ตำบลน้ำจืดที่เก่าแก่ ตำบลนี้ก่อเกิดตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2440 จนมาถึงปัจจุบันเป็นเวลา 104 ปีแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาใต้ นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกระบุรี ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปลายคลอง หมู่ 2 บ้านน้ำจืด (ติดเขตเทศบาลตำบลน้ำจืด บางส่วน) หมู่ 3 บ้านหัวถนน(ติดเขตเทศบาลตำบลน้ำจืด) หมู่ 4 บ้านดอนตำเสา (ติดเขตเทศบาลตำบลน้ำจืด บางส่วน) หมู่ 5 บ้านดอนกลาง หมู่ 6 บ้านบางกุ้ง หมู่ 7 บ้านบางหมีเหนือ หมู่ 8 บ้านบกกราย หมู่ 9 บ้านหินใหญ่
มีพื้นที่ 85.48 ตารางกิโลเมตร โดยเฉลี่ย ประมาณ 53,433 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ภูเขา ร้อยละ 70 พื้นที่ราบ ร้อยละ 25 พื้นที่น้ำ ร้อยละ5 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาอาชีพรับจ้างทั่วไป การประมง ค้าขาย
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่และภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน และมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ มีทรัพยากรไม้นานาชนิด ได้แก่ ตะเคียนทอง สมอพิเภก แซะก่อ ฯลฯ และมีสัตว์ป่าอยู่อย่างมากมาย เช่น นกกวัก ลิ่น เต่าหกขา ฯล
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร โดยมีพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มังคุด เป็นหลัก
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำจืดจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนาย เฉลิม ทองสูงเป็นประธาน มีกลุ่มร่วมจดแจ้งจำนวน 7 กลุ่ม มีสมาชิกสภาฯ 28 คน ซึ่งหลังจากได้จัดตั้งแล้วสภาองค์กรชุมชนได้จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบล โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีปัญหาสำคัญด้านหลายด้านเช่น
- การท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวคือน้ำตกบกกลาย แต่ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่แหล่งท่องเที่ยวไม่ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูและสภาพภูมิอากาศของลมมรสุมทั้งสองด้าน ทำให้ฝนตกซุกทั้งปี
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อดีคือที่นี่มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ สภาพแวดล้อมยังมีสภาพที่ดีเนื่องจากยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และชุมชนยังไม่หนาแน่น ข้ออ่อนคือ รัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการป้องกัน ข้ออ่อนคือ ประชาชนขาดจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ฟุ่มเฟือย มีการบุกรุกที่สาธารณะของหมู่บ้านและป่าสงวน ปัญหาคือการดำเนินการกับผู้กระทำผิดยังไม่จริงจัง
3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีภูมิประเทศและภูมิอากาศรวมทั้งสภาวะแวดล้อมที่เหมาะแก่การทำการเกษตร มีกลุ่มอาชีพในตำบล รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมและแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน
ข้ออ่อนคือจุดอ่อน ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอ มีปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
ข้อเสนอคือ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้รัฐบาลควรมีนโยบายเยียวยาประชาชน โดยการรับรองอาชีพ รวมถึงหลักประกันราคาพืชผลผลิต จึงจะสามารถช่วยลดทอนหนี้สินและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
4) ด้านสังคม มีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ประชาชนไม่มีความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมประเพณี มีองค์กรชุมชน เช่น กรรมการหมู่บ้าน กลุ่มสตรี อสม./กองทุนหมู่บ้าน/อปพร. มีโรงเรียนและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการสนับสนุนเบี้ยยังชีพอย่างทั่วถึง ดังนั้นรัฐบาลควรวางแผนสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
จากสภาพปัญหาข้างต้นทางสภาองค์กรชุมชนตำบลได้จัดเวทีในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแผนพัฒนาตำบลจัดการตนเอง โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และ พอช. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งนี้ นายอำนาจชัย สุวรรณราช เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางการพัฒนาแผนตำบลแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาแผนตำบลคือ 1) แผนตำบลต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในตำบลไม่ว่าจะเป็นองค์กรชุมชน ส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประสานงาน 2) แผนตำบลควรจะมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูล ประวัติ ที่ตั้ง ฯลฯ) ข้อมูลทุนชุมชน (ภาพผังตำบล/ข้อมูล กลุ่มองค์กรชุมชน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (จุดแข็ง จุดอ่อน…) วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาตำบล 3 ด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านทรัพยากร) และคณะทำงานขับเคลื่อนแผนตำบล 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่แผนตำบลที่สำคัญคือ ขั้นแรก การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง(ชุมชน) เป็นการวิเคราะห์ฐานทุนของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร สถานะภาพเป้นอย่างไร ซึ่งมีฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ฐานการเงินชุมชน ฐานด้านบุคคล และฐานด้านองค์ความรูภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งนี้การวิเคราะห์ตนเองเพื่อให้เกิดความตระหนักว่าว่า เรา(ชุมชน)เป็นใคร ขั้นทีสอง การวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางของชุมชน เป็นการนำเอาผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายสำคัญของชุมชนเองว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคืออะไร นั่นคือการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชุมชนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า และขั้นตอนสาม การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เป็นการระดมแผนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำคัญของชุมชน เพื่อตอบโจทย์คำถามว่า แล้วชุมชนจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละขั้นจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น และ 4) การนำแผนตำบลไปใช้ประโยชน์ เมื่อได้จัดทำแผนพัฒนาตำบลแล้วสามารถนำไปใช้ได้คือ การบูรณาการกับแผนส่วนท้องถิ่น การประมวลเป็นข้อเสนอในแผนพัฒนาจังหวัด ทั้งนี้ทางประธานสภาองค์กรชุมชนกล่าวเน้นย้ำว่าหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะประมวลข้อมูลเป็นแผนพัฒนาตำบลและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ในขณะเดียวการประธานสภาองค์กรชุมชนได้นัดให้คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากเวทีเพื่อประมวลยกร่างเป็นแผนพัฒนาตำบลต่อไป
จากแผนพัฒนาตำบลที่กล่าวมาข้างต้น ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนร่วมกันตัวแทนส่วนท้องถิ่น ท้องที่ร่วมกันวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาตำบลในระยะ 3 ปีดังนี้
ภาพตำบลที่อยากเห็นในอนาคต สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนาตำบล 1)พัฒนาแผนตำบล 2)สร้างคนทำงานใหมๆ 3)ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน 4)ประชุมสภาองค์กรชุมชน
สำหรับแผนการดำเนินการ 3 ปีที่ตำบลน้ำจืดจะดำเนินการมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่อง 1.การพัฒนาที่อยู่อาศัย 2.การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน 3.การพัฒนาอาชีพ 4.การอนุรักษ์ทรัพยากร
สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
จากสภาพปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลน้ำจืดคือปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของคนยากจนที่ไม่มีความมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งปัญหานี้กระจายอยู่ในทุกหมู่บ้านของตำบล ทางคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนจึงได้ร่วมประชุมหารือกันและจัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของตำบลน้ำจืดขึ้นมา โดยมีแนวทางดังนี้
- จัดให้มีคณะทำงานรับผิดชอบเรื่องแกไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย
- การรวมกลุ่ม (การประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ)
- การทำกองทุน/การออมทรัพย์ เพื่อที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- สำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาที่ดินทำกิน/ที่อยู่อาศัย
- วางหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการ
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนี้กำหนดเป้าหมายการซ่อมแซมและสร้างบ้านไว้คือ ในปี 2561 จำนวน 20 หลัง ปี 2562 จำนวน 10 หลัง และปี 2563 จำนวน 10 หลัง โดยที่มีขั้นการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมเพื่อทำความเข้าใจระดับตำบล
- ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนตามแบบฟอร์มสำรวจที่อยู่อาศัย
- รวบรวมข้อมูลผู้เดือดร้อน ประชุมคณะกรรมการตำบล เพื่อคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญ
- แต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินวัสดุ, คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง, คณะกรรมการตรวจรับงาน,คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
- คณะกรรมการตำบลลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปบ้าน จับพิกัด GPS จุดที่จะซ่อม ประเมินวัสดุที่ใช้
- รวบรวมข้อมูลวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
- ติดตามผลการดำเนินงานโดยสภาองค์กรชุมชน
นายจำเนียน แซ่ตั้ง บ้านเลขที่ 104/1 หมู่ที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 9 คน
นายสำเรียง พุทธรักษา บ้านเลขที่ – หมู่ที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1 คน
จากการผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 20 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น
ทั้งนี้คืนทุนของสมาชิก มีการพิจารณาความเดือดร้อนโดยมีการคืนทุนตามความสามารถโดยใชหลักคิดของการช่วยเหลือเกื้อกูล โดยไม่คิดดอกเบี้ย และเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือเมื่อเกิดเหตุภัยภิบัติ ซึ่งคณะทำงานได้มีมติให้ฟรีแก่สมาชิกจำนวน 1 คน คือนายสำเรียง พุทธรักษา ขณะที่สมาชิกอื่นๆให้มีการคืนทุนหมุนเวียน โดยมีกติกาดังนี้ในการคืนทุน โดยเริ่มการคืนทุนหลังจากที่ซ่อมสร้างเสร็จส่งคืนภายใน 3 เดือนโดยผ่อนคืนเดือนละ300 อาจน้อยหรือมากกว่าและหมดภายใน 3 ปี โดยเงินที่ได้จากสมทบจะนำไปช่วยเหลือแก่ผู้พิการ คนชรา และผู้เดือดร้อนอื่นๆอีกภายในตำบล
ทั้งนี้ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำจืดได้จัดให้มีพิธีมอบบ้านพอเพียงชนบทให้แก่ผู้ยากไร้ที่ซ่อมแซมบ้านเสร็จแล้วขึ้น เมื่อวันที่ โดยมีปลัดอาวุโสอำเภอกระบุรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายกอบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนและประชาชนเข้าร่วมกว่า 40 คน ซึ่งประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำจืดได้เน้นย้ำว่าการดำเนินงานบ้านพอเพียงนี้เน้นการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้คนยากจนในตำบลเป็นหลัก โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะแรกและจะมีการคืนทุนกลับมาเป็นกองทุนที่อยู่อาศัยตำบลที่จะช่วยเหลือผู้เดือดร้อนรายต่อไปอีก
สิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินงาน 1) ประชาชนในตำบล หน่วยงาน ภาครัฐเกิดความเชื่อมั่นในสภาองค์กรชุมชน มากขึ้น 2) มีความร่วมมือกันในดีในชุมชนทั้งภาคส่วนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่และสมาชิก โดยเฉพาะการลงแรงช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน
การประสานความร่วมมือและการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนผู้ยากไร้ในตำบลได้มีที่อยู่ที่มั่นคง แข็งแรงปลอดภัย นั้น ได้รับความร่วมมือที่ดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านเป็นอย่างดีในการร่วมมือกันลงแรงซ่อมแซมบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง พอช. ที่สนับสนุงบประมาณในการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาตำบลเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด เพื่อให้บรรจุในแผน 4 ปี (ปี 2561 – 2564) ซึ่งส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด นำเข้าบรรจุในแผน 4 ปี ที่สำคัญได้แก่ (1) การซ่อมแซมบ้านพักที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุจำนวน 20,000 บาท เพื่อสนับสนุนการซ่อมแซมบ้านสูงอายุให้มีความมั่นคง ปลอดภัย แข็งแรง (2) การปลูกป่าชายเลนเฉลิมพรเกียรติ จำนวน 15,000 บาทเพื่อสนับนุนกิจกรรมการปลูกป่าชายของชุมชน
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) งบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยซึ่งมีจำนวนมาก 2) การประสานงานทำได้ยาก
แผนงานในระยะต่อไป 1) ขยายการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อนผ่านกองทุนที่อยู่อาศัยตำบล 2)จัดทำข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยเหลือต่อเนื่อง
ติดต่อประสานงาน
นางลักษณ์กมลฉัตร ศีระจงดี 116 ม.2ต.น้ำจืด อ.กระบุรี จ.ระนอง
โทรศัพท์ 0856917463