ร้อยเอ็ด/วันนี้(12กรกฎาคม2565)สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนระดับชาติ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสรุปบทเรียนการทำงานที่ผ่านมาและระดมข้อเสนอในการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนแนวใหม่ โดยมีผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนภาคอีสาน 20 จังหวัด เครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคอีสาน ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ พอช. เข้าร่วมการสัมมนา กว่า 120 คน ณ ห้องประชุมประดับดาว โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ในเวทีได้ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน ทิศทางและเป้าหมายกองทุนสวัสดิการชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสวัสดิการชุมชน 5 ปี (2566-2570) ได้แก่ การปรับกลไกและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสวัสดิการชุมชนจังหวัด/โซน การสร้างองค์ความรู้การจัดสวัสดิการชุมชนและองค์ความรู้ใหม่ การทำงานเชิงกลยุทธ พัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการองค์กร สร้างความเข้าใจ เจตนารมณ์ อุดมการณ์ ระหว่างกรรมการกับสมาชิก พัฒนาระบบการเงิน/บัญชี การพัฒนาคนรุ่นใหม่ การปรับปรุงกฎระเบียบการจัดสวัสดิการชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทพัฒนาเครือข่าย คณะกรรมการติดตามประเมิณผล การพัฒนากองเลขาระดับพื้นที่ การเตรียมความพร้อมของข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน(ทะบียนสมาชิก,การเงิน) พัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ทบทวนแนวคิดการจัดสวัสดิการชุมชน การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในรูปแบบที่ทันสมัย กำหนดเครื่องมือการปฏิบัติงาน(คู่มือ) พัฒนาระบบโปรแกรม การพัฒนาระบบสารสนเทศของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เครือข่ายชุมชนจังหวัด จัดทำกฎหมายในการสนับสนุนกองทุน 3 ขา และผลักดัน พรบ.การส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้เป็นนโยบายชาติ
นายวิรัตน์ สุขกุล
นายวิรัตน์ สุขกุล ประธานเครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึง สถานการณ์กองทุนสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มีกองทุนสวัสดิการชุมชน 2219 แห่ง ซึ่งมีกองทุนฯจำนวนมากที่สุดในประเทศ การก่อเกิดในครั้งแรกขึ้นอยู่กับผู้นำของกองทุนสวัสดิการชุมชน ถ้าผู้นำเข้าใจก็จะสามารถนำพางานสวัสดิการชุมชนสู่ความสำเร็จและยั่งยืน จากการสอบทานกองทุนสวัสดิการชุมชน ปี 2564 ทำให้รู้สถานะของแต่ละกองทุนว่ามี คุณภาพเป็นเช่นไร สามารถแบ่งออกได้เป็น ระดับ A จำนวน 411 กองทุน 24.88 ระดับ A จำนวน 411 กองทุน ระดับ B จำนวน 547 กองทุน ระดับ B จำนวน 547 กองทุน ระดับ B จำนวน 547 กองทุน ปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ทั้งในด้านข้อมูลกองทุนสวัสดิการชุมชน การพัฒนาศักยภาพผู้นำขบวนองค์กรชุมชนทุกระดับ และกองเลขาสวัสดิการชุมชนให้พร้อมกับการทำงานในยุคปัจจุบัน
นายแก้ว สังข์ชู
นายแก้ว สังข์ชู ประธานคณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชน กล่าวว่า ทิศทางใหม่ในการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการชุมชน คือการพึ่งตนเอง นำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ใช้สวัสดิการชุมชนไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงนโยบาย ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตเราก็จะเปลี่ยน ดำเนินการภายใต้วิถีวัฒนธรรม เรียนรู้ได้แต่อย่าเลียนแบบ เพื่อให้เกิดการออกแบบที่สอดคล้องกับพื้นที่ ถ้าเราสามารถดำเนินการได้จะเกิดความทั่วถึงและเท่าเทียม กองทุนสวัสดิการยุคใหม่ต้องเรียนรู้และทบทวนอยู่ตลอดเวลา และย้ำตลอดว่าเราเป็นเจ้าของกองทุนสวัสดิการชุมชน ในส่วนของคณะกรรมการสวัสดิการชุมชน คือคนที่ได้รับความไว้วางใจ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น น่าเชื่อถือ การทำงานต้องโปร่งใส สร้างความเป็นเจ้าของ นี่คือการบริหารแนวใหม่ ในส่วนของงานด้านเอกสาร ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย ด้านเทคโนโลยี เราต้องหาคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อให้เท่าทันโลกยุคปัจจุบัน
นายกฤษดา สมประสงค์
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. กล่าวว่า ชุมชนเข้มแข็งต้องมี 4 ส่วน ประกอบด้วย ต้องมีประชาธิปไตยของชุมชน เกี่ยวข้องกับการอยู่การกิน “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน” เป็นการทำร่วมกัน เป็นพื้นที่กลางในการทำให้พี่น้อง บางชุมชนเข้มแข็งเข้มแข็ง เรื่องสำคัญที่จะพูดถึงคือ ระบบสวัสดิการของชุมชน เป็นระบบที่เกิดขึ้นจากพี่น้ององค์กรชุมชน ความคิดของพี่น้องที่จะมาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ปัจจุบันมีจำนวน 5,509 กองทุน เงินส่วนใหญ่มาจากเงินจากสมาชิกของกองทุน สวัสดิการชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มระบบสวัสดิการของรัฐ ระบบสวัสดิการชุมชนทำให้เกิดความเข้มแข็งและแข็งแรง ในการดูแลตนเอง ส่วนการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนในส่วนกลางและพื้นที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งผู้นำชุมชน หน่วยงานของรัฐ นักวิชาการ องค์กรทางศาสนาทิศทางจากนี้ไปอีก 4 ปี ข้างหน้า พอช. ต้องเป็นศูนย์กลางของขบวนองค์กรชุมชน ประชาสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เราต้องทำงานร่วมกัน เป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกัน ต้องมาออกแบบการทำงานร่วมกัน
เสวนาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสวัสดิการชุมชนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนแนวใหม่
นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสวัสดิการชุมชนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนแนวใหม่ เครือข่าย 5 ภาค ในหัวข้อ แนวทางขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนในอนาคต 5 ปี ข้างหน้า ควรจะเป็นอย่างไร บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ควรปรับเปลี่ยนบทบาทอย่างไรในการทำงานและจะหนุนเสริมการทำงานของประชาชนอย่างไร ประกอบด้วย ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบไปด้วย 1.นายวิรัตน์ สุขกุล เครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.ดร.มณเฑียร สอดเนื่อง ผู้แทนอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนระดับชาติ 3.นางนิภา คงเพชร ตำแหน่งนักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อุบลราชธานี 4.นายธีระชัย แสนภูวา ท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น 5.นายนิรันดร คำนุ อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชนและสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินรายการโดย นายชัยวิชย์ภณ ตังกิจ หัวหน้าสำนักประสานเครือข่ายสวัสดิการชุมชน