ตำบลปากพลี เป็นพื้นที่ที่ประชาชนอาศัยอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3,000 ปี มีกลุ่มชนเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ทั้งนี้อาศัยหลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดพบวัตถุโบราณในที่บ้านโคกกระโดนปัจจุบันเรียกบ้านนอก หมู่ที่ 6 ตำบลปากพลี เช่น ขวานหิน เครื่องสำริด จี้ ลูกปัด ฯลฯ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปบนคันดิน และส่วนหนึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์น้อม งามนิสัย และคณาจารย์คณะสังคมได้เป็นผู้ขุดค้นพบ ทำให้ได้โบราณวัตถุอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าเป็นชุมชนใหญ่ ครั้งหนึ่งบ้านปากพลีเคยรุ่งเรืองเป็นเมืองท่าเรือสำคัญในการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรอื่นมาแล้ว และมีความเจริญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การถลุงเหล็กและการทอ สมัยก่อนตำบลปากพลี มีคลองปากพลีไหลผ่าน ปัจจุบันเรียก คลองยาง เป็นศูนย์กลางคมนาคม มีท่าเรืออยู่ที่ตลาดปากพลี ลงเรือเดินทางตามคลองไปออกแม่น้ำบางประกงไปจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ และยังเป็นท่าสินค้าทางเรือที่บ้านปากพลี จึงเป็นชื่อตำบลปากพลี ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นตำบลมา เป็นเวลามากกว่า 100 ปี ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ใช้เส้นทางการคมนาคมเดินทางติดต่อโดยทางรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
คุณปานเพชร งานขยัน เลขานุการประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลปากพลี เล่าการขับเคลื่อนงานโครงการรบ้านพอเพียงให้ฟังว่า ในปี 2560 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครนายกได้มีการประชาสัมพันธ์ ว่า สถาบันพัมนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จะมีการจัดสรรงบประมาณโครงบ้านพอเพียงในการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแต่ในปีแรกที่มีโครงการเข้ามานั้นทางตำบลยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการจึงเสนอรายชื่อผู้เดือดร้อนเข้าร่วมโครงการ ต่อมา ในปี 2561 เมื่อสภาองค์กรชุมชนได้รับข่าวสารอีกครั้ง ซึ่งในปี 2561 สภาองค์กรชุมชนมีความพร้อม จึงได้จัดประชุมร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านในตำบลปากพลี เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนที่ต้องการความช่วยเหลือในพื้นที่ของตน เพื่อที่จะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป โดยผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่จะทำการคัดเลือกผู้เดือดร้อนและจัดลำดับความเดือดร้อนว่าครัวเรือนไหนต้องการความช่วยเหลือก่อนตามความจำเป็นของแต่ละครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นก็จะคัดเลือกผู้เดือดร้อนที่เป็นผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โดยมีเงื่อนไข ว่า ผู้เดือดร้อนต้องไม่เป็นผู้ติดยา และให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมของทางชุมชนอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นสภาองค์กรชุมชนจะเป็นผู้รวบรวมและจัดลำดับความเดือดร้อนในระดับตำบลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในปี 2561 พบว่า ตำบลปากพลีมีผู้เดือดร้อนทั้งตำบลจำนวน 43 ครัวเรือน
ในการทำงานดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียง นั้น สภาองค์กรชุมชนจะดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้กับผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บริหารจัดการในพื้นที่ของตนโดยเป็นการซื้ออุปกรณ์ให้กับครอบครัวผู้เดือดร้อนที่ในจำนวนเงินหลังละ 18,000 บาท ซึ่งในการซ่อมแซมหากมีส่วนเกินของงบประมาณที่กำหนดไว้ที่ ทางผู้เดือดร้อนจะต้องเป็นผู้จ่าย รวมไปถึงค่าช่างที่เข้ามาทำการซ่อมแซมด้วย นอกจากนี้สภาองค์กรชุมุชนตำบลปากพลียังได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานอื่นที่เข้ามาช่วยเหลือ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลปากพลีได้เข้ามาประสานงานในเรื่องข้อมูลว่าบ้านหลังไหนได้รับการช่วยเหลือแล้วบ้างเพื่อป้องกันการช่วยเหลือซ้ำ และสนับสนุนงบประมาณค่าครองชีพที่ทางพัฒนาสังคมได้เข้ามาสนับสนุนเพิ่มอีกจำนวนคนละ 2000 บาท โดยต้องเป็นผู้ที่อยู่ในโครงการบ้านพอเพียง เป็นผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ อีกด้วย
จากการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น สภาองค์กรชุมชนได้ดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้กับผู้เดือดร้อนไปแล้วทั้งสิ้น 15 หลัง โดย ปี 2561 ได้ดำเนินการซ่อมแซมจำนวน 10 หลัง และในปี 2562 ดำเนินการซ่อมแซมจำนวน 5 หลัง
คุณยายถนอม แข่งขัน บ้านเลขที่ 43 ม.2 ต.ปากพลี อ.ปากพลี จ.นครนายก บ้านของคุณยายได้รับการช่วยเหลือในการซ่อมแซมหลังคาที่ผุพัง คุณยายบอกว่า เมื่อได้รับการช่วยเหลือแล้วการเป็นอยู่ก็ดีขึ้น รู้สึกบ้านมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยมากขึ้น
คุณยายทองม้วน อยู่พร้อม อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 196 ม. 5 ต.ปากพลี อ.ปากพลี จ.นครนายก บ้านของคุณยายก่อนได้รับการช่วยเหลือนั้นมีปัญหาเรื่องหลังคาที่ผุพังและรั่วซึม แต่ทางผู้ใหญ่บ้านก็ได้เข้ามาประเมินและซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมแซมมาให้และจัดหาช่างมาให้ด้วยแต่ทางคุณยายต้องเสียค่าแรงของช่างเองในจำนวน 5,000 บาท คุณยายบอกว่า “หลังได้รับการช่วยเหลือแล้วชีวิตการเป็นอยู่ดีขึ้น หลังคาไม่รั่วแล้ว
ปัจจุบันแม้ว่าการทำงานจะมีปัญหาอุปสรรคเข้ามาบ้างแต่ทุกคนก็ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินงานทำซ่อมแซมบ้านให้กับผู้เดือดร้อนไปแล้วทั้งหมด 15 หลัง โดย ปี 2561 ได้ดำเนินการซ่อมแซมจำนวน 10 หลัง และในปี 2562 ดำเนินการซ่อมแซมจำนวน 5 หลัง เป็นผลให้ครอบครัวที่ได้รับการช่วยเหลือนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยังเหลืออีกจำนวน 28 หลังที่ยังรอการช่วยเหลืออยู่ ซึ่งทางตำบลก็จะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
จุดมุ่งหมายต่อไปที่ทางชุมชนอยากให้มีก็คือ ตำบลก็จะดำเนินการช่วยผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยที่เหลือต่อไป และมีแผนในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีร้านค้าที่นำผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชนมาวางขายในราคาประหยัดเพื่อส่งเสริมการเกษตรของชุมชน และมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเกษตรเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลที่นำรายได้เข้าชุมชนในภายภาคหน้า