ตำบลนาหมอบุญ เดิมเป็นชื่อของหม่อมบุญ ซึ่งตามประวัติได้มีหม่อมเณรน้อย หม่อมเณรใหญ่ ซึ่งเป็นตระกูลของ”ไชยบาดาล”และตระกูล”เณรานนท์” ได้อพยพหนีพม่าเมื่อประมาณ ปี 2310 เดินทางมาจนถึงเวลาค่ำและได้พักที่ต้นไม้ใหญ่แต่ไม่สามารถหุงหาอาหารมื้อเย็นได้ เพราะไม่มีน้ำ พอตกกลางคืนได้ยินเสียงกงร้อง จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้น่าจะมีแหล่งน้ำเพราะกงเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจึงได้จุดคบไฟไปดูตามเสียงกง ได้พบลำน้ำใหญ่รุ่งขึ้นหม่อมเจ้าทั้งสองได้ตัดสินใจพักเป็นการถาวร ปัจจุบันคือวัดวังฆ้องเพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่เหมาะสม จึงให้หม่อมไพนารถอยู่หมู่ที่1 ตำบลสามตำบลให้หม่อมบุญไปตั้งเมืองอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันอยู่ที่หมู่ที่3 ตำบลนาหมอบุญ เรียกว่าบ้านในวัง เมื่อมีข้อราชการสำคัญจะมีการตีฆ้องเรียกประชุมผู้ครองเมืองทั้งสามมาประชุมชี้แจง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้มีการร่วมเมืองทั้งสามเป็นตำบลเรียกว่าตำบลสามตำบล ตำบลนาหมอบุญได้ชื่อมาจากวังนาหมอบุญ ต่อมาเมื่อปี 2536 ได้แยกจากตำบลสามตำบลเป็นตำบลนาหมอบุญ มีพื้นที่ ทั้งหมด 17, 018.75 ไร่ หรือ 27.23 ตารางกิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ ตำบลนาหมอบุญพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแต่บางส่วนเป็นที่ราบสูง
ชาวบ้านตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีแนวทางสำคัญในการจัดการพลังงานในชุมชน มีความตื่นตัว หนุนอาชีพปั้นเตาซุปเปอร์ อั้งโล่ ส่งเสริมการใช้ และประหยัดพลังงานในตำบลหวังลดปริมาณการใช้พลังงาน และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และพร้อมที่จะยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ในระดับหมูบ้าน ตำบล อำเภอ ต่อไป เป็นแหล่งผลิตเตาเปอร์อั้งโล่ ในอำเภอ จุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบันการพึ่งตนเองในการประหยัดพลังงานในครัวเรือนประชาชนหันมาให้ความสำคัญ ชาวบ้านและแกนนำชุมชนได้เรียนรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงาน รวมทั้งผลกระทบ ต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น อีกทั้งมีโอกาสได้รับรู้ และเห็นตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดการใช้เชื้อเพลิง หลายอย่าง ประกอบกับข้อมูลการสำรวจการใช้พลังงาน ของคนในชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบล นาหมอบุญ พบว่า ทุกครัวเรือนมีการใช้พลังงานจากไฟฟ้าในการประกอบภารกิจทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ทุกครัวเรือนจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานหลัก แต่ในขณะเดียวกัน พบว่าการใช้พลังงานในการหุงต้มในครัวเรือน ร้อยละ 23.6 ยังคงใช้ถ่าน และฟืนเป็นบางครั้ง โดยใช้เตาถ่านจากท้องตลาดทั่วไป ซึ่งเป็นเตาที่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและไม่ประหยัดพลังงาน ต้องใช้ถ่านและฟืนมาก ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นประจำ จึงเป็นที่มาของโครงการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ศึกษาเรียนรู้ การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่หรือเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงขึ้นและส่งเสริมการเผาถ่านใช้เองโดยใช้เตาเผาที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร ซึ่งทำง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน จากการวิเคราะห์ประเภทพลังงานที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้อยู่ ชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันว่าเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนมากที่สุดคือเตาซุปเปอร์อั้งโล่ โดยจุดเด่นของเตาประเภทนี้อยู่ที่โครงสร้างได้ถูกออกแบบให้ความร้อนสูญเสียออกภายนอกได้น้อย อีกทั้งยังให้พลังงานความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงเพียงเล็กน้อย ก็เพียงพอต่อการหุงต้มในแต่ละมื้อโดยไม่ต้องเติมถ่านอีก ช่วยประหยัดถ่านได้ถึงร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับเตาหุงต้มแบบเดิมตามท้องตลาด แต่ปัจจุบันเตาซุปเปอร์ อั้งโล่หาซื้อยาก ทางชุมชน ครัวเรือน และปราชญ์ชาวบ้านผู้มีภูมิปัญญาด้านนี้ จึงมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีการส่งเสริม การผลิต การใช้ เตาชนิดนี้ขึ้น เพราะชุมชน มีฐานความรู้ หรือภูมิปัญญาด้านนี้อยู่แล้ว ประกอบกับมีแหล่งวัตถุดิบในชุมชนและที่น่าภูมิใจคือ ผู้ที่มีภูมิปัญญาดังกล่าวเป็นผู้เสียสละ มีจิตสาธารณะ พร้อมที่จะถ่ายทอด และสนับสนุนการฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ในการนำไปใช้อีกด้วยโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การประหยัดพลังงานโดยการปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ และเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงโดยการใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร ของตำบลนาหมอบุญ เริ่มจากการสร้างบุคคลากรโดยทำการคัดเลือกช่างฝีมือที่มีประสบการณ์และทักษะความชำนาญในการปั้นเตามาแล้ว จำนวน 3 คน ช่างทำเตาเผาถ่านจำนวน 3 คนและผู้ที่มีภูมิปัญญาด้านการผลิตแก๊สหุงต้มจากการหมัก เศษอาหารและวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน จำนวน 3 คน หรือผู้ที่มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานรูปแบบต่าง ๆ จำนวน 10 คน เป็นผู้ถ่ายทอด และส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติตลอดจนอธิบายเทคนิคการใช้ ประโยชน์ให้กับผู้สนใจ ตามความถนัดของแต่ละรูปแบบหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปซึ่งถ้าผู้สนใจมีทักษะในการผลิตเตาซุปเปอร์อั้งโล่ที่ผลิตได้ในเบื้องต้น จะจำหน่ายให้กับชุมชนในราคาต้นทุน ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือชุมชนของเราจะประหยัดพลังงานได้มากขึ้น เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ส่วนผู้ที่ปั้นเตาขายจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิม
นอกจากนี้ในระยะยาว ทางศูนย์ถ่ายทอดการเรียนรู้ หวังว่าจะเกิดสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้น และสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับชุมชนใกล้เคียง และสามารถพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อป้อนตลาดได้ สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนได้อย่างแน่นอน และนี่คือความคาดหวังของชุมชนนอกจากการส่งเสริมการปั้นเตาอั้งโล่แล้ว ทางสมาชิกศูนย์ฯมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการประหยัดพลังงานด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่นการสร้างเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงที่สอดรับกับอาชีพปลูกไม้ผล ของชุมชนที่สมารถใช้เศษไม้จากการตกแต่งกิ่งนำมาเผาถ่านสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน เพื่อให้ใช้ควบคู่กับเตาอั้งโล่ ได้ โครงการสร้างศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานในชุมชนเป็นการรวบรวมเทคโนโลยีและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานรูปแบบต่างๆ และการใช้ประโยชน์ จากผลพลอยได้(ประโยชน์ทางอ้อม) เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้กับชุมชนการจัดการพลังงานในชุมชน ชาวตำบลนาหมอบุญ มีความเข้าใจเรืองพลังงานมากขึ้น รู้ว่า ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งเข้านอน กิจกรรมทุกอย่าง รอบตัวล้วนเกี่ยวข้องกับพลังงาน ซึ่งพลังงานทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ ทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เราสามารถลดการใช้พลังงานในครัวเรือนได้ เพียงแต่ปรับพฤติกรรมการใช้พลังงาน มาอยู่ในรูปแบบของความพอเพียงและการพึ่งตนเอง เพียงเท่านี้ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนได้จำนวนมาก และที่สำคัญ เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชุน หวงแหน ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิต นำไปสู่การจัดการตนเอง และการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นการสร้างสุขที่เกิดโดยชุมชน และเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
การวิเคราะห์บุคลากร และครัวเรือนในชุมชน
สืบเนื่องครัวเรือน ในตำบลนาหมอบุญเริ่มมีความตื่นตัว และเห็นสถานการณ์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป และประสบการณ์ ที่ประสบกับภัยพิบัติ น้ำท่วม พายุ ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน อย่างหนัก เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันต้องหยุดชะงัก จึงเป็นบทเรียน ที่จะต้องเตรียมความพร้อม โดยการประยุกต์ใช้ สิ่งที่มีคุณค่า ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ และพึ่งพาตนเองให้ได้ โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าจึงเกิดจิตสำนึกที่จะฟื้นฟู ประกอบกับการเห็นคุณค่า และประโยชน์ของพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ในการสร้างอาชีพเสริม เป็นนโยบายในการพัฒนาหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีภูมิปัญญาด้านพลังงาน และส่วนที่เกี่ยวข้อง มีจิตสาธารณะ พร้อมที่จะเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน
ทางด้านผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีภูมิปัญญาด้านพลังงาน และส่วนที่เกี่ยวข้อง มีจิตสาธารณะ พร้อมที่จะเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน เพื่อให้คนในชุมชนร่วมทำฐานเรียนรู้ ภูมิปัญญาไทยเรื่องพลังงานทดแทนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว การแก้ปัญหาดังกล่าว ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชน ต้องวางเป้าหมายร่วมกัน รู้ และเข้าใจสถานการณ์ โดยให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการคิดวิเคราะห์ และวางแผนการปฏิบัติ และประเมินผล และพร้อมที่จะขยายผล เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้ใช้ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ ผู้ที่มี ทักษะความชำนาญ มาเป็นแกนนำ หรือวิทยากรชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการปรับ
มีจัดฐานเรียนรู้ภายในชุมชน และรวบรวมภูมิปัญญาด้านการใช้พลังงานทดแทน ขึ้นในชุมชน เพื่อ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ โดยใช้สถานที่บ้านว่าง ของผู้นำชุมชน เป็นสถานที่จัดแสดงอุปกรณ์ประหยัดพลังงานต่าง ๆ และมีการสาธิต และฝึกทักษะเพื่อให้ปฏิบัติได้ เช่น ฐานเรียนรู้ การผลิต เตาฮั่งโล่ ประหยัดพลังงาน ฐานเรียนรู้ การผลิต การเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงจากถังน้ำมัน 200 ลิตร ฐานเรียนรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพ ฐานเรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ ไล่แมลง จากน้ำส้มควันไม้ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่าน ฐานเรียนรู้ การปั๊มน้ำโดยการใช้จักรยานฯลฯ
การเชื่อมโยงหน่วยงานภาคี
สภาองค์กรชุมชนตำบลนาหมอบุญ ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) ได้แก่ (1) ส่งเสริมอาชีพและอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มต่างๆในตำบลนาหมอบุญ จำนวน 30,000 บาท เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มต่างๆในตำบลนาหมอบุญ (2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลนาหมอบุญ จำนวน 100,000 บาท เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลนาหมอบุญมีคุณภาพชีวิตและอาชีพที่ดีขึ้น และ (3) พัฒนาการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 35,000 บาท เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าทรัพยากรที่มีอยู่
ชุมชนมีกลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง และปรับปรุงกลไกที่สำคัญ คือ การสร้างแกนนำในการดำเนินโครงการ ในรูปแบบของคณะปฏิบัติงาน โดยให้ผู้ที่มีภูมิปัญญาด้านการประหยัดพลังงานในชุมชน เป็นแกนนำหลัก และบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหนุนเสริมคุณภาพในการทำโครงการ มอบหมายภารกิจให้รับผิดชอบ ส่งเสริม และสนับสนุน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประชาชนพึ่งตนเองได้ มีรายได้เสริม นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยพัฒนาภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้วิทยากรชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอด บูรณาการแผนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านแผนการส่งเสริมอาชีพและอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มต่างๆในตำบลนาหมอบุญ ปีละ 35,000 บาท เพื่อให้กลุ่มอาชีพและกลุ่มต่างๆมีงานทำ มีพลังงานทางเลือก มีรายได้ และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีเพิ่มขึ้น และบูรณาการภาคส่วนต่างๆอย่างยั่งยืน
ผู้ประสานงาน นางอัมร พูนทอง ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลนาหมอบุญ
โทร.089-9715512