ตำบลปากน้ำ ตั้งเป็นตำบลในรัชกาลไหนไม่แน่นอน จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดชุมพร ได้มีคนไทยและคนจีนที่มาค้าขายและตั้งรกรากในตำบล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดคือนายเผดิม อังสุสิงห์ และต่อมาได้ร่วมกันสร้างโรงเรียน ชื่อโรงเรียนเผดิมจีนนาวาสงเคราะห์ ในปี 2571 ปัจจุบัน คือโรงเรียนปากน้ำชุมพร
ตำบลปากน้ำชุมพร เป็นที่ราบริมฝั่งปากแม่น้ำที่เชื่อมติดต่อกับทะเลซึ่งมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่สันดอน แม่น้ำล้อมรอบ เมื่อน้ำขึ้นสูงน้ำจะท่วมถึง และมีภูมิอากาศ เหมือนกับพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยทั่วไป คือมีเฉพาะฤดูร้อน และฤดูฝน มีฝนตกชุกตลอดปี มีประชากร จำนวน 6,628 คน แยกเป็นชาย 3,333 คน หญิง 3,295 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 5,339 คนแยกเป็นชาย 2,676 คน หญิง 2,663 คน ประชากรในวัยทำงานประมาณ 5,200 คน จำนวนครัวเรือน 2,970 ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีประชากรแฝงซึ่งเป็นพวกแรงงานต่างด้าว และแรงงานไทยที่เข้ามาประกอบอาชีพในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำชุมพร ไม่น้อยกว่า 5,000 คน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ ประมงและค้าขาย
สภาองค์กรชุมชน : วิเคราะห์ตนเอง เดินหน้าพัฒนาแผนชุมชนท้องถิ่น
สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลปากน้ำจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 โดยมีนายพัทธนันท์ สงวนศักดิ์ เป็นประธาน มีกลุ่มร่วมจดแจ้งจำนวน 14 กลุ่ม มีสมาชิกสภาฯ 23 คน ซึ่งหลังจากได้จัดตั้งแล้วสภาองค์กรชุมชนได้จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และจัดทำเป็นแผนพัฒนาตำบล
ทุนเดิม/ ศักยภาพ/ สิ่งดีๆ ที่มีในตำบล
- มีพื้นที่ของตำบลที่ติดกับอ่าวไทย มีสถานที่ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
- มีสภาพพื้นที่เอื้อแก่การประกอบอาชีพทางทะเลและการเกษตร
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ทั้งทางบกและทางทะเล
- องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการพัฒนาท้องถิ่น
ปัญหา/ ข้อติดขัดที่เกิดขึ้นในตำบล
- การมีส่วนร่วมของชุมชน/องค์กรชุมชนมีน้อย
- ผู้นำมีน้อย
- ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม
- ปัญหายาเสพติด
โอกาส/ สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาชุมชน
- นโยบายรัฐสนับสนุนชุมชน
- มีการสนับสนุนการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น
- หน่วยงานจังหวัดลงมาสนับสนุนต่อเนื่อง
ข้อจำกัด/ สิ่งที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน
- การเมืองไม่แน่นอน
- ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แผนพัฒนาตำบล
ภาพตำบลที่อยากเห็นในอนาคต “ปากน้ำเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์”
แนวทางการพัฒนาตำบล
- ยกระดับความรู้ความเข้าใจ
- พัฒนาผู้นำต่อเนื่อง
- การประสัมพันธ์
- ประสานความร่วมมือกับภาคีหน่วยงาน
ต่อยอดสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัย
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยสภาองค์กรชุมชนและภาคีในตำบลพบว่า สภาพปัญหาสำคัญในชุมชนคือ รายได้ในครัวเรือนน้อยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลายครอบครัวยากจน เป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนลดน้อยลงไป ด้วยเหตุนี้สภาองค์กรชุมชนจึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัดที่ไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย โดยการสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. ในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโครงการบ้านพอเพียงชนบท ซึ่งในการสร้างความมั่นคงเรื่อง “ที่อยู่อาศัย” นั้น มีเป้าประสงค์สำคัญคือ เพื่อพัฒนายกระดับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในชุมชนสู่ความเท่าเทียมในสังคม เชื่อมโยงทุนชุมชนให้เป็นกองทุนกลางระดับตำบลเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และด้อยโอกาส และเพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัยและอาชีพรายได้ของผู้ด้อยโอกาสและยากไร้ในชุมชน
เป้าหมาย
• ซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน 20 หลังในปีแรก
• ซ่อมแซมบ้านผู้เดือดร้อน 15 หลังในปีถัดไป
• เกิดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย
• มีแผนงานและเกิดกองทุนหมู่บ้านพอเพียง
กติกาการคืนทุนหมุนเวียน
- ระยะเวลา ให้ส่งคืนหลังจากซ่อมสร้างเสร็จ เดือนละ 1,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย แต่สมทบเงินช่วยเหลือคนทำงานตามความเหมาะสม
- ให้ตัวแทนที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลปากน้ำลงนามการเป็นพยานและรับผิดชอบเก็บเงินเพื่อนำส่งในแต่ละเดือน
- การจ่ายคืนเงินกู้ในทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน
- การจ่ายคืนให้จ่ายเป็นรายเดือน ผู้กู้ที่ไม่สามารถคืนเงินเต็มจำนวนได้ก็ให้จ่ายคืนตามกำลัง 300-500 บาทต่อเดือน
จากการผลการดำเนินซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ในพื้นที่ สามารถดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้มีความมั่นคง ปลอดภัยในการดำรงชีวิตของผู้ยากไร้ในตำบลได้ในระยะแรกจำนวน 20 หลัง โดยในการดำเนินงานได้มีการลงแรงช่วยเหลือกันในส่วนของแรงงาน ช่างต่างๆเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนเฉพาะค่าวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น
ในขณะเดียวกันทางสภาองค์กรชุมชนได้ประมวลข้อเสนอในการพัฒนาเสนอต่อเทศบาลเพื่อขอให้บรรจุในแผนพัฒนา 4 ของเทศบาลด้วยเช่นกัน ซึ่งผลปรากฏว่าทางเทศบาลได้บรรจุในแผนดำเนินงานปี 2561-2564 ได้แก่ (1) โครงการสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดจำนวน 5,000 บาทเพื่ออบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะในชุมชน และ (2) สนับสนุนการจัดทำชุมชนจำนวน 20,000 บาท เพื่อให้เกิดการประชุมและเวทีรับฟังข้อมูลเพื่อจัดแผนชุมชน
อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) การดำเนินงานยังขาดการมีส่วนของประชาชนและหน่วยงาน 2)การประสานงานทำได้ยาก 3)มีงบประมาณและทีมงานน้อย
สิ่งที่ค้นพบ 1) มีความร่วมมือที่ดีของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2)สภาองค์กรชุมชนได้เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น 3)มีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
แผนงานในระยะต่อไป
การดำเนินงานตามแผนระยะต่อไป สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลปากน้ำชุมพรกำหนดไว้ดังนี้ 1) พัฒนา/ปรับปรุงแผนพัฒนาชุมชน 2)ขยายผลการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในตำบล และ3)พัฒนาสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ตำบล
ติดต่อ/ประสานงาน
นายมานะ อุดมศักดิ์ 416/9 ม. 2 ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
โทรศัพท์ 087-277 4838