พื้นที่ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อยู่ใกล้พื้นที่ป่าสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลภูซาง ส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบตามหุบเขา มีป่าที่มีอานาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือประเทศลาว ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2542 ป่าชุมชนในพื้นที่ตำบลมีสภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากโดนบุกรุกพื้นที่ป่า มีการตัดไม้ทำลายป่าจากน้ำมือของมนุษย์ และจากประเทศเพื่อนบ้าน ประจวบเหมาะกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มีโครงการดีๆโครงการ “รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิธีพอเพียง” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โครงการนี้มีแนวคิดหลัก แนวคิดหลักของโครงการฯ มุ่งเน้นไปที่ 3 ส่วนสำคัญ คือ “รักษ์ป่า” ซึ่งเป็นตัวแทนของฐานทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า “สร้างคน” คือการมุ่งพัฒนาคนให้รู้ถึงศักยภาพของตนเอง ศักยภาพของชุมชน สามารถคิดเป็น พึ่งตัวเองได้ มีองค์ความรู้ สามารถใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงผู้อื่น “วิถีพอเพียง” คือการน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฎิบัติกับ เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่จะเป็นต้นแบบขยายผลสู่ตำบลอื่นๆ ได้ เน้นย้ำการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และยึดเอาความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก เน้นการสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนอย่างยั่งยืน มากกว่าที่จะใช้เงินเป็นตัวนำ โดย ปตท.ได้มีงบประมาณช่วยสนับสนุนการก่อตั้งกองทุนคนรักษ์ป่า ป่าสร้างคนกับพื้นที่ตำบล ซึ่งสนับสนุนงบประมาณหมู่บ้านละ 100,000 บาท ส่งเสริมให้เกิดกองทุนทั้งที่อยู่ในรูปตัวเงิน และมิใช่ตัวเงิน พร้อมทั้งสร้างความรู้ในการบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน และระบบสวัสดิการชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น กองทุนกู้ยืน กองทุนทักษะอาชีพ กองทุนรวม และกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งจะเป็นระบบคุ้มกันให้กับชุมชน การดำเนินกิจกรรมด้าน “กองทุน” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ”ทุน” ซึ่งเป็นแหล่งเงินแหล่งทรัพยากรของพื้นที่ตำบล โดยสร้างการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนสมัครเป็นสมาชิกในรูปแบบของหุ้นโดยขายหุ้น ละ 10 บาท 1-200 หุ้นต่อคน ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเดือน ต่อครั้ง โดยมีการจัดตั้งกรรมการกองทุน หมู่บ้านลา 7-13 คนมีวาระ 2 ปี และปี พ.ศ. 2543 อุดหนุนงบประมาณอีก 100,000 บาท ในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกมีการสนับสนุน บุคคลากรมาให้ความรู้ในการบริหารจัดการกองทุน จากสมาคม พัฒนาประชากร ( PPA) มีการฝึกอบรมให้ความรู้ เรื่องทักษะ การบริหารการเงิน การบัญชี การใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์
มีการสร้างเครือข่าย ในระดับตำบล มีการประชุมเครือข่าตำบลปีละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการปัญหา บทเรียนการบริหารจัดการธนาคาร มีที่ทำการของทุกหมู่บ้าน ปัจจุบัน มีเงินทุนหมุนเวียน ในระดับตำบล 13 หมู่บ้าน ประมาณ 13 ล้านบาท สมาชิก 6,400 คน
แนวคิดสำคัญเกิดจากความต้องการพัฒนาศักยภาพของคนในตำบลให้บริหารจัดการการเงินด้วยตัวเอง ส่งเสริมเรื่องการออมให้กับคนในพื้นที่ชุมชนมีวินัยในการออม ลดปัญหาหนี้นอกระบบมีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในพื้นที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกและครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างการมีส่วนร่วมความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นชุมชน พร้อมทั้งให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการของทรัพยากรธรรมชาติ(ป่าไม้)โดยใช้ธนาคารหมู่บ้าน มามีส่วนร่วมในการดูแลป่า
ขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ
- บริษัท ปตท.เข้ามาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ และวิธีการดำเนินงานของกองทุนฯ ร่วมกับชุมชนทุกหมู่บ้าน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ตำบลเช่น พัฒนาชุมชน อำเภอ
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการการในระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน โดยมีการแบ่งบทบาทภารกิจในการดำเนินงานกันอย่างชัดเจน
- มีการตั้งกฎระเบียบของธนาคารหมู่บ้าน และการอนุรักษ์ป่าร่วมกัน และมีการจัดเวรยามในการรักษาป่า
- มีการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน
- มีการเปิดรับสมัครสมาชิก มีการประชาสัมพันธ์/ชักชวนสมาชิกร่วม
- มีการประชุมของกรรมการอย่างต่อเนื่อง
- ฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพกรรมการศึกษาดูงาน นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้
- สร้างเครือข่ายการทำงาน
- มีการนำจัดสรรผลกำไรที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุน
- มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่นให้ทุนการศึกษาเด็กที่เป็นสมาชิกทุนละ 100 – 500 บาท เงินรับขวัญเด็กแรกเกิดกับบุตรของสมาชิก เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเป็นสมาชิก
- จัดสวัสดิการให้กับคนที่เข้าเวรยามเฝ้าระวังรักษาป่า
- มีระเบียบกติกาที่ชัดเจน
- มีการประชาสัมพันธ์ของกองทุนอย่างต่อเนื่อง
- จัดสวัสดิการให้กับ อาสาสมัคร ตั้งด่านชุมชน( ยาเสพติด อุบัติเหตุ เช่นอาหาร เครื่องดื่ม เบี้ยเลี้ยง
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นผล คือ คนในชุมชนมีการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบลดปัญหาหนี้สิน หนี้นอกระบบ คนในชุมชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีวินัยในการออม รู้จักวางแผนการจัดการชีวิต คนในชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดความรักความสามัคคีมีการช่วยเหลือกันในสังคม ชุมชนมีการเรียนรู้ ตระหนักรู้ วางแผน พึ่งพาตนเอง พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นผ่านกระบวนการจัดสวัสดิการชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาและจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน และทรัพยากรป่ามีความอุดมสมบูรณ์อเป็นแหล่งระบบนิเวศน์ที่สำคัญในพื้นที่ตำบล เกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม นำไปสู่งานพัฒนาด้านอื่นๆในตำบล และช่วยเหลืองานสังคม พื้นที่ไม่มีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง มีการรวมกันดำเนินงานกันทุกภาคส่วน มีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ การสร้างความเข้าใจและมีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน มีการทำงานแบบธรรมาภิบาล โปร่งใส
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม ได้แนวคิดเรื่องการจัดสวัสดิการให้ชุมชนนำไปสู่การจัดดูและตนเอง ในแต่ละกลุ่มในชุมชนมีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่มไปจัดการดูแลกันเองในกลุ่ม ร่วมไปถึงการดูและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลได้กระจายงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ทำให้พัฒนาชุมชนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากภาครัฐเห็นความสำคัญ และให้การสนับสนุนชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับว่ามีความเข้มแข็งในการเป็นตำบลต้นแบบของการ ดำเนินงานกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน ไปพร้อมกับการสร้างระบบสวัสดิการให้คนในพื้นที่ตำบล
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
- มีนโยบายดีๆ จากบริษัทเอกชนที่สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนโครงการ
- ทุนทางสังคมที่เข้มแข็ง มีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความพอเพียง มีความเอื้ออาทร มีจารีตประเพณีของการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมได้อย่างเข้มแข็ง
- ชุมชนมีบทเรียนและประสบการณ์จากในอดีตทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานและบุคคล
- องค์กรภายนอกต่างๆ มีนโยบายดี จาก ท้องถิ่นและจากภาครัฐมีงบประมาณหนุนเสริมซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการขับเคลื่อนงานการประสานงานระหว่างชุมชนชนกับหน่วยงานภายนอกอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม ความเอื้ออาทร กฎหมาย สถาบันทางสังคม กฎกติกาในการดูแลรักษาป่า การให้การยอมรับ การยกย่องให้เกียรติกับชุมชน
- ชุมชน ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ให้ความใส่ใจ, เน้นประชาสัมพันธ์, ชักนำชาวบ้านเข้าใจและร่วมทำ ทนแรงเสียดทาน สร้างแกนนำจิตอาสา สร้างแรงจูงใจ การมีกฎกติการ่วมชัดเจน มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทำให้ทุกครัวเรือนรู้บทบาทหน้าที่ในการเข้ามาส่วนร่วมในกระบวนการ การสร้างกระแสปลุกจิตสำนึก ส่งผลให้ชุมชนรักสิ่งแวดล้อม รักความสะอาด รักถิ่นเกิด มีใจอดทน และเป็นการช่วยสร้างเด็ก/เยาวชนในการสืบสานต่อ ท้องที่ /ท้องถิ่น ให้ความร่วมมือและสนับสนุน เรื่อง บุคคลากร เจ้าหน้าที่ เครื่องจักกล สถานที่ดำเนินการ สอบคล้องกับนโยบายแห่งรัฐ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าชุมชนจะมีความตระหนักในการดูแลทรัพยากรป่า แต่ว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ และจะเห็นได้ว่ายังมีการลักลอบตัดไม้ เผาป่าในพื้นที่อยู่ แม้ว่าจะมีปริมาณที่น้อยลง ยังขาดความต่อเนื่องของงบประมาณในการขับเคลื่อนงานทำให้การดำเนินงานบางครั้งเป็นไปได้ล่าช้า หน่วยงานภาครัฐบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร คนในชุมชนบางคนยังไม่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พื้นที่ป่า เนื่องจากเป็นเขตรอยต่อติดกับประเทศลาว จึงมีการลักลอบเข้ามาตัดไม้ ยากที่จะแก้ไข เพราะด้วยข้อกฎหมายของแต่ละประเทศ และชุมชนยังมีหนี้สิน พอกพูน ยังมีแหล่งทุนให้เลือกเช่น กองทุนหมู่บ้าน หนี้นอกระบบ ธกส.เป็นต้น