จากความร่วมมือในการดําเนินการงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการท้องถิ่นซึ่งเป็นโครงการที่ขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและส่วนราชการ โดยเฉพาะ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน ที่ได้จัดงบประมาณในการดําเนินการ ตลอดจนการสนับสนุนแนวทางการรับรองสภาพองค์กรชุมชนและการขับเคลื่อนสู่ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนที่อาศัยเครือข่ายองค์การชุมชนจังหวัดลำพูนและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่ได้หาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์ต่างๆ หรือ กลุ่มต่างๆ ในชุมชนตำบลบ้านกลาง
โดยได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการจัดสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนสวัสดิการชุมชน (ออมวันละบาท) ร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านกลาง โดยออกเวทีประชาคมจัดทำแผนสวัสดิการชุมชน จำนวน 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2550 โดยครั้งแรกได้จัดในช่วงเดือน กรกฎาคม 2550 และครั้งที่ 2 ช่วงเดือน กันยายน 2550 หลังเสร็จสิ้น การจัดทำแผนได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในหมู่บ้าน นอกจากนี้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ ชุมชนในหมู่บ้านได้ศึกษาดูงานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดโพธิ์ทอง รับฟังการบรรยายเรื่องกระบวนการ การดําเนินการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และกองทุนสวัสดิการชุมชน วัดโพธิ์ทอง จังหวัดจันทบุรี บรรยายโดยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อมนัส ขันติธมโม) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2551
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ได้ดําเนินการจัดตั้งระดับตำบลตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ในรูปของคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ สมาคมฌาปนกิจ สงเคราะห์ กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สภาเด็กและเยาวชน สภาองค์กรชุมชน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จะพัฒนามีความมั่นคง สามารถ ตอบสนองสวัสดิการสังคมให้กับสมาชิกได้อย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจึงได้ประสาน คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับหมู่บ้านให้เข้าร่วมเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลเพื่อให้ สามารถดําเนินการเป็นไปตามแนวทางสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ที่เห็นชอบแนวทางให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบงบประมาณให้กับกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยยึดหลักการประชาชนสมทบ 1 ส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบ 1 ส่วน และรัฐบาลสมทบ 1 ส่วน ภายใต้ชื่อ กองทุนสวัสดิการชุมชน เทศบาลตำบลบ้านกลาง โดยมีแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่โดดเด่นเป็นเลิศด้านการบริการจัดการกองทุน ที่ดีและมีธรรมาภิบาล ประกอบด้วย การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจกรรมต่าง ๆ ของกองทุนให้ เป็นไปในครรลองธรรม ยึดศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญูญูชนพึ่งมี และพึ่งปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซง จากองค์กรภายนอก โดยยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการบริหารในกองทุน เพื่อช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมให้กองทุนมีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ คณะกรรมการต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้การดำเนินงานของ กองทุนเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนทำให้การดำเนินงานในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา (1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ.2561) การดำเนินงานของกองทุนได้รับ ความศรัทธาเชื่อมั่น จากสมาชิกและบุคคล องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนที่โปร่งใสได้รับความไว้วางใจในการส่งเสริมสนับสนุนจากรัฐบาล จากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและที่สำคัญ คือ ได้รับความเชื่อมั่นจากสมาชิกของกองทุน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนส่งผลดีต่อเสถียรภาพและความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องแบบพอเพียงค่อยเป็นค่อยไปของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง

การประชุมสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน 1 ปี/ครั้ง รายงานผลการดำเนินงานในรอบปีและจัดทำงบดุล ให้สมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การเชื่อมโยงการจัดสวัสดิการชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาคีอื่น ๆ กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาล ตำบลบ้านกลาง ได้เน้นการทำงานบูรณาการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานและกลุ่มองค์กรทั้งภายใน และภายนอกตำบล ประกอบด้วย เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำพูน เครือข่ายสวัสดิการชุมชนอำเภอ เมืองลำพูน อำเภอบ้านธิ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดลำพูน สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลบ้านกลาง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมผู้พิการ กลุ่มทานตะวัน สมาคม ฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มอาชีพ สภาเด็ก และเยาวชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง ศูนย์เจริญวัยตำบลบ้านกลาง (เนอสเซอรี่) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านกลางโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านกลาง โดย หน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการภาคประชาชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะโดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนที่จะได้รับโดยมีหลักการและแนวทาง ดังนี้
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาล ตำบลบ้านกลาง ตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนฐานราก ฟื้นฟูทุนทาง สังคมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
2) ส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะ ทั้งด้าน การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้วยโอกาส การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการ พยาบาล การจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง
3) การสนับสนุนและการสมทบงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนมีกองทุนสวัสดิการชุมชนที่สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่ต้องได้รับการดูแลในชุมชน และเป็น การส่งเสริมให้ประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง นั้นยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องโดยการ รณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้กับคณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนได้ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเสียสละ ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย โดยการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรม ภายในชุมชน เพื่อเสริมสร้างทักษะในด้านของคุณธรรมและจริยธรรมให้กับสมาชิก ให้มีจิตสานึกและประพฤติ ตนอยู่ในสิ่งที่ดีงาม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีระเบียบวินัย ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน ชุมชน ชุมชนเกิดความร่วมมือและความเข้มแข็ง เป็นส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนและ สนับสนุนกิจกรรมของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ดังนี้
1) สนับสนุนให้มีการประชุมชี้แจงสมาชิกกองทุน ประชาชนทั่วไป สร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อ ขยายฐานสมาชิกให้ครอบคลุมประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ กองทุนสำหรับสมาชิกและคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน
3) สนับสนุนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นบริการสาธารณะ ภายใต้อํานาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน จากความเห็นชอบร่วมกัน ของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน
การดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ยึดองค์ประกอบด้านความ โปร่งใส (Transparency) 1) ความโปร่งใสด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร กองทุนให้ข้อมูลข่าวสารและเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ ของกองทุนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1.การประชุมประจำทุกเดือนของ คณะกรรมการเพื่อปรึกษาหารือการดำเนินงานของกองทุนฯ แจ้งข้อมูลการส่งเงินสมทบของสมาชิก ข้อมูลการสมทบเงินจากรัฐบาล ข้อมูลการสมทบจากเทศบาล ข้อมูลการขอรับเงินสวัสดิการของสมาชิกและส่งรายชื่อ ผู้รับสวัสดิการพื้นฐาน 8 ด้านของสมาชิกกองทุนฯ
2.มีการประชุมใหญ่ของสมาชิกกองทุนฯประจำปี เพื่อสรุป รายงานผลงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลางและแจ้งนโยบายแนวทางการพัฒนา กองทุนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน ขยายผลการสมัครเป็นสมาชิกใหม่
3) ความโปร่งใสด้านระเบียบกฎหมาย กองทุนมีวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับระเบียบกฎหมาย โดยถือตามมติคณะรัฐมนตรีประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เรื่อง แนวทางการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนสวัสดิการชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและออกระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาล ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อดำเนินงานด้านต่าง ๆ เช่น หมวด 1 ทั่วไป หมวด 2 วัตถุประสงค์ หมวด 3 สมาชิก หมวด 4 คณะกรรมการบริหารกองทุน หมวด 5 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก กองทุน หมวด 6 สวัสดิการของกองทุน หมวด 7การดำเนินงานของกองทุน มีขั้นตอนในการรับบริการที่ ชัดเจนโปร่งใสเป็นธรรมแก่สมาชิกทุกคนจัดบริการสวัสดิการได้ทันที่เมื่อได้รับการร้องขอตามสิทธิ์
4) ความโปร่งใสด้านระบบบัญชี การเบิกจ่ายของสมาชิกและการตรวจสอบบัญชี กองทุน สวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ได้จัดทำบัญชีแยกออกเป็น 2 บัญชี ดังนี้คือ
1.บัญชีงบสำรองจ่าย สวัสดิการให้แก่สมาชิก
2.บัญชีงบดำเนินงานและเพื่อการพัฒนา ในการเบิกจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิก คณะกรรมการระดับหมู่จะเป็นผู้รับเอกสารและตรวจสอบเอกสารการขอรับเบื้องต้น ก่อนนำเสนอเบิกต่อ คณะกรรมการระดับตำบล โดยมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตรวจสอบอีกครั้งก่อนเสนออนุมัติเบิกเงินจ่ายให้แก่ สมาชิก
การดำเนินงานยึดโดยยึดหลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งสามารถจะแบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วม ของประชาชนออกได้ ดังนี้
1) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในการดำเนินงานด้านกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาล ตำบลบ้านกลางเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุดแต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรก ของการที่ภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการ มีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถ ใช้ช่องทางต่างๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดแถลงข่าว การติดประกาศและการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซด์
2) การับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้าน กลางเป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อ ประกอบการตัดสินใจของประชาชนเองและของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีประชาคมในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน
3) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานหรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การ ตัดสินใจในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการ บริหารงานของภาครับ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย
4) ความร่วมมือในกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง เป็นการให้กลุ่มประชาชน ผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจและมีการดำเนิน กิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการ
5) การเสริมอํานาจแก่ประชาชนในกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง เป็นขั้นที่ให้ บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะ ต่าง ๆ โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ที่มอบอํานาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ทั้งหมดในรูปแบบของคณะกรรมการและนอกจากนี้การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อนจึงต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน การรับฟัง ความคิดเห็น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาทักษะและศักยภาพของเจ้าหน้าที่ควบคู่กันไปด้วย
คณะกรรมการของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง แต่ละคนต่างจะทำหน้าที่ของ ตนเอง ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ และมีความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่สมาชิกด้วยความเต็มใจ อำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในด้านต่างๆ เช่น การรับฝากเงินสมทบของสมาชิก รวมไปถึงการสนับสนุน ช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ การให้คำแนะนำทางด้านสวัสดิการชุมชน นอกจากนี้แล้วยังมีการส่งเสริมให้สมาชิก ได้รู้จักความรับผิดชอบในการชำระเงินกู้ และส่งฝากเงินได้ตรงเวลา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและรักษาความดีที่ได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ให้เป็นแบบอย่างแก่สมาชิกคนอื่นๆต่อไป ในการเบิกจ่ายสวัสดิการชุมชนเทศบาล ตำบลบ้านกลางให้กับสมาชิก สมาชิกต้องมีอายุการเป็นสมาชิกครบระยะเวลา 180 วัน โดยการจ่ายสวัสดิการ ให้กับสมาชิก หลังจากมีการนำเงินเข้าบัญชีธนาคาร คณะกรรมการหรือสมาชิกของแต่ละหมู่บ้านจะต้องนำ เอกสารที่เกี่ยวข้องมาเบิกสวัสดิการพร้อมกับใบสำคัญรับเงินในขอรับสวัสดิการในด้านต่าง ๆ ซึ่งทางเหรัญญิก กองทุนสวัสดิการชุมชน จะเป็นผู้จ่ายเงินสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามที่กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้าน กลางได้กําหนดเบี้ยการจ่ายในแต่ละประเภท
คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง มีการประชุมหารือประจำเดือน จำนวน 12 ครั้งในหนึ่งปี เป็นการประชุมดําเนินการในสิ่งต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสียและผลกระทบที่ ส่งผลถึงต่อกองทุน ต่อคณะกรรมการ หรือต่อตัวสมาชิก คณะกรรมการจะนึกถึงเสมอว่าเงินทุนต่างๆนั้นมีอยู่ อย่างจํากัด การจะลงทุนทำสิ่งใดจะต้องได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุดโดยใช้งบประมาณน้อยที่สุดเท่าที่ เป็นไปได้ การพิจารณาถึงการจัดสวัสดิการชุมชน ว่ามีปัจจัยนำเข้าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผลผลิตที่เกิดขึ้น โดยความมีประสิทธิภาพของการจัดการสวัสดิการจะประกอบด้วย ดังนี้
1) ประสิทธิภาพในภาพรวมเป็นการพิจารณาถึงสวัสดิการที่มีการจัดการในภาพรวม ว่ามี ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนโดยรวมเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผลผลิตที่เกิดขึ้น
2) ประสิทธิภาพในระดับย่อย เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของการจัด สวัสดิการในแต่ละเรื่องเปรียบเทียบกับการจัดการสวัสดิการรูปแบบอื่น ๆ
3) ประสิทธิภาพในการจูงใจเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัด สวัสดิการที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมอย่างไรก็ตามการตัดสินใจในการจัดสวัสดิการนั้น การพิจารณาถึงประสิทธิภายในภาพรวมต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ หรือทำให้เกิดผลน้อยที่สุดด้วย รวมถึงต้องมีความมั่นใจว่าด้วยการกระจายค่าใช้จ่ายไปสู่การจัดสวัสดิการแต่ละเรื่องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกลางเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มุ่งให้เป็นฐานรากของการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชนบนพื้นฐาน “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” การจัดสวัสดิการชุมชน คือ การสร้างหลักประกันเพื่อความ มั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายถึงการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจัดสวัสดิการชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพและการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ดังนี้
- เพื่อให้ทุกครัวเรือนทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางได้รับการยอมรับจากทุกคนว่าท่านเป็นสมาชิก ของหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางและสมาชิกผู้แสดงตนได้ให้สัจจะว่ามีความปรารถนาที่จะอยู่รวมกันกับทุกคน ด้วยความรัก ความผูกพันต่อกัน
- เพื่อให้สมาชิกผู้แสดงตนได้ให้สัจจะต่อทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางว่า มีความปรารถนาที่จะ น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องความพอเพียง พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันตนเอง โดยใช้ความรู้ควบคู่คุณธรรมมากำกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมร่วมกัน
- เพื่อให้สมาชิกผู้แสดงตนได้ให้สัจจะต่อทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านกลาง มีความปรารถนาที่จะ แสดงออกถึงความเป็นสมาชิกของหมู่บ้านฮักหละปูนแทนคุณแผ่นดินอย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งสัจจะที่จะสร้าง วินัยในการออมเพื่อสวัสดิการตนเอง ครอบครัวและหมู่บ้านอย่างน้อยวันละ 1 บาท หรือเดือนละ 30 บาท หรือปีละ 360 บาท เพื่อสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกลาง
- เพื่อให้สมาชิกผู้แสดงตน ได้ให้สัจจะต่อหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางว่า มีความปรารถนาที่จะเข้า ร่วมเวทีประชาคมของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกลางทุกครั้ง
- เพื่อให้สมาชิกผู้แสดงตนได้ให้สัจจะต่อหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางว่ามีความปรารถนาที่จะจัดสรร งบประมาณทุกประเภทที่หมู่บ้านได้รับจากทุกแหล่งมาสมทบสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกลางไม่น้อยกว่า 20 %
- เพื่อให้สมาชิกผู้แสดงตนได้ให้สัจจะต่อทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านกลางว่า มีความปรารถนาที่จะ สร้างสังคมที่สุขสงบช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักแบ่งปันและให้อภัยซึ่งกัน เกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรภาค ประชาชนและเกิดประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชุมเข้มแข็งเกิดความสมานฉันท์ สามัคคีและส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
- เพื่อส่งเสริมสนับสนุนแผนงานด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและมี ความสอดคล้อง สนับสนุนยุทธศาสตร์ของท้องถิ่น สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยยึด หลักหุ้นส่วนการพัฒนา ประชาชนออม 1 ส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ส่วน รัฐบาล 1 ส่วน ในการ สร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนฐานราก เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านกลางในการจัดบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ
การดำเนินงานของกองทุน
- การดำเนินงานมีการเลือกตัวแทนสมาชิกในชุมชนเข้ามาทำหน้าที่กรรมการในรูปเครือข่ายองค์กร ชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดย มีคณะกรรมกองทุน 32 คน
- หลักฐานการออมกลุ่ม องค์การสวัสดิการชุมชนต้องยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายองค์การ สวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ลงลายมือชื่อต่อคณะกรรมการและมีผู้รับผลประโยชน์ต่อคณะกรรมการลงลายมือชื่อรับรอง ตรวจสอบเอกสารในการยื่นสมัครสมาชิกกองทุนและอนุมัติ ให้เข้าเป็นสมาชิก
- การออมเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง มีหลักฐานที่คณะกรรมการ ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการออมเงิน และได้บันทึกในสมุดคู่ฝากไว้เป็นหลักฐานการออมเงินให้ตรงกัน
- การฝากเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ดําเนินการฝากในสถาบันการเงินของรัฐและสถาบันการเงินที่รัฐถือหุ้นอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 3 บัญชี ประกอบด้วย บัญชีที่ 1 บัญชีเพื่อจ่ายสวัสดิการขั้นพื้นฐาน บัญชีที่ 2 บัญชีทุนดําเนินการและเพื่อการพัฒนา บัญชีที่ 3 บัญชีทุนสำรอง
- กฎระเบียบข้อบังคับให้เครือข่ายองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง มีข้อบังคับขององค์กรและระเบียบต่าง ๆ ของกองทุน ไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
- การเสนองบดุลให้คณะกรรมการดำเนินการนำเสนองบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและรับรอง ต่อที่ประชุมได้พิจารณา อนุมัติเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบผลการ ดาํเนินงาน
- ทะเบียนและบัญชีในกลุ่ม องค์กรกองทุนมีทะเบียนสมาชิกทะเบียนอื่นๆ เช่นทะเบียนออมเงิน สมุดรายงานการประชุม บัญชีตามแนบที่เครือข่ายกําหนด และบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วมี ความพร้อมขององค์กร
- การตรวจสอบบัญชีเครือข่ายองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง ต้องมีการตรวจสอบบัญชีทุกครั้งที่ฝ่ายตรวจสอบต้องการที่จะทราบข้อมูลโดยผู้สอบบัญชีซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- มีระบบการประชุมคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง 1 เดือน/ครั้ง เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา
- การลงพื้นที่เพื่อแนะนำ ประชาสัมพันธ์กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกลาง และการรับสมัครสมาชิก กองทุนฯ ผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน
- การเผยแพร่ข่าวสารกองทุนผ่านช่องทางออนไลน์ เพจกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านกลาง