หลายกองทุนกำหนดให้สมาชิกบ้านพอเพียงเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน ขณะเดียวกันกองทุนสวัสดิการชุมชนเองก็ได้มีการปรับระเบียบ คือ มีแผนการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และยังนำไปสู่การจัดตั้งกองทุนบ้านพอเพียงในตำบล
- ความสัมพันธ์ภายในครัวเรือน คนในครอบครัวมีความภาคภูมิใจ ที่มีบ้านแข็งแรงขึ้น และเป็นจุดรวมของคนในครอบครัว
- ความสัมพันธ์ภายในชุมชน ดังจะเห็นได้จากมีคนออกมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน เกิดวัฒนธรรมเอื้ออาทร แบ่งปันกัน จากการรวมตัวกันช่วยเหลือลงแรงกันสร้างบ้าน ทั้งจากผู้เดือดร้อนด้วยกันและผู้ที่ไม่เดือดร้อน นำไปสู่การจัดตั้งกองทุนของชุมชนเองเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในรูปแบบทุนหมุนเวียนและชาวบ้านยอมรับ จนมีการขยายผลการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านมากกว่าเป้าหมายด้วยความร่วมมือจากคนหลากหลายฝ่าย
- ความสัมพันธ์กับท้องถิ่น หน่วยงาน และนโยบาย ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานในระดับจังหวัด ยอมรับและสนับสนุนโครงการบ้านพอเพียงชนบท จนเกิดการบูรณาการและร่วมมือในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยขององค์กรชุมชนและท้องถิ่น เกิดกลไกการทำงานร่วมระหว่างองค์กรชุมชนกับท้องถิ่น ท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิก อบต สท.) ในการดำเนินโครงการ เช่น การตรวจสอบ BOQ สั่งซื้อวัสดุ ส่งวัสดุ ตรวจรับวัสดุ เป็นต้น นำไปสู่การลดความขัดแย้งและเกิดการประสานความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและท้องที่ และในบางพื้นที่ได้บรรจุแผนงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาของ อบต. ในปีงบประมาณถัดไป
บทเรียน/สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนทำงานบ้านพอเพียงชนบทในช่วงต่างๆ
- ช่วงเตรียมการก่อสร้าง
1) ควรชี้แจงเกี่ยวกับโครงการให้รับรู้โดยทั่วกัน เนื่องจาก “ความไม่เข้าใจ เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด” และ
ควรมีแผนการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) การสำรวจข้อมูล ควรมีแนวคิด หลักเกณฑ์ก่อนการสำรวจ โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องสำรวจ เช่น
สภาพบ้าน รายการที่ต้องซ่อมแซม รวมถึงข้อมูลของเจ้าของบ้านในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการ
ซ่อมสร้าง การคืนทุน และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หากเป็นไปได้ควรมีการจับพิกัดตำแหน่งที่ตั้งบ้านเรือนไว้ด้วย
3) ทีมสำรวจข้อมูล ควรประกอบด้วยหลายภาคส่วน เพื่อสร้างการรับรู้และเกิดความร่วมมือกันใน
ภายหลัง
4) มีคณะทำงานกลั่นกรองและการคัดเลือกบ้านที่จะทำการซ่อมสร้าง และควรดำเนินการกลั่นกรอง
โดยผ่านเวทีประชาคม
- ช่วงดำเนินการซ่อมสร้าง
1) วงเงินที่จัดสนับสนุนแต่ละหลังควรสัมพันธ์กับความยากลำบากของเจ้าของบ้าน ไม่ควรเฉลี่ยเท่าๆ
กัน
2) กลุ่มผู้ยากลำบากมากๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้พิการ ควรสนับสนุนทั้งวัสดุ และมาตรการด้าน
แรงงาน หรือมาตรการด้านอื่น เพื่อให้ดำเนินการซ่อมสร้างบ้านได้เสร็จ เพราะเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบตัวเองไม่ได้
3) รายการวัสดุที่ต้องการ ควรเริ่มจากเจ้าของบ้าน ผู้มีความรู้ทางช่างก่อสร้าง และกลั่นกรองโดย
คณะทำงาน
4) ควรซื้อวัสดุจากร้านเดียวกัน เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ซื้อในราคาที่ประหยัดกว่าการแยกซื้อหลาย
ร้าน ในกรณีที่แยกซื้อ ต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ เนื่องจากร้านต่างกัน อาจจะมี
รายละเอียด คุณภาพของวัสดุ และราคาแตกต่างกันได้
5) ควรมีรายละเอียดราคาวัสดุแต่ละอย่างที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั่วกัน
6) การเบิกและการส่งวัสดุ อาจให้ผู้รับประโยชน์ไปรับที่ร้านค้าเอง หรือให้ร้านไปส่งพร้อมกัน โดยจัด
ตามสภาพ ความพร้อมของพื้นที่
7) ผู้รับประโยชน์ควรมีส่วนในการตรวจรับวัสดุ
8) พอช.ควรสนับสนุนค่าจ้างในส่วนที่ผู้รับประโยชน์ขาดความพร้อม
9) ควรมีความต่อเนื่องในการดำเนินงานระหว่างการเบิกงวดจาก พอช.โดยมีเงินสำรองจากแหล่งในพื้นที่
- การทำงานร่วมกับภาคีอื่นๆ
1) คณะทำงานจำเป็นต้องเข้าใจระบบงาน ข้อจากัดของหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการหาความร่วมมือ
2) สื่อสาร จูงใจให้หน่วยงาน องค์กร บุคคล สนับสนุน โดยทำให้เข้าเห็นประโยชน์จากการสนับสนุน
โครงการที่ชัดเจน (Win-Win)
3) การสนับสนุนไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นสิ่งอื่นใดก็ได้ เช่น วัสดุ เครื่องมือ
แรงงาน ฯลฯ
4) ในส่วนของท้องถิ่นต้องเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนายกฯ ให้มีทัศนคติที่ดีต่อโครงการ
ข้อค้นพบที่สำคัญ
- โครงการบ้านพอเพียงได้ “สร้างตัวตนของสภาองค์กรชุมชนได้ชัดเจนที่สุด” สภาฯ มีผลงานที่ชัดเจน และมีคนรู้จักมากขึ้น
- โครงการช่วยเพิ่มความสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มศักดิ์ศรีคนจน/กลุ่มเปราะบางได้จริง ทำให้คนจนที่ไม่ได้รับการดูแล เกิดการ “ลดความอายคลายความเครียด มีตัวตัวในสังคม” ผ่านการปรับปรุงบ้านให้ดีขึ้นกว่าเดิม
- โครงการช่วยสานสัมพันธ์บ้านใกล้เรือนเคียง พลิกฟื้นความเกื้อกูลกันในชุมชน เพิ่มทุนทางสังคม
- โครงการเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงงานสภาฯ กับภาคีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ส่งผลต่อการขับเคลื่อน นโยบาย
- บ้านพอเพียงไม่ใช่ “บ้านสงเคราะห์ (คนชรา และผู้พิการ)”
- โครงการเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็ง ฟื้นพลังชุมชน เพิ่มทุนทางสังคมและวิถีวัฒนธรรม
- โครงการทำให้ “การรับ” ควบคู่กับ “การให้” โยง “สิทธิกับหน้าที่”
- “เงิน” ไม่สำคัญเท่า “พลังทางสังคม พลังชุมชน”
- ความโปร่งใส การสื่อสารที่ดี เป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จ
- โครงการบ้านพอเพียง เรื่อง “บ้านดีที่สามารถสร้างคนให้เป็นคน”
อุปสรรคและข้อจำกัดของการดาเนินโครงการบ้านพอเพียงชนบท
- งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงบ้าน
- งบบริหารจัดการมีน้อย ทำให้สภาองค์กรชุมชนต้องแบกรับภาระและความกดดัน เพื่อรับผิดชอบงานให้เสร็จ
- ข้อจำกัดเรื่องแรงงาน ไม่มีช่างชุมชน/ช่างมีน้อย เจ้าของบ้านต้องจ่ายค่าแรงเอง ซึ่งผู้ที่ยากไร้ ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการ ผู้สูง อายุช่วยเหลือตนเองลำบาก
- คณะทำงาน (บางคน) ไม่ทำงาน
- การประเมินราคาบ้านผิดพลาด เช่น ประเมินว่าซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อรื้อแล้วพบว่ามีความเสียหายทั้งหลังต้องสร้างใหม่แทนการปรับปรุง
- ยังมีผู้เดือดร้อนที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เพราะงบประมาณมีจำกัด
- ระยะเวลาการจัดการโครงการ (สั้น)
- การจัดการวัสดุแบบรวมกองกลาง ทำให้ไม่สามารถประเมินวัสดุรายหลังได้ และทำให้ใช้วัสดุเกินจากที่ประเมินไว้ได้ ทำให้บ้านอื่นมีวัสดุไม่เพียงพอ
- ท้องถิ่นมีความกังวลต่อแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณ เพราะโครงการไม่ได้บรรจุไว้ในเทศบัญญัติ ปัญหาการเมืองท้องถิ่น เช่น ผู้นำ อปท. ไม่ไว้วางใจผู้นำกลัวจะเป็นคู่แข่งในอนาคต ผู้นา อปท. มีทัศนคติเชิงลบต่อแกนนำ ส่งผลให้ท้องถิ่นไม่ให้ความร่วมมือ
- บทบาทของหน่วยงาน /ท้องถิ่นมีมากเกินไปในบางพื้นที่ จนทำให้บทบาทขององค์กรชุมชนมีน้อย
- สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เช่น ฝนตกทาให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง ซ่อมแซมบ้าน/ วัสดุก่อสร้าง/ข้าวของในบ้าน (กรณีเปลี่ยนหลังคา) ได้รับความเสียหาย
ปัจจัยความสำเร็จ
แม้ว่าในการดำเนินโครงการจะมีอุปสรรคหลายประการ แต่การที่โครงการบ้านพอเพียงชนบทในหลายๆ พื้นที่ประสบความสำเร็จหรือสามารถคลี่คลายปัญหาข้อติดขัดได้ เพราะมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน อาทิ
- นโยบายรัฐบาลตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของชุมชนจริง ตรงกับสภาพปัญหา และมีการดำเนินการที่มากกว่าการซ่อมสร้างบ้าน
- โครงการเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง มีการต่อยอดจากประเด็นงานเดิม มีส่วนร่วมจากประชาชนเจ้าของปัญหา มีความเป็นกลางทางการเมือ มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายในตำบล และเห็นผลสำเร็จชัดเจนเป็นรูปธรรมในเรื่องปัจจัยหลักด้านที่อยู่อาศัย
- การสำรวจข้อมูลในทุกหมู่บ้าน โดยมีแกนนำในพื้นที่ร่วมทีมสำรวจและทีมสำรวจมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน
- คณะทำงาน มีองค์ประกอบจากหลากหลาย มีความน่าเชื่อถือ พิสูจน์ในเห็นเรื่องความเป็นจิตอาสา และมีธรรมาภิบาล ทาให้ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย
- สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกประสานความร่วมมือและขับเคลื่อน ร่วมกับผู้นำและคนในชุมชน
- ชุมชนบริหารจัดการงบประมาณเอง มีการบริหารจัดการที่ดี จัดระบบได้ดี และจัดการงบประมาณอย่างโปร่งใส
- บริบทของพื้นที่ชนบทยังมีวิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน แบบเครือญาติ มีความช่วยเหลือกัน ความสามัคคีของคนในตำบล มีทุนทางสังคม เช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความเชื่อถือทางสังคม และการทำงานด้วยจิตอาสา เช่น ไม่มีค่าแรงงานในการก่อสร้าง คนในชุมชนร่วมกันเป็นแรงงานในการสร้างบ้าน ทำให้เกิดการสร้างบ้านเสร็จรวดเร็ว
- การบูรณาการ/ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชน ผู้เดือดร้อน ร้านค้า ผู้มีจิตศรัทธา ฯลฯ
- มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหา
- ใช้โซเซียลมีเดียร์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ทำให้การสื่อสารรวดเร็ว
แนวทางแผนที่จะทำต่อในวันข้างหน้า / ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ให้ พอช. สนับสนุนงบประมาณโครงการบ้านพอเพียงชนบทเพิ่มมากขึ้น ทั้งงบซ่อมสร้างบ้าน งบประมาณการบริหารจัดการโครงการและค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งสนับสนุนโครงการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และควรมีการสนับสนุนงบประมาณทั้งในพื้นที่ใหม่และพื้นที่เดิม เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง
- พอช. จัดการอบรมให้ความรู้แก่โครงการที่จะดำเนินการใหม่ โดยเฉพาะความรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูล การบริหารโครงการ และการจัดเก็บเอกสาร
- พัฒนาศักยภาพขององค์กรชุมชน เรื่องการบริหารจัดการที่ดี การบริหารงานก่อสร้าง ความรู้ด้านช่าง และงานก่อสร้าง และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายช่างชุมชนระหว่างตำบลเพื่อช่วยเหลือแผนงานเรื่องการก่อสร้าง
- สภาองค์กรชุมชนตำบลต้องแสดงบทบาทเป็นแกนหลักในการดำเนินโครงการบ้านพอเพียงชนบท
- ผลักดันให้การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน (โครงการบ้านพอเพียง) อยู่ในแผนพัฒนา 4 ปี ของท้องถิ่น และให้บรรจุอยู่ในแผน 1 ปี เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติและเกิดการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
- 6. แก้ไขปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
- ยกระดับคุณภาพชีวิต
– ในเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มผู้ด้วยโอกาส
– ส่งเสริมสุขภาพ