ดินแดนสามขุนเขา ใต้เงาภูลังกา
ข้าวโพดงามอร่ามตา สายธาราน้ำตกน้ำมิน
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเชียงคำ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเชียงคำประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดพะเยาประมาณ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ ประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 70,000 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเชิงเขา มีแหล่งน้ำขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลาดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนเป็นหลักในการทำการเกษตรและมีภูเขาล้อมรอบเป็นแนวยาวตลอด และมีแม่น้ำยมไหลผ่าน ตลอดสองฝั่งแม่น้ำยมจะเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ซึ่งเป็นหัวใจหลักในภาคเกษตรกรรม
ด้านประชากร ประชากรทั้งสิ้น ๖,๔๙๓ คน แยกเป็นชาย ๓,๒๐๒ คน หญิง ๓,๒๙๑ คน จำนวน ๒,๒๒๔ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตร การประมง การปศุสัตว์ การบริการ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการพาณิชย์กลุ่มอาชีพ การเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นการทำนา มีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ลำไย มันฝรั่ง มันสำปะหลัง มะม่วง หอมแดง กระเทียม เป็นต้น ทำ การปศุสัตว์ในพื้นที่ตำบลแม่ลาว ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคและใช้งาน เช่น ไก่ , หมู วัว, ควาย ส่วนการประมงลักษณะการประมงของประชาชนในเขตตำบลแม่ลาว มีทั้งการเพาะพันธุ์ หรือเลี้ยงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ (ของหมู่บ้าน) ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในชุมชน ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลแม่ลาวมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิเช่น น้ำตกน้ำมิน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านแฮะหมู่ ๕ ในการพาณิชย์และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ตำบลแม่ลาวส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาวตามโครงการเงินเศรษฐกิจชุมชนจำนวน ๓๔ กลุ่มอาชีพ ครอบคลุมทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน
วัฒนธรรมและประเพณี ประชาชนตำบลแม่ลาวหมู่ ๒ ถึง ๑๓ นับถือศาสนาพุทธ และ หมู่ ๑ และหมู่ ๑๔ นับถือศาสนาคริสต์ โดยมีข้อมูลศาสนสถานดังนี้วัดด จำนวน ๑๑ แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน ๓ แห่ง โบสถ์ จำนวน ๒ แห่ง มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญในท้องถิ่น คือช่วงเดือนเมษายน จะมีการสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ช่วงเดือนธันวาคม วันคริสต์มาส และช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์จะเป็นในช่วงของเทศบาลตรุษจีน มีภูมปัญหาท้องถิ่นภาษาท้องถิ่นที่สำคัญคือ ภาษาเมืองล้านนา ภาษาลื้อ (บ้านแฮะ หมู่ ๕) ภาษาเมี่ยง (บ้านสบทุ หมู่ ๙) มีสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกบริเวณแหล่งท่องเที่ยวสะพานรักฝายคู่ บ้านวังถ้ำ หมู่ ๔ มีจำหน่ายสตรอเบอร์รี่ ในช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ( Environment and Natural Resources ) มีน้ำที่ใช้ในการอุปโภค – บริโภค เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำลาวซึ่งจะไหลไปบรรจบลำน้ำ แม่น้ำอิงที่ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สร้างขึ้น ได้แก่ น้ำแม่ลาว น้ำตกน้ำมิน น้ำตกคะแนง น้ำตกขุนลาว แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำน้ำมิน อ่างเก็บน้ำห้วยยัด ฝายถ้ำ ฝายหัด ฝายบ้านแฮะ ฝายปุย ฝายผาลาด ผายทุ่งเก๊าแหลง ฝายทุ่งกาก ฝายแก้ว ฝายห้วยบอน ฝายน้ำบอน ฝายน้ำลาว ฝายเย็น ฝายวังคาบ ฝายห้วยหลวง ฝายแก่ง ฝายบ้านกอก สระเก็บน้ำห้วยน้ำอุ่น
สภาพชุมชนตำบลแม่ลาว มีการรวมกลุ่มของราษฎรหลายกลุ่ม ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบลในเรื่องรบบด้านเศรษฐกิจ เช่นกลุ่มเกษตรกรตำบล กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็น สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงและป่าไม้ เป็นที่ราบเชิงเขา บางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และมีแม่น้ำสำคัญ ๑ สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำลาวเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และที่ตั้งของหมู่บ้านมีระยะทางไม่ห่างไกลกันมากนัก ทำให้มีความสามัคคีและง่ายต่อการประสานงาน ซึ่งจุดเด่นของพื้นที่ตำบลแม่ลาว เป็นพื้นที่ต้นน้ำจึงมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม มีแหล่งท่องเที่ยวหลายจุด เช่นน้ำตกบ้านคะแนง น้ำตกขุนลาวและวนอุทยานน้ำตกน้ำมินที่ขึ้นชื่อในอำเภอเชียงคำ
จากการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่นปลูกข้าวโพด ปลูกข้าว พืชหมุนเวียนระยะสั้นหลังจากเก็บเกี่ยวทำให้มีเศษฟางข้าว เศษเปลือกข้าวโพดกองสะสมเป็นจำนวนมาก ยากแก่การบริหารจัดการอีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่างๆ ทำให้พื้นที่ตำบลแม่ลาวเต็มไปด้วยขยะ ไม่นาอยู่เป็นอย่างมาก ผู้นำหมู่บ้านจึงมาการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาร่วมกันรมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดเวทีประชาคม สร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการสรุปปัญหา และแนวทางแก้ไขในการจัดการขยะ โดยให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไข ชุมชนจัดการตนเอง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลง คือ เกิดจากปัญหาของคนในชุมชนที่มประสบกับปัญหาขยะมากจนเกินไปยากต่อการบริหารจัดการและยังส่งผลให้พื้นที่ตำบลมีมลภาวะทั้งทางกลิ่น และสุขภาวะของคนในชุมชน คนในชุมชนเกิดการเจ็บป่วย เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคทางเดินหายใจไม่สะดวก ทำให้เป็นตำบลที่ไม่นาอยู่ ยากต่อการพัฒนามนด้านอื่นๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาโลกร้อน ระบบนิเวศน์ที่เสียไป จนคนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาและต้องการลดปริมาณขยะที่มีในชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วม และความต้องการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสว่าจะอยุ่ร่วมกับขยะเหล่านี้ได้อย่างไรที่ไม่สร้างผลเสียให้กับสิ่งแวดล้อมและไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมทั้งยังอยากสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนและปลูกฝังจิตสำนึกให้คนรุ่นหลังในการดูแลสภาพแวดล้อมบ้านเกิดให้เป็นตำบลที่น่าอยู่
เริ่มจากผู้นำในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวิเคราะห์ปัญหาขยะที่มีร่วมกันมีการประชุมปรึกษาหารือและการประชาคมหมู่บ้านเรื่องการจัดการขยะในชุมชนโดยมีการทำเวทีประชาคม สร้างความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะจากนั้นได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะโดยเริ่มจากการจัดการขั้นพื้นฐานคือการทิ้งขยะและคัดแยกขยะในภาคครัวเรือน ไปจนถึงการลดการใช้สารเคมีภาคการเกษตร และการป้องกันควบคุมโรคที่มีจากขยะ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล พัฒนาชุมชนอำเภอเชียงคำเข้ามาส่งเสริมโดยจัดวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติมกับชุมชนแต่ละหมู่บ้าน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอเชียงคำ กรมพัฒนาที่ราบสูงมีการตั้งกฎระเบียบในการบริหารจัดการโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่กันรับผิดชอบ จัดตั้งโรงเรียนปุ๋ยและบ่อหมักปุ๋ยมีการหาวัตถุในการผสม เช่นเปลือกข้าวโพด ใบไม้ มูลสัตว์ เศษฟาง พ ด ๑ /พ ด ๒ มีการสลับผลัดพลิกปุ๋ยกลับไปมาและรอระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน จัดบรรจุผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายให้แก่สมาชิก มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน โดยจดขึ้นทะเบียนวิสาหกิจมีดังนี้
- บ้านผาลาด หมู่ที่ ๓ (สามารถทำปุ๋ยอัดเม็ดส่งจำหน่ายได้ในพื้นที่ตำบลแม่ลาว)
- บ้านแฮะ หมู่ที่ ๕
- บ้านกาญจนา หมู่ที่ ๘
- บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ –
- บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ ๑
- บ้านน้ำลาว หมู่ที่ ๗
- บ้านกอก หมู่ที่ ๑๑
มีคณะกรรมการบริหารจัดการแบ่งบทบาทหน้าที่ สามารถมีผลกำไรจากการจำหน่ายมาปันผลให้แก่สมาชิก มีการแบ่งปันช่วยเหลือสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน เช่น ร่วมบริจาคสร้างป่าสุสาน ร่วมบริจาคสร้างหลังคาวัด เป็นต้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในชุมชนและในหมู่บ้านไกล้เคืองเชี่ยมโยงเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน เพื่อการดำเนินงานที่คล่องตัว
แนวทางสำคัญที่ได้ใช้ดำเนินการ ได้อาศัยการใช้องค์ความรู้ในชุมชนมาพัฒนาในการจัดการเรื่องขยะการสานพลังในชุมชน การบูรณาการขับเคลื่อนงาน ท้องที่ ท้องถิ่น สภาองค์กรชุมชน จัดเวทีประชาคม ขอฉันทามติ ในการจัดการเรื่องขยะด้วยพลังชุมชนร่วมกัน มีสูตรการหมักปุ๋ยอินทรีย์ (การบรรจุภัณฑ์) ทิ่คิดค้นจากคนในชุมชน อาศัยผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมีความรักความสามัคคีในการแก้ไขปัญหาขยะร่วมกัน สร้างแรงจูงใจให้กับคนในชุมชนในการทำปุ๋ยอินทรีย์โดยเป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในการทำการเกษตรซึ่งบริบทพื้นที่ของตำบลแม่ลาวคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่แล้วจึงเป็นจุดสนใจของชาวบ้านที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการจัดการขยะในครั้งนี้
เริ่มจากผู้นำในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวิเคราะห์ปัญหาขยะที่มีร่วมกันมีการประชุมปรึกษาหารือและการประชาคมหมู่บ้านเรื่องการจัดการขยะในชุมชนโดยมีการทำเวทีประชาคม สร้างความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะโดยมีสภาองค์กรชุมชนตำบลแม่ลาวเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน จากนั้นได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะโดยเริ่มจากการจัดการขั้นพื้นฐานคือการทิ้งขยะและคัดแยกขยะในภาคครัวเรือน ไปจนถึงการลดการใช้สารเคมีภาคการเกษตร และการป้องกันควบคุมโรคที่มีจากขยะ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล พัฒนาชุมชนอำเภอเชียงคำเข้ามาส่งเสริมโดยจัดวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติมกับชุมชนแต่ละหมู่บ้านและสนับสนุนงบปราะมาณในการดำเนินงาน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอเชียงคำ กรมพัฒนาที่ดินที่ราบสูง ที่มาให้ความรู้เรื่องการแปรรูปขยะจากตอซังมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา ที่สนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการจัดทำชุดความรู้กับพื้นที่ตำบลแม่ลาวในการจัดทำชุดความรู้เพื่อเพผแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับพื้นที่อื่นได้เรียนรู้ร่วมกัน
หลังจากที่ได้ดำเนิการก็พบว่าคนในชุมชนเห็นคุณค่าและเกิดความหวงแหนที่จะดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ทำให้การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ คนในชุมขนมีวินัยในการทิ้งขยะและปรับเปลี่ยนวิธีคิดสามารถใช้ประโยชน์จากวัชพืชที่ครั้งหนึ่งคนในชุมชนเห็นว่าเป็นขยะเหลือใช้ไม่มีประโยชน์ ไม่มีค่าราคา ชุมชนมีการเรียนรู้ ตระหนักรู้ วางแผน พึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับใช้และพัฒนาครอบครัวตนเอง โดยการลงมือทำเอง ปลูกเอง กินเอง ขายเอง โดยปลอดสารเคมีมีระบบสุขภาพที่ดีขึ้น สร้างงานสร้างรายได้ ให้กับชุมชนจากการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชนปรับเปลี่ยนมากินผักปลอดสารพิษ ดูแลสุขภาพตนเองดียิ่งขึ้นทำให้มีระบบสุขภาวะมวลรวมของตำบลดีขึ้นตามลำดับ องค์กรชุมชนเกิดความเข้มแข็ง/มีความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่มได้ ลดปริมาณขยะในชุมชน ลดการก่อเกิดโรคต่างๆที่มีสาเหตุมากจากขยะในชุมชน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม คนในชุมชนมีการประสานงานเชี่ยมโยงกันทุกหมู่บ้านสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม เกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนำไปสู่งานพัฒนาอื่น ๆ ในสังคม การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงนโยบายทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาวมีการจัดทำแผนรอบรับการพัฒนากลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งงบประมาณและองค์ความรู้ สำนักงานกรมพัฒนาที่ดินที่ราบสูงให้การสนับสนุนในด้านความรู้ เช่น วิธีการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ พัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมให้ความรู้ในการจัดตั้งกลุ่มองค์กร กลุ่มองค์การวิสาหกิจได้รับการยอมรับจาหน่วยงานภาครัฐพร้อมที่จะให้การสนับและยังเป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มเพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบล แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างในด้านการขาดความต่อเนื่องของงบประมาณในการขับเคลื่อนงานทำให้การดำเนินงานบางครั้งเป็นไปได้ล่าช้า คนในชุมชนบางคนยังขาดความรู้เข้าใจเรื่องการใช้สารเคมีภาคการเกษตร และบางคนยังมีความเชื่อเรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรจะทำให้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ดังนั้นแนวทาง ทิศทางที่จะขยับขับเคลื่อนต่อไปคือต้องประสานงานเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงการทำงาน เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังทำต่อเนื่องและให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน หาแหล่งประมาณเพิ่มเติมเพื่อการขับเคลื่อนงานที่ต่อเนื่อง จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ถ่ายทอดให้กับพื้นที่อื่น สร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อเข้ามาทำทำงานร่วมกันรวมทั้งต้องมีการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ให้กับคนรุ่นหลังด้วย