วันที่ 20 พ.ย.62 ขบวนองค์กรชุมชนจังอำเภอตราด จัดเวทีการจัดกลไกการทำงาน และการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ระดับตำบลสู่การขับเคลื่อนงานในระดับอำเภอ ณ วิทยาลัยชุมชนตราด โดยมีผู้นำขบวนองค์กรชุมชนจากอำเภอเมืองตราด 14 ตำบล และภาคีหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วม จำนวน 150 คน
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดตราด มีวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนงานภาคประชาชน คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สู่ชุมชน พัฒนาคนสู่การยอมรับ ปรับฐานคิด จิตมั่นคุณธรรมนำชีวิต บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมาย “ตราดเมืองสีเขียว เมืองท่องเที่ยวโดยชุมชน” ภายใต้ยุทธศาสตร์ คือ 1.การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 2.กระจายอำนาจพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.การสร้างความมั่นคงทางอาหารปลอดภัยได้คุณภาพ 5.การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนคนตราดอยู่ดีกินดี 6.การพัฒนาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย
สอดคล้องกับขบวนองค์กรชุมชนจากอำเภอเมืองตราด 14 ตำบล ที่มีเป้าหมายการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งได้ออกแบบการทำงานกับผู้นำพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกลไกสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ การประสานงานพื้นที่ตำบลเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ระดับอำเภอ จัดระบบฐานข้อมูลการพัฒนาขององค์กรชุมชนในระดับอำเภอ สนับสนุนและพัฒนารูปธรรมการขับเคลื่อนของพื้นที่ตำบล และติดตาม ประสานงาน หน่วยงาน ภาคี และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อคลี่คลายข้อติดขัดการขับเคลื่อนขององค์กรชุมชนระดับพื้นที่ตำบล
นางสาวจันทนา เสียงสลัก แกนนำขบวนองค์กรชุมชนตราด กล่าวว่า ขบวนองค์กรชุมชนอำเภอเมืองตราด ได้จัดกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้นำในพื้นที่ในทุกระดับ ทั้งเวทีเรียนรู้ระดับตำบล อำเภอ ทั้ง 14 ตำบล พัฒนาศักยภาพระบบสอบทานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการจัดการที่ดีการพัฒนาข้อมูลแก้ไขบ้านในเขตเจ้าท่าอ่าวตราด การพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ประเด็นงาน 6 ประเด็น ได้แก่ 1.สภาองค์กรชุมชนตำบล 2.เศรษฐกิจและทุน 3.สวัสดิการชุมชน 4.โครงการบ้านมั่นคง 5.โครงการบ้านพอเพียง 6.ที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย
นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล ผู้อำนวยการสำนักงานภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า พอช. เป็นหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ซึ่งเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาของประเทศ โดย พอช.เป็นผู้หนุนเสริมพร้อมกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในขบวนองค์กรชุมชน มีรูปธรรมความสำเร็จในจังหวัดตราด ในหลายพื้นที่ โดยสนับสนุนให้คนในชุมชนรวมกลุ่มลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาของตนเอง และนำไปสู่การวางแผนการพัฒนาในด้านอื่น พร้อมทั้งการจัดทำแผนงานระดับพื้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด และในระดับนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งต่อไป
ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ ฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า สัตว์ พืช และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และ มุ่งสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและบูรณาการในการจัดการต้องคำนึงถึงมิติรอบๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การอนุรักษ์เน้นการพัฒนาที่ก่อความให้เกิดความยั่งยืน ที่ก่อให้เกิดรายได้ แหล่งอาหารปลอดภัยการสืบทอด การถ่ายทอดภูมิปัญญา สู่รุ่นลูก รุ่นหลานเน้นเรื่องสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ตลอดจนวิถีประมงพื้นบ้านที่ยั่งยืน ซึ่งชุมชนต้องอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ตระหนักถึงความสมดุล โอกาส ความเท่าเทียม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร แนวคิดของประมงที่ยั่งยืน รับผิดชอบ ใช้เครื่องมือเหมาะสม เคารพกฎหมาย ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร ส่งเสริมการสนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร การจัดการขยะที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล เรียนรู้ เชื่อมโยง บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องทุกมิติการพัฒนา ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ทุนชุมชนและการท่องเที่ยว ตราดเมืองแห่งการท่องเที่ยว “จากภูผา สู่มหานที” อำเภอเมืองตราด สามารถจัดการท่องได้ครบทั้ง 14 ตำบล