โครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมระบบสวัสดิการชุมชนอีสาน ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง
1. กระบวนการถอดบทเรียน
กระบวนการถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นกองทุนตัวแทนของกลุ่มจังหวัดเจริญราชธานีศรีโสธร ประกอบไปด้วย จังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ และยโสธร จัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 13.00 น. ณ ห้องประชุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหนองเรือ อยู่ติดกันกับที่ทำการของกองทุนฯ ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน ในครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลผู้ที่สนับสนุนกองทุน สมาชิกกองทุนสวัสดิการ และผู้ที่เคยได้รับการจัดสวัสดิการจากกองทุน และมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร เป็นผู้ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ รวมจำนวน ประมาณ 30 คน โดยมีอาจารย์นิรันดร คำนุ นายไชยา พลขาง นางสาวคีย์ญาชล เวฬุวนารักษ์ และนายชัยสิทธิ์ แนวน้อย เป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียน และมีนางสาวสิระมนตร์ เวฬุวนารักษ์เป็นผู้บันทึกข้อมูล ซึ่งมีประเด็นในการถอดบทเรียนมีดังนี้
1) เป้าหมายและการก่อตั้งของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
2) การดำเนินงาน/ระบบการจัดการ/ระบบการเงิน/ระบบข้อมูลของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
3) การบรรลุเป้าหมายของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
4) สิ่งที่ต้องเติมเต็มและพัฒนาของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
กระบวนการถอดบทเรียน เริ่มต้นจากการ ทำความรู้จัก แนะนำตัวแต่ละภาคส่วนที่เข้าร่วม ชี้แจงความเป็นมาของการจัดเวทีถอดบทเรียน และประเด็นในการถอดบทเรียนกองทุน ตัวแทนกองทุนฯนำเสนอ การดำเนินงานตามประเด็นที่ถอดบทเรียน พร้อมทั้งมีการซักถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่คณะผู้วิจัยค้นพบจากการถอดบทเรียนกองทุนฯ อื่น และในช่วงสุดท้ายคณะผู้วิจัยประมวลสรุปสิ่งที่ค้นพบจากการถอดบทเรียนครั้งนี้
ข้อมูลทั่วไปกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือตั้งอยู่ที่ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองยโสธร ประมาณ 13 กิโลเมตรทาง ทิศตะวันออกของตัวจังหวัดยโสธร มีขนาดพื้นที่ 21,144 ไร่ หรือ 14 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน 5 ชุมชน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านหนองเรือ หมู่ 2 บ้านหนองเรือ (คุ้มกลาง) หมู่ 3 บ้านหนองเรือ หมู่ 4 บ้านหนองสรวง หมู่ 5 บ้านนาสีนวล หมู่ 6 บ้านนาสีนวล หมู่ 7 บ้านดอนกลอง หมู่ 8 บ้านดอนกลอง และหมู่ 9 บ้านหนองเรือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลหนองเรือเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา และมีอาชีพรอง คือ เย็บที่นอนและหมอน จักสานกระติบข้าว และจักสานกระด้ง มีประชากรทั้งหมด 3,914 คน แยกเป็นชาย 2,065 คน หญิง 1,849 คน รวมจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,017 คน โดยมีคนในชุมชนเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 1,541 คน คิดเป็นร้อยละ 39 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบล แบ่งเป็นวัยแรงงาน จำนวน 839 คน เด็กและเยาวชน จำนวน 319 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 354 คน คนพิการ จำนวน 26 คน และเป็นพระภิกษุ จำนวน 3 รูป (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561) จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของสมาชิกส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และรองลงมาคือผู้สูงอายุที่มีจำนวนใกล้เคียงกันกับจำนวนของเด็กและเยาวชน โดยในปัจจุบันกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบหนองเรือมีการจัดสวัสดิการทั้งสิ้น 16 ประเภท ได้แก่ 1. สวัสดิการเกิด (คลอดบุตร) 2. สวัสดิการเจ็บป่วย 3. สวัสดิการคืนความสุข 4. สวัสดิการช่วยเหลือการจัดการงานศพ 5. สวัสดิการงานบวช 6. สวัสดิการงานแต่ง 7. สวัสดิการงานขึ้นบ้านใหม่ 8. สวัสดิการงานบุญกฐิน 9. สวัสดิการงานบุญกฐินสามัคคี 10. สวัสดิการเกณฑ์ทหารหรือสมัครทหาร 11. สวัสดิการทุนการศึกษา 12. สวัสดิการส่งเสริมอาชีพ 13. สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติ 14. สวัสดิการและค่าตอบแทนคณะทำงานผู้ทำหน้าที่เก็บเงินออม 15. สวัสดิการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน และ 16. สวัสดิการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
2. บทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
เป้าหมายและการก่อตั้งของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอาฮี
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือได้จัดตั้งขึ้นตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับนโยบายนี้ โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือในขณะนั้นที่ให้ความสนใจในเรื่องการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เนื่องจากต้องการที่จะเห็นการจัดสวัสดิการที่มีความเสมอภาคของคนในชุมชน และไม่เหมือนกับประกันชีวิตที่สามารถทำได้เฉพาะคนบางกลุ่มในชุมชนเท่านั้น ต่อมาสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธรได้มีส่วนช่วยในการตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยให้การสนับสนุนให้คำปรึกษาและจัดกิจกรรมศึกษาดูงานกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ก่อตั้งไปแล้วภายในจังหวัดยโสธรเอง ซึ่งทำให้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่ในขณะนั้นยังอยู่ในช่วงการศึกษาและหาแนวทางในการก่อตั้งได้ทราบถึงโครงสร้างของกองทุน การดำเนินงาน รวมไปถึงระเบียบของกองทุนอื่น ๆ ที่ได้จัดตั้งไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้กองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 โดยในตอนแรกตั้งนั้นมีการจัดสวัสดิการทั้งสิ้น 4 ด้าน คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีสมาชิกแรกตั้ง 552 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนทุกเพศ ทุกวัย ในตำบลให้เกิดจิตสำนึกรับผิดชอบร่วมกัน เกิดการประสานความร่วมมือจัดระบบสวัสดิการเพื่อสังคมและชุมชน อีกทั้งยังได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้านและการรวมกลุ่ม เป็นการส่งเสริมให้มีการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือและประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ในชุมชน นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนยังช่วยลดช่องว่างความเป็นอยู่ของสมาชิกให้เกิดความเสมอภาคและความสันติสุขร่วมกันเหมือนญาติพี่น้อง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการก่อตั้งของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือมีเป้าหมายเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนฐานรากและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมในการพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ทำให้ประชาชนในตำบลหนองเรือได้รับสวัสดิการที่มั่นคงและดูแลกันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต แสดงให้เห็นว่ากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือได้มีการเน้นเรื่องของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสวัสดิการชุมชน และเน้นการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชน คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้กองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือมีความมั่นคงและยั่งยืน และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือเป็นการจัดสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน เพื่อชุมชนที่แท้จริง
กระบวนการดำเนินงานกองทุน
– โครงสร้าง กลไกการทำงาน และ ภาคี และบทบาทหน้าที่
คณะทำงานในตอนเริ่มก่อตั้งกองทุนนั้นเป็นคณะทำงานที่มาจากการเป็นจิตอาสา คือ ไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ ให้ เนื่องจากกองทุนยังไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ ทำให้คนที่จะมาเป็นคณะทำงานนั้นต้องมีจิตสาธารณะ และมีความเสียสละเป็นอย่างมาก แต่คณะทำงานเหล่านี้ก็ได้อาสามาทำงานเพื่ออยากให้คนในชุมชนมีสวัสดิการที่ดี ได้รับอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยในตอนแรกตั้งนั้นผู้ที่ผลักดันให้มีการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือขึ้น ก็คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือในขณะนั้น นายยงยุท เชื้อบัณฑิต ที่เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนคนแรกจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างของคณะทำงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือประกอบไปด้วย คณะกรรมการหมู่ที่ 1 จำนวน 4 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 2 จำนวน 5 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 3 จำนวน 2 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 4 จำนวน 3 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 5 จำนวน 4 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 6 จำนวน 2 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 7 จำนวน 3 คน คณะกรรมการหมู่ที่ 8 จำนวน 2 คน คณะกรรมการหมูที่ 9 จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ อบต. จำนวน 4 คน รวมเป็น 31 คน ซึ่งกรรมการเหล่านี้ในปัจจุบันก็มีสวัสดิการให้ในการทำงาน คือจะมีการจ่ายเงินสมทบให้แก่กรรมการ หรือก็คือการที่กรรมการไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ทางกองทุนจะจ่ายให้ในแต่ละปี ปีละ 365 บาท ในส่วนของกรรมการเก็บเงินนอกจากจะไม่ได้จ่ายเงินสมทบแล้ว ยังได้รับค่าเก็บเงินสมทบและค่าเดินทางในการมาส่งเงิน โดยนับตามจำนวนสมาชิกที่เก็บเงินสมทบได้ โดยจะได้ 3 บาทต่อการเก็บเงินสมาชิก 1 คน (3 บาท/คน/3 เดือน) นอกจากจะมีกรรมการในกองทุนแล้วยังมีคณะกรรมการที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กำนันตำบลหนองเรือ ปลัดอบต.หนองเรือ รองนายกอบต.หนองเรือ เลขานุการนายกอบต.หนองเรือสมาชิกสภาอบต. ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียนในตำบลหนองเรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเรือ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ สารวัตรกำนัน รวมถึงแพทย์ประจำตำบล แสดงให้เห็นว่ากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือนั้นมีความเข้มแข็งในเรื่องของความร่วมมือของคนในชุมชน และภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชน สามารถที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และสร้างความไว้วางใจให้แก่คนในสังคมได้
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือในช่วงเริ่มต้นนั้นได้มีคณะทำงานที่เกิดจากการอาสาทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ชาวบ้านและชุมชนจะได้รับจากการตั้งกองทุนเป็นที่ตั้ง ดังนั้นกรรมการจึงมีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน อีกทั้งก่อนที่จะดำเนินงานต่างๆของกองทุนก็ได้มีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลักการของสวัสดิการให้แก่คณะกรมการได้ทราบ ทำให้กรรมการมีความเข้าใจในเรื่องของกองทุนสวัสดิการชุมชนว่าเป็น “กองบุญ” ไม่ใช่การออมเงิน ซึ่งเป็นการให้คนในชุมชนร่วมกันสมทบเงินเพื่อช่วยเหลือกันเองในชุมชน ส่งผลให้ในการอธิบายหรือประชาสัมพันธ์ให้คนมาเข้าร่วมกองทุนฯส่วนใหญ่สามารถที่จะเข้าใจหลักการของกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ โดยในการประชาสัมพันธ์จะมีการออกประชาคมตามหมู่บ้านต่างๆ แจ้งวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับสมาชิกอย่างชัดเจนว่ากองทุนสวัสดิการชุมชนไม่ใช่กลุ่มออมทรัพย์ แต่เป็นกองบุญที่ให้คนในชุมชนมีการสมทบเงิน เพื่อที่จะนำไปจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนเอง เป็นการดูแลกันและกันในชุมชน ซึ่งในระยะแรกกองทุนมีงบประมาณน้อย ประกอบกับมีการจัดสวัสดิการที่ยังไม่เข้าที่ คือมีการจ่ายสวัสดิการเป็นจำนวนเงินที่สูง คณะทำงานได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงที่กองทุนจะต้องเผชิญเมื่อเงินสมทบในกองทุนเริ่มที่จะน้อยลง ทำให้กองทุนต้องมีการจัดประชุมหารือกับทั้งคณะทำงานและสมาชิก เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ โดยได้มีการปรับกฎระเบียบของกองทุนร่วมกัน และได้มีการทำผ้าป่ากองบุญของกองทุนเพื่อเพิ่มเงินสมทบให้แก่กองทุน และด้วยเหตุนี้ทำให้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือมีการจัดประชุมใหญ่ประจำทุกปี และมีการประเมินสถานการณ์ของกองทุน เพื่อที่จะทำให้กองทุนมีความมั่นคง และสามารถที่จะดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
– ระบบการทำงาน
ในการทำงานของกรรมการเก็บเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือจะมีการเก็บเงินสบทบจากสมาชิกทุก 3 เดือน จะเก็บทุกวันที่ 10 ในเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม โดยมีกรรมการแต่ละหมู่บ้านรับผิดชอบในการเก็บเงิน กรรมการเก็บเงินของตำบลหนองเรือมีทั้งสิ้น 17 คน ซึ่งมีทั้งการการเดินเก็บเงินในหมู่บ้าน และการนั่งเป็นจุดเพื่อให้สมาชิกแต่ละหมู่บ้านเดินทางมาส่งเงินสมทบ กรรมการเก็บเงินแต่ละคนจะมีสมุดทะเบียนคุมของแต่ละหมู่บ้าน สมาชิกก็จะมีสมุดบันทึกเงินสมทบ และในการเก็บเงิน สมาชิกจะต้องนำสมุดมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ ในการเก็บเงินแต่ละครั้งก็จะมีปัญหาที่บางครั้งไม่สามารถเก็บเงินสมทบได้ครบ หรือสมาชิกบางคนติดธุระไม่สามารถที่จะจ่ายเงินสมทบได้ทันภายในวันที่กำหนด กรรมการเก็บเงินก็จะมีการออกเงินสมทบให้ก่อน และจะตามเก็บในภายหลัง การนำส่งเงินของกรรมการเก็บเงินจะนำส่งทุกวันที่ 11 ของเดือนที่มีการเก็บเงิน โดยกรรมการแต่ละหมู่บ้านก็จะมีการนำเงินมาส่งที่ที่ทำการกองทุนฯและนำไปฝากที่ธนาคารภายในวันนั้น นอกจากนี้ในวันที่ 11 ที่มีการส่งเงินนั้น กรรมการเก็บเงินแต่ละหมู่บ้าน และคณะกรรมการของกองทุนก็จะมีการประชุมสรุปยอดเงินทั้งการรับเงินสมทบ และการจ่ายสวัสดิการ อีกทั้งในการประชุมก็ได้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการดำเนินงาน การจ่ายสวัสดิการ หรือในการเก็บเงิน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และให้กรรมการในกองทุนทุกคนรับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นร่วมกันด้วย ในการรับสมัครสมาชิกจะเปิดรับในวันที่ 1-10 ของเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม หรือก็คือรับในเดือนที่มีการเก็บเงินสมทบจากสมาชิก เพื่อสะดวกในการดำเนินงานและบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมของฝ่ายบันทึกข้อมูล ในการประชาสัมพันธ์กองทุนฯใช้วิธีการมอบเงินสวัสดิการในวันงานที่มีผู้คนในชุมชนสามาถที่จะเห็นได้ นอกจากนี้ทางกองทุนฯยังมีการทำงานจิตอาสาช่วยงาน งานศพ ก็จะมีการนำพวงรีดถาวรของกองทุนฯ การจัดดอกไม้ การจัดผ้า ตกแต่งสถานที่ เป็นการลงแรงช่วยเหลือกันภายในชุมชน โดยมีแกนหลักเป็นกรรมการของกองทุนฯ เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ที่ขอรับสวัสดิการนอกจากจะได้สวัสดิการเป็นตัวเงินแล้ว ยังได้รับน้ำใจจากคนในชุมชนเองซึ่งเป็นสวัสดิการที่เป็นการช่วยเหลือกันอย่างแท้จริง
ภาพการประชุมประจำปี ภาพการเก็บเงินสมทบ
– การจัดเก็บข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลของกองทุนฯในตอนแรกตั้งนั้นทางกองทุนฯได้มีการเรียนรู้โปรแกรมมาจากกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสว่าง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ซึ่งใช้โปรแกรม Excel ในการทำบัญชี แต่ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธรในการจัดฝึกอบรมการทำบัญชีของแต่ละกองทุน ซึ่งเชิญวิทยากรจากวิทยาลัยเทคนิคยโสธรมาช่วยในการจัดทำบัญชี โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ นำโปรแกรม Excel มาใช้ ซึ่งมีการออกแบบรูปแบบตาราง การทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายของกองทุนฯ โดยในการใช้โปรแกรมจะมีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น เหรัญญิก และผู้ช่วยเหรัญญิกของกองทุนในการจัดทำบัญชี โดยจะมีการกรอกข้อมูลและสรุปข้อมูลในทุกรอบที่มีการส่งเงิน และในการประชุมใหญ่ประจำปีของกองทุนฯคณะกรรมการก็จะมีการปริ้นและนำเสนอให้แก่กรรมการและสมาชิกทุกคนทราบถึงรายรับ รายจ่าย การจ่ายสวัสดิการ รวมถึงยอดเงินคงเหลือ เพื่อร่วมกันประเมินถึงความเสี่ยงของความอยู่รอดของกองทุนฯ และเตรียมการรับมือ เช่น มีการปรับลดสวัสดิการค่าทำศพ เป็นต้น นอกจากโปรแกรมที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้กำหนดว่าต้องใช้โปรแกรม V.2 เพื่อที่จะขอรับเงินสมทบ ซึ่งทางกองทุนฯจะมีการบันทึกข้อมูลลงไปในโปรแกรมนี้เพื่อขอรับการสมทบจากทางพอช. ซึ่งทางกองทุนเคยได้รับการสมทบจาก พอช.มาทั้งสิ้น 4 รอบ รวมเป็นเงิน 971,620 บาท ในส่วนของระบบข้อมูลของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่นอกจากจะมีการจัดทำบัญชีในโปรแกรม Excel แล้ว ระบบฐานข้อมูลสมาชิกก็ได้เชื่อมกับระบบบัญชี คือสามารถที่จะสรุปข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนได้ว่าเคยสมทบเท่าไหร่ และมีการรับสวัสดิการไปเท่าไหร่ในด้านอะไรบ้าง
– การบริหารจัดการงบประมาณ
จำนวนเงินของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้ดังนี้ เงินฝากธนาคาร จำนวน 1,868,863.74 บาท ซื้อสลากออมทรัพย์ทวีสิน จำนวน 1,000,000 บาท เงินสดสำรองจ่าย จำนวน 29,200 บาท รวมทั้งสิ้น 2,898,063.74 บาท โดยทางกองทุนฯจะมีการสรุปการรับเงินสมทบและการจ่ายสวัสดิการในที่ประชุมทุกครั้ง อีกทั้งยังมีการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ให้แก่กรรมการ และสมาชิกที่จะมาเข้าร่วมประชุมใหญ่ได้ฟังสรุปผลการดำเนินงานของกองทุนในรอบปี อีกทั้งในการประชุมในแต่ละครั้งก็จะมีการประเมินความเสี่ยงของกองทุนจากการดูรายการการจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิกมีเป็นจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ จากนั้นจึงจะมีการหารือ ปรึกษาหาแนวทางการแก้ไขร่วมกันระหว่างกรรมการ และนำเสนอให้แก่สมาชิกทราบทุกครั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตาม ทำให้กองทุนมีความโปร่งใสในการยริหาร เพราะมีการทำงานที่เป็นระบบ เช่น การฝากเงินสมทบที่จะฝากภายในวันที่รับเงินจากกรรมการหมู่บ้าน หรือก็คือวันที่ 11 ของเดือนที่มีการเก็บเงิน นอกจากนี้ในการจ่ายสวัสดิการหากเงินที่ถือสำรองไว้จ่ายสวัสดิการไม่เพียงพอ ทางกรรมการจะมีการประสานไปที่เหรัญญิกเพื่อทำการเบิกเงินให้สามารถจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิกได้อย่างทันท่วงที
จะเห็นได้ว่ากองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือยังได้มีการบริหารจัดการการเงินของกองทุนที่ดี คือมียอดเงินคงเหลือในการนำไปใช้จ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกทั้งหมด 2,898,063.74 บาท แยกเป็นเงินฝากธนาคาร จำนวน 1,868,863.74 บาท ซื้อสลากออมทรัพย์ทวีสิน จำนวน 1,000,000 บาท และมีเงินสดสำรองจ่ายที่ถืออยู่ในมือของกรรมการ จำนวน 29,200 บาท นอกจากจะมียอดคงเหลือมากแล้ว กองทุนฯยังมีการนำเงินไปซื้อสลากซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินฝากและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับกองทุนฯ โดยในการลงทุนซื้อสลากนั้นก็เพิ่มให้ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเพิ่มมากขึ้น และยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลที่ทางสลากออกมาได้อีกด้วย ซึ่งเงินที่เกิดจากการซื้อสลากนี้ก็ให้ถือว่าเป็นเงินของกองทุนฯที่จะนำมาใช้ในการจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนต่อไป
– ระบบการติดตามสนับสนุน/ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
การติดตามสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ทั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร (พมจ.ยโสธร) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชนต่างๆ รวมไปถึงขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดยโสธรด้วยที่ได้ให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ บุคลากร และการให้คำปรึกษาแนะนำ ดังจะเห็นได้จากการที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ได้เข้ามาสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ โดยมีการสบทบมาแล้วทั้งสิ้น 4 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 100,000 บาท รอบที่ 2 ปี พ.ศ. 2556 จำนวน 256,595 บาท รอบที่ 3 ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 345,655 บาท และรอบที่ 4 ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 269,370 บาท รวมทั้งสิ้น 971,620 บาท นอกจากพอช.แล้วหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนกองทุนฯเป็นอย่างดีตลอดมาก็คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ สถานที่ในการประชุม สถานที่ตั้งของที่ทำการกองทุนฯ วัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงให้การสนับสนุนในเรื่องบุคคลากรที่ให้มาช่วยในเรื่องระบบการทำบัญชีและระบบข้อมูล ซึ่งก็ได้มีการสอนงาน สอนการใช้โปรแกรม การบันทึกข้อมูล รวมไปถึงการนำข้อมูลออกมาใช้ในการประชุมหรือนำเสนอแก่หน่วยงานภายนอกให้แก่เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิกเพื่อที่กองทุนฯจะสามารถจัดการและนำข้อมูลต่างๆไปใช้ได้ ในการสนับสนุนงบประมาณนั้นไดมีการสนับสนุนมาแล้ว 6 ครั้ง โดยแบ่งเป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สมทบ 202,940 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สมทบ 100,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 สมทบ 110,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สมทบ 110,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สมทบ 110,000 บาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สมทบ 110,000 บาท รวมเป็นเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 742,940 บาท
ภาพที่ทำการกองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือ
ในส่วนของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร (พมจ.ยโสธร) ก็ได้มีการเข้ามาสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ในช่วงก่อตั้งกองทุน คือ มีการสนับสนุนตั้งแต่แรกเริ่ม โดยมีการจัดการศึกษาดูงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัด ทำให้กองทุนฯตำบลหนองเรือได้มีโอกาสได้เห็นตัวอย่างของกองทุนสวัสดิการอื่นๆ และสามารถนำมาปรับใช้ในกองทุนฯได้ อีกทั้งพมจ.ยโสธรยังได้มีส่วนให้การสนับสนุนโดยให้บุคลากรในการให้คำปรึกษาและประสานงาน อีกทั้งยังมีหน่วยงานอื่นๆที่ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณผ่านโครงการต่างๆที่ลงมาในชุมชน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนงบประมาณโครงการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ด้วยสุขภาพดีตามวิถีพอเพียงตำบลหนองเรือเป็นจำนวนเงิน 162,100 บาท และกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดยโสธรสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ และที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ เป็นจำนวนเงิน 10,460 บาท นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรในชุมชนที่มีส่วนสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานต่างๆของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชนต่างๆ รวมไปถึงขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดยโสธรที่ให้การสนับสนุนในเรื่องการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเรื่องเอกสารต่าง ๆ อีกด้วย
– ความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานกองทุน/สิ่งดี ๆ ที่เกิดจากกองทุนฯ
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนให้แก่คนในชุมชนอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน โดยในปัจจุบันตำบลหนองเรือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มีประชากรทั้งหมด 3,914 คน แยกเป็นชาย 2,065 คน หญิง 1,849 คน รวมจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,017 คน โดยมีคนในชุมชนเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 1,541 คน คิดเป็นร้อยละ 39 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบล แบ่งเป็นวัยแรงงาน จำนวน 839 คน เด็กและเยาวชน จำนวน 319 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 354 คน คนพิการ จำนวน 26 คน และเป็นพระภิกษุ จำนวน 3 รูป (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561) จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของสมาชิกส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และรองลงมาคือผู้สูงอายุที่มีจำนวนใกล้เคียงกันกับจำนวนของเด็กและเยาวชน ซึ่งการบรรลุเป้าหมายในข้อแรกก็คือ การที่คนในตำบลหนองเรือมีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนฯอย่างทั่วถึง โดยมีสัดส่วนที่เน้นไปที่กลุ่มวัยแรงงาน วัยสูงอายุ และกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจากคนกลุ่มนี้แล้วยังมีการขยายไปสู่กลุ่มผู้พิการและพระภิกษุด้วย จะเห็นได้ว่าจากกลุ่มช่วงอายุของสมาชิกจะเห็นได้ถึงความมั่นคงของกองทุน เพราะสัดส่วนของกลุ่มแรงงานและเด็กนั้นมีมาก ทำให้ความมั่นคงของกองทุนฯก็มีแนวโน้มที่จะสามารถอยู่ต่อไปได้อีกเป็นระยะเวลานาน และแม้ว่าจำนวนสมาชิกกองทุนจะยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของประชากรทั้งหมด แต่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือก็มีการพัฒนามาอย่างช้าๆแต่มั่นคง โดยในตอนแรกตั้งกองทุนฯนั้น มีสมาชิกเพียง 552 คนเท่านั้น ดังนั้น ทางกองทุนฯจึงมีการการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป สมาชิกเข้าใจในหลักการและระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชน คนในชุมชนมีความเชื่อมั่นในระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รักใคร่สามัคคี เพื่อที่จะพัฒนากองทุนฯให้มีความมั่นคงและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จของการดำเนินงานในการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการจัดสวัสดิการ ที่ในตอนแรกตั้งนั้นกองทุนฯได้มีการจัดสวัสดิการเพียง 4 ด้าน คือ เกิด แก่ เจ็บ และเสียชีวิตเท่านั้น แต่ทางกองทุนมีความพยายามและมีความต้องการที่จะทำให้กองทุนบรรลุเป้าประสงค์คือ การที่คนในชุมชนมีสวัสดิการที่ครอบคลุมมากไปกว่าเกิด แก่ เจ็บ และตาย ดังนั้นในแต่ละปีก็จะมีการประชุมหารือ และเพิ่มสวัสดิการที่คนในชุมชนสามารถได้รับอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยมองว่าการเพิ่มสวัสดิการไม่เพียงแต่เป็นการให้เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำใจในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย จะเห็นได้จากประเภทของสวัสดิการที่กองทุนฯได้จัดในปัจจุบันที่มีครอบคลุมกับความต้องการของสมาชิกกองทุนฯมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีการจัดสวัสดิการทั้งสิ้น 16 ประเภท ได้แก่ สวัสดิการเกิด (คลอดบุตร) สวัสดิการเจ็บป่วย สวัสดิการคืนความสุข สวัสดิการช่วยเหลือการจัดการงานศพ สวัสดิการงานบวช สวัสดิการงานแต่ง สวัสดิการงานขึ้นบ้านใหม่ สวัสดิการงานบุญกฐิน สวัสดิการงานบุญกฐินสามัคคี สวัสดิการเกณฑ์ทหารหรือสมัครทหาร สวัสดิการทุนการศึกษา สวัสดิการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติ สวัสดิการและค่าตอบแทนคณะทำงานผู้ทำหน้าที่เก็บเงินออม สวัสดิการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน และสวัสดิการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยในการจัดสวัสดิการด้านงานศพทางกองทุนฯยังมีการทำงานจิตอาสาช่วยงาน งานศพ ก็จะมีการนำพวงรีดถาวรของกองทุนฯ การจัดดอกไม้ (ดอกไม้ปลอมประดับที่ทางพมจ.สนับสนุนในการประกอบอาชีพ) การจัดผ้า ตกแต่งสถานที่ เป็นการลงแรงช่วยเหลือกันภายในชุมชน โดยมีแกนหลักเป็นกรรมการของกองทุนฯ เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ที่ขอรับสวัสดิการนอกจากจะได้สวัสดิการเป็นตัวเงินแล้ว ยังได้รับน้ำใจจากคนในชุมชนเองซึ่งเป็นสวัสดิการที่เป็นการช่วยเหลือกันอย่างแท้จริง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกและกองทุนฯ ทำให้สมาชิกของกองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือมีการบริจาคเงินคืนให้กองทุนอยู่บ่อยครั้ง เพื่อต้องการที่จะสืบสาน และอยากให้กองทุนคงอยู่เพื่อช่วยเหลือกันในชุมชนต่อไป
นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือยังได้มีประสบความสำเร็จในเรื่องการบริหารจัดการการเงินของกองทุน คือมียอดเงินคงเหลือในการนำไปใช้จ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกทั้งหมด 2,898,063.74 บาท แยกเป็นเงินฝากธนาคาร จำนวน 1,868,863.74 บาท ซื้อสลากออมทรัพย์ทวีสิน จำนวน 1,000,000 บาท และมีเงินสดสำรองจ่ายที่ถืออยู่ในมือของกรรมการ จำนวน 29,200 บาท นอกจากจะมียอดคงเหลือมากแล้ว กองทุนฯยังมีการนำเงินไปซื้อสลากซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินฝากและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับกองทุนฯ โดยในการลงทุนซื้อสลากนั้นก็เพิ่มให้ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเพิ่มมากขึ้น และยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลที่ทางสลากออกมาได้อีกด้วย ซึ่งเงินที่เกิดจากการซื้อสลากนี้ก็ให้ถือว่าเป็นเงินของกองทุนฯที่จะนำมาใช้ในการจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนต่อไป
– การบรรลุตามเป้าหมายการจัดสวัสดิการ
การบรรลุเป้าหมายของการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการจัดสวัสดิการ ที่ในตอนแรกตั้งนั้นกองทุนฯได้มีการจัดสวัสดิการเพียง 4 ด้าน คือ เกิด แก่ เจ็บ และเสียชีวิตเท่านั้น แต่ทางกองทุนมีความพยายามและมีความต้องการที่จะทำให้กองทุนบรรลุเป้าประสงค์คือ การที่คนในชุมชนมีสวัสดิการที่ครอบคลุมมากไปกว่าเกิด แก่ เจ็บ และตาย ดังนั้นในแต่ละปีก็จะมีการประชุมหารือ และเพิ่มสวัสดิการที่คนในชุมชนสามารถได้รับอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยมองว่าการเพิ่มสวัสดิการไม่เพียงแต่เป็นการให้เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำใจในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย จะเห็นได้จากประเภทของสวัสดิการที่กองทุนฯได้จัดในปัจจุบันที่มีครอบคลุมกับความต้องการของสมาชิกกองทุนฯมากขึ้น โดยมีการจัดสวัสดิการทั้งสิ้น 16 ประเภท ได้แก่
- สวัสดิการ เกิด (คลอดบุตร) แม่นอนโรงพยาบาลจ่ายคืนละ 100 บาท ไม่เกิน 5 คืนต่อครั้งต่อคนไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีต่อคน และผูกแขนทำขวัญเด็ก 500 บาท ต่อคนต่อคน กรณีบิดาเป็นสมาชิกจะได้รับสวัสดิการผูกแขนทำขวัญเด็ก 500 ต่อคน โดยต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าบิดา มารดา เป็นสมาชิกทั้ง 2 คน ให้ใช้สวัสดิการได้เพียงสิทธิ์เดียว
- สวัสดิการเจ็บป่วย (การนับเป็นวัน นับเฉพาะคืนที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล)สมาชิกป่วยนอนโรงพยาบาลได้รับสวัสดิการคืนละ 100 บาท ปีละไม่เกิน 20 คืน หรือปีละไม่เกิน 2,000 บาท
- สวัสดิการคืนความสุข โดยจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกที่ส่งเงินออมสัจจะครบ 5 ปีขึ้นไป และไม่ได้รับสวัสดิการเรื่องอื่นๆ ในรอบ 5 ปี โดยจ่ายคืนเงินออมให้คนละ 300 บาททุกๆ 5 ปี
- สวัสดิการช่วยเหลือการจัดการงานศพ โดยมีการจ่ายสวัสดิการตามการเข้าเป็นสมาชิก ได้แก่
- การเป็นสมาชิกที่ส่งเงินสัจจะครบ 6 เดือน จะได้รับค่าทำศพ 2,000 บาท
- การเป็นสมาชิกส่งเงินสัจจะครบ 1 ปี จะได้รับค่าทำศพ 3,000 บาท
- การเป็นสมาชิกส่งเงินสัจจะครบ 2 ปี จะได้รับค่าทำศพ 5,000 บาท
- การเป็นสมาชิกส่งเงินสัจจะครบ 4 ปี จะได้รับค่าทำศพ 7,000 บาท
- การเป็นสมาชิกส่งเงินสัจจะครบ 10 ปี ขึ้นไป จะได้รับค่าทำศพ 10,000 บาท
นอกจากจะมีการจ่ายสวัสดิการที่เป็นตัวเงินแล้ว ทางกองทุนฯยังมีการทำงานจิตอาสาช่วยงาน เช่นมีการนำพวงรีดถาวรของกองทุนฯมาวาง การจัดดอกไม้ในงาน (ดอกไม้ปลอมประดับที่ทางพมจ.สนับสนุนในการประกอบอาชีพ) การจัดผ้า การตกแต่งสถานที่ และการช่วยงานอื่นๆภายในงานศพ
ภาพการจ่ายสวัสดิการการจัดงานศพ
- สวัสดิการงานบวช จ่ายสวัสดิการช่วยเหลืองานบวชให้กับสมาชิกหรือคนในครอบครัวสมาชิก (ถ้าครัวเรือนที่เป็นสมาชิกหลายคนให้จ่ายเฉพาะหัวหน้าครัวเรือน) โดยต้องเป็นการบวชครั้งแรก จะได้รับเงินสวัสดิการ จำนวน 300 บาท
- สวัสดิการงานแต่ง โดยสมาชิกต้องมีอายุระหว่าง 18-35 ปี และต้องเป็นการแต่งงานครั้งแรก ได้รับเงินสวัสดิการ จำนวน 300 บาท (กรณีเป็นสมาชิกทั้ง 2 คน จะได้รับสวัสดิการทั้ง 2 คน)
- สวัสดิการงานขึ้นบ้านใหม่ โดยต้องเป็นบ้านที่ปลูกใหม่เท่านั้นและต้องทำบุญขึ้นบ้านใหม่โดยมีหลักฐานการจัดงานในการขอรับสวัสดิการ จะได้รับเงินสวัสดิการ จำนวน 300 บาท
- สวัสดิการงานบุญกฐินโดยจ่ายให้สมาชิกหรือคนในครอบครัวสมาชิก (ถ้าครัวเรือนที่เป็นสมาชิกหลายคนให้จ่ายเฉพาะหัวหน้าครัวเรือน) จะได้รับสวัสดิการ จำนวน 300 บาท
- สวัสดิการงานบุญกฐินสามัคคีโดยต้องเป็นการจัดงานส่วนรวมเป็นความพร้อมเพรียงของชุมชนนั้นๆ จะได้รับสวัสดิการ จำนวน 500 บาท (โดยนำภาพกิจกรรมเป็นหลักฐานในการเบิกสวัสดิการ)
- สวัสดิการเกณฑ์ทหารหรือสมัครทหาร โดยสมาชิกได้รับเงินสวัสดิการก่อนวันไปรายงานตัว จำนวน 300 บาท โดยใช้หลักฐาน คือหมายนัดเข้ารับราชการทหาร (สด.40)
- สวัสดิการทุนการศึกษา โดยจ่ายให้กับสมาชิกที่ส่งเงินสัจจะครบ 1 ปีขึ้นไป และกำลังศึกษาโดยจ่ายสวัสดิการทุกปี ปีละ 200 บาท
- สวัสดิการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก โดยจ่ายตามความต้องการของสมาชิกและความเหมาะสม ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
- สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติ โดยช่วยเหลือรายละไม่เกิน 1,000 บาท ต่อปี โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม
- สวัสดิการและค่าตอบแทนคณะทำงานผู้ทำหน้าที่เก็บเงินออม โดยกองทุนฯจ่ายเงินออมสัจจะให้กับคณะทำงาน และจ่ายค่าตอบแทนในการจัดเก็บเงินและนำส่งเงินออมของสมาชิกตามจำนวนสมาชิกคนละ 3 บาท / 3 เดือน
- สวัสดิการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน โดยจ่ายตามความต้องการและความเหมาะสม ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
- สวัสดิการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม (เช่น รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, โรงทานน้ำดื่มในงานพุทธาภิเษก)
– สิ่งที่ยังต้องเพิ่มเติม/หรือต้องพัฒนากองทุนทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือต้องการที่จะพัฒนากองทุนอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป สมาชิกเข้าใจในหลักการและระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชน คนในชุมชนมีความเชื่อมั่นในระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รักใคร่สามัคคี โดยการเพิ่มสมาชิกจะเริ่มจากการประชาสัมพันธ์กองทุนฯให้เป็นที่รู้จักแก่คนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน เช่น งานบุญ งานประเพณี งานบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆในชุมชน หรือการมอบสวัสดิการให้แก่สมาชิก เป็นต้น อีกทั้งให้คณะกรรมการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมกับกองทุนฯ แต่ภายในครัวเรือนยังมีคนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมให้มาเข้าร่วม พร้อมทั้งโน้มน้าวผ่านครอบครัวที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ให้แนะนำคนอื่น ๆ หรือญาติมิตรให้เข้ามาสมัครด้วย นอกจากนี้ทางกองทุนฯยังมีความต้องการที่จะเพิ่มสวัสดิการเพื่อให้ครอบคลุมและคนสามารถเข้าถึงสวัสดิการที่หลากหลายได้มายิ่งขึ้น โดยสวัสดิการที่เพิ่มเข้ามาอาจจะไม่ได้เน้นในเรื่องการการจ่ายสวัสดิการที่เป็นตัวเงิน แต่อาจจะออกมาในรูปแบบของการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากขึ้น หรือก็คือกองทุนฯต้องการที่จะเพิ่มประเภทของการจัดสวัสดิการให้มีความหลากหลายเพื่อให้คนเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม แต่ใช้งบประเมินน้อยลง เน้นเรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกันที่ไม่ใช่ตัวเงินแทน อีกทั้งทางกองทุนฯยังต้องการขยายสวัสดิการไปสู่คนที่ด้อยโอกาส และคนที่ไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ให้พวกเขาสามารถที่จะเข้าถึงสวัสดิการได้มากยิ่งขึ้น
ในส่วนของการเชื่อมต่อภาคีภายนอกกองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือก็มีความต้องการที่จะเชื่อมต่องานกับหน่วยงาน ทั้ง พมจ. อปท. และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กองทุนฯเพิ่มบทบาทในการช่วยเหลือคนในชุมชน เช่น หากในชุมชนมีผู้ที่ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของกองทุนฯหรือไม่ ก็อาจจะมีการส่งเรื่องต่อไปที่พมจ. เพื่อที่จะหาโครงการที่จะสามารถช่วยเหลือได้ หรือก็คือการใช้กองทุนฯเป็นข้อต่อให้แก่คนในชุมชน เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน
3.บทเรียนและข้อค้นพบที่สำคัญพื้นที่
กระบวนการถอด
กระบวนการในการถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือก่อนที่จะเริ่มการถอดบทเรียน คณะผู้ดำเนินการก็ได้มีการแนะนำตัว พร้อมทั้งบอกเป้าประสงค์ของการมาถอดบทเรียนในครั้งนี้ มีการพูดคุยเพื่อผ่อนคลายบรรยากาศ บรรยากาศในการถอดบทเรียนไม่ตึงเครียด ทำให้ในการสอบถามข้อคำถามต่างๆกรรมการและสมาชิกของกองทุนฯไม่เกร็งและสามารถที่จะตอบคำถามได้ตรงประเด็น ประกอบกับการที่เจ้าหน้าที่จากพมจ.เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย และร่วมพูดคุย และช่วยตอบในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ในกระบวนการเขียนสรุปนั้น ทางคณะดำเนินการขาดการเตรียมการ โดยไม่มีการเตรียมการหรือเตรียมประเด็นคำถามระหว่างผู้สอบถามกับผู้ที่เขียนสรุป ทำให้ในการเขียนสรุปอาจจะมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน และอาจจะมีประเด็นที่ตกหล่นได้ ดังนั้นในการถอดบทเรียนครั้งหน้าควรที่จะมีการนัดประชุมเตรียมงาน เพื่อที่จะสามารถทำงานประสานกันได้ดีมากยิ่งขึ้น
ภาพการถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
บทเรียนที่พบจากพื้นที่
ในการถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือครั้งนี้ พบว่า กองทุนฯมีจุดเด่นคือ การที่คนในชุมชนมีความเข้าใจกองทุนสวัสดิการชุมชนว่าเป็นกองบุญ ไม่ใช่การออมเงิน ทำให้คนในชุมชนไม่มีปัญหาในเรื่องจากอยากขอเงินออมคืน หรือการต้องการเงินปันผล เพราะเขามองว่ากองทุนสวัสดิการชุมชนนั้นเป็นการรวมบุญ หรือการ โฮมบุญกันของพี่น้องในการที่จะนำเงินมาช่วยเหลือคนในชุมชนของเราเอง ส่งผลให้ชุมชนมีความสามัคคีและมีความเข้มแข็ง สามารถที่จะจัดการตนเองได้ ประกอบกับรูปแบบการจัดสวัสดิการของกองทุนที่ไม่เน้นการให้เป็นตัวเงิน แต่เน้นเป็นเรื่องจิตอาสาก็คือ การลงมือลงแรงช่วยเหลือกัน ก็ทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการมีอยู่ของกองทุน ร่วมกันสนับสนุนโดยการมีการบริจาคเงินคืนเข้ากองทุน หรือแม้แต่การทำผ้าป่ากองทุน ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากคนในชุมชน นอกจากนี้จุดเด่นอีกข้อของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือก็คือ การที่คณะทำงานที่เกิดจากการอาสาทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ชาวบ้านและชุมชนจะได้รับจากการตั้งกองทุนเป็นที่ตั้ง ดังนั้นกรรมการจึงมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อชุมชน
ในส่วนของระบบข้อมูลของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่นอกจากจะมีการจัดทำบัญชีในโปรแกรม Excel แล้ว ระบบฐานข้อมูลสมาชิกก็ได้เชื่อมกับระบบบัญชี คือสามารถที่จะสรุปข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนได้ว่าเคยสมทบเท่าไหร่ และมีการรับสวัสดิการไปเท่าไหร่ในด้านอะไรบ้าง จึงทำให้ข้อมูลของสามารถนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงของกองทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจากการสรุปข้อมูลในโปรแกรม Excel ในส่วนของการบริหารจัดการการเงินของกองทุนเป็นการบริหารกองทุนฯที่ค่อนข้างดี เนื่องจากมียอดเงินคงเหลือในการนำไปใช้จ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกทั้งหมด 2,898,063.74 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มาก แยกเป็นเงินฝากธนาคาร จำนวน 1,868,863.74 บาท ซื้อสลากออมทรัพย์ทวีสิน จำนวน 1,000,000 บาท และมีเงินสดสำรองจ่ายที่ถืออยู่ในมือของกรรมการ จำนวน 29,200 บาท นอกจากจะมียอดคงเหลือมากแล้ว กองทุนฯยังมีการนำเงินไปซื้อสลากซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเงินฝากและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับกองทุนฯ โดยในการลงทุนซื้อสลากนั้นก็เพิ่มให้ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเพิ่มมากขึ้น และยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลที่ทางสลากออกมาได้อีกด้วย ซึ่งเงินที่เกิดจากการซื้อสลากนี้ก็ให้ถือว่าเป็นเงินของกองทุนฯที่จะนำมาใช้ในการจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนต่อไป
สัดส่วนของสมาชิกกองทุนฯก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญของกองทุนฯหนองเรือคือ สมาชิกส่วนใหญ่จะช่วงอายุอยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และรองลงมาคือผู้สูงอายุที่มีจำนวนใกล้เคียงกันกับจำนวนของเด็กและเยาวชน ซึ่งการบรรลุเป้าหมายในข้อแรกก็คือ การที่คนในตำบลหนองเรือมีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนฯอย่างทั่วถึง โดยมีสัดส่วนที่เน้นไปที่กลุ่มวัยแรงงาน วัยสูงอายุ และกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจากคนกลุ่มนี้แล้วยังมีการขยายไปสู่กลุ่มผู้พิการและพระภิกษุด้วย จะเห็นได้ว่าจากกลุ่มช่วงอายุของสมาชิกจะเห็นได้ถึงความมั่นคงของกองทุน เพราะสัดส่วนของกลุ่มแรงงานและเด็กนั้นมีมาก ทำให้ความมั่นคงของกองทุนฯก็มีแนวโน้มที่จะสามารถอยู่ต่อไปได้อีกเป็นระยะเวลานาน และแม้ว่าจำนวนสมาชิกกองทุนจะยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของประชากรทั้งหมด แต่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือก็มีการพัฒนามาอย่างช้าๆแต่มั่นคง
ในส่วนสุดท้ายที่ถือได้ว่าบรรลุเป้าประสงค์ของการก่อตั้งกองทุนก็คือการดำเนินงานในการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการจัดสวัสดิการ ที่ในตอนแรกตั้งนั้นกองทุนฯได้มีการจัดสวัสดิการเพียง 4 ด้าน คือ เกิด แก่ เจ็บ และเสียชีวิตเท่านั้น แต่ทางกองทุนมีความพยายามและมีความต้องการที่จะทำให้กองทุนบรรลุเป้าประสงค์คือ การที่คนในชุมชนมีสวัสดิการที่ครอบคลุมมากไปกว่าเกิด แก่ เจ็บ และตาย ดังนั้นในแต่ละปีก็จะมีการประชุมหารือ และเพิ่มสวัสดิการที่คนในชุมชนสามารถได้รับอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยมองว่าการเพิ่มสวัสดิการไม่เพียงแต่เป็นการให้เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำใจในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย จะเห็นได้จากประเภทของสวัสดิการที่กองทุนฯได้จัดในปัจจุบันที่มีครอบคลุมกับความต้องการของสมาชิกกองทุนฯมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีการจัดสวัสดิการทั้งสิ้น 16 ประเภท ได้แก่ สวัสดิการเกิด (คลอดบุตร) สวัสดิการเจ็บป่วย สวัสดิการคืนความสุข สวัสดิการช่วยเหลือการจัดการงานศพ สวัสดิการงานบวช สวัสดิการงานแต่ง สวัสดิการงานขึ้นบ้านใหม่ สวัสดิการงานบุญกฐิน สวัสดิการงานบุญกฐินสามัคคี สวัสดิการเกณฑ์ทหารหรือสมัครทหาร สวัสดิการทุนการศึกษา สวัสดิการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติ สวัสดิการและค่าตอบแทนคณะทำงานผู้ทำหน้าที่เก็บเงินออม สวัสดิการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน และสวัสดิการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งนอกจากการจ่ายสวัสดิการเป็นตัวเงินแล้วทางกองทุนฯยังได้มีการทำงานจิตอาสาช่วยงานผู้ที่มาขอรับสวัสดิการ เช่น ในงานศพก็จะมีการนำพวงรีดถาวรของกองทุนฯมาวาง การจัดดอกไม้ในงาน (ดอกไม้ปลอมประดับที่ทางพมจ.สนับสนุนในการประกอบอาชีพ) การจัดผ้า การตกแต่งสถานที่ และการช่วยงานอื่นๆภายในงานศพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนเป็นทุนเดิม หากแต่กองทุนฯนำมาปรับใช้และนำเสนอว่ามันเป็นสวัสดิการที่เป็นการช่วยเหลือกัน สร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน ความร่วมมือในชุมชนถูกดึงขึ้นมาเป็นจุดเด่น ทำให้ในการดำเนินงานต่างๆชุมชนก็มีความกระตือรือร้น และมีจิตอาสาในการทำงาน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถนำไปสู่การจัดการตนเองได้ในอนาคต
ภาพสรุปการถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเรือ
ข้อสังเกตที่มีต่องานกองทุนสวัสดิการ
กองทุนสวัสดิการตำบลหนองเรือ เป็นกองทุนที่เข้มแข็ง ค่อนข้างที่จะมีความมั่นคง แต่ก็มีประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ การที่ประธานของกองทุนฯนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ ทำให้อาจจะเกิดข้อกังขาในเรื่องของการใช้กองทุนเป็นฐานเสียงทางการเมือง ถึงแม้จะไม่ได้มีในข้อห้ามของคุณสมบัติของการเป็นประธานกองทุน แต่ในการดำเนินงานต่างๆต้องทำด้วยการคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนในชุมชนที่จะได้ประโยชน์เป็นหลัก นอกจากนี้ข้อสังเกตที่น่าสนใจของกองทุนฯหนองเรือก็คือ การที่คนในชุมชนมีความเสียสละ และเห็นแก่ประโชยน์ของส่วนรวม จะเห็นได้จากการที่คนในชุมชนเมื่อได้รับสวัสดิการก็จะมีการบริจาคเงินคืนเข้าสู่กองทุน โดยการทำเช่นนี้ก็ทำให้เกิดเป็นค่านิยมในการที่คนร่วมกันทำบุญเพื่อช่วยเหลือและนำไปจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนเอง เรียกได้ว่าเป็นกงอทุนสวัสดิการที่เป็นการรวมบุญ หรือเป็นกองบุญที่ทำให้กองทุนมีความมั่นคงงและยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น