ประวัติความเป็นมา
ตำบลหนองปรือเป็นตำบลที่เก่าแก่ ตั้งมาประมาณ 100 ปี เริ่มจากมีชุมชนเล็ก ๆ เข้ามาอยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากตำบลวัดหลวงและตำบลไร่หลักทอง อาชีพดั้งเดิมคือ การทำไร่และเลี้ยงนก
อาณาเขตตำบลหนองปรือ
ตำบลหนองปรือมีเนื้อที่ทั้งหมด 32.66 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21,897 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ต.หัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
ทิศใต้ ติดกับ ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
ด้านสภาพพื้นที่
ลักษณะสภาพอากาศร้อนชื้น มี 3 ฤดู ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ด้านอาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ อาชีพเสริม จักสาน
ความเป็นมาของ โครงการบ้านพอเพียงตำบลหนองปรือ
โดยก่อตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนในปี 2551 มีสมาชิกทั้งหมด 28 คน โดยมี นายเฉียบ เหรีญทอง เป็นประธาน จากการชักชวนของขบวนจังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นจึงได้เริ่มก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยมีสมาชิกทั้งหมด 879 คน ต่อในปี 2561 ทางขบวนจังหวัดชลบุรี ได้มาชักชวนให้มาจัดตั้งโครงการบ้านพอเพียงในตำบล โดยเป็นตำบลนำร่องโครงการ เพื่อซ่อมแซมบ้านให้แกผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในชุมชน โดยเป็นโครงการที่จะซื้ออุปกรณ์ให้กับครอบครัวผู้เดือดร้อนในส่วนที่อยู่อาศัยที่ทำการสำรวจมา และได้รับการคัดเลือกในจำนวนเงินหลังละ 18,000 บาท ซึ่งหากการซ่อมแซมมีส่วนเกินที่มากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับ ทางผู้เดือดร้อนจะต้องเป็นผู้จ่ายเองในส่วนนั้น รวมไปถึงค่าช่างที่เข้ามาทำการซ่อมแซมด้วย ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงที่ช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ที่ต้องการจะซ่อมแซมบ้านของตัวเองในส่วนที่จำเป็น เพื่อให้สามารถอยู่อาศัยได้
ช่วงแรก ทางสภาองค์กรชุมชนเห็นว่าโครงการนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากในส่วนของ อบต. ทั้งในเรื่องของช่างที่จะมาประเมินและเจ้าหน้าที่ทำเอกสาร จึงได้มาคุยปรึกษากับทาง อบต. ซึ่งนายสมานมิตร เหลืองอ่อน ดำรงตำแหน่งนายก อบต.หนองปรือ ได้เห็นความสำคัญจึงได้ร่วมกัน จัดตั้งคณะกรรมการบ้านพอเพียงหนองปรือขึ้น โดยในของคณะกรรมการจะมีตัวแทนจากทั้ง ผู้นำชุมชน อบต. ร้านก่อสร้างในพื้นที่ ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน รวมถึงผู้บริหาร อบต. เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยมี กำนันหนองปรือเป็นประธานคณะกรรมการ หลังจากที่ก่อตั้งคณะกรรมการแล้วจึงได้ให้ ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนแต่ละหมู่ไปสำรวจ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยและนำข้อมูลมานำเสนอต่อคณะกรรมการ ซึ่งในครั้งแรกมีผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนขอเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นประมาณ 30 ราย แต่เนื่องจากงบประมาณบ้านพอเพียงที่ลงมาครั้งแรกมีเพียง 12 หลัง จึงทำให้คณะกรรมการต้องทำการคัดเลือกผู้ที่ได้รับความเดือดที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนก่อน เมื่อได้รายชื่อของผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว ทางคณะกรรมจะส่งช่าง ลงไปสำรวจและประเมินสิ่งของที่จะต้องใช้ซ่อมแซม หลังจากทางคณะกรรมการก็จะประสานไปยังร้านวัสดุในพื้นที่เพื่อเบิกจ่ายของมาให้ยังบ้านที่เดือดร้าน โดยทางคณะกรรมการมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียงว่า ผู้ที่จะขอเข้าโครงการจะต้องเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์วันละบาทของชุมชนก่อนแล้ว หลังจากซ่อมแซมเสร็จแล้ว ก็จะหักเงินในส่วนโครงการออกจาก เงินออมกลุ่มออมทรัพย์วันละบาท ของผู้ที่เข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียง เมื่อซ่อมเสร็จทางคณะกรรมการก็จะมาตรวจงานและเก็บข้อมูล
ช่วงที่สอง โดยโครงการเริ่มต้นในปี 2561 ในครั้งแรกหลังจากสำรวจบ้านที่เดือดร้อนทั้งหมด 30 หลัง โดยในปีแรกได้รับงบประมาณ บ้านพอเพียงทั้งหมด 12 หลัง ทางคณะกรรมการจึงได้พิจารณาและคัดเลือกผู้ที่ได้รับความเดือดที่ต้องรีบให้การช่วยเหลือก่อน หลังจากนั้นในปี 2562 ได้รับงบประมาณบ้านพอเพียงเพิ่มอีก 20 รวมเป็น 32 หลัง รวมทั้งสิ้นเป็น 37 หลัง เนื่องจาก อบต.หนองปรือ นั้นได้มีโครงการเกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านให้แก่คนในชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น โครงการซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ หรือ โครงการซ่อมแซมบ้านของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ทำให้ผู้เดือดร้อนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้พิการ จะได้รับการซ่อมแซมไปก่อนแล้ว เหลือเพียงชาวบ้านทั่วไปที่เหลือที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์โครงการก่อนหน้านั้น ทาง อบต. จึงได้พลักดันให้เข้ามาในโครงการนี้แทน
“เนื่องจากมีชาวบบ้านบางส่วนที่ได้รับความเดือนร้อนด้านที่อยู่อาศัย แต่ไม่สามารถร้องขอการสงเคราะห์ได้เนื่องจากคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ ทางเราที่เป็นคณะกรรมการจึงได้ส่งเสริมให้มาเข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียง เพื่อที่จะได้ให้เค้าสามารถซ่อมแซมบ้านของเค้าได้”
ตัวอย่างบ้านที่ได้รับการช่วยเหลือ
นายสำราญ นาทรัพย์ หมู่ที่ 9 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บ้านของนายสำราญ ได้รับการซ่อมแซม โดยการ สร้างห้องน้ำ ต่อเติมหลังคาและกำแพง
นายสำราญเล่าว่า ตนอยู่บ้านนี้คนเดียว เนื่องจากลูกๆทิ้งไว้ให้อยู่คนเดียว เนื่องจากว่าตนพิการ โดยบ้านหลังที่ตนอยู่ ก็ได้น้องสาวมาสร้างไว้ให้โดยก่อนหน้าเป็น เสาไม้ หลังคามุงจาก และใช้สังกะสีเป็นกำแพง พอนานวันยิ่งเก่าก็เริ่มทรุดโทรม สังกะสีก็เป็นสนิมกัดจนเป็นรูรั่ว หลังมุงจากก็เริ่มพังเป็นรู เวลาฝนตกหนักลมพัดใส่แทบอยู่ไม่ได้ เพราะ สังกะสีสั่นตลอดเวลา น้ำฝนก็รั่วจากหลังคา ต่อมาได้มีผู้นำชุมชนได้มาสำรวจบ้านของตน และได้เสนอให้เข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียง หลังจากนั้น จึงได้นำวัสดุมาซ่อมแซมให้ โดยมีคนในชุมชนมาช่วยกันซ่อม จนได้ห้องน้ำใหม่ กำแพงบางส่วนและหลังคา ต้องขอบคุณโครงการนี้ที่ทำเหมือนได้บ้านหลังใหม่
ฃนายน้องรัก ศรีสมัย บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บ้านของนายน้องรัก ได้รับการซ่อมแซมโดยการ ซ่อมหลังคาและลงเสาปูนข้างบ้าน
โดย นายน้องรัก เล่าว่า บ้านหลังนี้มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 13 คน ทั้งครอบครัวและเครือญาติ เนื่องจากสถานะทางการเงินที่บ้านถือว่าจนมาก จึงไม่สามารถที่จะสร้างบ้านใหม่ได้ ทำได้เพียงหาไม้และสังกะสีมาซ่อมแซมและต่อเติมเท่านั้น ยิ่งนานวันวัสดุพวกนี้ก็พังลงเรื่อยๆ หลังคาสังกะสีก็มีรูรั่ว เวลาฝนตกน้ำก็รั่วในตัวบ้าน คานหลังคาและเสาบ้านที่สร้างจากไม้ก็โดนปลวกกินนับวันยิ่งผุพังลง ต่อมาได้มีผู้นำชุมชนได้มาสำรวจบ้านของตน และได้เสนอให้เข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียง หลังจากนั้น จึงได้นำวัสดุมาซ่อมแซมให้ โดยที่คนในบ้านก็ร่วมกันซ่อมแซมจนเสร็จ ต้องขอบคุณโครงการนี้มากที่ทำให้ได้หลังคาใหม่และต่อเติมเสาปูนเพิ่ม เพื่อในภายหลังจะได้ต่อเติมบ้านเพิ่ม
ช่วงที่สาม ปัจจุบันถึงแม้ว่าโครงการบ้านพอเพียงตำบลหนองปรือจะสามารถซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายไปแล้วบางส่วน แต่ก็ยังมีบ้านอีกหลายหลังที่ยังรอการช่วยเหลือจากโครงการนี้อีกหลายหลัง ซึ่ง นางอรณี ผู้เป็นทีมดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียงได้บอกว่า ทางคณะกรรมการได้วางทิศทางโครงการบ้านพอเพียงไว้เพื่อเป็น กองทุนฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือเกิดภัยธรรมชาติในชุมชน เพื่อที่จะให้คนในชุมชนมากู้ยืมไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านต่อไป และผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นสมาชิกกองทุนสัจจะวันละบาท โดยออมไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เพื่อส่งเสริมสวัสดิการพื้นฐานให้แก่คนในชุมชนและสร้างนิสัยการออมเงิน เพื่อให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
ปัญหา สำหรับปัญหาที่ทางคณะกรรมการบ้านพอเพียงหนองปรือ เจอก็คือ จำนวนบ้านที่โครงการบ้านพอเพียงให้งบประมาณมา ไม่เพียงพอ จึงทำให้คณะกรรมการต้องคัดเลือกผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ต้องได้รับการช่วยโดยด่วนก่อน หลังจากนั้นจึงจะให้รายต่อๆไป โดยได้ทำความเข้ากับผู้ได้รับความเดือดร้อนรายอื่นๆ เพื่อให้ได้เข้าใจตรงกัน อีกทั้งบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่เนื่องจาก แต่ละคนต่างมีหน้าที่หลักอยู่แล้ว ทำให้บางทีก็จะเกิดความลำบากในการติดตามงาน