พังงา/ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมดีบุก ชั้น 3 (ศาลากลางจังหวัดพังงา) โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน โดยมีตัวแทน พมจ. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องการมหาชน) สบทช.6 ทสจ. สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายพัฒนาที่อยู่อาศัย สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข มูลนิธิชุมชนไท องค์การบริหารส่วนจังหวัด พช. ท้องถิ่นจังหวัด เข้าร่วมประชุม 1.ความเป็นมาของนโยบาย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่/ที่อยู่อาศัยกลุ่มเปราะบางตามแผนแม่บทพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี ของรัฐบาล ภายใต้โครงการบ้านมั่นคง ซึ่งมีแนวทางสำคัญที่ให้คนในชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินโครงการ โดยมีภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการสำรวจข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์ และนำไปวางแผนพัฒนาแก้ไขปัญหาทั้งด้านที่ดิน ที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต จากการสำรวจข้อมูลพบว่าในชุมชนมีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม แออัด และมีปัญหาทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม ที่ดินเจ้าท่าและป่าชายเลน อุทยานแห่งชาติ ที่ดินทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ ที่ดินรัฐอื่น ๆ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจึงได้เสนอแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่/ที่อยู่อาศัยกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยที่ดินป่าชายเลนทั้ง 6 จังหวัดอันดามัน เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพังงากับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. ภาคประชาสังคม และหน่วยงานต่าง ๆ จึงร่วมกันได้จัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต ภายใต้ การขับเคลื่อนงานพังงาแห่งความสุข 2.การขับเคลื่อนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่/ที่อยู่อาศัยกลุ่ม เปราะบางในจังหวัดพังงา ที่ผ่านมา เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพังงาร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชน ได้เปิดเวทีประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการนโยบายโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่/ที่อยู่อาศัยกลุ่มเปราะบางระดับจังหวัด โดยได้อบรมเชิงปฏิบัติการ การสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยใช้พื้นที่ตำบลหล่อยูงและตำบลบางนายสีเป็นพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งเวทีประชุมระดับจังหวัดดำเนินการ เมื่อวันที่ 29 – 30 พ.ย. 2564 เวทีตำบลหล่อยูง เมื่อวันที่ 10 – 11 ธ.ค. 2564 และเวทีตำบลบางนายสี เมื่อวันที่ 12 – 13 ธ.ค. 2564 3. ข้อมูลผู้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในอำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วทุ่ง
จากการขับเคลื่อนกระบวนงานร่วมกับเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพังงา และภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนลงพื้นที่สำรวจความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินป่าชายเลน และบ้านทรุดโทรมไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดพังงา ในพื้นที่ อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด และอำเภอตะกั่วทุ่ง รวมทั้งหมด 11 ตำบล พบว่ามีจำนวน 920 ครัวเรือน
ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มี คำสั่งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย/ ที่อยู่อาศัยจังหวัดพังงา ขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่อยู่อาศัยจังหวัดพังงา ประสบความสำเร็จควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่อยู่อาศัย โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานดังกล่าว