ตำบลสิงโตทอง อำเภอ บางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แยกออกมาจากตำบลหมอนทองเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2516 โดยชื่อตำบลนั้นเรียกตามชื่อบึง “สิงโตทอง” ที่ไหลผ่านตำบลซึ่งมีความยาวและมีสาขามากมาย และมีความสำคัญต่อการทำอาชีพเกษตรของประชาชนในตำบลสิงโตทอง
กำนันพลชัยมงคล รัตโน หรือกำนันไมค์ ประธานสภาองค์กรชุมชนตบลสิงโตทอง เล่าว่า สภาองค์กรชุมชนตำบลสิงโตทองจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2562 ซึ่งที่ผ่านมานั้นสภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลางในการให้คนในชุมชนนำเรื่องปัญความความทุกข์ร้อน มาหารือและหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2561 มีโครงการบ้านพอเพียงชนบทเช้ามา จึงใช้สภาองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนประเด็นงานนี้ โดยในปีแรกสภาองค์กรชุมชนได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนเรื่องที่ออยู่อาศัย และพบว่าในตำบลสิงโตทองมีผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย จำนวนกว่า 100 หลังคาเรือน ต่อจากนั้นเมื่อได้ข้อมูลผู้เดือดร้อนแล้ว สภาองค์กรชุมชนจึงได้จัดประชุมประชาคม ให้ผู้เดือดร้อนที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการลงชื่อ พร้อมทั้งจัดลำดับความต้องการของประชาชนที่ลงชื่อไว้โดยใช้วิธีการจัดลำดับการลงชื่อก่อนหลัง เพื่อให้ผู้ที่ใส่ใจให้ความร่วมมือกับตำบลได้รับสิทธิไปก่อน โดยสภาองค์กรชุมชนมีเกณฑ์การคัดเลือกผู้เดือดร้อน ดังนี้
1.ต้องเป็นคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรืออาศัยอยู่จริงในตำบลสิงโตทอง
2.ต้องอยู่ในระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสิงโตทอง
3.ต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้าน
4.ต้องเอาเงินที่ได้ไปซ่อมหรือปรับปรุงบ้าน
5.ผู้เดือดร้อนต้องไม่เป็นผู้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการพนัน
6.และที่สำคัญคือต้องมีศักยภาพพอที่จะสามารถสมทบเงินคืนให้กองทุนได้
และเมื่อได้รายชื่อผู้เดือดร้อนแล้วจึงเรียกประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการซ่อมแซม โดยมีงบประมาณหลังคาเรือนละ 18,000 บาท สามารถใช้ได้เฉพาะในส่วนของค่าวัสดุอุปกรณ์เพียงเท่านั้น ในส่วนของค่าจ้างช่างเจ้าของบ้านต้องเป็นผู้ดำเนินการออกค่าใช้จ่ายเอง และงบประมาณ 18,000 บาท/หลังคาเรือนนั้น สมาชิกในโครงการ จะต้องสมทบเงินคืนเดือนละ 330 บาท แบ่งเป็น ผ่อนชำระค่าซ่อมในวงเงิน 18,000 บาท เดือนละ 300 บาท และเงินออม 30 บาท เพื่อใช้เป็นหมุนเวียนในกองทุนช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยรายอื่นๆ ต่อไป และเมื่อสมาชิกส่งเงินสมทบครบแล้ว กองทุนจะคืนเงินออมให้แก่สมาชิก จากการดำเนินงานโครงการบ้านชนบทมานั้น ตำบลสิงโตทองสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับคนในชุมชนไปแล้ว จำนวน 24 หลังเคาเรือน โดยปี 2561 ได้ดำเนินการจำนวน 17 หลัง และในปีน 2562 ดำเนินการซ่อมแซม จำนวน 7 หลังคาเรือน โดยในระยะต่อไปนั้นหากกองทุนมีเงินเพียงพอจะมีการนำเงินกองทุนที่มีไปช่วยผู้เดือดร้อนรายอื่นต่อๆ ไป ให้ครอบคลุมทั้งตำบล
ป้าจินดา ละม้าย อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 58 ม.3 ต.สิงโตทอง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพ เล่าว่า แต่เดิมบ้านมีสภาพผุพัง ปลวกกินเพราะเป็นบ้านไม้ และหลังคารั่ว ต่อมาเมื่อทราบข่าวว่าโครงการการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยตนจึงได้ไปลงชื่อ โดยได้งบประมาณในการซ่อมแซม 18,000 บาท ตนนั้นได้นำเงินมาซ่อมแซมบ้านทั้งหลัง หมดเงินไปกว่า 70,000 บาท ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนต่าง และค่าช่างนั้น ตนเป็นผู้ออกทั้งหมด ป้าจินดาได้พูดทิ้งท้ายว่าเมื่อซ่อมแซมแล้วมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถนอนหลับได้อย่างไม่ต้องกังวลว่าบ้านจะพังอีกต่อไป
ยายแป๋ว เรียนประยูร อายุ 73 ปี บ้านเลขที่ 18/4 ม.3 ต.สิงโตทอง อ.บางคล้า จ.เชิงเทรา อาศัยอยู่กัน 3 คน เป็นผู้สูงอายุ 2 คน หนึ่งในนั้นเป็นผู้ป่วยติดเตียง 1 คน เล่าว่า ได้รับการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้าน ซึ่งสภาพบ้านก่อนซ่อมแซมนั้น มีสภาพเป็นสังกะสีหลังคาผุพัง จึงทำการเปลี่ยนสังกะสีใหม่ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นไม่ต้องกังวลเรื่องหลังคารั่วอีกแล้ว