สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยบีพีเอส / วันนี้เวลา 10.00 – 12.30 น. สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดเวทีเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมสมัชชาจังหวัด : ทุกภาคส่วนร่วมกำหนดอนาคตฝ่าวิกฤติโควิด ฟื้นฟูเศรษญกิจที่ไม่เป็นพิษต่อสุขภาพ หวังให้เกิดเวทีหยิบยกปัญหาและประเด็นการพัฒนาของแต่ละพื้นที่มาระดมข้อคิดเห็นของทุกภาคส่วน สรุปเป็นนโยบายสาธารณะและสานพลังขับเคลื่อนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงครั้งนี้
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก แต่เศรษฐกิจทั้งระบบได้รับผลสะเทือนไม่แพ้กัน คำสั่งให้ประชาชนกักตัวเองที่บ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร และการให้บริการต่าง ๆ ก็ต้องหยุดชะงักลง มาตรการนี้อาจช่วยให้คนปลอดจากโรค แต่ในเวลาเดียวกันคนที่พึ่งพิงการขับเคลื่อนของธุรกิจเหล่านั้นก็ต้องขาดรายได้ไปด้วย หลายหน่วยงานจึงร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่ว่านี้ เพื่อหาวิธีรักษาทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย
นายสุขสันต์ จิตติมณี รองผู้อำนวยการ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า “จากวันแรกที่เรารู้จักกับไวรัสโคโรน่าหรือโควิด – 19 มาถึงวันนี้ เป็นเวลา 9 – 10 เดือน สถานการณ์ล่าสุดของโลก จากเวลาเมื่อวาน 16:00 น นี้พบผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 33 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้ว 1 ล้านคน คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ติดเชื้อที่พบมากที่สุดขณะนี้ก็คือสหรัฐอเมริกานประมาณ 1 ใน 5 ของ ของโลกก็คือ 21 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกัน รองลงมาก็เป็นอินเดีย และปากีสถานตามลำดับ ถ้าย่อมาดูประเทศไทย ประเทศไทยเราขณะนี้มีผู้ติดเชื้อก็ 3,523 คน เสียชีวิตไปแล้ว 59 ราย ราย ยอดจำนวนนี้อยากเรียนให้ทราบ ว่าประมาณครึ่งนึงอยู่ในกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางเมืองใหญ่เมืองหลวงของประเทศ เราจะเป็นต้องมองภาพโลกประกอบกัน ขณะนี้ต้องเฝ้าระวังจับตาอย่างใกล้ชิด สิ่งที่อยากให้เห็น ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 138 จาก 213 ของโลก แต่ที่น่าสนใจตรงกับหัวข้อเรื่องการเตรียมการรองรับการระบาดรอบใหม่ ที่อยากให้ดูคือสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านประเทศพม่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อจากต้นเดือนสิงหาคมพบผู้ป่วยรายใหม่ 305 ราย จนมาถึงปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นไปถึง 5,471 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 137 เสียชีวิตจากหลักศูนย์มาเป็นหลักหลักสิบ และขึ้นมาเป็นหลักร้อย ถ้าดูจากภาพแผนที่ก็จะเห็นว่าลุกมาจากทางด้านบังคลาเทศ คงจะมาจากอินเดียแล้วก็ลุกพื้นที่มาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเรื่องของการเฝ้าระวังตามแนวชายแดนขนาดนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด”
นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในครั้งแรกเป็นการจัดสมัชชา “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้สู่ภัย โควิด” แต่ครั้งนี้จะต้องเป็น ”พลเมืองตื่นรู้สู้เศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ” อย่าลืมไปว่าด้านสุขภาพต้องระมัดระวังในรอบที่ 2 ที่มันอาจจะเกิดขึ้นมาได้เพราะว่ามัน 33 ล้านติดเชื้อตายไป 1 ล้านแล้วก็ผู้ติดเชื้อจากพม่าที่ใกล้เข้ามา ในรอบที่ 2 ที่อาจเกิดขึ้น ด้านสุขภาพ ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ ตอนนี้เริ่มมีปัญหาที่ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้มาก ระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจโดยสุขภาพนั้นเราให้ตระหนักให้มากขึ้นแต่ไม่ต้องตระหนกตกใจ ดังนั้นข้อสรุปของเรา 26 องค์กรที่น่าจะทำต่อก็คือให้ไปจัดสมัชชาสุขภาพประมาณเดือนพฤศจิกายนทุกจังหวัด เพื่อพูดคุยกันถึงสุขภาพพูดคุยกันถึงเศรษฐกิจ ดังนั้นก็ให้จัดสมัชชาอีกครั้งหนึ่งโดยพร้อมเพียงกัน จากนั้นลงไปถึงอำเภอและให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ พชอ. ช่วยระดับตำบลมีธรรมนูญตำบลเกิดขึ้นเพื่อรวมพลังกันทุกส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ทั้งหลายช่วยกันทำความเข้าใจ ว่าถ้าเราทำสุขภาพดีแล้ว ให้ช่วยเรื่องเศรษฐกิจต่อไป”
นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ “กล่าวว่าที่จริงแล้วเราร่วมมือกันตั้งแต่ระดับนโยบายไปถึงระดับพิ้นที่ ดำเนินการร่วมกันในทุกระดับมาตั้งแต่รับมือกับช่วงระบาดในช่วงแรกแล้วก็มาช่วงต่อมาก็คือเรื่องของการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เราเห็นชัดว่ามันเกิดผลกระทบหลายอย่างในเรื่องของการดำเนินการอะไรบางอย่าง ตอนนี้เรากำลังจะเปิดเศรษฐกิจหรือฟื้นฟู ประเด็นคือจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุล สำคัญก็คือว่าถ้าเรามองเรื่องการจัดการจากประสบการณ์ในเรื่องของความร่วมมือนเวลาลงมือทำ เพราะเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงจะทำให้เกิดผลกระทบ คือทุกอย่างมันกระทบกันไป เศรษฐกิจไม่ดีคนตกงานก็มีผลกระทบต่อสังคมและสุขภาพ แต่ถ้าสุขภาพดีอย่างเดียวแล้วเศรษฐกิจไปไม่ได้ในที่สุดก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน การออกแบบที่สำคัญก็คือการออกแบบที่ละเอียด ลงในรายละเอียดของชุมชนต่างหากตรงนั้นเองจะเป็นคำตอบที่ทำให้ชุมชนสามารถรับมือได้และออกแบบว่าจะได้เศรษฐกิจถ้าเราจะเปิดในชุมชนในพื้นที่จะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจกับสุขภาพเนี่ยมันเดินไปควบคู่กันได้ ส่วนกลางเองไม่สามารถออกแบบลงไปในรายละเอียดได้ เพราะฉะนั้นพื้นที่จะมีความสำคัญถ้าได้พูดคุยกันในพื้นที่แล้ว โอกาสจะรับมือได้กับสุขภาพยังดีอยู่เศรษฐกิจก็ไปได้ด้วย จึงมีความสำคัญจริงๆชวนกันมาว่าทำอย่างไรให้มันเกิดเวทีอย่างนี้ทั่วประเทศ”
นายกิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขท้องถิ่น กล่าวว่า “จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิค 19 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเศรษฐกิจ ทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ที่ต้องพึ่งเศรษฐกิจต่างประเทศซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศที่หายไปฉับพลัน กรมสนับสนุนให้เกิดการจ้างอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เกิดรายได้กับประชาชนและทำให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมาจากการคัดเลือกและของพื้นที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตจะเกิดขึ้นภายในเดือนหน้าวันนี้ผมมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจำนวน 15,548 คน กระจายไปทุกตำบล ตำบลละ 2 คน ก็ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงประมาณ 60,000 คน เราดูแลผู้สูงอายุ 4 คนต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน ผมเชื่อมั่น และมั่นใจว่าคนไทยไม่ทิ้งกัน เพราะท้ายที่สุดแล้วท่านจะเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ดูแลผู้ป่วยโควิด ประเทศไทยประเทศเดียวที่เราไม่รู้จักใครเลยเราก็สามารถที่จะเอาข้าวเอาน้ำเอาเงินเอาทองไปให้เขา หลังจากนี้คือการจ้างงานในท้องถิ่นทำให้เกิดการกระจายรายได้แล้วก็งานที่จ้างเนี่ยก็ไปดูแลผู้เปราะบาง ดูแลผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าจะยังดูแลได้ไม่ทั้งหมดแต่ว่าเป็นแนวทางที่จะครอบคลุมได้กว้างขวางมากขึ้นถ้าร่วมมือกันกับองค์กรในระดับพื้นที่”
นายปฏิภาณ จุมผา รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน “สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนน หรือ พอช.เป็นกลไกของรัฐและเป็นเครื่องมือของประชาชน ที่ผ่านมาก็ไปสนับสนุนการขับเคลื่อนงานทางองค์กรชุมชน ในเรื่องของเศรษฐกิจชุมชน ในเรื่องของกองทุนสวัสดิการ เรื่องของที่ดินที่ทำกินและที่อยู่อาศัย โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกกลางในการที่จะเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชนให้มีวิธีในการปรึกษาหารือกันระดับตำบลระดับจังหวัดและระดับชาติ คือภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนที่ผ่านมา ที่ผ่านมาภาคประชาชนเองก็ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ภาคประชาชนก็จะดีอย่างคำว่าพอเกิดวิกฤตขึ้นมา เป็นวิฤตที่ทุกคนต้องต้องเป็นเป็นทุกข์ร่วมกัน เสน่ห์ของภาคประชาชนก็คือเขาไม่จำเป็นไม่ต้องรอคำสั่งไม่ต้องรอหนังสือไม่ต้องรองบประมาณไม่ต้องไปว่าใคร แล้วก็ทำทันทีเพราะที่ผ่านมานี่ขบวนองค์กรชุมชนเรามีพลังคนอย่างน้อยเราก็มีแกนนำในการขับเคลื่อนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและตำบลที่จดที่ขึ้นทะเบียนและเคลื่อนทำงานได้จริงประมาณ 245,000 คน มีกองทุนที่เป็นกองทุนภาคประชาชนที่เรียกว่ากองทุนสวัสดิการ ประชาชนออมวัน 1 บาท รัฐสมทบ 1 บาท ท้องที่ท้องถิ่นก็สมทบอีก 1 บาท ก็จะเกิดกองทุน ขณะนี้มีกองทุนที่เกิดขึ้นอยู่ทั้งหมดประมาณ 6,027 กองทุน มีงบประมาณที่เป็นกองทุนระดับตำบลมีประมาณ 17,000 ล้าน เพราะฉะนั้นในวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาเนี่ย ภายใน 15 วันพี่น้องประชาชนสามารถทำหน้ากาก ทำเจล ทำคลังของชุมชนหรือครัวชุมชนช่วยเหลือคนเปราะบางหรือคนที่รับผลกระทบของชุมชนเกิดขึ้นได้ทันทีเลย พอเกิดวิกฤตโควิดพลังเหล่านี้ก็จะเป็นต้นทุนเป็นภูมิคุ้มกันในการที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ทันทีเพราะฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นภาคประชาชนเราเองที่ผ่านมาเราคงบอกว่าไม่สามารถที่จะทำด้วยตัวเองได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมพลังกับเครือข่ายอื่นกับองค์กรภาคีอื่นในการที่เคลื่อนงาน ประชาชนเองที่ผ่านมาก็ถือว่าได้มีกระบวนการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่หน่วยงานเกี่ยวข้องรวมพลังในการต่อต้านโควิด แล้วก็นำซึ่งการแก้ไขปัญหาที่อย่างมีรูปธรรม ถามว่าถ้าเราจะรับมือฝ่าวิกฤตโควิดระลอกใหม่ ผมเข้าใจว่า ข้อมูล ประสบการณ์ และพลังองค์กรชุมชน ณ เวลานี้มีความรู้มีทักษะ พอที่จะมารวมพลังในการที่จะแก้ไขปัญหาโควิด ที่จะเกิดระลอกใหม่นี้ได้เพราะเรามีองค์กรชุมชนเต็มพื้นที่ แล้วที่สำคัญคือมีสภาองค์กรชุมชนระดับตำบลปรึกษาหารือ ทุกตำบลแล้วก็เกิดกลไกในการที่จะมาป้องกันฟื้นฟู ท้ายที่สุดเรื่องเศรษฐกิจเป็นสายเลือดสำคัญของชุมชนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นอย่าเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เราจะต้องขับเคลื่อนในโอกาสต่อไปที่ผ่านมาเรามีทุนอยู่แล้วเราไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจและทุนชุมชน โดยใช้ Business canvas เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่เรียกว่าการจัดทำแผนแผนธุรกิจเพื่อชุมชนเนี่ยเวลานี้เรามีพื้นที่ที่ทำเรื่องนี้อยู่ประมาณ 1,779 ตำบล/องค์กร จะเป็นทุนทางสังคมในการที่จะเคลื่อนเศรษฐกิจเศรษฐกิจฐานรากที่จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการที่จะดูแลชุมชนท้องถิ่น แล้วก็นำไปสู่การพ้นวิกฤตโควิดนี้ด้วย ถ้าเกิดวิกฤตครั้งต่อไปนี้ผมว่ามันจะหนักมากขึ้น การเตรียมตัวการเตรียมภูมิคุ้มกันที่ว่า เรื่องของเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจแนวใหม่ในครั้งหน้าเนี่ยจะต้องเป็นพลังที่สำคัญเป็นทิศทางที่สำคัญ”
นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในตอนท้ายว่า “ขั้นต่อไป ขอให้ตระหนัก ไม่ประมาท การ์ดไม่ตก อย่าตกใจเกินกว่าเหตุ ระหว่างเศรษฐกิจ สุขภาพ 2 เรื่องนี้อาจจะไปเดินทางด้วยกันไม่ได้ แต่เราจะชั่งหาตรงกลางว่าอยู่ตรงไหน เราต้องสร้างความรับรู้ความเข้าใจทางสังคม ทางเศรษฐกิจทำให้คนไม่ตกงานมีงานทำก็ต้องคิดถึงด้วย ดังนั้นการที่จะให้ทุกภาคส่วนได้จัดสมัชชาจังหวัด แต่การจัดที่จังหวัด ไม่ได้หมายความว่าเราทิ้งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เมื่อวานนี้ได้มีประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้มีประสานให้ทุกหน่วยงานช่วยประสานโปรแกรมลงไป ให้ 26 หน่วยงาน มาร่วมกันจัดสมัชชาสุขภาพแล้วให้สื่อกลางลงไปถึงอำเภอตำบลหมู่บ้านแล้วก็จะรวมขึ้นมาถึงในส่วนกลางด้วย”