สุโขทัย : ระหว่างวันที่ 11-12 ก.ค. 2565 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการคิดและค้นนวัตกรรม (TSIS) จัดกระบวนการ work shop ให้กับชุมชน ที่เสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน ภายใต้งาน “SOCIAL INNOVATION VILLAGE-IDEA HACKS” ภาคเหนือ(ตอนล่าง) ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย โดยมีองค์กรชุมชน นักวิชาการ วิสาหกิจชุมชนภูมิภาคภาคเหนือ(ตอนล่าง) ที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมในภูมิภาคเหนือ จำนวน 9ชุมชน/หมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน จากชุมชนเป้าหมาย และผู้ปฏิบัติงานจาก NIA และ พอช. ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค
น.ส.จันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดย ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSIS) จัดกิจกรรมเพื่อเฟ้นหาชุมชนที่ต้องการแสวงหานวัตกรรมที่มีศักยภาพในการพัฒนาและแนวทางการแก้ไข ปัญหาชุมชน ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564-ปัจจุบัน ซึ่งในปี 2565 นอกจากจัดเวทีผ่านระบบ ZOOM เพื่อจัดกระบวนการในการสร้างความเข้าใจ โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation Village เพื่อพัฒนาโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนในการพัฒานวัตกรรมในปีถัดไป โดยมีเวทีในระดับภูมิภาค เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมเพื่อสังคมในการแก้ไขปัญหาชุมชน Idea Hacks เพื่อให้ได้ไอเดียในการทำสิ่งใหม่ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดระบุประเด็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไข รวมถึงการระดมสมอง การระดมความคิด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นายอำพล อาภาธนากร ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation Village ที่เป็นโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม นำผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ไปแก้ไขปัญหา ที่สามารถตอบโจทย์จากพื้นที่หมายและก่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย ยกระดับคุณภาพสินค้าหรือบริการของธุรกิจเพื่อสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และเป็นต้นแบบการขยายผล ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมให้เข้าถึงปัญหาตามบริบทของพื้นที่เป้าหมาย นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ที่ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562-2565 โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งภายในงานชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนมุมมองการแก้ปัญหาชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้สามารถนำนวัตกรรมพร้อมใช้เข้าไปประยุกต์ใช้ในชุมชนพร้อมยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป
ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกระบวนการ work shopพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการคิดและค้นนวัตกรรม โดยให้ผู้เข้าร่วมคิดค้นประเด็นปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งการเป็นนวัตกรนั้นไม่ควรด่วนสรุปและพอใจไวเกินไป ต้องพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดและปัญหาที่มี อย่าคิดแต่วิธีในการแก้ปัญหาเท่านั้น ค่อยๆ คิด ตั้งคำถามอย่างเป็นระบบ เช่น ทำไมต้องทำ แล้วถ้าไม่ทำหล่ะ และทำอย่างไรได้บ้าง เหล่านี้ถือเป็นนวัตกรรมทางความคิดได้ การคิดนวัตกรรมอาจจะสร้างตัวต้นแบบเพื่อการทดสอบก่อน เราควรสร้างภาพ Moon shot เป็นการวางภาพไกลๆ วางภาพยาวๆ ออกไป นวัตกรรมที่เราคิดค้นนั้น อาจจะเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ หรือเป็นนวัตกรรมเชิงความคิดก็ได้ เป้าหมายรวมคือ เมื่อคิดค้นนวัตกรรมนั้นแล้วชุมชนได้ประโยชน์อะไร ขยายผลได้อีก วิธีการที่คิดค้นคือ การคิดประเด็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาจนกำหนดนวัตกรรมออกมาเพื่อเป็นทางเลือกได้หลากหลายต่อยอด เป็นนวัตกรรมที่ 1 2 3 4 5 แล้วเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมนั้นออกมา โดยใช้กระบวนการ POST-IT WAR : สงครามไอเดีย วิธีการใช้ระดมสมองคือ 1) ปากกา 2) POST-IT โดยเราฟังประเด็นปัญหาของเพื่อนก่อน แล้วเราก็จะเขียนไอเดียของเราลงไป แล้วก็แปะเสนอไอเดียสำคัญให้เพื่อนแล้วนำมาคัดเลือกนและนำมาสู่การทดสอบ เช่น รูปแบบการสเก็ตบนกระดาษ การทำโมเดล Mock Up การเขียนไดอะแกรม หรือการเขียนสตอรี่บอร์ด รวมไปถึงการทำ 3D Printing เป็นต้น เป็นการทำต้นแบบเพื่อทดสอบว่าสิ่งที่เราคิดนั้นมันใช้งานได้จริงหรือไม่ อย่างน้อยการทดสอบความคิดต้นแบบนั้นเป็นการเก็บเกี่ยวเสียงสะท้อน ที่จำเป็นต่อการพัฒนาตัวต้นแบบ มีการตั้งโจทย์ที่ว่า “อยาจะทดสอบอะไร” “อยากทดสอบกับใคร” แล้วทำตารางในการสะท้อนความคิดเห็นใน 4 ช่อง ประกอบด้วย 1) ฉันเห็นด้วย 2) ฉันเสนอให้เปลี่ยน 3) ฉันมีคำถาม และ 4) ฉันอยากเสนอไอเดียเพิ่มเติม โดยแต่ละชุมชนจะต้องกลับไปทำแบบทดสอบต้นแบบ พร้อมนำเสนอในเวลา 30 วินาที เป็นการเลือกประเด็นเนื้อหาสำคัญในการนำเสนอเพื่อสื่อสารสิ่งที่อยากทำนวัตกรรมนั้นอย่างมีพลัง โดยใช้ 5 เทคนิคในการนำเสนอดังนี้ 1) แนะนำตัวเอง(มีความโดดเด่นเพื่อแก้ไขปัญหา) 2) ปัญหาคืออะไร (เป็นปัญหาที่แก้ไขได้) 3) นวัตกรรมแก้ไขปัญหาคืออะไร 4) นวัตกรรมโดดเด่นและยั่งยืน 5) งบประมาณที่ใช้และผลลัพธ์ทางสังคมที่จะได้รับนั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ในการจัดกระบวนการในพื้นที่ระดับภูมิภาค ในรูปแบบ Idea Hacks นำโดย ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ ร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ ให้ความรู้ทักษะ เสริมเติมให้ชุมชนได้คิดค้นไอเดียต่อยอดในการเฟ้นหานวัตกรรมใหม่ที่จะแก้ไขปัญหาชุมชน ต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสามารถที่จะเกิดเครือข่ายนวัตกรร่วมกัน ในการแลกเปลี่ยนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน เป็นการเสริมทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จำ นำไปใช้อีกทั้งในการพัฒนาศักยภาพในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) ทำให้สามารถวัดผลลัพธ์การแก้ไขปัญหาชุมชนพื้ เพื่อให้มีทักษะและความพร้อมในการสร้างนวัตกรรม
อย่างไรก็ตามชุมชนที่ผ่านกระบวนการข้างต้นนี้ จะต้องนำนวัตกรรมที่ได้คิดค้นไว้นั้น นำเสนอต่อ NIA เพิ่มเติมในลักษณะคลินิกนวัตกรรมออนไลน์ เพื่อต่อยอดต่อไป