กรุงเทพ / วันที่ 10 – 11 กันยายน 2565 สำนักประสานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนได้จัดเวทีการจัดการความรู้ “การเชื่อมโยงแผนพัฒนาจังหวัดและการบูรณาการความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาจังหวัด ปี 2565” ณ ห้องประชุมโรงแรมพันธุ์ทิพย์พลาซ่าบางกะปิ และห้องประชุมไพรบูลย์ วัฒนศิริธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เวทีในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบบูรณาการของผู้นำสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด และเพื่อออกแบบแนวทางการบูรณาการความร่วมมือของภาคประชาชน ประชาสังคม และภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา โดยได้เชิญผู้นำสภาองค์กรชุมชนจังหวัดที่มีผลงานเข้าร่วมเวทีทั้ง 5 ภาค
เวทีการจัดการความรู้สภาองค์กรชุมชน วันที่ 10 กันยายน 2565
ณ ห้องประชุมโรงแรมพันธุ์ทิพย์พลาซ่าบางกะปิ เป็นการนำเสนอความการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแบบบูรณาการระดับจังหวัด และประสบการณ์การเคลื่อนงานบูรณาการงานพัฒนาของแต่ละภาค และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช.
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวให้กำลังใจและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน พอช.มีหน้าที่หลักในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เหมือนวิสัยทัศน์ที่เขียนในปี 2558 “ชุมชนเข้มแข็งทั่วทั้งแผ่นดิน” การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความรู้ การสร้างพื้นที่ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ สภาองค์กรชุมชน ทำแผนพัฒนาตำบลเชิงประเด็น เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิต 2 แนวทาง คือ การบูรณาการเชิงพื้นที่ อปท. (อบต. เทศบาล) การทำธรรมนูญตำบล กติกาการอยู่ร่วมกันของตำบล แผนพัฒนาเชิงประเด็น เพื่อส่งให้หน่วยงานต่าง ๆ ในการนำมาจัดการเป็นแผนเฉพาะด้าน และการระวังกับดักในกลไกของรัฐในการทำงานของสภาองค์กรชุมชน
ผู้แทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนทั้ง 5 ภาค ได้นำเสนอบทเรียนกระบวนการทำงานของแต่ภาค การเคลื่อนขบวนประชาชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนและองค์กรประชาชน การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและผลักดันเข้าสู่แผนจังหวัด การทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ และการบูรณาการคุณภาพชีวิต และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ และแนวทางการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ในอนาคต
และได้มีการให้ความรู้เชิงวิชาการจาก ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ เรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนเข้มแข็ง : ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. …. เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างประชาธิปไตยฐานรากที่สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรม และสภาพสังคมของไทย และเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งของประชาธิปไตยฐานราก และ ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล เรื่อง การศึกษาการจัดตั้งและดำเนินการสภาพลเมือง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่กลางในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนทั้งในท้องถิ่นและในวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองในการจัดการพื้นที่และพัฒนาประชาธิปไตยระดับชุมชน สร้างความสมดุลและความยั่งยืนในสังคม
เวทีการจัดการความรู้สภาองค์กรชุมชน วันที่ 11 กันยายน 2565
ณ ห้องประชุมไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หารือแนวทางการจัดการความรู้ โดยใช้กลไกสภาองค์กรชุมชนขับเคลื่อน บูรณาการแผนพัฒนาจังหวัดสร้างความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาจังหวัด สร้างความร่วมมือ ประสานกลไกลการดำเนินงานในระดับจังหวัดรวมไปถึงระดับภาค รวมถึงการเชื่อมประสานในระดับนโบาย เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่จังหวัด โดยให้แต่ละพื้นที่มีการออกแบบหนุนเสริมการทำงานของแต่ละจังหวัด ตลอดจนการเชื่อมโยงระบบข้อมูลและแผนการพัฒนา และมีระบบการบริหารงบประมาณ อาศัยกลไกการบริหารและการจัดการ มีทีมทำงานและแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละจังหวัดด้วย โดยดำเนินงานจังหวัดบูรณาการที่มีขั้นตอนกระบวนการทำงานที่สำคัญ และเกิดข้อเสนอในการขับเคลื่อน ได้แก่
1. ส่งเสริมให้มีแนวทางเสนอข้อเสนอระดับจังหวัด และเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งให้เกิดกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด และบูรณาการแผนงานในระดับจังหวัด พร้อมเกิดขบวนในระดับจังหวัด
2. ส่งเสริมกลไกการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในระดับอำเภอ รวมถึงการส่งเสริมขบวนองค์กรชุมชน และเครือข่ายในระดับอำเภอให้เกิดขึ้น
3. สามารถแยกการดำเนินงานเกี่ยวกับจังหวัดจัดการตนเอง กับจังหวัดบูรณาการได้ และเสนอให้มีเป้าหมายร่วมแห่งการกระจายอำนาจ นำไปบูรณาการแผนงานร่วมกันทั้งประเทศ
4. สร้างการเป็นหุ้นส่วนจังหวัดอย่างชัดเจน โดยเป็นที่ยอมรับของหลายองค์ประกอบ เช่น ในระดับโครงสร้าง องค์กร บุคคล และการบริหาร รวมไปถึงการมีเป้าหมายในการเชื่อมโยงประสานงานกับจังหวัด หรือภาคีพัฒนาต่าง ๆ
5. จัดเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันได้ในแต่ละจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนกลไกเชิงประเด็นของขบวนองค์กรชุมชน
6. ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนขบวนยุทธศาสตร์ โดยประชาชนเป็นเจ้าของการพัฒนา ซึ่งต้องผ่านการวิเคราะห์ขบวน รวมถึงคนทำงานในขบวนระดับจังหวัด
ท้ายที่สุด กระบวนการทำงานจะไม่เกิดขึ้น ถ้าขาดทีมขับเคลื่อนทั้งในระดับพื้นที่ และส่วนกลาง จึงเกิดข้อเสนอให้มีทีมทำงาน / เลขาการติดตามงาน รวมถึงมีทีมอาสาพัฒนาการทำงานและพัฒนาโครงการเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อน และติดตามจากในระดับพื้นที่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสนับสนุนติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย และเป็นกลไกการติดตามข้อเสนอและการขับเคลื่อนจากในระดับพื้นที่ เพื่อให้คณะทำงานกลางฯ ได้ทำหน้าที่ติดตาม ประเมินผลข้อเสนอภาพรวม พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดผลงานอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางของจังหวัดจัดการตนเอง/บูรณาการได้