รู้จักสินเชื่อเพื่อการพัฒนา

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.  มีภารกิจในการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนาให้กับองค์กรชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งของชุมชนในการสร้างกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง โดยสอดคล้องไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ของชุมชน  และเพื่อส่งเสริมการพัฒนากระบวนการการเงินและทุนของชุมชนให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพส่งผลต่อการออม การบริหารเงินทุน การจัดสวัสดิกการ การพัฒนาภูมิปัญญา และการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชน

ทั้งนี้ พอช.ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการพัฒนาให้กับองค์กรชุมชนตั้งแต่ปี 2543  ต่อจากงานสำนักงานพัฒนาชุมชนเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเป็นการให้สินเชื่อผ่านกลุ่ม เครือข่าย หรือสหกรณ์ที่เป็นกลไกการทำงานของชุมชน  มีวัตถุประสงค์การใช้หลากหลาย  ในระยะแรกเป็น3  ในการปลดหนี้ให้สมาชิก  108  ราย  ยอดหนี้ปัจจุบันคงเหลือเปนการให้สินเชื่อกับชุมชนเมืองเป็นส่วนใหญ่  ภายหลังจึงได้ขยายขอบเขตไปยังภาคชนบท  เริ่มจากสินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาสำหรับคนจนในเมือง  (งบมิยาซาวา)  และโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ (มพช.)  ในช่วงปี 2542 – 2545

S 16760834

หลักคิดและแนวทางสำคัญ

ในปี 2546 จนถึงปัจจุบันได้มีกระบวนการร่วมกำหนดทิศทางและแนวทางของสินเชื่อ (เพื่อการพัฒนา)  กระบวนการทำงานและกลไกการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมคิดค้นจากขบวนชุมชนทั่วประเทศ  เพื่อให้สินเชื่อของพอช.สามารถตอบสนองเจตนารมณ์การพัฒนาของชุมชน และไม่ซ้ำซ้อนกับสินเชื่ออื่นๆ  ในระบบที่ทำให้ชุมชนสามารถเข้าถึงได้  และได้มีการออกข้อบังคับ ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน รวมถึงระเบียบสินเชื่อที่กำหนดประเภทสินเชื่อ 5 ประเภทเพื่อรองรับการปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน  สินเชื่อเพื่อการพัฒนาแบบองค์รวม  สินเชื่อเพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชน สินเชื่อหมุนเวียน และสินเชื่อเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักคิด แนวทางสำคัญของสินเชื่อเพื่อการพัฒนา มีดังนี้

  • เชื่อมโยงการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ภาคีในท้องถิ่น โดยการกระจายการบริหารจัดการสินเชื่อสู่ชุมชนและท้องถิ่น เน้นการเป็นเจ้าของร่วม  ใช้ประโยชน์ร่วม  รับผิดชอบร่วม  และเอื้ออาทรต่อผู้ขาดโอกาส
  • ให้ชุมชนมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของกองทุน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบ ตลอดจนการติดตามประเมินผล และตรวจสอบอย่างครบวงจร
  • ให้มีกระบวนการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน และสามารถเชื่อมโยง ขบวนการชุมชน ในการแก้ปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของ สมาชิกฐานราก

ให้มีทิศทางและกระบวนการทำงานสัมพันธ์และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของขบวนการชุมชนในท้องถิ่น  และมีส่วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ประเภทและเงื่อนไขต่างๆ ของสินเชื่อเพื่อการพัฒนา

สืนเชื่อเพื่อการพัฒนา 2543-2563 (20ปี)

รายการ จำนวน
1.      จำนวนองค์กรชุมชนที่รับสินเชื่อ

986   องค์กร

2.     จำนวนเงินสินเชื่อ

10,863.62 ล้านบาท

3.     จำนวนครัวเรือนผู้รับประโยชน์

406,803 ครัวเรือน

4.     จำนวนชุมชนที่รับสินเชื่อ

6,272   ชุมชน

5.     ประเภทสินเชื่อ
5.1  สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

8,911.96 ล้านบาท

5.2  สินเชื่ออื่นๆ

1,951.66 ล้านบาท

6.      สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
6.1   จำนวนองค์กรที่รับสินเชื่อ

483  องค์กร

6.2  จำนวนเงินสินเชื่อ 8,911.96 ล้านบาท
6.3  จำนวนครัวเรือนที่รับสินเชื่อ 45,323 ครัวเรือน
6.4  จำนวนชุมชนที่รับสินเชื่อ

2,548 ชุมชน

6.5  จำนวนเงินสินเชื่อเฉลี่ยต่อองค์กรชุมชน 18,451,261บาท
6.6  จำนวนเงินสินเชื่อเฉลี่ยต่อครัวเรือน 197,093 บาท

คำสั่งโครงการพัฒนาสินเชื่อเพื่อการพัฒนา

ระเบียบโครงการพัฒนาสินเชื่อเพื่อการพัฒนา

ข้อบังคับโครงการพัฒนาสินเชื่อเพื่อการพัฒนา

เอกสารแนบ