ตำบลยางค้อม เมื่อก่อนเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขายทางเรือ เนื่องจากมีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน โดยพื้นที่ตำบลยางค้อมเป็นจุดต้นน้ำต้นกำเนิดของแม่น้ำตาปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2487 ในตอนนั้นการเดินทางโดยทางถนนมีความลำบากมาก อย่างเช่นการที่จะเดินทางไปในพื้นที่ใกล้เคียง คือ ตลาดจันดี จำต้องใช้เวลาในการเดินทางอย่างมาก 2-3 วัน คนในสมัยนั้นจึงนิยมเดินทางโดยเรือ และเลือกที่จะไปตลาดทานพอ อำเภอฉวาง ในการค้าขายและติดต่อธุรกิจต่างๆ มากกว่าเนื่องจากเดินทางได้สะดวกกว่า และในสมัยนั้นท่าเรือตั้งอยู่ที่หน้าวัดยางค้อม และการที่จะขึ้นเรือได้จะต้องเดินลุยน้ำไปก่อนเพื่อที่จะขึ้นเรือ จุดต้นกำเนิดของชื่อตำบลยางค้อม คือ ในสมัยนั้นได้มีเหตุการณ์กระแสลมพัดแรงจนทำให้ต้นยางนาขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณแม่น้ำตาปีเอนค้อมลงมาคร่อมแม่น้ำตาปี ทำให้โคนต้นยางนาอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ และปลายต้นยางนาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง จึงกลายเป็นสะพานต้นไม้ให้ประชาชนได้เดินข้ามแม่น้ำตาปีในสมัยนั้น และกลายเป็นจุดต้นกำเนิดของชื่อของตำบลยางค้อมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและผู้ที่ตั้งชื่อนี้คือขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์ ซึ่งในตอนนั้นขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์เป็นผู้ปกครองตำบลพิปูน โดยในตอนนั้นยังเป็นอำเภอฉวาง และตำบลยางค้อมในตอนนั้นยังเป็นแค่ชุมชนยางค้อม
พื้นที่ตำบลยางค้อมเป็นต้นน้ำต้นกำเนิดของแม่น้ำตาปี และในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่สะอาดที่สุดในประเทศไทย และภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบ เป็นพื้นที่ลุ่มท้องกระทะ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร สวนยาง สวนผลไม้
ในระยะที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ตำบลยางค้อมประสบปัญหาวิกฤตภัยแล้ง โดยเฉพาะในช่วงปี 2562 สภาองค์กรชุมชนตำบลยางค้อม โดยกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร กลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับ อบต.ยางค้อม กองทัพภาคที่ 4 ได้ร่วมกันออกแบบเพื่อพัฒนาต่อยอดฝายมีชีวิตยางค้อม เพื่อรักษาสมดุลทางทรัพยากรแก้ปัญหาทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
ฝายมีชีวิตยางค้อมคือฝายมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาด 35 คูณ 45 เมตร กั้นแม่น้ำต้นน้ำตาปี ตั้งอยู่ที่ ต.ยางต้อม อ.พิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้งบประมาณการสร้างประมาณ 2 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางภาครัฐ
ฝายมีชีวิตยางค้อมเริ่มต้นในปี 2558 เรื่อยมาจนถึงปี 2562 ด้วยการตรวจพื้นที่ และเกิดจากการทำความเข้าใจทั้งประชาชนในพื้นที่ และผู้นำชุมชน จนได้รับงบบริจาคจากผู้นำชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้านในตำบลยางค้อมเป็รงบประมาณเริ่มต้นในการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จ เกิดการมีส่วนร่วมของทุกส่วนที่เห็นการ เปลี่ยนแปลงของการยกระดับน้ำของฝายมีชีวิต ด้วยการสนับสนุนแรงงานจากกองทัพภาคที่ 4 และหางบประมาณจากการเลี้ยงน่ำชา ทอดผ้าป่า และรับบริจาค ผลัดกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร
สำหรับแรงงานที่มาช่วยกันก่อสร้างฝาย ในระหว่าง 6 เดือนก่อนเสร็จ ฝายมีชีวิตยางค้อมโดยการนำของ กำนันประจำตำบล ที่กินนอนอยู่ที่นั้น น้ำหลากมาก 5 ครั้ง และทุกครั้งฝายมีชีวิตจะชำรุดเสียหายในทุกครั้ง แต่กำนันและผู้นำชุมชนแกนนำในการสร้างฝายก็ไม่ย้อท้อเพราะเห็นประโยชน์ของฝายมีสามาาถยกระดับน้ำ ทำให้น้ำในบ่อน้ำตื้นของชาวบ้านแต่ละบ้านมีน้ำเต็มบ่อไว้ใช้ได้ทุกบ้าน
เมื่อแล้วเสร็จ จึงเกิดการเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนเกิดเป็นสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านตอนเย็นจะมาเล่นน้ำ มีคนมาเล่นน้ำนับรวมเกือบพันคน เกิดการค้าขาย เศรษฐกิจชุมชน เกิดเป็นที่จัดกิจกรรมของชุมชน เกิดเป็นแหล่งพันธุ์ปลา 38 สายพันธุ์ที่สูญหาย กลับคืนมากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
สภาองค์กรชุมชนตำบลยางค้อม ได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาตำบลเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลยางค้อม ซึ่ง ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (ปี 2561 – 2564) ได้แก่ (1) อบรมพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ จำนวน 50,000 บาท เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (2) สนับสนุนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลยางค้อม จำนวน 30,000 บาท เพื่อเพื่อประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางการเกษตร
ประโยชน์ของฝายมีชีวิต มีมากมาย
1.ในช่วงหน้าน้ำหลาก ฝายมีชีวิตจะช่วนในการชะลอน้ำและกักเก็บน้ำ ไม่ให้น้ำไปท่วมที่รุนแรง
2.ในช่วงหน้าแล้ง ฝายมีชีวิตจะช่วยทดน้ำระบายน้ำ จากที่กักเก็บไว้ไปเพื่อการบริโภค อุปโภค
3.รักษาความชุมชื้นให้ระบบนิเวศน์ โดยการซึมลงใต้ดินของน้ำได้ลึกลง และแผ่กว้างตามผิวดินได้ไกลมาก
4.ฝายมีชีวิตไม่ตัดวงจรทางระบบนิเวศน์ของทั้งสัตว์ และพืช โดยปลาสามารถขึ้นลงวางไข่ได้ตามธรรมชาติ ตะกอนทรายสามารถไหลข้ามผ่านไปได้ทางบันไดหลัง เพื่อให้ด้านหลังฝายมีระบบนิเวศน์ชายหาดเหมือนเดิม
5.ฝายมีชีวิตสามารถสร้างระบบนิเวศน์เดิมให้กลับมา ทั้งพืชพันธุ์ใหม่ ตลอดสัตว์น้ำที่หายไปให้กลับมามีเช่นเดิมทั้งชนิดและปริมาณ
6.ฝายมีชีวิตสามารถสร้างความรัก ความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างยั่งยืน จากการร่วมแรงร่วมใจในการก่อสร้างและบำรุงรักษา
- ฝายมีชีวิตสร้างคุณภาพชีวิตของคนให้กลับมาดีเช่นเดิม ตอบโจทย์เศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง และแบบพอเพียงโจทย์ทางธรรมชาติที่ว่า
ปัจจุบันศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลยางค้อม ผ่านการจดแจ้งของสภาองค์กรชุมชน โดยเชื่อมโยงผลผลิตที่ได้จากฝายมีชีวิต บูรณาการแผนร่วมกับ อบต.และถ่ายทอดระบบเกษตรทั้งระบบต้นแต่ต้นน้ำที่ฝาย จนมาถึงรูปแบบการปลูกพืช เป็นการทำงานภายใต้การเข้าใจต้นเหตุของปัญหา นำมาสู่ระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ผู้ประสาน นายสุทิน พร้อมหนัง
ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลยางค้อม