จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่ยม อำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื่องจากจังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยริเริ่มจากคณะทำงานเครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา ที่เป็นคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้มีการเรียนรู้เรื่องสวัสดิการชุมชน จากพื้นที่อื่น และได้นำบทเรียนที่ได้มาหารือร่วมกันในพื้นที่ตำบล จากนั้นจึงได้มีการประชุมสร้างความเข้าใจการจัดสวัสดิการชุมชน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 เพื่อทำประชาคมเรื่องการร่างระเบียบกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน และได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุน ฯ ซี่งกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลแม่ยมจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 มีสมาชิกแรกก่อตั้ง จำนวน 320 คน เงินทุนแรกก่อตั้ง จำนวน 118,800 บาท โดยมีแนวคิดรวมกลุ่มเพื่อจัดสวัสดิการ โดยมีคณะทำงานจากตัวแทนกลุ่มอาชีพหลายกลุ่มร่วมกันดำเนินการเริ่มการออม เรียกว่า ออมก่อนแก่เพื่อกระตุ้นให้กับสมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องสวัสดิการให้สมาชิกมีการเชื่อมโยงงานกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบเข้ามาเชื่อมงานในชุมชนและได้มีการไปเรียนรู้นอกพื้นที่และได้นำความรู้ที่ได้รับมาหนุนเสริม ขับเคลื่อนสถาบันการเงินในชุมชนซึ่งท้องถิ่นให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุน งบประมาณ บุคลากร และสถานที่ดำเนินการอีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานภาคีอื่น ซึ่งปัจจุบัน กองทุนสวัสดิการชุมชน โครงสร้างการบริหารการดำเนินงานกองทุนฯ ทั้งหมด 15 คน ประกอบด้วยตำแหน่ง ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนมาจาก ผู้แทนสมาชิก ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน มีสมาชิกจำนวน 1,748 เงินกองทุน จำนวน 2,802,445 บาท ประกอบด้วย
- เงินออมจากสมาชิก จำนวน 1,917,400 บาท
- เงินที่ได้รับจากแหล่งอื่นๆ (เทศบาล) จำนวน 423,800 บาท
- เงินที่ได้รับจากรัฐบาลผ่าน พอช. จำนวน 398,200 บาท
แรกเริ่มได้มีการจุดประกายแนวคิดเรื่องการก่อตั้งสวัสดิการชุมชนจากการเรียนรู้กับพื้นที่สวัสดิการชุมชนอื่น ต้องการให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล สร้างขวัญกำลังใจหลักประกันให้กับคนในชุมชนเปิดโอกาสให้ผู้เดือดร้อน , ผู้ด้อยโอกาสได้มีสวัสดิการ เป็นการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมในเรื่องการเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ขาดโอกาสทางสังคม สร้างสำนึกให้คนในชุมชนได้ตระหนักรู้ วางแผน พึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นผ่านกระบวนการจัดสวัสดิการชุมชน
โดยได้อาศัยกระบวนการ ขั้นตอนในการศึกษาดูงานพื้นที่ที่มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน จัดให้มีการประชุมวิเคราะห์หาแนวทางร่วมในการจัดตั้งกองทุนฯ รวบรวมแกนนำเพื่อผลักดันการจัดตั้งกองทุนฯ ประชุมสร้างความเข้าใจการจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อทำประชาคมเรื่องการร่างระเบียบกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ และมีการประชาสัมพันธ์กองทุนผ่านเสียงตามสาย ปากต่อปาก ทั้งยังมีเทคนิคให้ผู้นำชุมชนเข้าเป็นสมาชิกก่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน เชื่อมโยงหน่วยงานภาคีเพื่อการบูรณาการร่วม
มีการให้ผู้นำชุมชนเข้าเป็นสมาชิกก่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงจูงใจให้กับคนในชุมชนในการเข้าเป็นสมาชิกกองทุน เชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคี เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน มีการเชื่อมประสานงานด้านข้อมูล เพื่อให้งานข้อมูลสามาตรจัดการได้อย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ ใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์กองทุนฯเพื่อปรับเปลี่ยนระเบียบให้เอื้อต่อประโยชน์ของชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ หลากหลายรูปแบบ เช่น ประกาศเสียงตามสาย ปากต่อปาก และในงานกิจกรรมต่างๆในตำบล และสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อเพิ่มสมาชิกในกลุ่มของเด็กและเยาวขนโดยมีการสร้างแรงจูงในเช่น มีสวัสดิการการศึกษา
จากที่กล่าวได้มีการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อเพิ่มสมาชิกในกลุ่มของเด็กและเยาวขนโดยมีการสร้างแรงจูงในเช่น มีสวัสดิการการศึกษา มีการเชื่อมโยงการทำงานกับ องค์กรการเงิน/กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน โดยมีการ มอบเงินช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงและซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคให้ อีกทั้งท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณ บุคลากรในการจัดทำข้อมูล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุนเรื่ององค์ความรู้การแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนทั้งยังเป็นองค์กรที่ผลักดันเรื่องการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่งเสริมในเรื่องการดูแลระบบสุขภาพ ผู้นำในชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นแกนหลักในเรื่องการประชาสัมพันธ์กองทุน สำรวจข้อมูลผู้เดือนร้อน และร่วมกันวางแผนพัฒนากองทุน
ผลของการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ว่าชุมชนมีการเรียนรู้ ตระหนักรู้ วางแผน พึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นผ่านกระบวนการจัดสวัสดิการชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาและจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน แก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบในชุมชน คนในชุมชนมีความรักสามัคคีมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และมีวินัยในการใช้เงิน
การเปลี่ยนแปลงในเชิงสังคมเกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม นำไปสู่งานพัฒนาด้านอื่นๆในตำบล และช่วยเหลืองานสังคม พื้นที่ไม่มีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง มีการรวมกันดำเนินงานกันทุกภาคส่วน มีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ การสร้างความเข้าใจและมีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน มีการทำงานแบบธรรมาภิบาล โปร่งใส สังคมเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การเปลี่ยนแปลงของสังคม ได้แนวคิดเรื่องการจัดสวัสดิการให้ชุมชนนำไปสู่การจัดดูและตนเอง ในแต่ละกลุ่มในชุมชนมีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่มไปจัดการดูแลกันเองในกลุ่ม ร่วมไปถึงการดูและสิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพซึ่งในชุมชนเองมีทุนอยู่แล้วแต่ขาดในเรื่ององค์ความรู้ในเรื่องการจัดการ เกิดเรียนรู้กันในชุมชน ซึ่งได้มีการดูและกันในกลุ่มชุมชน พื้นที่ไม่มีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง มีการรวมกันดำเนินงานกันทุกภาคส่วน มีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ การสร้างความเข้าใจและมีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน มีการทำงานแบบธรรมาภิบาล โปร่งใส และมีเครือข่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม
ทั้งนี้สภาองค์กรชุมชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้นำกลุ่มเพื่อการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เช่นเรื่องกระบวนการคิด การทักษะในการพูดในที่สาธารณะ รู้จักคิด วิเคราะห์ เป็นสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการได้ และ พมจ.ส่งเสริมสนับสนุน (ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์) และหนุนเสริมการดำเนินงานในการพัฒนาศักยภาพกองทุน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนที่หลากหลายกอง ทุนสวัสดิการชุมชนสามารถจัดสวัสดิการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนทุกช่วงวัย เป็นหลักประกันที่สร้างความเชื่อมั่น สร้างความมั่นคงก่อเกิดความสามัคคี และช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกันในชุมชน ซึ่งมีการบริหารจัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังสามารถการเชื่อมโยงกองทุนในระดับชุมชนได้ ทำให้ชุมชนมีความเชื่อมั่น มีการติดตามผล วิเคราะห์สถานการณ์กองทุนสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมของสมาชิก เสนอความเห็นในการหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของสมาชิก ร่วมกันวางแผน กำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองของสมาชิกและการมีส่วนร่วมกันสนับสนุนให้สมาชิกได้รับการพัฒนาตนเองตามแนวทางที่กำหนด การเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีร่วมในการพัฒนากองทุนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในเชิงนโยบายและงบประมาณ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ให้ความใส่ใจ, เน้นประชาสัมพันธ์, ชักนำชาวบ้านเข้าใจและร่วมทำ ผู้นำเป็นแบบอย่าง สามารถใช้กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกกองทุนได้ ท้องถิ่นให้ความร่วมมือโดยให้เป็นนโยบายของถิ่น ในการสนับสนุบงบประมาณให้คำปรึกษา มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยการสื่อสารทางหอกระจายข่ายในหมู่บ้าน และตามงานสำคัญของหมู่บ้าน
ปัญหาในช่วงระยะแรกก่อตั้งนั้นชุมชนยังขาดความเชื่อมั่นในกองทุน คณะกรรมการกองทุนยังขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการด้านการเงิน ต้องการให้มีการอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ ข้อติดขัดเรื่องระเบียบการสมทบกับท้องถิ่นและความชัดเจนกับระเบียบของกระทรวงมหาดไทย มีค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการที่สูงทำให้กองทุนฯประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ขาดการสมทบงบประมาณจากแหล่งทุนที่มีอยู่ในชุมชน (องค์การภายในชุมชน) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้กองทุนมีความเสี่ยงสูง สมาชิกบางส่วนยังไม่เข้าใจระเบียบกองทุนอย่างแท้จริง คณะกรรมการมีศักยภาพการทำงานที่ไม่เท่าเทียมกันบางครั้งการดำเนินงานยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อนาคตได้วางแนวทางว่าจะขยายฐานสมาชิกให้ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เชื่อมโยง บูรณาการงบประมาณกับแหล่งทุน กลุ่มองค์กร ในตำบล พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน พัฒนาระบบฐานข้อมูล และเชื่อมโยงหน่วยงานภาคี