ฉะเชิงเทรา / สัมมนาสรุปการดำเนินงานคณะอนุกรรมการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก และประชุมคณะอนุกรรมการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 22 – 23 กันยายน 2565 เวลา 09.30 น.ณ บ้านนายถึกโฮมสเตย์ ต.คลองนา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ในวันที่ 22 กันยายน 2565 ได้มีการจัดเวทีสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ปี 2565 นำโดย นายเจษฎา มิ่งสมร ที่ปรึกษาอนุกรรมการภาคและขบวนองค์กรชุมชนภาคฯ โดยมีนางสาวสุมล ยางสูง ผู้อำนวยการภาค สำนักงานภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออกและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม
นางสาวสุมล ยางสูง ได้กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ระยะ 5 ปี (2566 – 2570) ที่สอดคล้องกับหมุดหมายการพัฒนา ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน มีเป้าหมายและทิศทางที่ช่วยในการสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ ที่ครอบคลุม 4 มิติการพัฒนา ได้แก่ (1) มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย (2) มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม (3) มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4) มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ซึ่งทางพอช.ได้มีแผนที่สอดคล้องกับ 13 หมุดหมายเช่น ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง การท่องเที่ยว การเกษตรแปรรูป เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น รวมถึงเป้าหมายความยั่งยืนของประเทศไทยและ BCG Model ซึ่งล้วนสอดคล้องกับแผนปฎิบัติการ 5 ปี ของพอช. ซึ่งเป็นแนวทางการสนับสนุนการทำงานขององค์กรชุมชนในพื้นที่

หลังจากนั้น นายยุทธพงษ์ เขื่อนเมือง,นายธาราศานต์ ทองฟัก,นางสาวสิโรชิน ศรทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชน ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ปี 2565 ที่ได้ขับเคลื่อนงานพัฒนาในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 13 จังหวัด บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่วางไว้ พร้อมที่จะขับเคลื่อนงานในปี 2566 อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ช่วงบ่าย ได้มีการระดมแนวทาง กลไก และวิธีการทำงานในภาค กับผลการแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรชุมชน ปี 2566 ในประเด็นดังนี้
1.แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างหุ้นส่วนการพัฒนา การเชื่อมโยงแผนพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนกับหน่วยงานในทุกระดับ ให้น้ำหนักระดับอำเภอมากขึ้นการจัดระบบฐานข้อมูล ให้เกิดการบูรณาการ TPMAP ยกระดับการพัฒนาที่ตอบโจทย์พื้นที่ กระจายอำนาจไปกลุ่มจังหวัด การพัฒนาระบบ กลไกบริหารจัดการการพัฒนาคนทำงานรุ่นใหม่ ทิศทางการหนุนเสริมการพัฒนาเชิงภูมินิเวศน์ และเชิงประเด็นระดับพื้นที่
2.การบริหารโครงการ การทบทวนระบบการบริหารโครงการทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
3.โครงสร้าง กลไก ในการเตรียมความพร้อมสภาองค์กรชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ ในด้านคนทำงาน ข้อมูลและแผนการพัฒนา การเพิ่มสัดส่วนกลไกการทำงาน
4.ระบบงบประมาณ รวมถึงการเชื่อมโยงแผนงานงบประมาณจากหน่วยอื่นๆ ทุกระดับ
ทั้งนี้ ได้ร่วมดำเนินการร่าง กลไกการทำงานร่วมตั้งแต่คณะอนุกรรมการภาคฯ คณะทำงานกลุ่มจังหวัด คณะทำงานจังหวัดถึงองค์ประกอบของกลไก และบทบาทการดำเนินงาน โดยเน้นน้ำหนักไปที่กลุ่มจังหวัดในการ หนุนเสริมการทำงานระดับจังหวัดพัฒนากลไก ระดับกลุ่มจังหวัดพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนาประสานหน่วยงานภาคี/บูรณาการความร่วมมือการบริหารโครงการที่ดีอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อเป็นการกระจายการบริหารจัดการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการพัฒนาขบวองค์กรชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

วันที่ 23 กันยายน 2565 คณะอนุกรรมการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก นำโดยนายปาลิน ธำรงรัตนศิลป์ ประธานอนุกรรมการภาคฯ ร่วมกับพอช. นำโดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยสถาบันฯเจ้าหน้าที่สำนักงานภาคกรุงเทพฯปริมณฑลและตะวันออก นำโดย นางสาวสุมล ยางสูง ผู้อำนวยการภาคฯ จัดเวทีประชุมคณะอนุกรรมการภาคครั้งที่ 2/2565ในการนี้ประธานในที่ประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบในประเด็นสำคัญๆ คือ การต่อระยะเวลาอนุกรรมการภาค ต่อไปอีก 3 เดือน การจัดสัมมนาการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนภาคฯ งาน 20 ปี พม. “เสริมสร้างพลัง สร้างโอกาส พัฒนาคนทุกช่วงวัย” ระหว่างวันที่ วันที่ 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2565 ณ กระทรวง พม.ในวาระเพื่อทราบ สถาบันฯ ได้รายผลการอนุมัติโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนของกลไกคณะทำงานสนับสนุนระดับภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ปี 2565 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามแผนงานโครงการพัฒนาสำคัญ 5 โครงการ งบประมาณสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 139,504,935 บาท และโครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในระดับตำบล เมือง จังหวัด ภาค จำนวน 17 โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 16,855,500 บาท โดยคณะอนุกรรมการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ได้มอบหมายให้ คณะทำงานพิจารณาโครงการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ดำเนินการพิจารณาเห็นชอบอนุมัติโครงการและเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2565 และมีการดำเนินการพิจารณาเห็นชอบเสนอโครงการ ต่อ คณะอนุกรรมการบ้านมั่นคง เพื่ออนุมัติโครงการและมีการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2565 แล้ว รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปี 2565 รายงานผลการดำเนินการโครงการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน ปีงบประมาณ 2565 ได้สนับสนุนการดำเนินงานขบวนองค์กรชุมชน ตามเป้าหมายผลลัพธ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งดำเนินการในระดับพื้นที่ระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาคซึ่งดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับตรงตามเป้าหมาย รวมถึงการหมดวาระกลไกในระดับภาค โดยมีมติ ให้ดำเนินการขยายระยะเวลาอีก 3 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2565) และเสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันฯ

นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช. (ถือไมค์ในภาพ)
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนกับการพัฒนาแบบองค์รวมแบบมีส่วนร่วม โดยการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา ในการกระจายงานสู่ขบวนองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความเป็นชุมชนเข้มแข็ง เต็มแผ่นดิน เพียงเจ้าหน้าที่ 300 กว่าคน ไม่สามารถทำให้บรรลุได้ แต่ต้องร่วมพลังกับการสร้างขบวนองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนร่วมกัน ผ่านการทำบันทึกความร่วมมือให้ขบวนองค์กรชุมชนไปขับเคลื่อน การสร้างกลไกการดำเนินงาน ในการเตรียมคณะทำงานอนุกรรมการภาค เพื่อกุมทิศทาง ยุทธศาสตร์ เป้าหมายของขบวนองค์กรชุมชนโดยมีกลไกคณะทำงานในระดับกลุ่มจังหวัด กับการสร้างพลังขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ที่ต้องมีการจัดระบบ บูรณาการภาคส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนหนึ่งจังหวัดหนึ่งโครงการที่มีเนื้อการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ทุกประเด็น ในส่วนการบริหารจัดการงบบริหารจัดการ ให้ระบุแผนงานให้ชัดเจน จะมีการพิจารณากรอบงบประมาณสนับสนุนการทำงานของขบวนองค์กรชุมชนให้เหมาะสม การลดตัวชี้วัด เอกสารรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถทำงานเชิงพัฒนายุทธศาสตร์ให้มากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ผอ.กฤษดา ยังกล่าวต่ออีกว่า การขับเคลื่อนงานให้สำเร็จได้นั้น การทำงานหรือการขับเคลื่อนงานต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ให้เป็น“SMART พอช.” เพื่อให้ พอช.เป็นที่รู้จักในเชิงนโยบาย เชื่อมต่อการทำงานกับหน่วยงานระดับจังหวัด สำนักงานจังหวัดภายใต้การกำกับของผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวง ได้ทบทวนการทำงานว่าขบวนองค์กรชุมชนมีความสำคัญในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดในการเชื่อมระบบเข้าหากัน เป็นกลไกร่วมในการทำข้อบัญญัติ ฯลฯ สู่การจัดทำแผนพัฒนาองค์กร แผนพัฒนาบุคลากร แผนการพัฒนาผู้นำปัจจุบัน และคนรุ่นใหม่ รวมถึงการดึงพลังจากองค์กรภายนอก ภาคีภาคเอกชนที่สนใจมาร่วมสนับสนุนการพัฒนาชุมชน เช่น กองทุนพลังงาน โดยมองว่า พอช. เป็น โซ่ข้อกลาง ในการพาขบวนองค์กรชุมชนไปเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจเอกชน และติดตามให้เกิดการอนุมัติรับงบประมาณ และให้ขบวนองค์กรสามารถขับเคลื่อนงานได้เต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการสานพลังความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งสู่ การจัดการตนเองชุมชนท้องถิ่น ดังคำที่ว่า “ชุมชนเข้มแข็ง เต็มแผ่นดิน”