ตำบลโชคชัย มีเนื้อที่ประมาณ 170 ตารางกิโลเมตร หรือ 106,250 ไร่ นับเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกิ่งอำเภอดอยหลวง โดยแยกรายหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน (บ้านทุ่งกวาง บ้านแม่เลียบ บ้านดอยบ้านดอนงาม บ้านแม่บงใต้ บ้านหนองด่าน บ้านแม่บง บ้านโชคชัย บ้านขุนแม่บง บ้านสันต้นม่วง บ้านใหม่ดอนงาม และบ้านทุ่งกวางใต้) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,782 คน ชาย 4,521 คน หญิง 4,261 คน จำนวนครัวเรือน 3,230 ครัวเรือน ประชาชนร้อยละ 90 มีอาชีพทางด้านการเกษตร เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ตำบลโชคชัย มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำบง ได้ไหลผ่านทั้ง 12 หมู่บ้าน
ประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ประกอบด้วย 3 ชนชาติ คือ กระเหรี่ยง อิ้วเมี่ยน และชนพื้นเมือง โดยที่ชนชาติกระเหรี่ยง อาศัยอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านดอย และบ้านหนองด่าน ชนชาติอิ้วเมี่ยน อาศัยอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านสันต้นม่วง และบ้านขุนแม่บง ชนชาติพื้นเมือง อาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน คือ บ้านทุ่งกวาง , บ้านแม่เลียบ , บ้านดอนงาม , บ้านแม่บงใต้ , บ้านแม่บง , บ้านโชคชัย , บ้านใหม่ดอนงาม , บ้านทุ่งกวางใต้
ป่าชุมชน คือ พื้นที่ป่าไม้ที่ได้รับการจัดการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชน และองค์กรชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นป่าที่ประชาชนเข้าไปใช้สอยตามวิถีชีวิตของคนทุกคนในชุมชนนั้น ทั้งเรื่องการทำมาหากิน ระบบครอบครัวเครือญาติ ประเพณีความเชื่อ อำนาจและกฎระเบียบในชุมชน ป่าชุมชนจึงมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมินิเวศ และวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนในท้องถิ่น ดังนั้นป่าชุมชนของตำบลแม่เปา ซึ่งมี กำนันอุดม จันต๊ะวงค์ เป็นประธานในการดูแลมีเนื้อที่ทั้งหมด 1,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนในมีเมื่อก่อนเป็นทางคนเดินและปัจจุบันมีถนนล้อมรอบเพื่อสะดวกในการดูเมื่อก่อนมีการตัดไม้ทำงลายป่าจากชุมชนใกล้เคียง ในปี 2557 จึงมีกฎระเบียบในการดูแลรักษาป่าซึ่งมีคณะกรรมการป่าชุมชนเป็นผู้รักษากฎระเบียบ ซึ่งได้รับงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบลและป่าไม้ จะมีงบประมาณดูแลป้องกันไฟป่า
“คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้” หลักในการดูแลป่าบริเวณใกล้เคียงชุมชน จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเพื่อการอนุรักษ์ และส่วนเพื่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ จะเน้นให้คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ป่าเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่าเดิม ก็จะทำให้ดำเนินการอะไร ๆ ได้คล่องตัวขึ้น และเป็นไปตามความต้องการของชุมชนจริง ๆ ซึ่งเมื่อเกิดความร่วมมือกัน ชุมชนนั้นก็มีความเข้มแข็ง สามัคคี เกิดความสำนึกรักบ้านเกิด ผลักดันให้แรงงานคืนถิ่นกลับไปพัฒนาบ้านเกิด
“เป็นคลังอาหารชุมชน” ป่าชุมชนเปรียบเหมือน “คลังอาหารชุมชน” ที่จะช่วยลดรายจ่าย และสร้างรายได้ให้ชาวบ้านเพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านสามารถปลูกต้นไม้ ปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชน แล้วเก็บพืชผักสมุนไพร ของป่า ออกมาใช้สอยในครัวเรือนได้เก็บของป่าไปขาย ภายใต้กติกาชุมชนและกฎหมาย สร้างรายได้ให้ชุมชน นอกจากชาวบ้านจะสามารถเก็บของป่าออกมาไว้ใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถนำผลผลิตจากป่าไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้าได้อีก เช่น เก็บเห็ดไปขาย นำสมุนไพรจากป่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ต่อยอดพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชน ส่งขาย สร้างรายได้ให้ชุมชนได้อีกทาง โดยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกติกาที่ชุมชนตกลงร่วมกัน ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในป่า ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ดูแลป่าชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งน้ำ และนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้ ก็จะช่วยให้ชาวบ้านมีทรัพยากรในการประกอบอาชีพ เช่น ทำเกษตร ทำประมง ฯลฯ เลี้ยงดูครอบครัวและชุมชนได้อย่างยั่งยืน
“เกิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่”เมื่อเกิดการอนุรักษ์ก็สามารถพัฒนาป่าชุมชนให้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้คนทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยวเข้ามาซึมซับสัมผัสกลิ่นอายของป่า โดยชาวบ้านสามารถดำเนินการได้เองตามแผนบริหารจัดการที่ตกลงร่วมกัน เป็นการกระจายรายได้ ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน แล้วคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจะดียิ่งขึ้น
“เพิ่มพื้นที่สีเขียว”เมื่อให้ชาวบ้านเข้าไปดูแลและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ชาวบ้านก็จะช่วยกันปลูกป่า จัดการ ป้องกัน อนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลาย พื้นที่สีเขียวของชุมชนก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนในพื้นที่สัตว์น้อยใหญ่ได้พึ่งพิงป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ หากเราช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะทำให้ระบบนิเวศสมดุล และเกิดความหลากหลายทางชีวภาพตามมา จะเห็นได้ว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่ที่จะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งมีค่าที่ธรรมชาติสรรค์สร้างไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ป่าห้วยไม้งุ้นมี 6,000 ไร่ เป็นพื้นทีป่าต้นน้ำโดยมีการใช้ประโยชน์จากชุมชนซึ่งมีต้นไม้งุ้น ซึ่งมีอายุประมาณ 200 ปีมีขนาดใหญ่ขนาด 10 คนโอบ มีการบวชป่า ไม้ยางนา เห็ด หน่อไม้ แหล่งพืชสมุนไพร กบจุก จักจั่น แมงกุดจี่ ปูจั่ว เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ในป่า นานาชนิด
ปี 2548 มีโครงการปิดทองหลังพระ โดยนายอำเภอวิสิทธ์ ทวีสิน และคณะสงฆ์ เพราะได้รับหมู่บ้านปิดทองหลังพระมีการสำรวจข้อมูลชุมชน ป่าต้นน้ำ
ปี 2553 ครูบาเจษฎา มาทำพิธีบวชป่า โดยน้ำผ้าเหลืองมาผูกต้นไม้ไว้เพื่อป้องการตัดไม้ทำลายป่า
ปี 2554 กศน. สนับสนุนในการปลูกกล้วยไม้ในป่าเป็นประจำทุกปี จนถังปัจจุบัน
ปี 2559 เนื่องในวันครบรอบ 60พรรษาพระเทพมีการนำสมุนไพรในป่าห้วยไม้งุ้นไปเสนอภายใตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในนามจังหวัดเชียงราย (คัดเลือกโดยกรมป่าไม้เพราะสมุนไพรมีความสมบูรณ์
ปี 2557 เป็นต้นมาองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยได้สนับสนุน มีการเข้าไปทำแนวกันไฟ และป้องกันไฟป่า ลาดตะเวณดูแลป่า อย่างต่อเนื่องปัจจุบัน
กลวิธีสำคัญในการดำเนินงาน
- เตือน ปรับ โดยใช้กฎหมู่บ้าน ความเชื่อชุมชน
- สืบชะตาป่า / บวชป่า
- กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- มีคณะกรรมการ 25 คน มาจากผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน
- ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำหมู่บ้านช่วยกันดูแล รักษาป่า
- มีคนประมาณ 350 คนร่วมกันดูแล
กลไกการจัดการ(กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย/บทบาท)
- ชุด ชรบ อปพร ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำหมู่บ้านช่วยกันดูแล รักษาป่า
- ท้องถิ่นให้ความรู้ในการดูแล และจักการป่า
- มีชุดคณะกรรมการป่า หมู่ 7 บ้านแม่บง เป็นผู้ดูแลโดยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน และมีระเบียบป่าชุมชน กฎกติกาของหมู่บ้าน ห้ามตัดไม้ ล่าสัตว์ มีการปรับ ตามระเบียบหมู่บ้าน
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นผล ผู้นำเห็นความสำคัญของป่าและอนุรักษ์ ป่าอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ผู้นำเห็นป่าที่อุดมสมบูรณ์จึงเห็นความสำคัญของการจัดการป่าโดยชุมชน มีความสามัคคีในชุมชน ในทางด้านสังคมพบว่ามีแหล่งน้ำที่สะอาดในชุมชน มีแหล่งอาหารชุมชนที่หลากหลาย มีอากาศที่ดี ลดหมอกควัน ฝนตกตามฤดูการ มีความมั่นใจในการพัฒนาสินค้า เพิ่มมูลค่า มีโอกาสมากขึ้น มีทางเลือก ป่าไม้หน่วยที่ 15 สนับสนุน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กล้าไม้ เพื่อปลูกป่าเพื่ม กศน สนับสนุนเรื่องการปลูกกล้วยไม้
แผนที่จะทำต่อในระยะข้างหน้า จะต้องทำการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และทำการจัดการระบบน้ำที่เพียงพอและเหมาะสมต่อชุมชน รวมถึงเพิ่มจำนวนสัตว์ป่าโดยการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง